“คณะจิตวิทยา” เป็นอีกหนึ่งคณะที่น้อง ๆ ให้ความสนใจ แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้จักคณะนี้เท่าไรว่าคืออะไร จิตวิทยา เรียนเกี่ยวกับอะไร มีสาขาอะไร ใช้คะแนนอะไร หรือ มีที่ไหนบ้าง วันนี้พี่ก็เลยจะขอมาเคลียร์ทุกข้อสงสัยให้กับทุกคนเอง !!
แถมท้ายบทความยังมีบทสัมภาษณ์สุดพิเศษจากรุ่นพี่คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ที่จะมาแชร์ประสบการณ์เตรียมตัวสอบด้วย > < ใครไม่อยากพลาดรีบเลื่อนไปดูเรื่องราวที่น่าสนใจของคณะจิตวิทยากันเลย !!
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleคณะจิตวิทยา คือ ?
คณะจิตวิทยา (Psychology) คือ คณะที่เรียนเกี่ยวกับความคิด อารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อหาเหตุผลของพฤติกรรมหรือความรู้สึกนั้น ๆ ว่าเกิดจากอะไร และสามารถแก้ไขได้อย่างไร
คณะจิตวิทยา เรียนกี่ปี เรียนอะไรบ้าง ?
คณะจิตวิทยาจะเรียนทั้งหมด 4 ปี ซึ่งวันนี้พี่ก็เอาตัวอย่างเนื้อหาที่เรียนในแต่ละปีมาให้ดูกันเป็นแนวทาง ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีอะไรบ้างก็ไปดูกันเล้ย
คณะจิตวิทยา ปี 1 จะเริ่มเรียนจากวิชาพื้นฐานทั่วไปก่อน เช่น ภาษาอังกฤษ และวิชาจิตวิทยาพื้นฐาน เป็นต้น
คณะจิตวิทยา ปี 2 จะได้เรียนวิชาของคณะหรือสาขามากขึ้น เช่น จิตวิทยาการปรึกษา หรือจิตวิทยาสังคม แล้วแต่ว่าจะเลือกเรียนสาขาอะไร
คณะจิตวิทยา ปี 3 น้อง ๆ ก็จะได้เรียนเนื้อหาที่ลึกขึ้นกว่าตอน ปี 2 นอกจากนี้ในชั้น ปี 3 ยังสามารถเลือกเรียนวิชาอื่น ๆ ของคณะจิตวิทยาที่สนใจ หรืออยากจะเน้นเป็นพิเศษเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้อีกด้วย
คณะจิตวิทยา ปีที่ 4 บางมหาลัยฯ อาจให้ฝึกงานตั้งแต่ตอนปี 3 แต่บางที่ก็อาจจะให้ฝึกงานในปีสุดท้ายเลย และนอกจากนี้ก็ยังจะต้องทำการศึกษาค้นคว้างานวิจัย (Thesis) เกี่ยวกับจิตวิทยาที่น้อง ๆ สนใจก่อนเรียนจบด้วย
คณะจิตวิทยา มีสาขาอะไรบ้าง ?
จิตวิทยาก็เหมือนกับคณะอื่น ๆ ที่จะมีสาขาแยกย่อยออกไป มีทั้งส่วนที่คล้ายและส่วนที่แตกต่างกัน โดยตัวอย่างของสาขาที่น้อง ๆ จะได้เห็นด้านล่างนี้ เป็นแค่ตัวอย่างส่วนหนึ่งเท่านั้นน้า
สาขาจิตวิทยาทั่วไป เป็นสาขาที่จะเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์เพื่อหาที่มาที่ไปและการแก้ไข เนื้อหาที่จะได้เรียนก็มีความหลากหลายมาก เช่น จิตวิทยาทดลอง จิตวิทยาสังคม แต่จะเป็นการเรียนแบบกว้าง ๆ ไม่ได้เจาะจงสาขาใดสาขาหนึ่งเป็นพิเศษ
สาขาจิตวิทยาเพื่อการศึกษา จะเรียนเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนการสอนเพื่อสร้างแรงจูงใจในการศึกษา และการให้คำปรึกษาแนะแนวในโรงเรียน เน้นพัฒนาเด็ก ๆ โดยใช้หลักทางจิตวิทยา
สาขาจิตวิทยาคลินิก จะเรียนเกี่ยวกับจิตบำบัด การตรวจบุคลิกภาพ เพื่อนำความรู้ทางจิตวิทยามาใช้ในการวินิจฉัยอาการทางจิต เพื่อช่วยแก้ไขหรือให้คำปรึกษา
สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่จะเน้นเกี่ยวกับจิตวิทยาในที่ทำงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทัศนคติต่องานและแรงจูงใจในการทำงาน ความสัมพันธ์ของคนในองค์กร จิตวิทยาการบริหารและการเป็นผู้นำ รวมถึงการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาองค์กร เป็นต้น
สาขาจิตวิทยาการแนะแนว บางสถาบันจะรวมไปกับสาขาจิตวิทยาการศึกษาเพราะการเรียนในสาขานี้ก็จะได้เรียนเกี่ยวกับการแนะแนวและให้คำปรึกษาในโรงเรียนเช่นกัน แต่นอกเหนือจากโรงเรียนแล้วก็สามารถเลือกเรียนแนะแนวในด้านอื่นได้อีก เช่น การให้คำปรึกษาอาชีพ หรือการให้คำปรึกษาครอบครัว
สาขาจิตวิทยาชุมชน เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม แล้วใช้หลักจิตวิทยาไปแก้ไขหรือปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
สาขาจิตวิทยาพัฒนาการจะศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านจิตใจของคนเราทุกช่วงวัยตั้งแต่เด็ก วัยรุ่นจนถึงผู้ใหญ่ว่าส่งผลกระทบยังไงแล้วหาทางแก้ไขหรือส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น
นักจิตวิทยากับจิตแพทย์ต่างกันยังไง ?
นักจิตวิทยาจะทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และช่วยหาทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ แต่จะไม่สามารถรักษา หรือจ่ายยาให้ได้เหมือนจิตแพทย์ เพราะการเป็นจิตแพทย์จะต้องเรียนหมอ มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์ และเรียนต่อเฉพาะทางด้านจิตเวชศาสตร์มาเท่านั้น
คณะจิตวิทยา มีที่ไหนบ้าง ?
ส่วนมากแล้วจะไม่ค่อยมีมหาลัยฯ แยกจิตวิทยาออกมาเป็นคณะ แต่จะเป็นสาขาที่อยู่ในคณะอื่น ๆ เช่น ศิลปศาสตร์, มนุษยศาสตร์, สังคมศาสตร์ หรือครุศาสตร์
ดังนั้นถ้าน้อง ๆ สนใจอยากจะเรียนจิตวิทยา แนะนำให้ลองค้นหาข้อมูลเพิ่มดูน้า ว่าแต่ละมหาลัยฯ มีจิตวิทยาเป็นคณะหรืออยู่สาขาของคณะไหน ซึ่งพี่ก็รวบรวมรายชื่อมหาลัยฯ ที่เปิดสอนจิตวิทยามาให้ดูกันเป็นตัวอย่างแล้ว ไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีที่ไหนบ้าง
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะจิตวิทยา
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์
- มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศึกษาศาสตร์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะมนุษยศาสตร์
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์
- มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสังคมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะศึกษาศาสตร์
คณะจิตวิทยา ใช้คะแนนอะไรบ้าง ?
รอบ 1 Portfolio
รอบ 1 Portfolio จะเปิดรับเป็นโครงการต่าง ๆ โดยคัดเลือกจากการยื่น Portfolio หรือ แฟ้มสะสมผลงาน และคุณสมบัติ รวมถึงคะแนนอื่น ๆ แล้วมหาลัยฯ จะกำหนด ตัวอย่างโครงการที่เปิดรับ เช่น โครงการรับนักเรียนดีเด่น, โครงการรับนักเรียนมีความสามารถด้านกีฬา, โครงการรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ เป็นต้น
รอบ 2 Quota
รอบ 2 Quota จะเปิดรับเป็นโครงการต่าง ๆ คล้ายกับรอบ Portfolio แต่คุณสมบัติที่มหาลัยฯ กำหนดจะมีเพิ่มมากขึ้น เช่น ในบางมหาลัยฯ อาจจะให้โควตาสำหรับนักเรียนที่เรียนดี และอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง หรือเรียนในโรงเรียนที่เป็นเครือเดียวกับมหาลัยฯ เป็นต้น
น้อง ๆ คนไหนจะยื่นรอบนี้พี่แนะนำว่าให้ดูคุณสมบัติดี ๆ เลย เพราะถ้าคุณสมบัติไม่ตรงกับที่มหาลัยฯ กำหนดไว้ก็อาจจะทำให้หมดสิทธิ์ได้น้า T_T
รอบ 3 Admission
รอบ 3 Admission รอบนี้เป็นรอบที่เปิดรับสมัครมากที่สุด ตัวอย่างวิชาที่จะใช้ยื่นก็อย่างเช่น TGAT, A-Level (คณิต 1, คณิต 2, วิทย์ประยุกต์, สังคม, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ภาษาต่างประเทศ) แต่ต้องบอกก่อนว่าเกณฑ์คะแนน รวมถึงวิชาที่ใช้สอบของแต่ละที่จะไม่เหมือนกันน้า แนะนำให้น้อง ๆ ไปดูกันอีกทีว่าสถาบันที่เราสนใจต้องใช้คะแนนวิชาไหนบ้างง ซึ่งพี่ก็ยกตัวอย่างมาให้ดูแล้ววว
หมายเหตุ : เกณฑ์คะแนนปี 68 อัปเดตล่าสุดวันที่ 30 ต.ค. 67
รอบ 4 Direct Admission
รอบ 4 Direct Admission รอบนี้เป็นรอบสุดท้ายแล้วของ TCAS แต่รอบนี้อาจจะไม่ได้เปิดรับทุกมหาลัยฯ และเกณฑ์คะแนนต่าง ๆ ก็จะขึ้นอยู่กับมหาลัยฯ กำหนด อาจจะใช้เกณฑ์เหมือนหรือต่างกับรอบ 3 ก็ได้ ใครที่จะยื่นรอบนี้แนะนำให้ติดตามข่าวสารกันดี ๆ น้าว่ามีที่ไหนเปิดรับบ้างง
คณะจิตวิทยา ต้องเรียนสายอะไร ?
สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเข้าคณะจิตวิทยา ไม่ว่าทุกคนจะจบมาจากสายวิทย์คณิตหรือสายศิลป์ ก็สามารถยื่นสมัครคณะนี้ได้ทั้งหมด แต่อย่าลืมดูเกณฑ์การรับสมัครและคุณสมบัติของแต่ละที่ด้วยน้า
คณะจิตวิทยา จบมาทํางานอะไร ?
คณะจิตวิทยา หรือสาขาที่เรียนเกี่ยวกับจิตวิทยา สามารถทำอะไรได้หลายอย่างมาก แล้วแต่ว่าเราจะเลือกเรียนสาขาไหน พี่ยกตัวอย่างมาให้แล้ว ตามนี้เลยยยย
- นักจิตวิทยาคลินิก
- นักจิตวิทยาพัฒนาการ
- นักจิตวิทยาชุมชน
- นักจิตวิทยาเด็ก
- นักจิตวิทยาด้านการปรึกษา
- พนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
- ครู/อาจารย์แนะแนว
- เจ้าหน้าที่มูลนิธิ
- นักพัฒนาสังคม
แต่นอกเหนือจากนั้นน้อง ๆ ก็ยังสามารถเอาความรู้ที่ได้จากการเรียนคณะนี้ไปปรับใช้ให้เข้ากับอาชีพอื่นได้อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ใครที่มีความถนัดด้านศิลปะก็สามารถเอาจิตวิทยาที่เรียนไปประยุกต์กลายเป็นนักศิลปะบำบัด หรือจะเอาไปต่อยอดกับวิชาการตลาด เป็นนักการตลาด นักประชาสัมพันธ์ได้นะ
บทสัมภาษณ์ รุ่นพี่จากคณะจิตวิทยา จุฬาฯ !
เป็นยังไงบ้างงง สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับคณะจิตวิทยาที่เอามาฝากทุกคน น่าสนใจดีเลยใช่ไหมล้า~ แต่ยังไม่หมดเท่านี้น้า เพราะยังมีบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จิตวิทยา จุฬาฯ คนเก่งของเรา ที่จะมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับคณะนี้ ผ่านประสบการณ์ตรง ตั้งแต่การวางแผนการเรียน การเตรียมตัวสอบ ไปจนถึงชีวิตการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยเลย ไปดูกันนนน
แนะนำตัว
สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน พี่ชื่อ “คอปเตอร์” นะครับ ตอนมัธยมปลายเรียนสายวิทย์ – คณิต ปัจจุบันพี่เรียนจบจาก
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบัณฑิตหน้าใหม่เลยครับ
ค้นหาตัวเองเจอได้ยังไง ?
ส่วนตัวพี่เองรู้ตัวว่า อยากเข้าคณะอะไร ค่อนข้างช้าเลยครับ มารู้ตัวอีกทีก็ช่วง ม.6 แล้ว ซึ่งพี่เริ่มจากการสังเกตตัวเองและสิ่งรอบข้างก่อนว่า เราถนัดอะไร หรือเรื่องอะไรที่คนชอบมาขอความช่วยเหลือจากเรา และสิ่งที่เห็นคือ
คนชอบมาขอคำปรึกษา เรื่องชีวิต หรืออาจจะเป็นเรื่องความรักในวัยเรียน รวมถึงเรื่องอื่น ๆ จากเราอีกเยอะแยะเลย
หลังจากนั้นเราก็ค้นคว้าหาข้อมูลว่า มีคณะ/สาขาไหนที่เรียนเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้บ้าง ก็ลิสต์ออกมาเยอะ ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ ตัดตัวเลือก จนเป็นคณะจิตวิทยาในที่สุดครับ
เทคนิคการเตรียมตัว สอบเข้ามหาวิทยาลัย
อย่างที่พี่บอกเนอะว่า พี่รู้ตัวช้าถึง ม.6 เลย ทำให้การเตรียมตัวสอบต้องเร่งนิดหนึ่ง ซึ่งการเตรียมตัวหลัก ๆ คือ ตอนนั้นพี่ต้องใช้คะแนน GPAX ก็เลยต้องตั้งใจเรียนมากขึ้น เพื่อเก็บเกรดดี ๆ ในการยื่นมหาวิทยาลัยส่วน GAT เชื่อมโยง,
GAT ภาษาอังกฤษ ก็มีทั้งที่ซื้อหนังสือมาอ่านเองและเคยเรียนพิเศษไว้นานแล้วเลยพอมีพื้นฐาน
และอีกวิชาที่พี่ต้องเตรียมตัวเหมือนกันเลยคือ คณิตศาสตร์ ส่วนตัวพี่เรียนกับ พี่ปั้น SmartMathPro ครับ จริง ๆ เรียนไม่ถึงสองเดือนด้วยซ้ำ พี่เริ่มเรียนจากคอร์สพื้นฐานก่อน แล้วตามด้วยคอร์ส PAT1 เพราะปีของพี่สามารถสอบ PAT1 ได้ถึง 2 รอบด้วยกัน
รอบแรกที่สอบ พี่ยังไม่ได้เรียนกับพี่ปั้นนะ ได้ 48 คะแนน แต่พอมาเรียนกับพี่ปั้น รอบที่ 2 พี่สอบได้ 106 คะแนน อาจจะไม่ใช่คะแนนที่สูงมากนะครับ แต่ได้เท่านี้พี่ก็พอใจแล้ว เพราะเมื่อนำไปบวกกับคะแนนส่วนอื่น ๆ ก็สามารถสอบติดได้แล้ว
ดังนั้น พี่ก็อยากแนะนำว่าให้เริ่มเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ เลยนะ และถ้าใครไม่สามารถควบคุมการอ่านหนังสือของตนเองได้ ลองใช้สภาพแวดล้อมช่วยดู เช่น การพาตัวเองไปนั่งอ่านหนังสือกับเพื่อน หรือไปนั่งอ่านหนังสือข้างนอก
วิธีจัดการความเครียด ช่วงเตรียมตัวสอบ
พี่ใช้วิธีพูดคุยกับเพื่อนครับ เพราะเพื่อนคือคนกลุ่มหนึ่งที่กำลังเผชิญสิ่งเดียวกับเราอยู่ แม้ว่าเพื่อนจะไม่ได้เข้าใจเราทั้งหมด แต่มันก็ช่วยทำให้พี่ดีขึ้นได้ ซึ่งมันเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า Counselling เพราะการที่มีคนรับฟังจะช่วยให้จิตใจเราดีขึ้น คลายความเครียด และความกังวลได้ดีมากยิ่งขึ้นครับ
และอีกหนึ่งวิธีคือ การใช้เวลากับสิ่งที่เราชอบ ออกไปพักผ่อนบ้าง อย่ามองว่าการพักผ่อนเป็นเรื่องที่เสียเวลา เพราะการพักผ่อนคือ วิธีคลายเครียดที่ดีมาก ๆ และยังเป็นการช่วยผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจด้วย
การเรียนในคณะจิตวิทยา เน้นวิชาอะไรบ้าง
หลัก ๆ พี่คิดว่า ภาษาอังกฤษ นะครับ เพราะเป็นเหมือน Material ต่าง ๆ ที่เราต้องเรียน เช่น สไลด์เรียน, Text หรือ Research ต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมดเลย แต่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะตอนเรียนจะป็นภาษาไทยปกติ
ส่วนวิชาที่เน้นคือ การวิจัย ทำให้เราจะต้องทำการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเป็นภาษาอังกฤษค่อนข้างเยอะเลยครับ
และวิชาคณิตศาสตร์ก็จะเน้นที่สถิติ เป็นหลัก แต่น้อง ๆ คนไหนที่ไม่เก่งเลขก็ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะไม่ได้เน้นมากเท่าวิชาหลักของคณะ
ขอเสริมจากพี่คอปเตอร์หน่อยน้าา เพราะอาจมีน้อง ๆ สงสัยว่า ถ้าคณะจิตวิทยาเน้นแค่วิชาภาษาอังกฤษเป็นหลัก แล้วแบบนี้เรายังต้องเตรียมตัวในวิชาอื่นอยู่มั้ย ? ที่จริงแล้วการเรียนคณะจิตวิทยาของแต่ละมหาลัยฯ จะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละมหาลัยฯ และจากเกณฑ์คะแนนที่พี่ได้ยกตัวอย่างไปก่อนหน้านี้ น้อง ๆ จะเห็นเลยว่าแต่ละมหาลัยฯ ก็มักจะกำหนดคะแนนสอบหลายวิชานอกจากเหนือจากภาษาอังกฤษ เช่น TGAT, A-Level คณิต 1, คณิต 2, ชีวะ, วิทย์ประยุกต์, ภาษาไทย และสังคมด้วย
ดังนั้นพี่เลยอยากแนะนำให้น้อง ๆ ที่อยากเรียนจิตวิทยา เตรียมตัวในวิชาอื่น ๆ ไปให้ครบทุกวิชา โดยน้อง ๆ อาจเริ่มจากวิชาที่สอบก่อนอย่าง TGAT หรือวิชาที่เนื้อหาเยอะต้องใช้เวลาในการเก็บ เช่น A-Level คณิต 1, คณิต 2 ซึ่งพี่แนะนำว่าให้เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ได้เลย เพราะ TCAS68 สอบเร็วขึ้นจากปีที่แล้ว ทำให้เวลาเตรียมตัวน้อยลงไปด้วยยยน้าา
ส่วนถ้าใครยังไม่รู้ว่าจะเริ่มเตรียมตัวยังไงดี พี่ก็มีคอร์สมาแนะนำด้วยย มีทั้งคอร์ส TGAT, A-Level คณิต 1, คณิต 2, ภาษาไทยและสังคม ในคอร์สก็จะสอนตั้งแต่ปูพื้นฐาน พร้อมพาตะลุยโจทย์ไต่ระดับตั้งแต่ง่ายไปจนถึงข้อสอบแข่งขันเลย เพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจเนื้อหาและเตรียมตัวให้พร้อมที่สุด ที่สำคัญคือใครพื้นฐานไม่ดีก็เรียนได้เหมือนกันน้า สนใจอยากดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก เลย
อยากฝากอะไรถึงน้อง ๆ ที่กำลังสนใจคณะนี้บ้าง ?
พี่คิดว่า “โลกนี้น่าจะดีขึ้น ถ้ามีคนสนใจจิตวิทยามากยิ่งขึ้น” ไม่ว่าจะเป็นการดูแลความรู้สึกของคนอื่นหรือการดูแล
ความรู้สึกของตัวเอง สิ่งเหล่านี้จะสามารถทำให้เกิดเรื่องราวดี ๆ ขึ้นบนโลกได้อีกมากมายเลย
และสุดท้ายนี้ พี่คอปเตอร์อยากบอกว่า ทำให้เต็มที่ พักผ่อนให้เต็มที่ เราเชื่อว่า ทุกคนสามารถติดคณะจิตวิทยาได้แน่นอน หากน้องๆ ตั้งใจให้เต็มที่ และใช้เวลาในการเตรียมตัวสอบให้มาก ๆ ยังไงก็ไม่ไกลเกินฝันแน่นอนครับ
สู้ ๆ นะทุกคน พี่เป็นกำลังใจให้ครับ ^_^
ดูคลิปรีวิวการเรียนคณะจิตวิทยา
ดูคลิปรีวิวคณะอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ YouTube : SmartMathPro
ได้รู้ทั้งข้อมูลและฟังรีวิวจากรุ่นพี่คณะจิตวิทยาตัวจริงกันไปแล้ว พี่เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงเริ่มรู้สึกสนใจคณะจิตวิทยาขึ้นมาไม่มากก็น้อยเลยใช่มั้ย > < ใครอยากเก็บคณะนี้ไว้ในลิสต์คณะที่อยากเข้าก็อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อม แต่ถ้าใครยังไม่ตัดสินใจก็ไม่เป็นไร พี่ยังมีบทความเกี่ยวกับแนะนำคณะอีกเพียบเลย ค่อย ๆ รู้จักตัวเองและหาทางที่ใช่กันน้า พี่เป็นกำลังใจให้ทุกคนเลยยย
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
X : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro