คณะแพทย์ เรียนอะไรบ้างใน 6 ปี

วันนี้ขอเอาใจน้อง ๆ ที่สนใจจะเรียนแพทย์ และอยากหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะแพทยศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร เรียนกี่ปี มีสาขาอะไร มีมหาลัยฯ ไหนเปิดบ้าง หรือสามารถยื่นรอบไหนได้บ้าง หรือใครที่กำลังค้นหาตัวเองอยู่และอยากรู้ว่าคณะแพทย์เหมาะกับน้อง ๆ มั้ย พี่สรุปมาให้ครบแล้ว ไปอ่านบทความด้วยกันเลยดีกว่า~

คณะแพทย์เรียนทั้งหมด 6 ปี การเรียนการสอนจะคล้ายกันเพราะมีแพทยสภาเป็นคนกำหนดหลักสูตรไว้แล้วว่าตลอดระยะเวลาที่เรียนแพทย์ว่าจะต้องเรียนอะไร ซึ่งพี่ได้สรุปภาพรวมของการเรียนแพทย์ทั้ง 6 ปีมาให้ทุกคนดูเป็นแนวทางแล้วนะว่าต้องเรียนอะไรบ้าง

คณะแพทยศาสตร์ ปี 1 : การเรียนการสอนของคณะแพทย์ตอนปี 1 ก็จะไม่ต่างจากคณะอื่นมากนักที่จะเริ่มจากการเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไปอย่าง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (แต่แน่นอนว่าจะยากขึ้นว่าตอนม.ปลายนะ)

คณะแพทยศาสตร์ ปี 2 : หลังจากที่ได้ปูพื้นฐานกันไปตอนปี 1 แล้ว เมื่อขึ้นปี 2 จะได้เรียนเกี่ยวกับความปกติของร่างกาย ศึกษาว่าร่างกายของเรามีระบบอะไรบ้าง มีการทำงานอย่างไร

ส่วนการเรียนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ เลคเชอร์ (เรียนแบบบรรยายในห้องเรียน หรือเรียนแบบทฤษฎี) และ Lab (เป็นการเรียนแบบภาคปฏิบัติที่นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนจากการลงมือทำด้วยตัวเอง)

คณะแพทยศาสตร์ ปี 3 : การเรียนในชั้นปีที่ 3 นี้ก็ยังคงเรียนเกี่ยวกับระบบในร่างกายอยู่แต่เน้นเรื่องของความผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย โรคและยาที่ใช้รักษา เพื่อเรียนรู้ว่าเมื่อร่างกายเกิดโรคต่าง ๆ แล้วจะเป็นอย่างไร มีอาการอย่างไรบ้าง
และมียาอะไรที่ใช้ในการรักษาได้บ้าง เป็นต้น

คณะแพทยศาสตร์ ปี 4 : เริ่มการใช้ชีวิตในโรงพยาบาล และเรียนรู้จากคนไข้จริง ๆ มีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และเขียนรายงานส่งเกี่ยวกับโรคที่ตรวจเจอ รวมถึงการอยู่เวร (การดูแลผู้ป่วยนอกเวลาราชการ) นอกจากนี้การเรียนก็จะแยกเป็น 4 ภาควิชาหลัก คือ สูตินรีเวช ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวช ซึ่งทุกคนจะต้องเรียนแบบสลับกันไป

คณะแพทยศาสตร์ ปี 5 : สำหรับการเรียนแพทย์ เมื่อขึ้นปีที่ 5 มาแล้ว จะได้เรียนเนื้อหาลึกขึ้นตามระดับชั้นที่สูงขึ้นไป นอกจากน้อง ๆ จะได้อยู่เวรและทำงานที่โรงพยาบาลเหมือนตอนปี 4 แล้ว ทุกคนจะได้ไปราวน์วอร์ดอื่น ๆ เพิ่มจากตอนปี 4 เช่น แผนกจิตเวช, แผนนิติเวช เป็นต้น (การขึ้นวอร์ดแต่ละสถาบันไม่เหมือนกันน้า)

คณะแพทยศาสตร์ ปี 6 : เมื่อเรียนมาถึงปี 6 น้อง ๆ จะถูกเรียกว่า Extern สิ่งที่จะเจอในปีสุดท้ายของการเรียนแพทย์นี้ คือต้องดูแลคนไข้ทุกอย่างตั้งแต่การซักประวัติ ตรวจร่างกาย การดูแลรักษาผู้ป่วย การสั่งยา หรือบางคนก็อาจจะได้เข้าห้องผ่าตัด และอยู่เวรเหมือนเดิม

อาจจะเป็นปีที่หนักไปสักหน่อยสำหรับ Extern เพราะนอกจากต้องเรียน ทำงาน และยังต้องเตรียมตัวสอบ
ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม (NL) และใบประกอบวิชาชีพแพทย์ด้วย

Tips

ในการเรียนคณะแพทย์นั้น จะมีการสอบใบประกอบทั้งหมด 3 ครั้ง แบ่งออกเป็น

NL1 : จะสอบในช่วงหลังจบปี 3

NL2 : จะสอบในช่วงของปี 5

NL3 : จะสอบในช่วงปี 6

การสอบ NL จะเป็นข้อสอบกลาง โดยจะเน้นการสอบเป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งการสอบจะเป็นข้อกาและโจทย์ภาษาอังกฤษทั้งหมดเลย

คณะแพทย์มีสาขาอะไรบ้าง ?

คณะแพทย์ ป.ตรี จะไม่ได้มีสาขาให้เลือกตั้งแต่ปี 1 เหมือนคณะทั่วไป ซึ่งน้อง ๆ จะต้องเรียนตามหลักสูตรให้ครบ 6 ปี และถ้าใครอยากจะเรียนต่อเฉพาะทางก็สามารถเลือกได้หลังจากที่เรียนจบแล้ว โดยมีสาขาให้เลือกเรียนเยอะมาก พี่รวบรวมมาให้ดูเป็นตัวอย่างตามนี้เลยน้าา (อ้างอิงข้อมูลจากแพทยสภา)

ตัวอย่างสาขาแพทย์เฉพาะทาง 

  • สาขาจิตเวชศาสตร์  (หมอจิตเวช)) 
  • สาขานิติเวชศาสตร์ (หมอชันสูตร) 
  • สาขากุมารเวชศาสตร์ (หมอรักษาเด็ก) 
  • สาขาอายุรศาสตร์ (หมออายุรกรรม) 
  • สาขาจักษุวิทยา (หมอตา) 
  • ออร์โธปิดิกส์ (หมอกระดูก) 
  • วิสัญญีวิทยา (หมอดมยา) 
  • โสต คอ นาสิกวิทยา (หมอหู คอ จมูก) 
  • ศัลยศาสตร์ (หมอศัลยกรรม) 
  • เวชศาสตร์ฉุกเฉิน (หมอฉุกเฉิน) 
  • สูติศาสตร์และนารีเวชวิทยา (หมอสูติ) 

อยากเข้าคณะแพทย์ ต้องใช้คะแนนอะไร สอบอะไรบ้าง ?

ข่าวดีสำหรับคนที่อยากเรียนแพทย์ทุกคน ปัจจุบันนี้น้อง ๆ สามารถยื่นสมัครคณะแพทยศาสตร์ได้ทุกรอบของระบบ TCAS เลยย แต่จะสอบวิชาอะไร ใช้คะแนนเท่าไหร่ รับทั้งหมดกี่คน คุณสมบัติยังไงบ้าง ต้องอ่านรายละเอียดจากเว็บไซต์ของมหาลัยฯ อีกทีน้าา

รอบ 1 Portfolio  

น้อง ๆ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าคณะแพทย์ก็มีรอบ Portfolio เหมือนกันน้า แต่จะเปิดรับเป็นโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการผลิตแพทย์นักวิทยาการข้อมูล, โครงการโอลิมปิกวิชาการ เป็นต้น 

เกณฑ์ที่รับสมัครก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น กำหนด GPAX ขั้นต่ำ, มีผลงานที่เกี่ยวกับวิชาชีพแพทย์ หรือบางมหาลัยฯ ก็อาจจะต้องมีผลสอบอื่น ๆ เพิ่มเติมอย่าง BMAT, SAT เป็นต้น  

ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ ทางมหาลัยฯ จะใส่ไว้ในประกาศรับสมัครแล้วว่าจะพิจารณาจากอะไรบ้าง ถ้าใครไหนสนใจยื่น
รอบพอร์ต ก็อย่าลืมติดตามกำหนดการรับสมัครและเกณฑ์ที่มหาลัยฯ กำหนดด้วยนะ

รอบ 2 Quota

ในรอบ 2 โควตานี้จะเป็นโครงการต่าง ๆ ที่ทางมหาลัยฯ จัดขึ้น เช่น โครงการโรงเรียนในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัย,
โครงการโอลิมปิกวิชาการ หรือ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขหรือโรงพยาบาล ซึ่งโครงการแพทย์ชนบทนี้ หลังเรียนจบแล้ว จะต้องไปใช้ทุนในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนา หรือกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

โดยส่วนใหญ่แล้วเกณฑ์การรับก็อาจจะมีทั้งคะแนนสอบหรือคุณสมบัติอื่น ๆ เฉพาะโครงการ เช่น โครงการภาคเหนือ ก็จะรับนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนของพื้นที่ที่กำหนด ซึ่งแต่ละโครงการก็จะกำหนดไม่เหมือนกัน แนะนำให้น้อง ๆ ดูประกาศรับสมัครจากทางมหาลัยฯ ให้ดี ๆ เลยยย

รอบ 3 Admission (กสพท)

น้อง ๆ คงจะคุ้นเคยกับรอบ 3 กันมากที่สุดใช่ไหมเอ่ย เพราะการรับสมัครรอบ กสพท เป็นรอบที่เปิดรับมากที่สุดและใช้เกณฑ์คะแนนเหมือนกันหมด คือใช้คะแนน A-Level และ TPAT1 ที่สำคัญคือ ใครอยากเรียนแพทย์ แต่ไม่ได้จบจากสายวิทย์คณิต ก็สามารถยื่นสมัครรอบนี้ได้เลยน้า 

เกณฑ์คะแนนกสพท ยื่นเข้าคณะแพทยศาสตร์

สำหรับ Dek68 คนไหนที่อยากเริ่มเตรียมสอบเข้าแพทย์ตั้งแต่ตอนนี้ เพราะจะได้พร้อมสอบก่อนใคร แต่ก็ยังไม่รู้ว่าควรจะเตรียมสอบ TPAT1 ยังไง เพราะเป็นเนื้อหาที่ไม่อยู่ในหลักสูตรโรงเรียน หรือกำลังกังวลว่าอ่านเองแล้วจะไม่เข้าใจ พี่ก็ขอแนะนำคอร์สเตรียมสอบแพทย์สำหรับ Dek68 ให้เลยย > <

ซึ่งคอร์สนี้จะมีทั้ง A-Level คณิต 1, ภาษาไทย, สังคม, TGAT2, TGAT3 และ TPAT1 ครบทั้ง 3 พาร์ต สอนโดยติวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โดยจะเริ่มตั้งแต่ปูพื้นฐาน (คนพื้นฐานไม่แน่นก็เรียนได้สบายมาก !!) และพาตะลุยโจทย์ (แอบกระซิบว่ามี Unseen Mock Test พร้อมคลิปเฉลยละเอียดแถมไปให้ทุกคนด้วยน้าา) ใครสนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก ได้เลยย

รอบ 4 Direct Admission

สำหรับรอบ 4 รับตรงอิสระ หรือ Direct Admission ที่หลายคนอาจคิดว่าคงไม่รับคณะแพทย์แล้ว แต่ที่จริงก็อาจจะมีมหาลัยฯ ที่เปิดรับอยู่น้า ส่วนเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับมหาลัยฯ เป็นคนกำหนด อาจจะใช้เกณฑ์ตามรอบที่ 3 หรือจะมีการเปลี่ยนแปลง คงต้องรอดูมหาลัยฯ ประกาศอีกที ถึงจะเปิดรับไม่เยอะแต่พี่ว่ารอบนี้ก็ถือเป็นอีก 1 รอบที่น่าสนใจเหมือนกันน้า

คณะแพทย์มีที่ไหนบ้าง ?

ปัจจุบันมีคณะแพทยศาสตร์ที่ทางแพทยสภาพรับรองทั้งหมด 27 แห่งแล้วน้าา แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ 23 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนอีก 4 แห่ง แต่จะมีมหาวิทยาลัยไหนบ้าง ดูตามด้านล่างนี้ได้เลยย  

ม.รัฐบาล 23 แห่ง
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศิริราชพยาบาล)
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (รพ.รามาธิบดี)
  • คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า  
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  
  • คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช  
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
  • สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  
  • สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา  
  • สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  
  • คณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (หลักสูตร 7 ปี)  
  • คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ม.เอกชน 4 แห่ง
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น  

อ้างอิงข้อมูลจากแพทยสภา (ข้อมูลวันที่ 3/4/67 )

เรียนแพทย์ค่าเทอมกี่บาท ?

ค่าเทอมคณะแพทย์ของมหาลัยฯ รัฐบาลส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ประมาณ 20,000 – 40,000 บาท ซึ่งค่าเทอมแต่ละสถาบันจะไม่เท่ากันน้า อาจจะมีบางมหาลัยฯ ที่สูงกว่านี้  เพราะจริง ๆ การเรียนแพทยมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นรัฐบาลเลยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเรียนคณะแพทยศาสตร์ของม.รัฐบาล ซึ่งทำให้ค่าเทอมที่น้อง ๆ จ่ายไม่ได้สูงมากจนเกินไป 

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อ่านบทความนี้จบแล้วอยากจะรู้เกี่ยวกับคณะแพทย์ให้ลึกขึ้น ก็สามารถตามไปอ่านบทความรีวิวการเป็นแพทย์ตั้งแต่เตรียมตัวสอบ ฝึกงาน ไปจนถึงการทำงานได้เลย พี่หมออู๋ (ติวเตอร์ TPAT1 พาร์ตจริยธรรมแพทย์ของพวกเราเองง) มาแชร์ประสบการณ์ไว้แบบครบ !! >> รีวิวชีวิตของการเป็นแพทย์ ตั้งแต่เริ่มเตรียมตัวสอบ จนทำงานเป็นแพทย์ ต้องเจออะไรบ้าง ?

ถ้าใครมีความฝันอยากเรียนแพทย์ อยากช่วยชีวิตคน และได้ทำอาชีพที่มีโอกาสตกงานน้อยมาก การเรียนหมอก็เป็นอีก 1 อาชีพที่น่าสนใจไม่น้อยเลย ถึงแม้ว่าจะสอบเข้าหรือเรียนหนักมาก แต่ถ้าทุกคนมีความมุ่งมั่นพยายาม ก็จะทำได้อย่างที่ตั้งใจไว้แน่นอน พี่ขออวยพรให้ทุกคนผ่านอุปสรรคไปได้อย่างราบรื่นและทำตามความฝันให้สำเร็จให้ได้น้า  

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

“เรียนหมอ” เรียนอะไรบ้าง? อยากเรียนหมอ ต้องเตรียมตัวยังไง?
"เรียนหมอ" เรียนอะไรบ้าง? อยากเรียนหมอ ต้องเตรียมตัวยังไง?
เรียนเภสัช จบไปทำงานอะไรได้บ้าง
เภสัชศาสตร์เรียนกี่ปี เรียนอะไรบ้าง รวมทุกคำถามของคณะเภสัช !
เจาะลึก คณะทันตแพทย์
เรียนทันตแพทย์เป็นยังไง ? รีวิวคณะพร้อมแชร์เทคนิคโดยรุ่นพี่ทันตะ
https://www.smartmathpro.com/wp-content/uploads/2023/11/คณะทันตแพทยศาสตร์.jpg
คณะทันตแพทย์ เรียนกี่ปี เรียนอะไร มีที่ไหนบ้าง สรุปมาให้ครบแล้ว!
สรุป TPAT1 กสพท 68 ฉบับอัปเดตล่าสุด ตามแถลงการณ์
สรุป กสพท คืออะไร? ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง? กสพท68 มีอะไรเปล่ียนแปลง?
เตรียมตัวอ่านหนังสือ TCAS68 ยังไงให้สอบติด
เตรียมตัวสอบเข้ามหาลัยยังไง? สรุปและแจกเทคนิคอ่านหนังสือสอบ TCAS
Dek68 จะสอบเข้ามหาลัยฯ ต้องเตรียมตัวยังไง ?
Dek68 สอบเข้ามหาลัยฯ ควรเริ่มยังไง? สรุปทุกขั้นตอนควรรู้ของ TCAS68

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share