การสอบของ Dek67 จบลงไปแล้ว ก็ถึงเวลาส่งไม้ต่อให้น้อง ๆ Dek68 ซึ่งหลายคนก็คงเริ่มมีไฟพร้อมจะอ่านหนังสือกันบ้างแล้ว แต่บางคนก็อาจยังไม่รู้ว่าควรจะเริ่มอ่านหนังสือยังไงดี หรือควรจะแบ่งเวลาอ่านแต่ละวิชายังไง ถ้าน้อง ๆ คนไหนกำลังเจอปัญหาประมาณนี้ พี่แนะนำให้ลองจัดตารางอ่านหนังสือกันดูน้าา
และวันนี้พี่ก็มีตัวอย่างตารางอ่านหนังสือของวิชา TGAT2,3 TPAT1 A-Level คณิต มาฝากน้อง ๆ ด้วยยย เผื่อใครยังจัดตารางเองไม่ถูก อยากได้แนวทางในการจัดตารางอ่านหนังสือพร้อมเทคนิคในการเตรียมตัวสำหรับแต่ละวิชา สามารถเช็กจากบทความนี้แล้วลองนำไปปรับใช้กันได้เลยน้าา
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleตารางอ่านหนังสือ สำคัญยังไง ?
ช่วยให้เห็นภาพรวมของเนื้อหาที่จะอ่าน
การจัดตารางอ่านหนังสือ คือ การวางแผนแบบหนึ่งที่จะทำให้น้อง ๆ เห็นภาพรวมของเนื้อหาว่าเราต้องอ่านวิชาไหนบ้าง เพื่อที่เราจะได้จัดลำดับความสำคัญและแบ่งเวลาอ่านหนังสือของแต่ละวิชาได้เหมาะสมกับเป้าหมาย แถมยังสามารถแบ่งเวลาพักผ่อนให้ตัวเองไม่เครียดจนเกินไปได้ด้วยน้าา
ป้องกันการตกหล่นของเนื้อหาที่ต้องเก็บ
เพราะก่อนที่เราจะจัดตารางอ่านหนังสือ สิ่งสำคัญที่ต้องลิสต์ออกมาให้ได้ก่อน คือ วิชาที่เราต้องอ่านและเนื้อหาของแต่ละวิชานั้น ๆ เช่น น้อง ๆ เช็กแล้วว่าคณะที่ตัวเองอยากเข้าต้องสอบ TGAT และ A-Level คณิต 1
ดังนั้นพี่ก็แนะนำให้ลองดู Test Blueprint ของปีล่าสุดเป็นแนวทางในการเตรียมสอบเบื้องต้นไปก่อนน้า จะได้รู้ว่าข้อสอบน่าจะออกประมาณไหนบ้าง ซึ่งจะช่วยให้เราลิสต์เนื้อหาที่ควรเก็บออกมาได้ประมาณหนึ่งเลย
ช่วยให้เห็นความคืบหน้าของการเตรียมสอบมากขึ้น
การเตรียมสอบเข้ามหาลัยฯ ก็เหมือนกับการเดินทางไกลอย่างหนึ่งน้าา เพราะน้อง ๆ ยังเหลือเวลาเตรียมตัวก่อนถึง
วันสอบจริง รวมถึงบางคนก็อาจจะมีหลายวิชาที่ต้องเก็บเนื้อหาและฝึกทำโจทย์ด้วย ดังนั้นพี่ก็แนะนำให้น้อง ๆ ลองจัดตารางอ่านหนังสือโดยจดเอาไว้ด้วยว่าเราอ่านหรือทำโจทย์เรื่องไหนจบไปแล้วบ้าง
วิธีนี้จะทำให้น้อง ๆ ได้เห็นความก้าวหน้าของตัวเองในทุกวัน ซึ่งจะช่วยให้มีกำลังใจในการอ่านหนังสือมากขึ้น ดีกว่า
การอ่านไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้วางแผนเอาไว้ อาจทำให้น้อง ๆ รู้สึกท้อแท้กับการเตรียมสอบได้ เพราะเราอาจจะไม่รู้ว่าตอนนี้เตรียมตัวไปถึงไหนแล้วนั่นเอง
แจกตารางอ่านหนังสือสำหรับ Dek68
รวมตารางอ่านหนังสือ A-Level คณิต 1,2 / TGAT2,3 / TPAT1
ในการจัดตารางอ่านหนังสือสำหรับเตรียมสอบ TCAS พี่แนะนำว่าให้จัดตารางสอบโดยอ่านหลาย ๆ วิชาควบคู่กันไปน้าา เพราะบางสนามก็สอบในวันที่ใกล้เคียงกันเลย ดังนั้นถ้าน้อง ๆ เตรียมตัวอ่านหนังสือในหลายวิชาไปพร้อมกันก็จะทำให้เราเตรียมตัวได้ทันวันสอบจริง ซึ่งพี่ก็ลองจัดตารางอ่านหนังสือของวิชา TGAT2,3 / TPAT1 / A-Level คณิต มาให้ทุกคนดูคร่าว ๆ แล้ว ลองดูตามภาพได้เลยน้าา
ดาวน์โหลดตารางอ่านหนังสือ Dek68 คลิก
ได้เห็นภาพรวมกันแล้ว งั้นพี่จะพาไปเจาะลึกในแต่ละวิชาดูว่า วิชาไหนควรเริ่มอ่านตอนไหนดี และแต่ละวิชาควรจะเก็บเนื้อหากับฝึกทำโจทย์ยังไง ซึ่งแต่ละวิชาพี่ก็มีกำหนดเดือนที่ควรเริ่มเตรียมตัวต่างกัน ทั้งนี้ไม่ว่าน้อง ๆ ที่กำลังอ่านบทความนี้จะเหลือเวลาเตรียมตัวอยู่เท่าไร ก็แนะนำว่าให้ลองปรับใช้กับไลฟ์สไตล์ของตัวเองดูตามความเหมาะสมน้าา
ตารางอ่านหนังสือ A-Level คณิต 1,2
ช่วงเก็บเนื้อหา A-Level คณิต 1
ตามปฏิทินที่พี่ออกแบบมาให้ จะเป็นแผนสำหรับน้อง ๆ ที่เริ่มเตรียมตัวสอบตั้งแต่เดือนเมษายน (แต่ถ้าน้อง ๆ เริ่ม
เตรียมตัวหลังเดือนนี้ไปก็ไม่เป็นไรน้าา สามารถยึดตามแพลนเดิมได้เลย) พี่แนะนำว่า ควรเริ่มเก็บเนื้อหาก่อน ซึ่งเนื้อหาต่าง ๆ ในการสอบ A-Level คณิต 1,2 ก็จะต่างกัน ดังนั้นพี่จะพาไปดู A-Level คณิต 1 ก่อนแล้วต่อด้วย
A-Level คณิต 2 ตามนี้เลยน้าา
ดาวน์โหลดตารางอ่านหนังสือ A-Level คณิต 1 คลิก
การเก็บเนื้อหาของ A-Level คณิต 1 โดยพี่แบ่งมาเป็นสามหมวดให้น้อง ๆ เก็บได้ ดังนี้
- บทต้องเก็บ คือ บทที่เป็นพื้นฐานของหลาย ๆ บท เนื้อหาไม่เยอะและออกสอบไม่ยาก พี่อยากให้ทุกคนเก็บให้ครบทุกบทเลย เช่น บทเซต ตรรกศาสตร์ และจำนวนจริง
- บทน่าเก็บ คือ บทที่มีเนื้อหายากขึ้นมา และออกสอบค่อนข้างเยอะ คนที่ต้องใช้คะแนน A-Level คณิต 1 ประมาณ 40-70 คะแนน แนะนำให้เก็บกลุ่มนี้ด้วยน้า เช่น บทการนับและความน่าจะเป็น ลำดับอนุกรม และแคลคูลัส
- บทที่เหลือ คือ บทที่มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับบทอื่น ๆ และข้อสอบค่อนข้างหลากหลาย อาจจะยากต่อ
การเก็บ แต่ถ้าน้อง ๆ ทำได้ ก็มีโอกาสที่เราจะกวาดคะแนนได้มากกว่าคนอื่น ๆ ตัวอย่างบทที่เหลือ เช่น
บทเรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย ฟังก์ชันตรีโกณมิติ เวกเตอร์ และจำนวนเชิงซ้อน
ช่วงตะลุยโจทย์ A-Level คณิต 1
เมื่อน้อง ๆ เก็บเนื้อหาครบแล้ว พี่แนะนำให้ตะลุยโจทย์และทำข้อสอบเก่า ๆ ที่เป็นข้อสอบหลักสูตรใหม่ โดยเฉพาะข้อสอบ 3-4 ปีล่าสุดน้า โดยบทที่พี่แนะนำว่า ต้องเก็บ คือข้อสอบเก่า A-Level คณิต 1 ปี 66-67, วิชาสามัญคณิต 1 ปี 64-65 และ PAT1 ปี 64-65 ถ้ายังมีเวลาเหลือ พี่แนะนำให้เก็บวิชาสามัญ คณิต 1 ปี 55-63 และ PAT1 ปี 63 และปี 59
รอบ ต.ค. ด้วย
ช่วงเก็บเนื้อหา A-Level คณิต 2
ดาวน์โหลดตารางอ่านหนังสือ A-Level คณิต 2 คลิก
ข้อสอบ A-Level คณิต 2 เป็นข้อสอบที่ไม่ยากมาก พี่แนะนำให้เก็บทุกบทเลย เช่น บทเซต ตรรกศาสตร์เบื้องต้น การนับและความน่าจะเป็น เลขยกกำลัง เป็นต้น
สำหรับเนื้อหา A-Level คณิต 1,2 ที่พี่พูดถึงในแต่ละหมวดก็มีประมาณนี้น้าา แต่ถ้าใครอยากลงรายละเอียดของแต่ละบทมากกว่านี้ เช่น ออกสอบกี่ข้อ และออกประมาณไหน ก็สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ บทน่าเก็บ A-Level คณิต 1,2 เลยน้าา
ช่วงตะลุยโจทย์ A-Level คณิต 2
เหมือนกับ A-Level คณิต 1 เลย หลังจากเก็บเนื้อหาครบแล้ว ให้น้อง ๆ ฝึกทำโจทย์จากแบบฝึกหัดหรือข้อสอบเก่าโดยเน้นของ 3-4 ปีล่าสุด ซึ่งบทที่พี่แนะนำว่า ต้องเก็บ คือ ข้อสอบเก่า A-Level คณิต 2 ปี 66-67, วิชาสามัญคณิต 2 ปี 65 และ O-NET ปี 64-65 ถ้ายังมีเวลาเหลือ พี่แนะนำให้เก็บ O-NET ปี 58-63 ด้วยน้า
ทั้ง A-Level คณิต 1 และ คณิต 2 มีข้อสอบปีเก่ามีหลายข้อที่ใช้เนื้อหาของหลักสูตรเก่าในการแก้โจทย์ แนะนำว่า
ไม่ต้องทำข้อนั้น แต่ให้ทำแค่ข้อที่น่าสนใจและสามารถวัดความรู้รวมถึงความเข้าใจของเราได้ดีน้าา (ขอกระซิบว่าถ้าใคร
ไม่อยากมานั่งคัดโจทย์เองว่าข้อไหนเป็นเนื้อหาหลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรใหม่ ก็สามารถดาวน์โหลดข้อสอบเก่าจาก
คลังข้อสอบ มาลองทำได้น้าา เพราะพี่แยกมาเฉพาะข้อที่เป็นหลักสูตรใหม่แบบเน้น ๆ ให้หมดแล้ว > <)
และช่วงเวลา 2 เดือนที่เหลือก่อนสอบ ให้ลองทำ Mock Test เพื่อเช็กว่าเราทำข้อสอบได้มากน้อยแค่ไหน และสามารถบริหารเวลาที่ใช้สอบในสนามสอบจริงได้เหมาะสมไหม
ซึ่งหลังจากที่น้อง ๆ ทำข้อสอบ Mock Test แต่ละฉบับเสร็จพี่แนะนำให้ลองดูอีกทีว่ามีเนื้อหาบทไหนที่เรายังไม่ถนัด หรือต้องกลับไปทบทวนเพิ่มไหม เพื่อที่เราจะได้ใช้เวลาที่เหลือในการทบทวนและฝึกฝนเนื้อหานั้น ๆ ให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
หมายเหตุ : ช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคมเป็นช่วงใกล้สอบ TGAT / TPAT (อ้างอิงจากกำหนดการ TCAS67)
น้อง ๆ ยังสามารถแบ่งเวลาทบทวนเนื้อหาและฝึกทำโจทย์ A-Level คณิต 1,2 ได้เรื่อย ๆ น้า หลังจากที่สอบ TGAT / TPAT เสร็จก็สามารถกลับมาเต็มที่กับการเตรียมตัวสอบ A-Level คณิต 1,2 ต่อได้เหมือนเดิมเลย
ตารางอ่านหนังสือ TGAT2
ดาวน์โหลดตารางอ่านหนังสือ TGAT2 คลิก
สำหรับวิชา TGAT2 เป็นวิชาที่ไม่มีการสอนในห้องเรียน ทำให้น้อง ๆ อาจจะไม่คุ้นชินกับเนื้อหาที่ข้อสอบออก พี่จึงแนะนำให้เริ่มเตรียมตัวสอบสนาม TGAT2 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม (แต่ใครจะเริ่มก่อนหน้านั้นก็ไม่ว่ากันน้า) โดยพาร์ต
ความสามารถทางตัวเลขจะออกสอบเกี่ยวกับการแก้สมการ อัตราส่วน ร้อยละ เปอร์เซ็นต์ พื้นฐานเรขาคณิต การนับและความน่าจะเป็น และสถิติ ซึ่งจะเป็นเนื้อหาจากคณิตศาสตร์ ม.ต้น และคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.ปลาย
ใครที่ไม่ได้เรียนในสายการเรียนวิทย์ – คณิต หรือ ศิลป์ – คำนวณ ก็ไม่ต้องกังวลว่าข้อสอบจะออกโดยใช้ความรู้คณิตศาสตร์ที่ยากเกินไปน้า ถ้าเตรียมตัวด้วยการเก็บเนื้อหาและฝึกทำโจทย์พื้นฐานตามหัวข้อที่พี่บอกไว้ น้อง ๆ ก็จะทำข้อสอบได้แน่นอน รวมถึงพาร์ตความสามารถทางภาษาที่จะออกสอบเกี่ยวกับการสื่อความหมาย การใช้ภาษา การอ่าน และการเข้าใจภาษาด้วย สำหรับ TGAT2 ทั้งสองพาร์ตนี้ พี่เขียนวิธีการเตรียมตัวแยกแต่ละเดือนมาแล้ว เช็กดูกันได้เลย
- เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม
ช่วงสองเดือนนี้พี่แนะนำให้เก็บเนื้อหาพาร์ตความสามารถทางตัวเลข และความสามารถทางภาษาน้า - เดือนกันยายน – ตุลาคม
แนะนำให้น้อง ๆ ตะลุยโจทย์และทำข้อสอบเก่าของแต่ละพาร์ต เมื่อทำโจทย์แล้วควรเช็กด้วยว่ายังมีเนื้อหาในหัวข้อไหนที่เรายังไม่แม่น ทำโจทย์ได้ไม่คล่อง ให้ย้อนกลับไปทบทวนได้เลย - เดือนพฤศจิกายน
ในช่วงเดือนสุดท้ายก่อนสอบ พี่แนะนำให้น้อง ๆ ทำ Mock Test โดยฝึกทำข้อสอบแบบจับเวลาจริงด้วย เพื่อที่เรา
จะได้ฝึกวางแผนจัดการเวลาในห้องสอบ และรู้ว่าเราถนัดทำข้อสอบส่วนไหนก่อน หัวข้อไหนที่เรามักจะใช้เวลาใน
การทำข้อสอบนาน เพื่อให้ในวันสอบจริงน้อง ๆ ทำข้อสอบได้ครบทุกข้อและทันเวลานั่นเองง
ตารางอ่านหนังสือ TGAT3
ดาวน์โหลดตารางอ่านหนังสือ TGAT3 คลิก
สำหรับการสอบ TGAT3 พี่แนะนำให้เริ่มเก็บเนื้อหาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเช่นกัน (แต่ถ้าใครอยากเริ่มเตรียมตัวเร็วกว่านี้ก็สามารถปรับตารางได้เต็มที่เลยน้าา) แต่ขอทำความเข้าใจกับน้อง ๆ ก่อนว่าการเก็บเนื้อหา TGAT3 นี้พี่แนะนำให้เก็บควบคู่กับวิชาอื่น ๆ ไปด้วย
เพราะเราจะได้ใช้เวลาในแต่ละวันอย่างคุ้มค่าที่สุด ทั้งนี้ควรแบ่งเวลาแต่ละเดือนออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการเก็บเนื้อหาและฝึกทำข้อสอบ โดยรายละเอียดการเก็บเนื้อหาของแต่ละเดือนก็สามารถดูเป็นแนวทางตามนี้ได้เลยย
- เดือนกรกฎาคม
ในเดือนนี้พี่แนะนำให้เก็บเนื้อหาและฝึกทำข้อสอบพาร์ตการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนน้าา เพราะข้อสอบเป็นบทความยาวเน้นวัดน้อง ๆ ด้วยหัวข้อตามนี้เลย
1. การระบุปัญหา (Identifying problems)
2. การแสวงหาทางออกที่เหมาะสมที่สุด (Generating and selecting solutions)
3. การนำทางออกไปแก้ไขปัญหา (Implementation)
4. การประเมินทางออกเพื่อการพัฒนาปรับปรุง (Evaluation
- เดือนสิงหาคม
แนะนำให้เก็บเนื้อหาและฝึกทำข้อสอบพาร์ตการสร้างคุณค่าและนวัตกรรม โดยรูปแบบการออกข้อสอบของพาร์ตนี้ยังคงเป็นข้อสอบประเภทสถานการณ์เหมือนพาร์ตก่อนหน้านี้เลย แต่มีเนื้อหาที่น้อง ๆ ต้องเก็บความรู้เพิ่มเติม คือ
1. การคิดวิเคราะห์ (Critical thinking)
2. ความเพียงพอของข้อมูล (Data Sufficiency)
3. ทักษะด้านตรรกะและเหตุผล (Logic & Reasoning)
4. การคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) (มีทั้งหมด 5 ข้อที่ใช้ในการตอบคำถามพาร์ตนี้)
- เดือนกันยายน
พี่แนะนำให้เก็บเนื้อหาและฝึกทำข้อสอบพาร์ตการบริหารจัดการอารมณ์ โดยข้อสอบจะให้สถานการณ์พร้อม
ข้อจำกัดมาเพื่อทดสอบความสามารถของเราในหลากหลายด้าน นั่นคือ
1. การตระหนักรู้ตนเอง (Self awareness)
2. การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control)
3. ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding)
- เดือนตุลาคม
แนะนำให้เก็บเนื้อหาและฝึกทำข้อสอบพาร์ตการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม โดยข้อสอบพาร์ตนี้ก็มีเนื้อหาที่น้อง ๆ ควรเน้นเหมือนกัน ตามนี้เลยย
1. การมุ่งเน้นการบริการสังคม (Service orientation)
2. จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental responsibility)
3. การสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (Creating local benefits)
ซึ่งนอกจากความรู้ทั่วไปตามการทดสอบแล้ว ในพาร์ตนี้พี่แนะนำว่า น้อง ๆ ควรเก็บประเด็นข่าวสาร หรือสถานการณ์ที่กำลังเป็นกระแสไว้ด้วยน้าา
- เดือนพฤศจิกายน
พี่แนะนำให้ลองทำข้อสอบ Mock Test แบบจับเวลาจริง เพื่อสร้างสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับห้องสอบมากที่สุด น้อง ๆ จะได้ฝึกฝนให้ชินกับการทำข้อสอบในช่วงโค้งสุดท้าย ทั้งนี้ 1 วันก่อนสอบพี่แนะนำให้พักผ่อนเพื่อเตรียมร่างกายของเราให้พร้อมที่สุดก่อนลงสนามจริง จะได้เต็มที่กับการทำข้อสอบนั่นเอง
ตารางอ่านหนังสือ TPAT1
ดาวน์โหลดตารางอ่านหนังสือ TPAT1 คลิก
สำหรับ TPAT1 กสพท เป็นวิชาที่มีเนื้อหาแบ่งเป็น 3 พาร์ตหลัก ๆ คือ พาร์ตเชาวน์ปัญญา (เชาวน์เลข + เชาวน์ไทย)
พาร์ตเชื่อมโยง และพาร์ตจริยธรรมแพทย์ ซึ่งพี่แนะนำให้เริ่มเก็บเนื้อหาจากพาร์ตเชาวน์เลขก่อน แล้วจึงตามด้วย
พาร์ตอื่น ๆ ซึ่งพี่สรุปรายละเอียดเนื้อหาที่น้อง ๆ ควรเตรียมสอบของแต่ละเดือนเอาไว้หมดแล้ว ลองนำไปปรับใช้กันดูน้าา
ตารางอ่านหนังสือ TPAT1 พาร์ตเชาวน์เลข
- เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม
สำหรับการวางแผนเตรียมตัวสอบ TPAT1 พี่แนะนำให้เริ่มเก็บพาร์ตเชาวน์เลขตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไปน้า โดยควรเก็บเนื้อหาคณิตศาสตร์พื้นฐานเรื่องสมการ อัตราส่วน ร้อยละ เปอร์เซ็นต์ การนับและความน่าจะเป็น และสถิติ (ถ้าใครที่สอบ TGAT2 ด้วย จะเห็นเลยว่าเนื้อหาพื้นฐานบางส่วนของสองวิชานี้คล้ายกันอยู่ ถ้าเตรียมตัวสอบ TPAT1 พาร์ตเชาวน์เลขนี้แล้ว จะทำให้น้อง ๆ เก็บเนื้อหาในการสอบ TGAT2 ได้เร็วขึ้นด้วยน้าา) - เดือนสิงหาคม – เดือนตุลาคม
พี่แนะนำให้น้อง ๆ ตะลุยโจทย์ และหาแนวข้อสอบเก่ามาฝึกทำได้เลย หากมีเรื่องไหนที่ยังทำโจทย์ไม่แม่นก็สามารถกลับไปทบทวนเนื้อหาเพิ่มเติมได้เลย - เดือนพฤศจิกายน
เดือนสุดท้ายก่อนจะถึงวันสอบ พี่แนะนำให้ลองทำ Mock Test แบบจับเวลาจริง เพื่อเช็กว่าเราสามารถทำข้อสอบได้กี่คะแนน และช่วยให้เราวางแผนการจัดการเวลาในห้องสอบได้ง่ายขึ้น
ตารางอ่านหนังสือ TPAT1 พาร์ตเชาวน์ไทย
- เดือนตุลาคม
เนื่องจากสัดส่วนข้อสอบของ TPAT1 พาร์ตเชาวน์ไทยมีจำนวนไม่มากและเนื้อหาที่ต้องเก็บก็น้อย พี่จึงแนะนำให้เก็บพาร์ตนี้ในช่วงก่อนสอบไม่กี่เดือนหรือช่วงเดือนตุลาคม โดยฝึกฝนผ่านการทำข้อสอบจะเห็นผลที่สุด โดยเน้นทำ
ข้อสอบพาร์ตเรื่องการอ่าน (ปีที่แล้วออกแค่เรื่องนี้) และเก็บเนื้อหาเรื่องอุปมาอุปไมย รวมถึงเรื่องเชาวน์คำศัพท์
เผื่อข้อสอบปีนี้ออกเรื่องเหล่านี้เพิ่มเติมน้าา - เดือนพฤศจิกายน
พี่แนะนำให้ลองทำ Mock Test แบบจับเวลาไปด้วย เพื่อเช็กจุดเด่นและจุดด้อยของเราก่อนเข้าสู่สนามสอบจริง
ตารางอ่านหนังสือ TPAT1 พาร์ตเชื่อมโยง
- เดือนกันยายน
ข้อสอบ TPAT1 พาร์ตเชื่อมโยงนี้เป็นข้อสอบประเภททักษะ น้อง ๆ จึงควรใช้เวลาในการฝึกทำข้อสอบจริงให้ได้มากที่สุด ดังนั้นพี่ขอแนะนำให้เริ่มด้วยการเก็บเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทั้ง 4 แบบอย่างสั้น ๆ ในช่วงเดือนกันยายน (อย่าลืมทดสอบความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ด้วยการฝึกทำข้อสอบข้อความสั้น ๆ กันด้วยน้า) - เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน
ช่วงเดือนตุลาคม พี่แนะนำให้ค่อย ๆ ขยับความยากมาที่ข้อสอบบทความขนาดยาวที่มีตัวเลือก 10 ตัวเลือก
(ในช่วงเดือนนี้ ลองทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยงของยุคก่อน ๆ เพราะข้อสอบจะง่ายกว่าข้อสอบพาร์ตเชื่อมโยงของ TPAT1) และในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนให้น้อง ๆ ทำข้อสอบจริง 20 ตัวเลือกของพาร์ตเชื่อมโยง TPAT1 ต่อได้เลย
ตารางอ่านหนังสือ TPAT1 พาร์ตจริยธรรมแพทย์
เนื่องจาก TPAT1 พาร์ตจริยธรรมแพทย์เป็นพาร์ตที่มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะ ดังนั้นพี่จึงแนะนำการเก็บเนื้อหาออกเป็นเดือนดังนี้
- เดือนสิงหาคม
แนะนำให้เก็บเนื้อหาหลักจริยธรรมแพทย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง - เดือนกันยายน
พี่แนะนำว่าควรเก็บเนื้อหาหลักจริยธรรมทั่วไป เช่น หลักธรรม สิทธิ การเป็นพลเมืองที่ดีในสังคม และการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ - เดือนตุลาคม
เก็บประเด็นหรือข่าวที่เป็นกระแสสังคมในรอบปี โดยเน้นไปที่ข่าวสำคัญ ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม หรือ
เรื่องราวกระแสดราม่าในรอบปี เพราะข้อสอบมักหยิบประเด็นพวกนี้มาออกข้อสอบด้วย - เดือนพฤศจิกายน
แนะนำให้น้อง ๆ ทำข้อสอบเสมือนจริงเพื่อเช็กจุดเด่นและจุดด้อยของเราก่อนเข้าสู่สนามสอบจริง
ตารางอ่านหนังสือแบบรายวัน สำหรับ Dek68
หลังจากได้เห็นภาพรวมการเตรียมตัวสอบแต่ละวิชาแบบรายเดือนกันไป น้อง ๆ อาจจะเริ่มจัดตารางอ่านหนังสือของ
ตัวเองได้บ้างแล้ว แต่บางก็อาจจะยังไม่แน่ใจว่าควรจจะจัดตารางอ่านหนังสือรายวันสำหรับสอบเข้ามหาลัยฯ ยังไงดี พี่เลยขอแถมตารางอ่านหนังสือแบบรายวันมาให้ทุกคนดูเป็นแนวทาง และลองนำไปปรับใช้ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของตัวเองกันดูน้า
ดาวน์โหลดตารางอ่านหนังสือแบบรายวันสำหรับ Dek68 คลิก
ตารางอ่านหนังสือเด็กซิ่ว
นอกจากตารางอ่านหนังสือแต่ละวิชา ตารางอ่านหนังสือรายวันสำหรับน้อง ๆ Dek68 ที่ยังคงเรียน ม.6 อยู่ พี่ก็มีตารางอ่านหนังสือสำหรับเด็กซิ่วมาแจกให้ทุกคนด้วยเหมือนกัน ใครที่ซิ่วอยู่บ้าน หรือซิ่วไปเรียนไปก็สามารนำตารางนี้ไปปรับใช้กับไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้เลยน้าา
ดาวน์โหลดตารางอ่านหนังสือเด็กซิ่ว คลิก
เวลาเหลือน้อย แพลนตารางอ่านหนังสืออย่างไร ?
การจัดตารางอ่านหนังสือเป็นเคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบที่พี่แนะนำให้ Dek68 ลองหยิบมาลองทำกันดู แต่พี่ขอย้ำเพิ่มอีกนิดหนึ่ง คือ ให้ลองนำตัวอย่างตารางอ่านหนังสือที่พี่วางแพลนไว้มาปรับใช้กับไลฟ์สไตล์ตัวเองดูอีกทีว่า ตาราง
อ่านหนังสือแบบไหนที่เหมาะกับเรา
โดยน้อง ๆ ไม่จำเป็นต้องยึดตามแพลนที่พี่วางไว้ทุกอย่างก็ได้น้าา เพราะแต่ละคนก็มีวิธีการเตรียมตัวสอบที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะเริ่มเตรียมตัวคนละเดือนกับที่พี่วางเอาไว้ ดังนั้นน้อง ๆ ควรปรับตารางอ่านหนังสือให้เข้ากับตัวเองและเวลาที่เรามีเหลืออยู่จึงจะดีที่สุดนั่นเอง
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากได้ตัวช่วยในการเตรียมตัวสอบตั้งแต่เริ่มเก็บเนื้อหาไปจนถึงพาทำโจทย์เพิ่มเติม พี่ก็มีคอร์สเตรียมสอบสำหรับ Dek68 มาแนะนำเพียบบบ ไม่ว่าจะเป็น TGAT, TPAT1, A-Level ซึ่งแต่ละคอร์สก็จะสอนเนื้อหา
อัดแน่นมากก พร้อมพาตะลุยโจทย์หลากหลาย อิงตาม Test Blueprint แถมมีอัปเดตข้อสอบให้ฟรีถึงปีล่าสุดด้วย
ใครที่อยากเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้ จะได้พร้อมสอบยิ่งกว่าใคร บอกเลยว่าไม่ควรพลาด สามารถ คลิก เข้ามาดู
รายละเอียดแต่ละคอร์สได้เลยน้าา
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro