เจาะลึกข้อสอบ TPAT1 กสพท คณิตเชาวน์ปัญญา

จากระบบสอบที่เปลี่ยนไปตั้งแต่ TCAS66 ทำให้หลาย ๆ คนที่จะสอบ กสพท กังวลเรื่องการเตรียมตัวว่าปีนี้จะมีอะไรเปลี่ยนไปจากปีก่อน ๆ บ้าง ? ข้อสอบจะออกประมาณไหน ? แนวข้อสอบย้อนหลังจะยังใช้ได้มั้ย ? แล้วจะเตรียมตัวยังไงดี โดยเฉพาะพาร์ตเชาวน์ปัญญา ใน TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท (ความถนัดแพทย์) วันนี้พี่เลยจะมาสรุปให้แบบจัดเต็ม (อัปเดตล่าสุดวันที่ 19 ม.ค. 67)

สำหรับน้อง ๆ ที่จะเข้าสายหมอ คงอยากรู้แล้วใช่มั้ยยว่า TPAT1 พาร์ตเชาวน์ปัญญา ออกสอบอะไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างจากปีที่ผ่าน ๆ มา แต่ก่อนอื่นพี่จะขอสรุปให้ฟังสั้น ๆ ก่อนน้าว่า TPAT1 จะมีด้วยกันทั้งหมด 3 พาร์ต ก็คือพาร์ตเชาวน์ปัญญาที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ พาร์ตจริยธรรมแพทย์ และพาร์ตความคิดเชื่อมโยง

สำหรับข้อสอบพาร์ตเชาวน์ปัญญา อ้างอิงจาก ปี 67 พาร์ตนี้จะแบ่งได้เป็น 4 หมวดตามนี้เลยย

  1. โจทย์ปัญหา
  2. บทความ กราฟ ตาราง
  3. ตรรกศาสตร์ / การวิเคราะห์ข้อความ
  4. เชาวน์ไทย การจับใจความ

การเปลี่ยนแปลงของพาร์ตเชาวน์ปัญญา กสพท67

-การเปลี่ยนแปลงของข้อสอบความถนัดแพทย์ พาร์ตเชาวน์ปัญญา
  • กสพท 66 ข้อสอบพาร์ตเชาวน์ปัญญาเน้นแนวข้อมูลในรูปแบบตาราง แผนภูมิ แผนภาพ และกราฟ โดยแต่ละชุดข้อมูลเป็นการตอบคำถาม 4 – 5 ข้อ นอกจากนี้ยังมีแนวที่เป็นบทความให้ได้อ่านและจับประเด็นในการตอบคำถามต่าง ๆ นอกจากนี้โจทย์แนวมิติสัมพันธ์ก็มีออกสอบอยู่บ้าง
  • กสพท 67 ข้อสอบส่วนวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลจากแผนภูมิ และกราฟมีน้อยลง แต่จะเน้นโจทย์แนวที่ต้องคำนวณเปอร์เซ็นต์ ร้อยละ อัตราส่วนแทน ซึ่งโจทย์แนวนี้จะคล้ายกับข้อสอบ BMAT (The BioMedical Admissions Test) โจทย์มีความหลากหลาย และในปีนี้ไม่มีโจทย์แนวมิติสัมพันธ์ออกสอบเลย

คาดเดาทิศทางของข้อสอบพาร์ตเชาวน์ปัญญาในปีต่อ ๆ ไป

น้อง ๆ รู้กันมั้ยยย ว่าข้อสอบพาร์ตเชาวน์ปัญญาในปีที่ผ่าน ๆ มา มีแนวข้อสอบที่หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นโจทย์อนุกรมตัวเลข มิติสัมพันธ์ วัดเชาวน์ วัดตรรกะ โจทย์ปัญหา และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งแต่ละปีก็จะเอาแนวโจทย์ต่าง ๆ มาออกสลับกันไป บางปีอาจออกเรื่องหนึ่งเยอะ แต่ปีต่อไปอาจเอามาออกน้อย หรือไม่ออกเรื่องนั้นอีกเลยก็ได้

แต่ก็มีบางแนวเหมือนกันน้าที่ออกตลอด ก็คือโจทย์แนวที่วัดตรรกะ (การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล) และแนวปัญหาที่เน้นการคิดคำนวนพื้นฐานอย่างเช่น อัตราส่วน สัดส่วน ร้อยละ และเปอร์เซ็นต์

โดยเฉพาะในปีล่าสุด กสพท 67 จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ข้อสอบเน้นไปในแนวความสามารถด้านการคิดเชิงเหตุผลและการคิดคำนวณ คาดว่าปีต่อ ๆ ไปก็อาจจะยังเน้นโจทย์แนวนี้เหมือนเดิม แต่สัดส่วนของโจทย์แนวอื่นอาจจะเปลี่ยนไป โดยแนวที่เคยออกน้อยลงหรือไม่ได้ออกแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะกลับมาออกได้อยู่น้า ต้องมารอดูกันอีกที ถ้ามีอะไรเปลี่ยนแปลงพี่จะรีบมาอัปเดตให้แน่นอนน > <

การเตรียมตัวสอบ TPAT1 พาร์ตเชาวน์ปัญญา

จากข้อสอบแต่ละปีที่ออกแนวโจทย์ที่หลากหลาย ทำให้การเตรียมตัวสอบสำหรับพาร์ตเชาวน์ปัญญานั้น ควรจะเน้นที่การทำแนวข้อสอบเก่าปีก่อน ๆ ให้เห็นแนวว่าต้องใช้ความรู้หรือเนื้อหาอะไรบ้างในการทำโจทย์จริง ๆ
น้อง ม.ปลายหลายคนที่กำลังเตรียมสอบ A-Level คณิต 1, 2 ด้วย อาจจะคิดว่าต้องใช้ความรู้เลข ม.ปลายบทไหนบ้าง ซึ่งที่จริงแล้วข้อสอบพาร์ตเชาวน์ไม่ใช่การอ่านคณิต ม.ปลายน้า เพราะถึงแม้โจทย์หลาย ๆ ข้อจะเป็นการคิดคำนวณ แต่นั่นก็เป็นเพียงใช้ทักษะการคำนวณพื้นฐาน เช่น การแปลงร้อยละเปอร์เซ็นต์, โจทย์แนวกำไรขาดทุน หรือ อัตราส่วน เป็นต้น จะเน้นไปทางความรู้คณิตประถมและคณิตม.ต้นมากกว่า ดูรวม ๆ แล้วเหมือนจะง่าย แต่ถ้าไม่ได้เตรียมตัวมาให้ดีก็อาจจะตกม้าตายกันได้ง่าย ๆ เลย T_T

ถ้าใครไม่มั่นใจ ก็ลองดูว่าแนวข้อสอบเก่า ๆ ว่าเคยออกโจทย์แบบไหนบ้าง และลองฝึกทำโจทย์ให้มากที่สุด รวมไปถึงข้อสอบจากสนามสอบต่าง ๆ ที่มีแนวข้อสอบคล้าย ๆ กัน อย่างเช่น ข้อสอบ BMAT, ข้อสอบ TSA (Thinking Skills Assessment), ข้อสอบ TGAT2 หรือข้อสอบ TPAT3 ก็ตาม ถ้าน้อง ๆ ฝึกทำโจทย์ได้เยอะมากเท่าไหร่ก็จะช่วยเพิ่มคะแนนในพาร์ตนี้ได้อย่างแน่นอน

ซึ่งข้อสอบ TGAT2 กับ TPAT3 สามารถดูแนวข้อสอบเบื้องต้นได้ใน Test Blueprint ที่เรียกว่ามีแนวโจทย์ที่ซ้ำซ้อนกับ TPAT1 กสพท อยู่ประมาณหนึ่งเลย เรียกว่า 2 วิชาดังกล่าว เอาข้อสอบแนวคณิตศาสตร์ เชาวน์ปัญญา กสพท ที่เคยมีอยู่เดิมไปรวมด้วยก็อาจไม่เกินจริง แต่ตอนนี้พาร์ตเชาวน์ก็เริ่มเปลี่ยนการออกให้ต่างไปแล้วน้า

ถ้าใครมีแพลนที่จะเตรียมสอบ TPAT1 ล่วงหน้า จะได้พร้อมก่อนใคร และอยากลองทำโจทย์หลาย ๆ แนวให้คุ้นมือ
พี่แนะนำคอร์ส Full Set MED เลยย คอร์สนี้พี่ติว TPAT1 ครบทั้ง 3 พาร์ต ซึ่งสอนร่วมกับอ.ขลุ่ยและพี่หมออู๋ ซึ่งพี่จะสอนตั้งแต่ปูพื้นฐานเลย เพื่อให้ทุกคนเข้าใจคอนเซ็ปต์ของข้อสอบแต่ละพาร์ตมากที่สุด มีโจทย์หลายแนวให้ฝึกทำ พร้อมเทคนิคทำข้อสอบให้ทันเวลาแบบจัดเต็ม (แถมฟรี !! Unseen Mock Test TPAT1 อีก 1 ชุด) ใครสนใจอยากดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก เลยยย

เทียบข้อสอบ TPAT1 พาร์ตเชาวน์ปัญญากับข้อสอบ TGAT2, TPAT3

สรุปภาพรวม TPAT1 ความถนัดแพทย์ พาร์ตเชาวน์ปัญญา

จริง ๆ แล้วข้อสอบ TPAT1 พาร์ตเชาวน์ปัญญา มีบางส่วนที่ลักษณะโจทย์เป็นแนวที่คล้ายกันกับโจทย์ในข้อสอบ TGAT2 ความถนัดทั่วไป – การคิดอย่างมีเหตุผล, TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์เลยนะ อย่างในข้อสอบ TGAT2 พาร์ตความสามารถทางตัวเลข และพาร์ตความสามารถทางเหตุผล ที่ข้อสอบพาร์ตเชาวน์ปัญญาก็จะมีโจทย์แนวนี้เช่นกัน ส่วน TPAT3 ก็มีพาร์ต การทดสอบด้านตัวเลข และการทดสอบด้านมิติสัมพันธ์ ซึ่งเป็นแนวโจทย์ที่พาร์ตเชาวน์ปัญญาเคยออกข้อสอบมาก่อน และปัจจุบันยังคงออกในข้อสอบ TGAT2 

ถึงแม้ว่าจริง ๆ แนวโจทย์พาร์ตเชาวน์ปัญญากับโจทย์ในข้อสอบ TGAT2, TPAT3 จะไม่ได้เหมือนกันขนาดที่เรียกว่าฝาแฝดได้ แต่ด้วยหลักการแก้ปัญหาโจทย์นั้นอยู่บนพื้นฐานการคิดคำนวณอย่างเป็นเหตุเป็นผลเช่นกัน เรียกได้ว่าฝึกโจทย์สนามหนึ่งไปเพิ่มเท่าไร ก็เสริมมุมมองการคิดของโจทย์อีกสนามหนึ่งคู่กันไปได้เล้ย

TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล

ข้อสอบ TGAT2 จะแบ่งย่อยอีกเป็น 4 หมวด หมวดละ 20 ข้อ รวม 80 ข้อ มีเวลาสอบ 60 นาที (เฉลี่ยข้อละไม่ถึงนาทีเลย โหดมากก !!!) เป็นปรนัย 5 ตัวเลือกครับ โดย 4 หมวดมีดังนี้

  • ความสามารถทางภาษา
  • ความสามารถทางจำนวน
  • ความสามารถทางมิติสัมพันธ์
  • ความสามารถทางเหตุผล

คณิตศาสตร์ พาร์ตเชาวน์ปัญญา ก็จะอยู่ใน 3 หมวดหลัง คือ ความสามารถทางจำนวน ทางมิติสัมพันธ์ และทางเหตุผล

TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

ข้อสอบ TPAT3 จะมี 70 ข้อ เวลาสอบ 180 นาที เป็นปรนัย 5 ตัวเลือก โดยแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ตามนี้เลยย
ส่วนที่ 1: การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 60 คะแนน ประกอบด้วย

  • ด้านตัวเลข (numerical reasoning) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
  • ด้านมิติสัมพันธ์ (diagrammatic reasoning) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
  • ด้านเชิงกล (mechanical reasoning) และด้านฟิสิกส์ (physics aptitude test) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)

ส่วนที่ 2 : การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 40 คะแนน ประกอบด้วย

  • ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
  • ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (จำนวน 10 ข้อรวม 20 คะแนน)

สรุปอีกครั้งสำหรับหัวข้อนี้ คือ ข้อสอบ TPAT1 , TGAT2 และ TPAT3 มีเนื้อหาบางส่วนที่มีความทับซ้อนกัน และอย่างที่พี่บอกไปว่า ล่าสุดข้อสอบพาร์ตเชาวน์ปัญญาไม่มีเรื่องอนุกรมมิติ อนุกรมภาพ หรือมิติสัมพันธ์เลย แต่มันอาจจะมีข้อสอบแนว ๆ นี้กลับมาอีกก็ได้ แต่ไม่ได้เป็นรูปแบบเดียวกับ TGAT2 เท่านั้นเองงง

สำหรับการฝึกโจทย์แนวนี้ พี่ขอแนะนำว่า Key คือการคิดตาม และมองให้ออก มันจะไม่ใช่ข้อสอบที่มีสูตรตั้งไว้ โยนข้อมูลเข้าสูตรแล้วได้คำตอบออกมา แต่เป็นการคิด ตีความ โจทย์ให้อะไรมา เตรียมหาอะไร เราจะติดอะไรเป็นตัวแปร แล้วค่อย ๆ แกะรอยจนได้คำตอบออกมา โดยในตอนแรก น้อง ๆ อาจจะมองไม่ออก หรือมองออกช้า ต้องคอยอ่านเฉลย แต่มันจะแก้ได้ด้วยการ “ฝึกฝน และทำโจทย์เยอะ ๆ”

พอน้องทำไปประมาณหนึ่งก็จะเริ่มทำได้คล่องขึ้นเองงง แต่อย่างที่บอกไปว่านี่เป็นแค่คำแนะนำจากพี่ทีมวิชาการเท่านั้นน้าถ้าน้อง ๆ อาจมีแนวหรือเทคนิคในการทำข้อสอบต่างจากนี้ ก็สามารถเอาเทคนิคที่แนะนำไปปรับใช้ให้เข้ากับตัวเองได้เล้ย สุดท้ายนี้พี่ไม่อยากให้น้องประมาทคิดว่ามันง่ายเราจะทำได้เองโดยไม่ต้องฝึก แล้วก็ไม่อยากให้น้องมองว่า มันยากจนเราฝึกไม่ได้ด้วยยย พี่เป็นกำลังใจให้น้า

คอร์สเรียน แนะนำ

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุป TPAT1 กสพท67 ฉบับอัปเดตล่าสุด
กสพท คืออะไร? ต้องสอบอะไรบ้าง? อัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับ กสพท!!
คะแนนสูงต่ำ กสพท ตั้งแต่ ปี 59-66
พาดูคะแนนสูงต่ำ กสพท ควรได้คะแนนเท่าไรถึงสอบติด เช็กเลย !
สรุปวิธีคิดคะแนนกสพท 67 และ 3 ขั้นตอนคาดการณ์คะแนนขั้นต่ำ
คะแนนกสพท 67 คิดยังไง? พร้อมสรุปวิธีคาดการณ์คะแนนขั้นต่ำ!
tpat1
ส่องคะแนน TPAT1 กสพท 67 แนวโน้มคะแนนจะเฟ้อหรือฝืด มาดูกัน!
Dek68 จะสอบเข้ามหาลัยฯ ต้องเตรียมตัวยังไง ?
Dek68 จะเข้ามหาลัยฯ ควรเริ่มยังไง? สรุปทุกขั้นตอนควรรู้ของ TCAS68
เตรียมตัวอ่านหนังสือ TCAS68 ยังไงให้สอบติด
TCAS68 อยากสอบติด เตรียมตัวอ่านหนังสือยังไง? Dek68 ควรอ่าน

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Line : @smartmathpronews

รวมถึงข่าวสารต่าง ๆ อัปเดตอย่างเรียลไทม์

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share