คณะวิทยาศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร

พอพูดถึงคณะวิทยาศาสตร์แล้ว น้อง ๆ หลายคนก็อาจจะคิดว่าเป็นการเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แบบทั่วไป เช่น
ตั้งสมมติฐาน หรือทำการทดลอง เหมือนตอนเรียนมัธยม แต่จริง ๆ แล้วคณะนี้มีความน่าสนใจแถมเนื้อหายังหลากหลายมากเลยน้าาา

วันนี้พี่ก็เลยจะพาทุกคนไปเจาะลึกเกี่ยวกับคณะวิทยาศาสตร์ให้มากกว่าแค่ผิวเผิน โดยรวบรวมมาจากคำถามที่หลายคนสงสัย ไม่ว่าจะเป็นคณะวิทยาศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง มีที่ไหนเปิดสอน อยากเข้าต้องใช้คะแนนอะไร และเรียนคณะวิทยาศาสตร์จบมาทำงานอะไรได้บ้าง ใครอยากรู้คำตอบแล้ว รีบเลื่อนลงไปดูกันเล้ยยย

คณะวิทยาศาสตร์ จะเรียนเกี่ยวกับการใช้กระบวนการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสังเกต หรือ การทดลอง และในแต่ละสาขาก็จะเน้นด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้าไปอีก เช่น คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ เป็นต้น โดยเนื้อหาจะมีความลึกขึ้นกว่าตอนเรียนมัธยม และจะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปี ซึ่งแต่ละปีจะเรียนอะไรบ้าง พี่สรุปมาให้แล้วว

คณะวิทยาศาสตร์ ปี 1 : ในชั้นปีที่ 1 นี้น้อง ๆ จะเริ่มเรียนจากวิชาพื้นฐานของคณะก่อน เช่น วิชาในหมวดสังคม, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, คณิตศาสตร์(แคลคูลัส), ฟิสิกส์ทั่วไป, ชีววิทยาทั่วไป, เคมีทั่วไป ซึ่งวิชาก็จะขึ้นอยู่กับหลักสูตรเลย แต่หลัก ๆ แล้วจะเรียนเพื่อปูพื้นฐานก่อนน้าาา

คณะวิทยาศาสตร์ ปี 2 : เมื่อขึ้นปี 2 น้อง ๆ จะได้เรียนวิชาที่เกี่ยวกับสาขาของตัวเองมากขึ้น เช่น ถ้าเรียนสาขาชีววิทยา ก็จะได้เรียน เคมีอินทรีย์, นิเวศวิทยา หรือถ้าเลือกสาขาฟิสิกส์ก็จะได้เรียน กลศาสตร์, ฟิสิกส์เชิงคำนวณเบื้องต้น 

แต่นอกจากวิชาของสาขาแล้ว ในบางมหาลัยฯ น้อง ๆ ก็อาจจะต้องเรียนวิชาอังกฤษที่เป็นสำหรับวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ที่จำเป็นต้องใช้ประยุกต์กับวิชาสาขาอย่าง สถิติ ขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละที่เลยย

คณะวิทยาศาสตร์ ปี 3 : หลังจากที่ได้เรียนพื้นฐานและวิชาเบื้องต้นกันไปแล้ว ในปี 3 น้อง ๆ จะได้เรียนวิชาของสาขามากขึ้น เช่น น้อง ๆ เลือกเรียนสาขาวัสดุศาสตร์ ตอนปี 1 กับปี 2 ก็อาจจะได้เรียนพื้นฐานเกี่ยวกับวัสดุ ชนิดของวัสดุ 

แต่ปีนี้น้อง ๆ จะได้เอาความรู้ตรงนั้นมาเรียนเกี่ยวกับกระบวนการผลิตวัสดุ การทดสอบวัสดุ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวัสดุ เป็นต้น

คณะวิทยาศาสตร์ ปี 4 : ในปีสุดท้ายนี้น้อง ๆ อาจยังได้เรียนวิชาของสาขาอยู่น้า แต่นอกจากเรียนแล้วก็จะมีการฝึกงาน และการทำผลงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์, งานวิจัยหรือสัมมนาก่อนเรียนจบด้วย เพื่อให้น้อง ๆ ได้เอาความรู้ที่เรียนมาตลอด 4 ปีมาสร้างเป็นผลงานนั่นเอง

หมายเหตุ : แต่ละมหาลัยฯ จะมีหลักสูตรไม่เหมือนกันน้า นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสาขาที่น้อง ๆ เลือกเรียนด้วย แนะนำให้ทุกคนหาข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของมหาลัยฯ เลยย จะได้รู้ว่าต้องเรียนวิชาอะไรบ้างงงง

คณะวิทยาศาสตร์ มีมหาลัยไหนบ้าง ?

น้อง ๆ รู้มั้ยว่าคณะวิทยาศาสตร์เป็นอีกหนึ่งคณะที่มีมหาลัยฯ เปิดสอนเยอะมาก ๆ เรียกได้ว่าเกือบจะทุกมหาลัยฯ เลย แต่วันนี้พี่จะขอยกตัวอย่างมาให้ดูก่อน 10 มหาลัยฯ มาดูพร้อมกันเลยว่าจะมีที่ไหนบ้างง

  • คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะวิทยาศาสตร์ ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง ?

สำหรับใครที่อยากเรียนคณะวิทยาศาสตร์ น้อง ๆ สามารถเลือกยื่นคะแนนได้ทั้ง 4 รอบเลยน้าา โดยแต่ละรอบก็จะมีเกณฑ์การยื่นที่แตกต่างกันออกไป ถ้า ใครสงสัยว่าแต่ละรอบต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง พี่สรุปมาให้เรียบร้อยแล้วว

รอบ 1 Portfolio

รอบ 1 Portfolio เป็นรอบที่ใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ยื่นเข้ามหาลัยฯ โดยในรอบนี้ทางมหาลัยฯ จะเปิดรับสมัครเป็นโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน, โครงการโอลิมปิกวิชาการ เป็นต้น

ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ก็จะแตกต่างกันออกไป บางที่อาจพิจารณาแค่ portfolio แต่บางที่ก็อาจจะดูคะแนนสอบหรือคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย ใครอยากยื่นในรอบนี้ พี่แนะนำให้เริ่มเก็บผลงานกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้เลยน้า พอกำหนดการออกแล้วจะได้พร้อมยื่นเลยย

รอบ 2 Quota

รอบ 2 Quota จะเปิดรับสมัครเป็นโครงการต่าง ๆ เหมือนรอบ Portfolio เลย แต่เกณฑ์การพิจารณาอาจจะไม่เหมือนกัน เพราะบางมหาลัยฯ ก็มีการกำหนดคะแนนสอบ TGAT / TPAT หรือ A-Level ด้วย

นอกจากนี้ส่วนใหญ่โครงการในรอบ 2 มักจะกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ เช่น เป็นนักเรียนในพื้นที่ หรือเป็นนักเรียนที่อยู่ในเครือสาธิตของมหาลัยฯ นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โครงการรับนักเรียนจากโรงเรียนสาธิต, โควตาพิเศษ 30 จังหวัด เป็นต้น

รอบ 3 Admission

รอบ 3 Admission รอบนี้เป็นระบบกลางที่น้อง ๆ จะได้ยื่นคะแนนพร้อมกันและเลือกได้มากสุดถึง 10 อันดับ และเนื่องจากเป็นรอบที่เปิดรับพร้อมกัน ทำให้จำนวนรับในรอบนี้ก็จะอาจจะเยอะกว่ารอบอื่น

โดยที่เกณฑ์คะแนนที่ใช้ของแต่ละคณะ / มหาลัยฯ จะไม่เหมือนกันน้า แนะนำว่าถ้าน้อง ๆ สนใจคณะ / สาขา / มหาลัยฯ ไหน ก็ให้ดูเกณฑ์รอบการรับของที่นั้น ๆ เลย จะได้รู้ว่าต้องใช้คะแนนเท่าไร และอย่าลืมดูคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วยน้า

ต้องบอกว่าหลาย ๆ สถาบันมีกำหนดคุณสมบัติที่แตกต่างกัน พี่แนะนำว่าให้เตรียมตัวล่วงหน้าและเก็บเนื้อหาหลาย ๆ วิชาให้ครอบคลุม เช่น TPAT3, A-Level คณิต เป็นต้น เพราะส่วนใหญ่แล้ว คณะวิทยาศาสตร์มักจะกำหนดให้ใช้คะแนนวิชาเหล่านี้ด้วย

แต่ถ้าใครที่กำลังจะเริ่มเตรียมตัวอ่านหนังสือสำหรับสอบเข้ามหาลัยฯ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไงดี แถมยังต้องเตรียมสอบอีกหลายวิชา และอยากได้ตัวช่วยเพิ่มเติม

พี่ขอแนะนำคอร์สเตรียมสอบเข้ามหาลัยฯ สำหรับ Dek68 เลยยย มีให้เลือกหลายสนาม ไม่ว่าจะเป็น TGAT2, 3 / TPAT1 หรือ A-Level ซึ่งในคอร์สมีปูพื้นฐาน และพาตะลุยโจทย์ไต่ระดับจากง่ายไปจนถึงข้อสอบสนามแข่งขันแบบจัดเต็ม อิงตาม Test Blueprint พร้อมอัปเดตข้อสอบปีล่าสุดให้ด้วย ถ้าใครสนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก ได้เลยน้าา

รอบ 4 Direct Admission

รอบ 4 Direct Admission รอบนี้เป็นรอบสุดท้ายของ TCAS แล้ว ซึ่งอาจจะเปิดรับไม่เยอะ และไม่ได้มีทุกคณะ / มหาลัยฯ ด้วย เป็นรอบที่ถ้าจะยื่นก็ต้องติดตามข่าวสารกันดี ๆ เลยว่าคณะ / มหาลัยฯ ที่เราสนใจนั้นเปิดรับไหม และเปิดรับเท่าไร ส่วนเกณฑ์คะแนนที่ใช้จะขึ้นอยู่กับมหาลัยฯ กำหนดเลย อาจจะใช้ TGAT / TPAT / A-Level หรือ GPAX ด้วย

คณะวิทยาศาสตร์จบมาทำงานอะไร ?

คนที่เรียนจบคณะวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะสาขาไหนก็ตาม สามารถเอาความรู้ที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้หลากหลายมาก ๆ ทั้งตรงสายและไม่ตรงสาย ซึ่งวันนี้พี่ก็จะยกตัวอย่างมาให้ดูสัก 5 สาขา ว่าจบคณะวิทยาศาสตร์ไปแล้วสามารถทำงานอะไรได้บ้างง

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี
1. เจ้าหน้าที่ควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม
2. นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในโรงงานอุตสาหกรรม
3. นักวิเคราะห์ นักเคมี ในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล หน่วยวิจัยขององค์กร

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์
1. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทางรังสีวิทยา
2. นักฟิสิกส์การแพทย์
3. นักธรณีฟิสิกส์

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา
1. พนักงานในฝ่ายควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์
2. นักวิจัยด้านชีววิทยา
3. นักวิทยาศาสตร์ในโรงงานอุตสาหกรรม

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์
1. นักวิเคราะห์ข้อมูล อุตุนิยมวิทยา
2. นักสถิติ
3. นักวิเคราะห์ข้อมูลด้านธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์
1. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์
2. นักวิเคราะห์ข้อมูล
3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์หรือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ

นอกจากสาขาเหล่านี้ที่พี่ยกตัวอย่างมาแล้ว สาขาอื่น ๆ ก็จบไปสามารถทำงานได้หลากหลายเช่นกัน ใครสนใจสาขาไหนก็ลองดูรายละเอียดในเว็บไซต์มหาลัยฯ เพราะบางมหาลัยฯ จะแนะนำเราเลยว่าจบแล้วทำอะไรได้บ้าง หรือจะลองถามจากรุ่นพี่ในสาขานั้น ๆ ก็ได้เหมือนกันเลยย

สุดท้ายนี้พี่หวังว่าข้อมูลเกี่ยวกับคณะวิทยาศาสตร์ที่เตรียมมาให้วันนี้จะช่วยให้กับน้อง ๆ ที่กำลังสนใจคณะวิทยาศาสตร์หรือกำลังเล็ง ๆ คณะนี้อยู่ได้รู้จักคณะวิทยาศาสตร์มากขึ้นน้า ถ้าใครอยากจะรู้เกี่ยวกับคณะวิทยาศาสตร์มากขึ้นว่ามีสาขาอะไรบ้างเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกเรียน พี่ก็มีรวบรวมไว้ให้เหมือนกันนน ไปดูข้อมูลเกี่ยวกับสาขาของคณะวิทยาศาสตร์กันได้เลยย >> คณะวิทยาศาสตร์ มีสาขาอะไรบ้าง ? รวมมาให้แล้วกว่า 16 สาขา !!

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

วิศวะ คอม เรียนอะไรบ้าง
รีวิวครบ วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวะคอม) เรียนเกี่ยวกับอะไร? มีที่ไหนบ้าง?
คณะวิศวกรรมศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร ? มีกี่สาขา ?
วิศวกรรมศาสตร์ เรียนอะไร มีสาขาอะไรบ้าง ใครอยากเรียนวิศวะห้ามพลาด
เตรียมตัวอ่านหนังสือ TCAS68 ยังไงให้สอบติด
แจกวิธีเตรียมสอบ TCAS68 และเทคนิคอ่านหนังสือที่ Dek68 ไม่ควรพลาด!
-TCAS68
TCAS68 สอบวันไหน ? สรุปตารางสอบ Dek68 พร้อมสรุปข่าว TCAS ล่าสุด
Dek68 จะสอบเข้ามหาลัยฯ ต้องเตรียมตัวยังไง ?
Dek68 สอบเข้ามหาลัยฯ ควรเริ่มยังไง? สรุปทุกขั้นตอนควรรู้ของ TCAS68

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 

Line : @smartmathpronews  รวมถึงข่าวสารต่าง ๆ อัปเดตอย่างเรียลไทม์

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share