
ก๊อกๆ มีใครกำลังรออ่านบทความ “คณะไหนยังไงเล่า” คณะวิศวกรรมศาสตร์บ้างงง ก่อนหน้านี้พี่ๆ ได้ทำบทความสัมภาษณ์รุ่นพี่จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ไปแล้ว วันนี้จะพาน้องๆ ทุกคนมาเจาะลึกกับ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ให้มากขึ้น
โดยจะสรุปว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร มีสาขาอะไรบ้าง มหาลัยฯ ไหนที่เปิดสอน และยังมีคำถามอื่นๆ
ที่น่าสนใจอีกมากมาย จะเล่าแบบจัดเต็มให้ครบทุกประเด็นเลย !!
คณะวิศวกรรมศาสตร์จะเรียนทั้งหมด 4 ปี โดยในแต่ละปีก็จะเรียนแตกต่างกันไปแล้วแต่สาขา ซึ่งวันนี้พี่ๆ จะขอพูดถึง
ภาพรวมแบบคร่าวๆ น้า ว่าถ้าเรียนวิศวะจะต้องเจอเนื้อหาประมาณไหน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปี 1 เหมือนกับคณะอื่นๆ ทั่วไป ซึ่งการเรียนวิศวะก็จะต้องเริ่มจากปูพื้นฐานก่อน ไม่ว่าจะเป็น
พื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์อย่างแคลคูลัส ที่น้องๆ น่าจะเคยได้เรียนกันมาแล้วในคณิต ม.ปลาย แต่ในบางสาขาก็อาจจะได้เรียนเคมีและชีวะเพิ่มเข้าไปด้วย นอกจากนี้ก็จะได้เรียนวิชาพื้นฐานสำหรับวิศวกรด้วยน้า
วิศวกรรมศาสตร์ ปี 2 ในปีนี้จะได้เรียนเนื้อหาที่ต่อยอดมาจากวิชาพื้นฐานตอนปี 1 ซึ่งน้องๆ จะได้เรียนวิชาเฉพาะของสาขามากขึ้น และแต่ละสาขาก็จะเรียนไม่เหมือนกันนะ เช่น ถ้าเรียนวิศวกรรมไฟฟ้า ก็จะได้เรียนวิชาของสาขาอย่าง วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น หรือ ปฏิบัติการทางวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น
และในปี 1-2 นี้น้องๆ จะได้เรียนเขียนแบบและเขียนโปรแกรมด้วยคอมพิวเตอร์ด้วยนะ แต่ว่าจะได้เรียนตอนปี 1 หรือปี 2
จะขึ้นอยู่กับมหาลัยฯ กำหนดเลย เพราะแต่ละสถาบันกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนไม่เหมือนกัน
วิศวกรรมศาสตร์ ปี 3 ในปีนี้จะไม่ได้เรียนวิชาพื้นฐานของคณะแล้ว แต่จะได้เรียนวิชาของสาขาโดยตรง ซึ่งจะมีทั้งวิชา
ที่ต่อยอดมาตอนปี 2 และวิชาใหม่ๆ
วิศวกรรมศาสตร์ ปี 4 มาถึงปีสุดท้ายกันแล้ว ปีนี้นอกจากจะต้องทำโปรเจคจบแล้ว ก็ยังจะต้องเรียนอยู่นะ
แต่ไม่ได้มากเท่าปีที่ผ่านมา เพราะปีนี้จะต้องนำความรู้ที่มีไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการทำงานแล้วนั่นเอง
ในปีสุดท้ายนี้บางมหาลัยฯ จะให้ไปฝึกงานตอนช่วงเทอม 2 น้องๆ จะได้เรียนรู้ประสบการณ์นอกห้องเรียน เพื่อสะสมประสบการณ์เอาไว้ใช้ในการทำงานจริงหลังเรียนจบ
แต่การฝึกงานในปี 4 ก็ไม่ใช่ทุกคณะและทุกมหาลัยฯ อาจจะมีบางสถาบันที่ให้ฝึกงานตั้งแต่ปี 3 หรือบางแห่งจะกำหนดให้เก็บชั่วโมงตอนปี 3 และมาฝึกงานอีกทีตอนปี 4 แล้วแต่ทางมหาลัยฯ จะกำหนดเลย
วิศวกรรมศาสตร์มีสาขาอะไรบ้าง ?
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ถือเป็นอีกคณะที่มีสาขาให้เลือกเรียนเยอะมากก เรียกได้ว่าแทบจะเหมาทุกศาสตร์ ทุกแขนงเลย
แต่พี่ๆ จะขอพูดถึงสาขาที่คนส่วนใหญ่น่าจะคุ้นหู และยังเป็นสาขาที่เปิดสอนในหลายๆ มหาลัยฯ โดยมีทั้งหมด 10 สาขา และแต่ละสาขาจะมีความน่าสนใจยังไง ไปดูกันเล้ย
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมโยธา จะได้เรียนทั้งการออกแบบและการบริหารการก่อสร้าง การประเมินราคา การพัฒนาวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างรวมไปถึงเทคโนโลยีในการก่อสร้างต่างๆ ด้วย ไม่ได้เรียนแค่การสร้างตึกอย่างเดียวน้า
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะเรียนเกี่ยวกับพื้นฐานระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด แล้วใช้เทคโนโลยีในการออกแบบ
สร้าง พัฒนา และบำรุงรักษาส่วนประกอบทางซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมไฟฟ้าจะเป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องจักรกล
การประมวลผลสัญญาณ แต่นอกจากระบบไฟฟ้าแล้วยังได้เรียนเกี่ยวกับระบบการสื่อสารต่างๆ ด้วย
ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ หรือวิทยุ
วิศวกรรมยานยนต์
วิศวกรรมยานยนต์จะเรียนเกี่ยวกับยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นกลไกการทำงานของชิ้นส่วนยานยนต์ หรือการออกแบบ
ระบบยานยนต์ ซึ่งต้องเรียนตั้งแต่คำนวณออกแบบ ควบคุมการผลิต วิเคราะห์และทดสอบทุกอย่างที่เกี่ยวกับยานพาหนะ
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมเคมีจะเน้นเรียนไปที่การผลิต, ออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี เช่น ไฟเบอร์
พอลิเมอร์ ปิโตรเคมี เป็นต้น รวมไปถึงการควบคุมและออกแบบโรงงานสารเคมีต่างๆ
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมเครื่องกล เป็นสาขาที่จะใช้ความรู้ทางด้านฟิสิกส์มาวิเคราะห์ ออกแบบผลิต และบำรุงรักษาระบบเครื่องกล
เป็นสาขาที่ค่อนข้างกว้างและหลากหลายมาก เพราะคำว่าเครื่องกลนั้นก็ไม่ได้จำกัดแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งก็จะมีทั้งรถยนต์ อากาศยาน หรือเครื่องจักร
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นอีกหนึ่งสาขาที่น่าสนใจและมีความจำเป็นกับโลกในยุคปัจจุบันมากเลยน้า เพราะสาขานี้จะทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม หรือควบคุมมลพิษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ น้ำ ดิน ของเสีย
และสารอันตราย เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
วิศวกรรมโลจิสติกส์
วิศวกรรมโลจิสติกส์ จะเรียนตั้งแต่การออกแบบ การวางแผน และวิเคราะห์ทางด้านอุปกรณ์ พลังงาน วัสดุ ของระบบ
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ เป็นสาขาที่จะต้องเอาความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์เข้ากับโลจิสติกส์นั่นเอง
วิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมอุตสาหการจะเรียนเกี่ยวกับการออกแบบ การติดตั้ง และการปรับปรุงระบบการทำงานในอุตสาหกรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น คน เครื่องมือ เครื่องจักร วัตถุดิบ ทรัพยากรต่างๆ โดยใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมและการบริหาร
มาประยุกต์ให้เข้ากับการทำงาน
วิศวกรรมชีวการแพทย์
วิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นสาขาที่เกิดจากการที่เอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์มารวมกันเพื่อสร้างเครื่องมือทางการแพทย์ หรือการสร้างอุปกรณ์ตรวจวัดทางชีววิทยา
อยากเรียนวิศวะ ต้องจบสายการเรียนไหน ?
ขึ้นอยู่แต่ละมหาลัยฯ จะกำหนด บางสถาบันก็จะรับแค่สายวิทย์คณิตเท่านั้น เพราะต้องใช้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับ
วิทยศาสตร์และคณิตศาสตร์เยอะ แต่บางที่ก็เปิดโอกาสให้สายศิลป์ยื่นคะแนนได้เพราะยังไงก็จะมีการเรียนปรับพื้นฐานอยู่แล้ว
ดังนั้นถ้าน้องๆ คนไหนสนใจคณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่ไม่แน่ใจว่าสายการเรียนของตัวเองจะยื่นคะแนนได้ไหม แนะนำให้เช็กเกณฑ์คะแนนและคุณสมบัติกับเว็บไซต์มหาลัยฯ หรือ mytcas ก่อนน้า
คณะวิศวะมีที่ไหนบ้าง ?
คณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะที่มีความเก่าแก่ ทำให้มีหลายมหาลัยฯ มากที่เปิดสอนคณะนี้ ซึ่งพี่ๆ จะขอยกตัวอย่าง
มหาลัยฯ ที่มีคณะวิศวกรรมศาสตร์มาให้ทุกคนดูเป็นตัวอย่างแค่ 13 มหาลัยฯ น้า เพราะคณะนี้มีแทบทุกมหาลัยฯ เลย
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยศิลปากร
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยบูรพา
ค่าเทอมคณะวิศวกรรมศาสตร์เท่าไหร่ ?
สำหรับมหาลัยฯ รัฐบาลแล้ว ค่าเทอมจะอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 25,000 บาท โดยแต่ละที่จะไม่เท่ากันน้า ซึ่งปกติทาง
มหาลัยฯ จะมีรายละเอียดไว้อยู่แล้วว่าแต่ละเทอมมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ น้องๆ สามารถเช็กค่าเทอมก่อนตัดสินใจสมัครได้เลย
เรียนวิศวะ ทำงานอะไรได้บ้าง ?
คนที่จบวิศวะก็จะสามารถทำงานได้ตามสายงานของสาขาที่จบมา หรือจะทำธุรกิจส่วนตัวเป็นของตัวเองก็ได้นะ
แต่จะยกตัวอย่างงานที่ตรงสายก่อน เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น ซึ่งสาขาที่จะพูดถึงในวันนี้ก็จะมีด้วยกัน 10 สาขา ได้แก่
วิศวกรรมโยธา, วิศวกรรมคอมพิวเตอร์, วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมยานยนต์ , วิศวกรรมเคมี, วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, วิศวกรรมโลจิสติกส์, วิศวกรรมอุตสาหการ และวิศวกรรมชีวการแพทย์ ไปดูกันว่าเรียนจบวิศวะ ในสาขาเหล่านี้จะทำงานอะไรได้บ้าง


หวังว่าบทความนี้อาจจะเป็นแนวทางให้ทั้งคนที่กำลังสนใจคณะวิศวกรรมศาสตร์และคนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกว่าจะเรียนอะไรดีได้รู้จักคณะนี้มากขึ้น และสำหรับใครที่กลัวว่าบรรยากาศการเรียนเป็นยังไง
เราจะเรียนไหวมั้ย ก็แนะนำว่าให้ลองปรึกษารุ่นพี่คณะวิศวกรรมศาสตร์ก่อนก็ได้น้า แต่ถ้าใครมั่นใจแล้ว ลุยอ่านหนังสือ
ให้เต็มที่ พี่ๆ เชื่อว่าทุกคนจะสามารถเข้าคณะในฝันได้อย่างแน่นอน !!
สำหรับน้องๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Line : @smartmathpronews
รวมถึงข่าวสารต่างๆ อัปเดตอย่างเรียลไทม์
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro