Dek68 จะสอบเข้ามหาลัยฯ ต้องเตรียมตัวยังไง ?

น้อง ๆ ม.5 หลายคนอาจจะเคยได้ยินรุ่นพี่ ม.6 บอกว่าเตรียมสอบเข้ามหาลัยฯ มันหนัก ต้องอ่านหลายวิชา และต้องสมัครสอบ แถมต้องเสียเงินอีกมากมาย T_T เลยอยากจะเตรียมตัวไว้ก่อนล่วงหน้า

แต่สำหรับน้อง ๆ ที่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มยังไง หรือเคยได้ยินเกี่ยวกับระบบ TCAS มาแล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าคืออะไร ? เกี่ยวกับการสอบเข้ามหาลัยฯ ยังไง ? พี่ได้รวมคำตอบมาให้ทุกคนหมดแล้วในบทความนี้ ตั้งแต่ทำความรู้จักเลยว่า Dek68 คือรุ่นไหน ไปจนถึงเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ TCAS เช่น ค่าใช้จ่าย และขั้นตอนต่าง ๆ ถ้าอยากรู้ว่าจะมีอะไรบ้าง ก็ตามพี่มาเลยยย

โดยทั่วไปแล้ว เราจะเรียก “Dek” หรือ “เด็ก” ตามด้วยปีที่เข้าเรียนมหาลัยฯ ดังนั้น Dek68 จึงหมายถึงคนที่จะเข้าเรียนมหาลัยฯ ในปี 2568 หรือ น้อง ๆ ม.5 ที่กำลังจะขึ้นม.6 ในปีนี้ รวมถึงเด็กซิ่วปีอื่น ๆ ที่จะซิ่วเข้ามหาลัยฯ อีกครั้งในปี 2568 ก็นับเป็น Dek68 เหมือนกันนน

ขั้นตอนการเตรียมตัวเข้าสู่ระบบ TCAS ของ Dek68

จากที่พี่พูดถึงระบบ TCAS ไปก่อนหน้านี้ ต่อไปพี่จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ TCAS กันน

จริง ๆ แล้วระบบ TCAS คือ ระบบกลางสำหรับคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้ามหาลัยฯ ที่เริ่มใช้กันตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งมหาลัยฯ รัฐและเอกชน (บางแห่ง) รวมกว่า 75 สถาบันเลยนะ

นอกจากหลาย ๆ มหาลัยฯ จะคัดเลือกนักเรียนผ่านระบบนี้แล้ว ระบบ TCAS ยังมีเว็บไซต์ myTCAS ให้น้อง ๆ ได้เข้าไป
เช็กว่ามหาลัยฯ ที่เราอยากเข้าอยู่ในระบบนี้ด้วยไหม ? และเกณฑ์การคัดเลือกของมหาลัยฯ ที่เข้าร่วมในแต่ละรอบ
มีอะไรบ้าง ?

ทั้งยังเป็นเว็บไซต์ที่ใช้สมัครสอบหลายวิชาด้วย ทั้ง TGAT, TPAT และ A-Level ไปจนถึงการประกาศและยื่นคะแนนในรอบ Admission และ กสพท รวมถึงการจัดการสิทธิ์ในการเลือกคณะ / มหาลัยฯ ก็ทำผ่านเว็บไซต์นี้หมดเลยยย

นี่ก็เป็นแค่การอธิบายโดยภาพรวมเท่านั้นน เพราะยังมีอีกหลายขั้นตอนเลยที่น้อง ๆ Dek68 ต้องเจอในการสอบ TCAS68 ซึ่งพี่ก็ลิสต์มาให้หมดแล้ว ไปดูกันนน

ศึกษาคุณสมบัติ เกณฑ์การรับ และคะแนนที่ต้องใช้ยื่นในคณะ / มหาลัยฯ ที่อยากเข้า

ก่อนอื่นเลย ถ้าน้อง ๆ มีคณะในใจกันเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องมาศึกษาว่าเกณฑ์และคุณสมบัติของแต่ละคณะมีอะไรบ้าง ? เพราะถ้าคุณสมบัติของน้อง ๆ ไม่ตรงกับเกณฑ์การคัดเลือก ขาดคะแนนสอบในบางวิชาไป หรือคะแนนที่ได้ไม่ถึงขั้นต่ำ
ที่คณะกำหนดไว้ก็จะถูกตัดสิทธิ์ทันทีเลยน้า T_T

พี่เลยขอย้ำว่า ควรจะศึกษาทั้งคุณสมบัติ เกณฑ์การรับ วิชาที่ต้องสอบ สัดส่วนคะแนนแต่ละวิชา รวมถึงคะแนนขั้นต่ำให้ดี ซึ่งพี่ก็แนะนำว่าให้เช็กจากเว็บไซต์ myTCAS ได้โดยตรงเลยย

และที่สำคัญ !! ทุกคนควรศึกษาเรื่องการยืนยันสิทธิ์, ไม่ใช้สิทธิ์, และสละสิทธิ์ไว้ด้วยว่าแต่ละคำแตกต่างกันยังไง ? (แต่ถ้าใครลองหาข้อมูลอ่านเองแล้วยังไม่เข้าใจ มาอ่านที่พี่สรุปไว้เกี่ยวกับ การบริหารสิทธิ์ TCAS ก็ได้น้า)

ศึกษาระบบ TCAS ให้ดีเพราะมีให้เลือกมากถึง 4 รอบ

ด้วยความที่ระบบนี้เขามีหลายรอบมากทั้งรอบ 1 Portfolio, รอบ 2 Quota, รอบ 3 Admission, และรอบ 4 Direct Admission ซึ่งแต่ละรอบก็มีเกณฑ์ในการคัดเลือกแตกต่างกัน แถมบางคณะ / มหาลัยฯ ก็ไม่ได้เปิดรับทุกรอบอีก T_T

ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลจากปีก่อน ๆ ให้ดีเพื่อที่จะได้วางแผนถูกว่าตัวเองจะต้องใช้คะแนนอะไรหรือสามารถยื่นรอบไหน
ได้บ้าง ? แต่บางคนก็อาจจะยังไม่แน่ใจว่าแล้วเราเหมาะกับรอบไหนล่ะ ? พี่มาอธิบายให้ทุกคนฟังแล้ว ครบจบทั้ง 4 รอบ
ตามนี้เลยย

  • รอบ 1 Portfolio เหมาะสำหรับน้อง ๆ สายทำกิจกรรมและมีความสามารถพิเศษไม่ว่าจะเป็นทางด้านกีฬาหรือ
    ด้านวิชาการ เพราะรอบนี้จะวัดกันที่ Porfolio (แฟ้มสะสมผลงาน) ที่ยื่นไปนั่นเองง
  • รอบ 2 Quota เหมาะกับคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ซึ่งแต่ละมหาลัยฯ กำหนด หรือมีเงื่อนไขตรงกับคณะ / มหาลัยฯ ต้องการ เช่น โควตาเรียนดี โควตาโรงเรียนเครือข่าย เป็นต้น
  • รอบ 3 Admission เป็นรอบที่จะใช้คะแนนกลางอย่าง TGAT, TPAT, A-Level ในการสมัครและยื่นคะแนน ซึ่งจะยื่นพร้อมกันในช่วงเดือน พ.ค. (จัดอันดับรวมกันทั้งคณะทั่วไปและกสพท)
  • รอบ 4 Direct Admission หรือรอบรับตรงอิสระ เป็นรอบสำหรับน้อง ๆ ที่ยังไม่เจอคณะ / มหาลัยฯ ที่ถูกใจ หรือยังไม่ได้ยืนยันสิทธิ์ในรอบ 1-3 ที่ผ่านมา (ถ้าใครยืนยันแล้วต้องสละสิทธิ์ก่อน) ก็มาสมัครรอบนี้ได้เลยยย แต่ !!
    รอบนี้ไม่ได้เปิดในทุกคณะ / มหาลัยฯ ดังนั้นน้อง ๆ ต้องเช็กให้ดี ๆ ก่อนสมัครด้วยน้าา

ศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายทั้ง 4 รอบ

อย่างที่บอกไปว่า การสอบเข้ามหาลัยฯ มันก็ต้องมีค่าใช้จ่ายด้วยใช่ไหม พี่จะพามาดูว่าแล้วแต่ละรอบเนี่ย เขามีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันยังไง ? ซึ่งถ้าให้พี่สรุปแล้ว ก็ประมาณนี้เลยย

รอบ 1 Portfolio

น้อง ๆ สามารถสมัครโดยตรงกับมหาวิทยาลัยฯ ที่ต้องการได้เลยโดยแต่ละโครงการที่เปิดก็จะมีค่าสมัครเฉลี่ยอยู่ที่
200-1,000 บาท ต่อโครงการ ขึ้นอยู่กับมหาลัยฯ กำหนด และสามารถสมัครกี่โครงการก็ได้ (แต่ต้องดูเงื่อนไขที่ทางคณะ / มหาลัยฯ แจ้งไว้ด้วยนะ)

แถมบางโครงการก็จำเป็นที่จะต้องใช้คะแนนสอบอื่น ๆ ด้วย เช่น IELTS, SAT, BMAT เป็นต้น ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบรอบนี้อาจจะอยู่ที่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นนั่นเอง (แอบกระซิบว่าโครงการที่เน้นใช้ Portfolioอย่างเดียวก็มีเหมือนกัน ซึ่งน้อง ๆ ก็จะได้จ่ายแค่ค่าสมัครเท่านั้น)

รอบ 2 Quota

เป็นอีกรอบที่สมัครกับทางมหาลัยฯ โดยตรงเลย ซึ่งค่าสมัครของแต่ละโครงการจะอยู่ที่ 200-500 บาท ขึ้นอยู่กับ
มหาลัยฯ กำหนดเหมือนกัน

ที่สำคัญ น้อง 1 คนก็สามารถสมัครได้หลายโครงการเหมือนกับรอบ 1 Portfolio เลยย (ย้ำอีกครั้งว่าต้องดูเงื่อนไขของแต่ละโครงการดี ๆ น้าา)และบางคณะ / มหาลัยฯ ก็จำเป็นต้องใช้คะแนนสอบอื่น ๆ หรือวิชาเฉพาะในการยื่น เช่น NETSAT หรือ CU-TEP ซึ่งรอบนี้จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณหลักร้อยไปจนถึงหลักพัน

รอบ 3 Admission

เป็นรอบที่จะใช้คะแนนจากข้อสอบกลางอย่าง TGAT / TPAT, A-Level ในการยื่นสมัคร โดย TGAT, TPAT2-5 จะอยู่ที่วิชาละ 140 บาท, A-Level วิชาละ 100 บาท, และ TPAT1 กสพท 800 บาทนอกจากนี้ยังมีบางคณะ / มหาลัยฯ ที่จำเป็นต้องใช้วิชาเฉพาะในการยื่นรอบ 3 เหมือนกัน ซึ่งค่าสมัครจะอยู่ที่ 300-500 บาท

และความพิเศษของรอบนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ทุกคนจะสามารถยื่นอันดับคณะ / มหาลัยฯ ที่อยากเข้าได้สูงสุดถึง 10 อันดับโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจัดอันดับ ทำให้ค่าใช้จ่ายโดยประมาณของรอบนี้จะเริ่มตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพันเลยย

รอบ 4 Direct Admission

เป็นรอบที่จะใช้คะแนนข้อสอบกลาง (TGAT, TPAT, A-Level) แต่น้อง ๆ จะต้องสมัครกับทางมหาลัยฯ โดยตรงน้าา ซึ่ง
ค่าสมัครจะอยู่ที่ประมาณ 300-1,000 บาท (มหาลัยฯ เป็นคนกำหนด) ซึ่งน้อง ๆ ก็สามารถสมัครได้มากกว่าหนึ่งคณะ /
มหาลัยฯ ทำให้ในรอบนี้ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ขึ้นอยู่กับว่าทุกคนสมัครไปมากแค่ไหน

เช็กกำหนดการ TCAS68 ให้ดี

หลังจากที่หาข้อมูลทั้งคณะ / มหาลัยฯ ที่อยากเข้าในแต่ละรอบ รวมถึงค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ไว้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการติดตามกำหนดการจาก ทปอ. อย่างใกล้ชิด เพราะก่อนที่จะเข้าสู่ระบบ TCAS อย่างเต็มตัว ทุกคนต้องลงทะเบียน myTCAS กันก่อน

นั่นก็เพราะว่าทุกคนจะได้มีข้อมูลอยู่ในระบบเพื่อให้สามารถจัดการเรื่องสมัครสอบ ยื่นคะแนน รวมถึงการใช้สิทธิ์อย่างที่พี่บอกไปตอนแรกได้ (แต่ถ้ามหาลัยฯ ที่น้อง ๆ อยากเข้าไม่ได้เข้าร่วมกับระบบ TCAS ก็ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนก็ได้น้าา)

ซึ่งทาง ทปอ. ก็จะประกาศอีกทีว่าจะลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันไหน รวมถึงกำหนดการอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น วันสมัครสอบ TGAT, TPAT, A-Level เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อกำหนดการของ TCAS68 ออกแล้วพี่ก็แนะนำว่าให้จดหรือตั้งแจ้งเตือนของกำหนดการแต่ละอย่างเอาไว้เลย
เราจะได้ไม่พลาดกัน แต่ถ้าใครอยากลองดูข้อมูลกำหนดการแบบคร่าว  ๆ ก่อนก็สามารถเข้าไปเช็ก กำหนดการ TCAS68 (ฉบับคาดการณ์) ก่อนก็ได้น้าา พี่สรุปไทม์ไลน์ในแต่ละเดือนโดยอ้างอิงจาก TCAS67 พร้อมข่าวการเปลี่ยนแปลงล่าสุดของ TCAS68  ที่ทุกคนควรติดตามเอาไว้แล้วว

ดู Test Blueprint เพื่อเข้าใจว่าข้อสอบออกอะไรบ้าง ?

รู้จักระบบสอบ กำหนดการสอบไปแล้ว ก่อนอ่านหนังสือจริง ๆ เราก็ต้องมาดูกันก่อนว่าข้อสอบในแต่ละวิชาออกอะไร
บ้าง ? เพื่อให้อ่านหนังสือได้แบบตรงจุด ซึ่งน้อง ๆ สามารถเข้าไปดู Test Blueprint ของวิชาที่ต้องสอบได้ผ่านทางเว็บไซต์ของ myTCAS เลยย

โดยจะมีวิชา TGAT, TPAT2-5, และ A-Level ที่จะบอกตั้งแต่เรื่องที่ออกสอบ จำนวนข้อ สัดส่วนคะแนนในแต่ละพาร์ต
ไปจนถึงตัวอย่างข้อสอบพร้อมเฉลยเลยนะ (ยกเว้น TPAT1 ที่จะไม่มีประกาศออกมาแบบ official น้าา)

เรียกว่าพอจะทำให้น้อง ๆ มองเห็นภาพรวมของข้อสอบแต่ละวิชามากขึ้น และอาจช่วยให้ทุกคนได้วางแผนล่วงหน้าว่าเราควรอ่านอะไรก่อน อะไรหลัง ควรเรียนเสริมวิชาไหนเป็นพิเศษไหม ? หรือแบ่งเวลาอ่านวิชาอะไรมากกว่ากันดี 

แต่ทั้งนี้การดู Test Blueprint แค่อย่างเดียวอาจจะยังไม่พอน้า พี่แนะนำให้ทุกคนลองหาแบบฝึกหัดหรือข้อสอบเก่า
มาลองทำด้วยจะดีกว่า เพราะการเจอโจทย์จริง ๆ จะทำให้เราชินกับการทำข้อสอบ รู้ว่าข้อสอบจะหลอกตรงจุดไหน
ช่วยลดความผิดพลาดตอนลงสนามจริงได้เยอะมากกก เป็นอีกเทคนิคที่ช่วยอัปคะแนนสอบของเราที่น้อง ๆ
ไม่ควรพลาดกันเลยย

เตรียมตัววางแผนอ่านหนังสือ

หลังจากทำความรู้จักระบบ TCAS รวมถึงได้เห็นข้อสอบผ่าน Test Blueprint  กันไปบ้างแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การเตรียมตัววางแผนอ่านหนังสือ !! ซึ่งพี่เชื่อว่าน้อง ๆ ม.5 หรือ Dek68 ที่เข้ามาอ่านบทความนี้คงมีระยะเวลาในการเตรียมตัวสอบสำหรับสนามต่าง ๆ ใน TCAS68 แตกต่างกัน

บางคนอาจจะอยู่ในช่วงปิดเทอมระหว่างรอขึ้นม.6 มีเวลาเยอะหน่อยก็สามารถวางแผนทั้งการอ่านหนังสือ การเรียนพิเศษได้เต็มที่ หรือบางคนก็อาจจะอยู่ในช่วงเปิดเทอมที่ต้องแบ่งเวลาทั้งการเรียนที่โรงเรียน และการเตรียมตัวสอบเข้ามหาลัยฯ  แต่ไม่ว่าจะเหลือเวลาเท่าไร พี่ก็แนะนำให้ทุกคนวางแผนอ่านหนังสือกันด้วยน้าา

เพราะพี่ว่าวิธีนี้จะช่วยให้น้อง ๆ แบ่งเวลาแต่ละวิชาได้ดีขึ้น (แนะนำว่าให้จัดตารางโดยยึดตามไลฟ์สไตล์ของตัวเองจะดีที่สุด เพราะเราจะทำตามตารางนั้นได้นาน) แต่ถ้าใครยังไม่รู้ว่าควรจะจัดตารางอ่านหนังสือยังไง พี่ก็มีตัวอย่างของตาราง
อ่านหนังสือในหลาย ๆ วิชามาให้ดูเป็นแนวทางด้วยในบทความ ตารางอ่านหนังสือ Dek68 สามารถเข้าไปดูแล้วปรับได้ตามความเหมาะสมได้เลยยย

แล้วก็ขอขายของนิดนึงง สำหรับ Dek68 คนไหนกำลังมองหาตัวช่วยในการเตรียมสอบ พี่ก็มีคอร์สเรียนให้ทุกคนได้เลือกเรียนเยอะมากเลยย ทั้ง A-Level คณิต 1,2 A-Level ไทย-สังคม, TGAT2,3 และ TPAT1 กสพท

ซึ่งพี่จะสอนตั้งแต่ปูพื้นฐาน จนพาตะลุยโจทย์ (น้อง ๆ คนไหนพื้นฐานไม่แม่นก็เรียนได้สบายมากก) แนะนำว่าให้เริ่มเตรียมตัวตอนนี้ จะได้เพิ่มโอกาสในการสอบติดมากกว่าใคร ถ้าใครสนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดกันได้น้าาา คลิก เลยยย > <

ดูคลิปติว TGAT / A-Level TCAS68

เป็นยังไงกันบ้างง พอจะเห็นภาพรวมขั้นตอนการเตรียมตัวสอบเข้ากันแล้วใช่ไหมมม พี่ก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้
น้อง ๆ ม.5 หรือ Dek68 ได้เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ระบบสอบเข้ามหาลัยฯ ของ TCAS68 กันง่ายขึ้น และถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ ใครอยากรู้เทคนิคเตรียมตัวอ่านหนังสือต่อ สามารถเข้าไปดู >> แจกทริคการเตรียมตัวยังไงให้สอบติด
ได้เลยน้าา มีเทคนิคดี ๆ เพียบเลยย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

TPAT1 คืออะไร? พร้อมเทคนิคอ่านหนังสือจากรุ่นพี่
TPAT1 กสพท คืออะไร? มีอะไรบ้าง? พร้อมแจกตารางอ่านหนังสือจากรุ่นพี่
สรุป TPAT1 กสพท67 ฉบับอัปเดตล่าสุด
กสพท คืออะไร? ต้องสอบอะไรบ้าง? อัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับ กสพท!!
TGAT TPAT คืออะไร? Dek67 ต้องสอบ TGAT TPAT ไหม ? สรุปครบในบทความนี้
TGAT TPAT คืออะไร? สอบอะไรบ้าง? สรุปครบพร้อมแจกข้อสอบและเฉลย
A-Level คืออะไร ?
A Level คืออะไร ? มีวิชาอะไรบ้าง? สรุปครบพร้อมแนวข้อสอบปี 67
สรุป TCAS67 ที่ Dek67 ต้องรู้
สรุป TCAS67 วิชาที่ต้องสอบ เกณฑ์คะแนน กำหนดการ มีอะไรบ้าง?

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Line : @smartmathpronews

รวมถึงข่าวสารต่าง ๆ อัปเดตอย่างเรียลไทม์

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share