เรียนเภสัช จบไปทำงานอะไรได้บ้าง

คณะเภสัชศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งคณะที่น้อง ๆ ให้ความสนใจกันเยอะมาก ว่า คณะเภสัช เรียนอะไรบ้าง ? เรียนกี่ปี ? มีเทคนิคการเตรียมตัวสอบ TPAT1 ยังไง ? จบมาทำงานอะไรได้บ้าง ? เงินเดือนดีไหม ? วันนี้พี่ก็เลยหาคำตอบมาให้น้อง ๆ ทุกคนแล้ว แถมยังมาพร้อมกับรุ่นพี่คณะเภสัชศาสตร์ “พี่มิค” ที่จะมาแชร์ประสบการณ์การเรียนแบบไม่มีกั๊ก
แต่ก่อนจะไปอ่านบทสัมภาษณ์ พี่จะพาทุกคนไปอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์เบื้องต้นกันก่อนน้าา

คณะเภสัชศาสตร์มีกี่สาขา ?

คณะเภสัชจะมีด้วยกัน 2 สาขา คือ เภสัช สาขาบริบาลทางเภสัชกรรมและเภสัช สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ

คณะเภสัชศาสตร์ สาขาบริบาลทางเภสัชกรรม  : จะเรียนด้านการให้คำแนะนำผู้ป่วย ยาแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงการเลือกใช้ยาให้ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยด้วย

คณะเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ  : เน้นทางด้านอุตสาหกรรม เรียนรู้โครงสร้างยา โครงสร้างทางเคมีเพื่อค้นคว้าวิจัยยา วิเคราะห์ยา และผลิตยา ใครชอบคิดค้น ชอบทดลอง น่าจะเหมาะกับสาขานี้มากเลย !

คณะเภสัชศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร ?

คณะเภสัชจะเรียนเกี่ยวกับยาทั้งหมด ทั้งสาขาบริบาลทางเภสัชกรรม และเภสัชกรรมอุตสาหการ แต่การเรียนของแต่ละสาขาก็จะไม่เหมือนกันน้าา และเพื่อให้เห็นภาพการเรียนเภสัชมากขึ้น พี่ก็เลยสรุปมาให้แล้วว่าทั้ง 2 สาขานี้ของเภสัช เรียนอะไรบ้างในแต่ละปี เผื่อน้อง ๆ จะใช้ดูเป็นแนวทางสำหรับการเลือกสาขา  

คณะเภสัชศาสตร์ สาขาบริบาลทางเภสัชกรรม

คณะเภสัชศาสตร์ ปี 1 : เรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเป็นหลัก เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ซึ่งเนื้อหาที่เรียนก็จะค่อนข้างเจาะลึกกว่าตอนมัธยมปลายเลย

คณะเภสัชศาสตร์ ปี 2 : เริ่มเข้าเนื้อหาเกี่ยวกับยา ใบสั่งยา ว่าแต่ละคำหมายถึงอะไร บอกรายละเอียดอะไรบ้าง และมีการเรียนเกี่ยวกับการคำนวณทางเภสัชศาสตร์มากขึ้น เช่น การคำนวณโดสของยาแต่ละชนิด

คณะเภสัชศาสตร์ ปี 3 : เน้นเรียนเกี่ยวกับผู้ป่วยเป็นหลัก ว่าเราต้องคุยกับผู้ป่วยอย่างไร เราจะเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยยังไง

คณะเภสัชศาสตร์ ปี 4 : เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับยาที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น ในด้านรูปแบบของยาต่าง ๆ เช่น ยาฉีด ยาเม็ด เพื่อที่เราจะได้เลือกยาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย

คณะเภสัชศาสตร์ ปี 5 : เริ่มเข้าสู่การฝึกงานตามร้านยา คลินิก และมีการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงที่ลึกมากขึ้นกว่าเดิม

คณะเภสัชศาสตร์ ปี 6 : หลังจากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับยาต่าง ๆ มาตลอดตั้งแต่ปี 1-5 ในชั้นปีที่ 6 เภสัชจะมีการฝึกงานตลอดทั้งปี โดยจะเริ่มมีการฝึกตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อให้เราเข้าใจวิธีการทำงานของอาชีพเภสัชกร
มากขึ้น  

คณะเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ

คณะเภสัชศาสตร์ ปี 1 : ในปีนี้น้อง ๆ จะได้เรียนวิชาพื้นฐานก่อน เช่น คณิตศาสตร์ และเคมี   รวมไปถึงวิชาเลือกต่าง ๆ แล้วแต่ว่ามหาลัยฯ จะกำหนดยังไง และยังต้องเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานทั้ง 2 เทอมด้วยน้า

คณะเภสัชศาสตร์ ปี 2 : ปีนี้จะได้เรียนเกี่ยวกับวิชาเคมีที่ลึกขึ้นจากตอนปี 1 โดยมีทั้งเคมีอินทรีย์ ชีววิทยาของเซลล์และชีวเคมี จุลชีววิทยาสำหรับเภสัชกรรม สรีรวิทยาและชีวเคมี เภสัชโภชนาศาสตร์  เป็นต้น

คณะเภสัชศาสตร์ ปี 3 : พอขึ้นปี 3 ก็จะได้เรียนวิชาพื้นฐานน้อยลงและเน้นไปที่วิชาของคณะหรือสาขา โดยวิชาที่เรียนก็จะมีทั้งที่ต่อเนื่องมาจากปี 2 และวิชาใหม่ ๆ เช่น เภสัชวิเคราะห์, เทคโนโลยีเภสัชกรรม เป็นต้น

คณะเภสัชศาสตร์ ปี 4 : เมื่อถึงปี 4 น้อง ๆ ก็จะได้เรียนลึกมากขึ้นกว่าทั้ง 3 ปีที่ผ่านมาและได้ฝึกงานคู่ไปกับการเรียน แต่นอกจากวิชาของสาขาแล้ว น้อง ๆ ยังต้องได้เรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับเภสัชศาสตร์ เพราะการเรียนใน
คณะเภสัชจะเจอเนื้อหาที่เป็นภาษาอังกฤษเยอะ เช่น ชื่อยา หรือชื่อสารเคมี เป็นต้น 

คณะเภสัชศาสตร์ ปี 5 : ในปีที่ 5 น้อง ๆ จะได้เรียนวิชาที่สามารถนำไปใช้กับอาชีพเภสัชกรมากขึ้น อย่างเช่น
การผลิตยาการขึ้นทะเบียนยา เป็นต้น     

คณะเภสัชศาสตร์ ปี 6 : ปีที่ 6 นี้จะฝึกงานกันตลอดทั้งเทอมเพื่อให้น้อง ๆ ได้ลองใช้ความรู้ที่เรียนมาตลอดหลายปีในการทำงานจริงไม่ว่าจะเป็นการฝึกงานที่โรงงานอุตสาหากรรมยาหรือด้านกฎหมายในการพัฒนายา เป็นต้น

หมายเหตุ : นี่เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้นน้า อาจไม่ได้เรียนแบบนี้ทุกมหาลัยฯ ถ้าน้อง ๆ สนใจมหาลัยฯ ไหนล่ะก็ พี่แนะนำให้ลองเข้าไปดูหลักสูตรของสถาบันนั้น ๆ น้า จะได้รู้ว่าต้องเรียนประมาณไหนบ้างงง

คณะเภสัชศาสตร์ 2 สาขา การบริบาลทางเภสัชกรรม และเภสัชอุตสาหการต่างกันยังไง

คณะเภสัชศาสตร์ มีที่ไหนบ้าง ?

ปัจจุบันสภาเภสัชกรรมรับรองหลักสูตรเภสัชของมหาลัยฯ ในประเทศทั้งหมด 18 สถาบัน จะมีมหาลัยฯ ไหนบ้างที่มีคณะเภสัชศาสตร์ เราไปดูกันเลยดีกว่า

  • คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ข้อมูลอ้างอิงจาก : สภาเภสัชกรรม

อยากเข้าคณะเภสัชศาสตร์ต้องเรียนสายไหน ?

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากเข้าคณะเภสัชศาสตร์สามารถสมัครสอบเข้าได้หลายแบบเลยนะ ทั้งแบบยื่นสมัคร
รอบ 1 Portfolio, รอบ 2 โควตา รวมถึงรอบ 3 Admission ที่สมัครผ่าน กสพท ได้เลย ซึ่ง กสพทปีนี้ ไม่ได้กำหนด
สายการเรียนแล้ว ไม่ว่าน้อง ๆ จะอยากเข้าคณะไหนใน กสพท ก็สามารถสมัครได้หมดเลย !!

แต่น้อง ๆ ก็อาจจะสงสัยว่าถ้าสมัครได้ทุกสายการเรียนแบบนี้ แล้วต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง ? สำหรับการยื่นคะแนนในรอบ กสพท ซึ่งจะมีอยู่แค่เกณฑ์เดียว ก็คือ A-Level 70% และ TPAT1 30%  โดยคะแนน A-Level ของน้อง ๆ ต้องได้ขั้นต่ำที่ 30 คะแนน ส่วนวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีวะต้องรวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 90 คะแนน แต่ถ้าใครจะสมัครรอบอื่น ๆ อย่าลืมเช็กให้ดีว่าคณะที่สมัครเขามีกำหนดสายการเรียนมั้ยด้วยน้าา

คณะเภสัชศาสตร์ เรียนจบไปทำงานอะไรได้บ้าง ?

หลายคนอาจคิดว่าเรียนจบเภสัชก็ต้องไปจัดยาเท่านั้น แต่น้อง ๆ รู้มั้ยว่าหน้าที่ของเภสัชกรไม่ได้มีแค่จัดยาเท่านั้นนะ   แต่ยังต้องให้คำปรึกษาเกี่ยวกับยาด้วย หรือใครที่จบสาขาอุตสาหการ  ก็จะได้ทำงานเกี่ยวกับผลิตยา คิดค้นยา
และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งพี่ก็ได้ยกตัวอย่างมาให้แล้วว่าจบคณะเภสัชศาสตร์ไปทำอาชีพอะไรได้บ้าง ไปดูกันเลยย

คณะเภสัชศาสตร์ สาขาบริบาลทางเภสัชกรรม

  • เภสัชกรในโรงพยาบาล
  • เภสัชในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
  • เภสัชกรร้านยา
  • เภสัชกรการตลาด
  • เภสัชกรการบริหารงานวิจัยทางคลินิก

คณะเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ

  • เภสัชกรประจำโรงงานอุตสาหกรรม
  • เภสัชกรด้านคุ้มครองผู้บริโภค
  • เภสัชกรด้านการวิจัยทางคลินิก
  • เภสัชกรด้านการขึ้นทะเบียนยา
  • เภสัชกรการตลาดยา

หมายเหตุ : ตัวอย่างอาชีพที่พี่ยกมานี้เป็นข้อมูลคร่าว ๆ สำหรับงานที่ตรงสาย ซึ่งจริง ๆ แล้วคนจบคณะเภสัชศาสตร์ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องทำงานตรงสายเท่านั้น เพราะน้อง ๆ สามารถเอาความรู้ไปต่อยอดได้อีกหลายอย่างเลยยย 

สัมภาษณ์ รุ่นพี่คณะเภสัชศาสตร์ !

หลังจากที่ได้อ่านข้อมูลเกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์กันไปแล้ว ก็คงจะพอตอบข้อสงสัยของน้อง ๆ ไปได้บ้างใช่ไหมล่ะ !! แต่อย่างที่บอกไปตอนแรกน้า ว่ามาทั้งที พี่ไม่มีทางมาคนเดียวแน่นอนนน

เพราะพี่พารุ่นพี่จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ มาแชร์ประสบการณ์ตั้งแต่การสอบเข้าไปจนถึงการเรียนและการฝึกงานให้น้อง ๆ แบบจัดเต็มด้วย ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเจอกับ “พี่มิค” รุ่นพี่คณะเภสัชศาสตร์กันเลยดีกว่าา

แนะนำตัวเอง

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน พี่ชื่อ “มิค” น้า  ปัจจุบันเรียนอยู่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ค่า ^____^

ค้นหาตัวเองยังไง ?

เริ่มจากตอน ม.4 เราได้ไปลองเรียนพิเศษวิชาเคมี แล้วเรารู้สึกว่าเข้าใจเลยชอบวิชาเคมี หลังจากนั้น เราก็เลยไปค้นหาข้อมูลว่า ถ้าเราชอบวิชาเคมีจะสามารถไปต่อสายอะไรได้บ้าง ทำให้ได้ไปเจอกับคณะเภสัชศาสตร์

เทคนิคการเตรียมตัวสอบเข้าคณะเภสัชศาสตร์

ส่วนตัว คือ เราจะเน้นไปที่การเรียนพิเศษเป็นหลักนะ ตัวเราทยอยเรียนมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ม.4 เลย ค่อย ๆ เก็บเนื้อหาแต่ละบท แต่ไม่ได้อัดกันจนเกินไป พอเรากลับมาบ้าน เราก็จะทบทวนในสิ่งที่เราเพิ่งเรียนมาแบบวันต่อวันเลย และ
เราจะต้องทำแบบฝึกหัดที่เขาให้มาด้วย ถือเป็นการทบทวนความรู้ ความเข้าใจไปในตัว

คณะเภสัชศาสตร์ ใช้คะแนนอะไรบ้าง ?

ตอนปีของเรา มีการเปิดรับสมัครเข้าคณะเภสัชศาสตร์ตั้งแต่รอบ Portfolio Quota และ Admission ตามปกติเลย
เราสมัครเข้ารอบที่ 3 Admission ของ กสพท ด้วยการใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ วิชาเฉพาะแพทย์ และโอเน็ต (O – NET) ซึ่งทุกรูปแบบการสอบเราจะต้องผ่านเกณฑ์คะแนนที่เขากำหนดไว้ด้วยนะคะ และโอเน็ต (O – NET) ซึ่งการสอบทุก
รูปแบบ เราจะต้องผ่านเกณฑ์คะแนนที่เขากำหนดไว้ด้วย 

ขอแทรกน้อง ๆ นิดนึงน้าา พี่คิดว่าหลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมพี่มิคใช้คำว่า 9 วิชาสามัญกับวิชาเฉพาะแพทย์
มันเหมือนกับ A-Level และ TPAT1 มั้ย ? จริง ๆ แล้วมันเหมือนกันน้าา แต่ถูกเปลี่ยนชื่อให้เป็น A-Level และ TPAT1
ส่วนเนื้อหาก็ยังเหมือนเดิมเลย ซึ่งเป็นวิชาที่น้อง ๆ สายหมอ กสพท จะต้องสอบกันทุกคนน 

TPAT1 เป็นวิชาที่ไม่มีสอนในหลักสูตรของโรงเรียน ทำให้น้อง ๆ ที่ใฝ่ฝันอยากจะเข้าคณะกลุ่มหมออาจรู้สึกกังวลได้ว่าจะเตรียมตัวสอบไม่ถูก หรือไม่แน่ใจว่าควรเก็บเนื้อหาหรือฝึกทำโจทย์ยังไงถึงจะตรงจุดที่สุด ใครที่กำลังกังวลเรื่องนี้อยู่ วันนี้พี่มีตัวช่วยดี ๆ มาแนะนำอย่างคอร์สเตรียมสอบ TPAT1 ที่พี่สอนร่วมกับ อ.ขลุ่ย และพี่หมออู๋ ให้เลยยย

โดยคอร์สนี้จะสอนครบทุกพาร์ตของ TPAT1 ตั้งแต่ปูพื้นฐานเนื้อหา (คนที่ไม่มีพื้นฐานก็เรียนได้) พาตะลุยโจทย์หลายระดับแบบจัดเต็ม พร้อมบอกเทคนิคและแนวคิดในการทำข้อสอบแต่ละพาร์ตที่จะช่วยให้น้อง ๆ ทำข้อสอบได้ทันเวลา และเพิ่มโอกาสในการอัปคะแนนอีกด้วย

แนะนำให้เริ่มเตรียมสอบกันตั้งแต่ตอนนี้เลย น้อง ๆ จะได้มีเวลาทบทวนเนื้อหาและฝึกทำโจทย์ให้พร้อมยิ่งขึ้น
และที่สำคัญ ถ้าสมัครคอร์ส TPAT1 ตั้งแต่ตอนนี้ พี่มี Unseen Mock Test ชุดพิเศษ 1 ชุด แถมไปให้พร้อมสิทธิพิเศษประจำเดือนอีกมากมายด้วยน้า ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจคอร์ส TPAT1 สามารถ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดได้เลยย

รวมทุกคำถามเกี่ยวกับ เภสัชศาสตร์

เรียนเภสัช ต้องเก่งวิชาอะไรเป็นพิเศษไหม ?

ถ้าเรียนเภสัช อาจจะต้องใช้วิชาเคมี ชีวะ มากหน่อย เพราะเราจะต้องเรียนโครงสร้างของยา ปฏิกิริยาของยาต่าง ๆ และอวัยวะภายในร่างกาย เพราะเราจำเป็นจะต้องรู้ว่า ถ้ายาเข้าไปในส่วนนี้ของร่างกายจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ วิชาภาษาอังกฤษ ถือว่าเจอค่อนข้างเยอะมาก ๆ ในการเรียน เพราะเนื้อหาและสไลด์ที่เรียน เป็นภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมดเลยยย

อยากเรียนเภสัช แต่เรียนไม่เก่ง จะเรียนได้ไหม ?

บอกเลยว่าเรียนได้น้าาเพราะเราเองก็เรียนไม่เก่งเหมือนกัน > < ที่จริงคณะเภสัชยากสำหรับเรามากเลย
แต่เมื่อถึงเวลาที่เราได้เข้ามาเรียนจริง ๆ มาเจอสภาพแวดล้อมจริง เราก็จะมีแรงผลักดันตัวเองมากขึ้นในการ
เอาตัวรอดให้ได้ ถึงจะยากแค่ไหนแต่ถ้าพยายาม เราก็ทำได้แน่นอน !!

เภสัชฝึกงานกันอย่างไร ?

การฝึกงานของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางคณะจะรวบรวมสถานที่ที่เปิดรับเด็กฝึกงานมาให้ว่า มีที่ไหนบ้าง แต่ละที่ต้องการจำนวนเท่าไหร่ หลังจากนั้นนิสิตก็จะมาเลือกกันเองในรุ่นต่อว่า ใครอยากไปที่ไหน
ใครสะดวกที่ไหน แต่ถ้าสถานที่ไหนมีคนสนใจเกินจำนวนที่เขาตั้งไว้ ก็จะสุ่มว่าใครจะได้ไปนั่นเองง

ตอนนี้เราก็ได้ฝึกงานอยู่ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งสิ่งที่ต้องทำก็จะมีตามนี้เลยยย

1.แปะฉลากยาว่าผู้ป่วยคนนี้ ได้ยาอะไรมา ครบถ้วนมั้ย ยาถูกต้องตามหน้าฉลากที่แปะไว้หรือเปล่า

2. ฝึกจ่ายยากับผู้ป่วยจริง ๆ

ซึ่งศูนย์บริการสาธารณสุขก็จะเน้นลงพื้นที่ชุมชน อยู่กับผู้ป่วยเดิมมากกว่า แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลก็จะได้เจอผู้ป่วย
ที่หลากหลายเคสมากยิ่งขึ้นและขึ้นวอร์ดเพิ่มเข้ามาด้วยน้า

ฝากถึงน้อง ๆ ที่กำลังสนใจ คณะเภสัชศาสตร์

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่กำลังจะสมัครสอบคณะเภสัชศาสตร์ เราก็อยากฝากให้น้อง ๆ ตั้งใจอ่านหนังสือ เตรียมตัวสอบให้เต็มที่นะ อย่าลืมที่จะแบ่งเวลาฝึกทำข้อสอบด้วย และอย่าไปเครียดมาก จะต้องแบ่งเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อนบ้าง สุดท้ายนี้พี่ก็ขอให้น้อง ๆ ที่มีความฝัน ได้สอบติดคณะเภสัชศาสตร์ตามที่หวังเอาไว้เลยน้าา

ตอนนี้ตารางสอบกสพทก็ออกแล้ว น้อง ๆ คนไหนที่อยากเข้าคณะสายหมอหรืออยากเรียนคณะเภสัชศาสตร์ก็อย่าลืมไปดูกำหนดการแล้ววางแผนในการอ่านหนังสือสอบกันด้วยน้า เตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ จะได้มีเวลาทบทวน แถมไม่ต้องเครียดกลัวว่าจะอ่านหนังสือหรือเรียนพิเศษไม่ทันด้วย สู้ ๆ น้าทุกคน พี่เป็นกำลังใจให้ !!

ดูคลิปรีวิวคณะ เภสัชศาสตร์

ดูคลิปรีวิวการเรียนของคณะอื่นๆ ได้ที่ YouTube : SmartMathPro

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

เจาะลึก คณะทันตแพทย์
เรียนทันตแพทย์เป็นยังไง ? รีวิวคณะพร้อมแชร์เทคนิคโดยรุ่นพี่ทันตะ
“เรียนหมอ” เรียนอะไรบ้าง? อยากเรียนหมอ ต้องเตรียมตัวยังไง?
"เรียนหมอ" เรียนอะไรบ้าง? อยากเรียนหมอ ต้องเตรียมตัวยังไง?
สรุป TPAT1 กสพท 68 ฉบับอัปเดตล่าสุด ตามแถลงการณ์
สรุป กสพท คืออะไร? ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง? กสพท68 มีอะไรเปล่ียนแปลง?
A-Level คืออะไร
A-Level คืออะไร? มีกี่ข้อ? มีวิชาอะไรบ้าง? สรุปครบพร้อมคลิปติว

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share