เกณฑ์ขั้นต่ำ, สัดส่วนคะแนน แตกต่างกันยังไง ?

มีใครเคยเป็นแบบนี้ไหม ? เปิดเกณฑ์การคัดเลือกของมหาลัยฯ แล้วไม่รู้ว่าจะเช็กคุณสมบัติยังไง เพราะมีคำที่คล้ายกันอยู่เต็มไปหมด ทั้งเกณฑ์ขั้นต่ำ ทั้งสัดส่วนคะแนน แล้วเราต้องดูอันไหนกันแน่ ?

ถ้าใครกำลังสับสนอยู่ พี่มาตอบคำถามให้แล้วในบทความนี้ที่พี่จะพาไปดูตั้งแต่ความหมายของทั้งสองคำ การคำนวณเกณฑ์ขั้นต่ำและสัดส่วนคะแนน ไปจนถึงคำถามที่น้อง ๆ อาจจะสงสัย ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันนน

เกณฑ์ขั้นต่ำ หรือ เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ คือ เงื่อนไขขั้นต่ำสุดที่แต่ละคณะ / มหาลัยฯ กำหนดไว้ เพื่อใช้คัดเลือกนักเรียนในการเข้าเรียนต่อคณะนั้น ๆ โดยน้อง ๆ จะต้องมีคุณสมบัติถึงหรือมากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำนี้เท่านั้น จึงจะถือว่ามีคุณสมบัติครบและไม่ถูกตัดสิทธิ์ โดยเกณฑ์ขั้นต่ำก็จะมีอยู่ 3 รูปแบบ ตามนี้เลยย

เกณฑ์ขั้นต่ำ มีอะไรบ้าง ?

1. จำนวนหน่วยกิต : คือหน่วยกิตของแต่ละกลุ่มสาระวิชาที่น้อง ๆ ได้เรียนมาตลอด 3 ปีของชั้นม.ปลาย ซึ่งต้องมีให้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่คณะกำหนด

2. เกรดเฉลี่ย : เป็นอีกหนึ่งเกณฑ์ขั้นต่ำที่หลายคณะ / มหาลัยฯ ใช้กันเยอะมากกก ซึ่งจะมีการกำหนดเกณฑ์แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ ตามนี้เลย

  • GPAX : เกรดเฉลี่ยสะสมทุกวิชาในระดับชั้นม.ปลาย โดยการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำด้วย GPAX จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับรอบที่น้อง ๆ สมัครว่าจะใช้ GPAX ทั้งหมดกี่เทอม เช่น รอบ 1 Portfolio จะใช้ GPAX 5 เทอม, รอบ 2 Quota
    จะใช้ GPAX 5-6 เทอม ขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการกำหนด, ส่วนรอบ 3 Admission และรอบ 4 Direct Admission
    จะใช้ GPAX 6 เทอมน้าา
  • GPA กลุ่มสาระวิชาต่าง ๆ : เกรดเฉลี่ยแบบแยกหมวดหมู่ของแต่ละกลุ่มสาระ ซึ่งจะรวมทั้งวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมที่อยู่ในหมวดเดียวกันเลย เช่น GPA กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, GPA กลุ่มสาระการเรียนรู้
    ภาษาต่างประเทศ

3. คะแนนสอบวิชาต่าง ๆ : ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญเลยน้า เพราะมีหลายคณะ / มหาลัยฯ ในระบบ TCAS ที่มี
การกำหนดเกณฑ์คะแนนสอบของแต่ละวิชาทั้ง A-Level, TGAT / TPAT ที่น้อง ๆ ต้องได้เอาไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของคะแนนดิบหรือเปอร์เซ็นต์ก็ตาม โดยสามารถแบ่งเกณฑ์ขั้นต่ำได้ 2 รูปแบบ คือ

  • กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำแยกรายวิชา : จะเป็นการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำแบบแยกวิชา ซึ่งในแต่ละวิชาน้อง ๆ ต้องได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์นั้น ๆ

    ตัวอย่างคณะที่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำแยกรายวิชา เช่น คณะสหเวชศาสตร์ สาขารังสีเทคนิค จุฬาฯ กำหนดเกณฑ์
    ขั้นต่ำของคะแนน TGAT อยู่ที่ 25%

  • กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำรวม : เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำที่รวมหลาย ๆ วิชาเข้าด้วยกัน แปลว่าการที่น้อง ๆ จะเปรียบเทียบกับเกณฑ์ขั้นต่ำรวมได้ จะต้องนำคะแนนที่ตัวเองได้ในวิชาที่ทางคณะกำหนดมาบวกกันก่อน แล้วเปรียบเทียบว่าคะแนนรวมของเรานั้นมากกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์ขั้นต่ำรวมหรือเปล่า

    ตัวอย่างคณะที่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำรวม เช่น คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำรวมของ TGAT
    + A-Level คณิต 1 + A-Level สังคม + A-Level ภาษาไทย + A-Level ภาษาอังกฤษ ที่ 40%

ทั้งนี้บางคณะอาจจะกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำแบบแยกรายวิชาและเกณฑ์ขั้นต่ำรวมเป็นคุณสมบัติทั้งคู่ด้วย หมายความว่า
น้อง ๆ จะต้องทำคะแนนแยกรายวิชาให้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ รวมถึงคะแนนรวมของทุกวิชาที่กำหนดจะต้องถึงเกณฑ์ขั้นต่ำรวมด้วยน้าา

ได้รู้จักเกณฑ์ขั้นต่ำแต่ละแบบกันไปแล้ว ทีนี้น้อง ๆ ก็คงอยากรู้แล้วใช่ไหมว่า สัดส่วนคะแนน ที่เรามักจะสับสนกับเกณฑ์
ขั้นต่ำ หมายถึงอะไร แล้วจะแตกต่างกับเกณฑ์ขั้นต่ำที่ตรงไหน หาคำตอบได้ในหัวข้อถัดไปกันเลยยย

สัดส่วนคะแนน (ค่าน้ำหนักคะแนน) คืออะไร ?

สัดส่วนคะแนน คือ ค่าน้ำหนักของคะแนนแต่ละวิชาที่กำหนดเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก โดยแต่ละคณะจะกำหนดสัดส่วนของค่าน้ำหนักคะแนนไม่เหมือนกัน แต่เมื่อนำค่าน้ำหนักคะแนนของแต่ละวิชาบวกกันแล้วจะได้ครบ 100% พอดี (ซึ่งเกณฑ์
ขั้นต่ำจะไม่สามารถทำได้น้าา)

เราสามารถดูความสำคัญของวิชาที่ใช้สอบได้จากสัดส่วนคะแนน เพราะถ้าวิชาไหนมีสัดส่วนคะแนนมาก แปลว่าวิชานั้นสำคัญมากและอาจส่งผลต่อภาพรวมคะแนนของน้อง ๆ เลยก็ได้

ตัวอย่างสัดส่วนคะแนน เช่น คณะพยาบาล ม.มหิดล กำหนดสัดส่วนคะแนน คือ TGAT 30% + A-Level คณิต 1 25%
+ A-Level เคมี 10% + A-Level ชีววิทยา 10% + A-Level ภาษาอังกฤษ 25%

ความแตกต่างของเกณฑ์ขั้นต่ำและสัดส่วนคะแนนโดยดูจากเกณฑ์จริงของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เป็นตัวอย่าง

วิธีคิดเกณฑ์ขั้นต่ำ และ สัดส่วนคะแนน

เกณฑ์ขั้นต่ำ

อย่างที่น้อง ๆ เห็นในหัวข้อเกณฑ์ขั้นต่ำเลยว่า แต่ละมหาลัยฯ ก็จะมีวิธีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำแบบแยกรายวิชาหรือการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำรวม ซึ่งถ้าคณะกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำแบบแยกรายวิชามา น้อง ๆ สามารถนำคะแนนวิชานั้น ๆ ที่เราได้ไปเปรียบเทียบโดยตรงได้เลย แต่ถ้ามีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำรวม อันนี้เราต้องมาคำนวณเพื่อหาคะแนนดิบกันอีกทีน้าา

 วิธีการคำนวณเกณฑ์ขั้นต่ำรวม

 ให้น้อง ๆ นำคะแนนเต็มของทุกวิชาที่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำมา บวกกัน แล้ว คูณด้วย เปอร์เซ็นต์รวมขั้นต่ำที่คณะนั้น ๆ กำหนด จากนั้นให้ หารด้วย 100 เท่านี้ก็ได้เกณฑ์ขั้นต่ำรวมในรูปแบบคะแนนดิบออกมาแล้วว

เช่น น้อง ๆ อยากเข้าคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำรวมของ TGAT + A-Level คณิต 1
+ A-Level สังคม + A-Level ภาษาไทย + A-Level ภาษาอังกฤษ ที่ 40% ซึ่งแต่ละวิชาก็มีคะแนนเต็มอยู่ที่ 100 คะแนน เมื่อนำคะแนนเต็มทุกวิชามาบวกกันแล้วคูณกับ 40 และหารด้วย 100 ก็จะได้เกณฑ์ขั้นต่ำอยู่ที่ 200 คะแนน หมายความว่าน้อง ๆ ต้องทำคะแนนทุกวิชาข้างต้นรวมกันให้ได้มากกว่า 200 คะแนนน้าา

สัดส่วนคะแนน

โดยทั่วไปสัดส่วนคะแนนจะอยู่ในรูปของเปอร์เซ็นต์ ซึ่งถ้าน้อง ๆ อยากรู้ว่าคณะไหนเน้นวิชาอะไรมากกว่ากันก็สามารถดูเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์โดยตรงได้เลย ทั้งนี้สัดส่วนคะแนนจะนำไปใช้คำนวณกับคะแนนที่เราได้ เพื่อหาว่าจากค่าน้ำหนักคะแนนที่คณะนั้น ๆ กำหนด คะแนนเราจะเป็นเท่าไร

 วิธีการคำนวณสัดส่วนคะแนน

นำคะแนนที่ได้ หารด้วย คะแนนเต็มวิชานั้น ๆ แล้ว คูณกับ ค่าน้ำหนักที่กำหนด

เช่น น้อง ๆ ได้คะแนน A-Level คณิต 1 60 คะแนน และอยากเข้าคณะพยาบาล ม.มหิดล ที่กำหนดสัดส่วนของ A-Level คณิต 1 อยู่ที่ 25% ดังนั้นคะแนนที่เราได้เมื่อคูณกับค่าน้ำหนักแล้วจะอยู่ที่ 15 คะแนนนั่นเองง ซึ่งถ้าใครอยากรู้วิธี
การคำนวณคะแนนแบบเจาะลึกเพิ่มเติมล่ะก็สามารถเข้าไปอ่านบทความ วิธีคิดคะแนนรอบ 3 ได้เลยน้าา

Q&A รวมคำถามเกณฑ์ขั้นต่ำ / สัดส่วนคะแนน

คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ ยื่นได้ไหม ?

อย่างที่พี่บอกไปเลยน้าา ว่าเกณฑ์ขั้นต่ำคือเงื่อนไขที่ทางคณะ / มหาลัยฯ กำหนดคุณสมบัติของเราไว้ไม่ว่าจะเป็นหน่วยกิต เกรด หรือคะแนนสอบก็ตาม ดังนั้นถ้าคะแนนของน้อง ๆ ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด พี่ก็ไม่แนะนำให้ยื่นจะดีกว่า
เพราะจะถือว่าคุณสมบัติของเราไม่ครบตามที่คณะ / มหาลัยฯ กำหนด และจะถูกตัดสิทธิ์ทันที T_T

ถ้าคณะไม่ได้กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ ยื่นคะแนนแล้วจะสอบติดเลยไหม ?

ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทางคณะ / มหาลัยฯ อีกทีน้า เพราะถึงแม้ว่าจะไม่ได้กำหนดเกณ์ขั้นต่ำ แต่ก็ยังมีคุณสมบัติ
อื่น ๆ ที่ทางคณะ / มหาลัยฯ ต้องดูควบคู่กันไปด้วย เช่น คะแนนสอบรวมที่แต่ละคนได้ ซึ่งต้องเทียบกับผู้สมัครทั้งหมด
อีกทีเพื่อหาว่าใครที่จะผ่านการคัดเลือกบ้าง

ถ้าคณะไม่ได้กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ ยื่นคะแนนแล้วจะสอบติดเลยไหม ?

การรู้เกณฑ์ขั้นต่ำและสัดส่วนคะแนนจะช่วยให้เราวางแผนอ่านหนังสือได้ดีขึ้นและควรจะโฟกัสวิชาไหนก่อนหรือหลัง
รวมถึงรู้ว่าควรจะตั้งเป้าคะแนนอยู่ในช่วงที่เท่าไร เพื่อไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่คณะนั้น ๆ กำหนด นอกจากนี้สัดส่วนคะแนนที่แต่ละคณะกำหนดยังสามารถนำมาคำนวณเป็นคะแนนรอบ 3 ของเราและใช้เปรียบเทียบกับคะแนนสูง-ต่ำของ
ปีล่าสุดได้ เพื่อช่วยในการจัดอันดับรอบ 3 นั่นเองง

เกณฑ์ขั้นต่ำกับสัดส่วนคะแนนถือเป็นสองสิ่งที่สำคัญมากกก เวลาที่เราดูเกณฑ์ต่าง ๆ ของมหาลัยฯ เพราะถ้าเราดูผิดก็อาจจะทำให้เราเข้าใจผิดไปด้วย แต่หลังจากอ่านกันมาจนถึงตรงนี้ พี่ว่าหลายคนน่าจะเคลียร์ขึ้นแล้วใช่ไหมว่า เกณฑ์ขั้นต่ำ กับ สัดส่วนคะแนน แตกต่างกันยังไงบ้าง ทีนี้เวลาเราดูประกาศเกณฑ์คะแนนของแต่ละมหาลัยฯ หรือดูเกณฑ์คะแนนในเว็บไซต์ MyTCAS ก็จะไม่งงหรือดูผิดอีกต่อไปแล้วว

คอร์สเรียน แนะนำ

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

รวมคะแนนสูงต่ำ รอบ 3 Admission
[ย้อนดู] คะแนนสูงสุด-ต่ำสุด TCAS67 รอบ 3 ที่ Dek67 ต้องรู้
1-10
คิดคะแนนรอบ 3 TCAS67 แบบง่าย ๆ พร้อมวิธีคาดการณ์คะแนนขั้นต่ำ
เทคนิคจัดอันดับ รอบ 3
เทคนิคจัดอันดับ รอบ 3 Admission ยังไงให้ติดชัวร์
Dek68 จะสอบเข้ามหาลัยฯ ต้องเตรียมตัวยังไง ?
Dek68 จะเข้ามหาลัยฯ ควรเริ่มยังไง? สรุปทุกขั้นตอนควรรู้ของ TCAS68
เตรียมตัวอ่านหนังสือ TCAS68 ยังไงให้สอบติด
TCAS68 อยากสอบติด เตรียมตัวอ่านหนังสือยังไง? Dek68 ควรอ่าน

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Line : @smartmathpronews

รวมถึงข่าวสารต่าง ๆ อัปเดตอย่างเรียลไทม์

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share