สรุป TPAT3 การทดสอบความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมโจทย์และเฉลย

Dek68 คนไหนที่กำลังเตรียมสอบ TPAT3 อยู่ควรอ่านบทความนี้เลย เพราะวันนี้พี่มีสรุป TPAT3 พาร์ตการทดสอบความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์มาฝากทุกคนด้วย โดยในบทความมีสรุปทั้ง TPAT3
คืออะไร ? หัวข้อไหนที่ออกสอบ TPAT3 บ่อย ๆ บ้าง ? พร้อมกับแจกตัวอย่างข้อสอบและเฉลยจัดเต็มรวมครบในบทความเดียว ถ้าน้อง ๆ อยากรู้จักพาร์ตนี้เพิ่มเติมแล้วล่ะก็ เราไปอ่านพร้อมกันเลยยย

TPAT3 เป็นหนึ่งในข้อสอบ TPAT ที่วัดความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ที่น้อง ๆ สามารถใช้ยื่นเข้าคณะกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ ได้เยอะมาก ซึ่งข้อสอบ TPAT3 จะมีทั้งหมด 70 ข้อ แบ่งเป็น 2 พาร์ตใหญ่ คือ

  • การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (45 ข้อ)
  • การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (25 ข้อ)

ซึ่งในบทความนี้พี่จะพามาเจาะลึกเฉพาะพาร์ตการทดสอบความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ เท่านั้นน้าา

TPAT3 การทดสอบความถนัดฯ ออกสอบอะไรบ้าง ?

ข้อสอบความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ มีทั้งหมด 45 ข้อ ประกอบด้วย

  • ด้านตัวเลข (numerical reasoning) 15 ข้อ
  • ด้านมิติสัมพันธ์ (diagrammatic reasoning) 15 ข้อ
  • ด้านเชิงกล (mechanical reasoning) และ ด้านฟิสิกส์ (physics aptitude test) 15 ข้อ

โดยข้อสอบพาร์ตนี้จะเป็นข้อสอบปรนัย (5 ตัวเลือก) รวมทั้งหมด 60 คะแนน ข้อสอบพาร์ตนี้จึงมีคะแนนข้อละ 1.33 คะแนน โดยน้อง ๆ จะมีเวลาในการทำข้อสอบ TPAT3 ทั้งฉบับ 180 นาที ดังนั้นเวลาในการทำข้อสอบแต่ละข้อจะอยู่ที่ประมาณ 2 นาที 30 วินาที (เป็นการคำนวณเวลาในการทำข้อสอบแบบคร่าว ๆ เท่านั้น น้อง ๆ สามารถปรับเวลาให้
เหมาะกับตัวเองได้เลย)

TPAT3 ความถนัดด้านตัวเลข

โจทย์ในพาร์ตนี้จะต้องใช้ความรู้คณิตศาสตร์พื้นฐานของระดับชั้น ม.ต้น และ ม.ปลาย รวมไปถึงการใช้ตรรกะและเหตุผลในการแก้ปัญหา ซึ่งโจทย์จะมีลักษณะที่หลากหลาย เช่น หาตัวเลขที่หายไปจากรูปแบบตัวเลขลักษณะต่าง ๆ การสังเกต
รูปแบบการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ โจทย์ปัญหาในชีวิตประจำวัน และปัญหาเชาวน์ต่าง ๆ

หัวข้อที่ออกข้อสอบเยอะของ TPAT3 ความถนัดด้านตัวเลข

1. แนวรูปแบบตัวเลข : จะเป็นการดูความสัมพันธ์ของตัวเลขในการจัดเรียงในรูปแบบต่าง ๆ และให้หาว่าตัวเลขที่หายไป คือตัวเลขใดโดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์

ตัวอย่างข้อสอบข้อที่ 1

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 พาร์ตความถนัดด้านตัวเลข แนวรูปแบบตัวเลข

เฉลย ตัวเลือก 3.

ตัวอย่างข้อสอบข้อที่ 2

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 ความถนัดด้านตัวเลข แนวรูปแบบตัวเลข

เฉลย ตัวเลือก 2.

2. แนวการดำเนินการ : จะเป็นการสังเกตรูปแบบการดำเนินการระหว่างตัวแปรทั้งสองตัวและผลลัพธ์ที่ได้จากสิ่งที่โจทย์กำหนดมา และหาให้ได้ว่าการดำเนินการดังกล่าวคืออะไร เพื่อนำมาใช้ในการหาคำตอบจากสิ่งที่โจทย์ถามมา

ตัวอย่างข้อสอบข้อที่ 3

กำหนดกระบวนการทางคณิตศาสตร์ต่อไปนี้

 1 @ 2 = 4     2 @ 1 = 5     2 @ 3 = 7

4 @ 2 = 10     4 @ 3 = 11

ผลที่ได้จาก 5 @ 3 ตรงกับข้อใด

1. 11     2. 12     3. 13     4. 14     5. 15

เฉลย ตัวเลือก 3.

3. แนวโจทย์ปัญหา : น้อง ๆ จะต้องหาคำตอบจากสถานการณ์ที่โจทย์กำหนดให้ โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์

ตัวอย่างข้อสอบข้อที่ 4

ณ วันที่ 1 มกราคม นาฬิกาเข็มเรือนหนึ่ง ปัจจุบันชี้ที่เวลา 06:00 น. เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงวันที่ 3 มกราคม เวลา 18:00 น. เข็มยาวจะหมุนรอบนาฬิกามากกว่าเข็มสั้นกี่รอบ

1. 10 รอบ     2. 20 รอบ     3. 33 รอบ     4. 55 รอบ     5. 58 รอบ

เฉลย ตัวเลือก 4.

พี่จะขอสรุปวิธีการเตรียมตัวสอบพาร์ตนี้น้า น้อง ๆ จะต้องฝึกการสังเกตความสัมพันธ์ของตัวเลขในรูปแบบต่าง ๆ โดยแนะนำให้ฝึกทำโจทย์ผ่านข้อสอบแนว logical reasoning (ข้อสอบที่วัดความสามารถในการวิเคราะห์และใช้เหตุผล) และสามารถฝึกทำโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ผ่านข้อสอบแนว aptitude test (ข้อสอบวัดความถนัดหรือทักษะต่าง ๆ) ได้เลย

TPAT3 ความถนัดด้านมิติสัมพันธ์

โจทย์ในพาร์ตนี้ น้อง ๆ หลายคนอาจสงสัยว่าจะเหมือนกับข้อสอบ TGAT2 พาร์ตความสามารถทางมิติสัมพันธ์ มั้ย ?ที่จริงแล้วรูปแบบโจทย์จะเป็นคนละแนวกันเลย โดย TGAT2 จะมีรูปแบบของข้อสอบที่กำหนดมาชัดเจน แต่โจทย์พาร์ตมิติสัมพันธ์ของ TPAT3 จะเน้นความหลากหลายของโจทย์ ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว รวมไปถึงทักษะที่ต้องใช้จะไม่เหมือนกับข้อสอบมิติสัมพันธ์ใน TGAT2

เช่น การมองภาพจากแปลงทางเรขาคณิตในระดับชั้น ม.ต้น เช่น การเลื่อนขนาน การสะท้อน การหมุน การสร้างภาพฉายจากวัตถุ 3 มิติ รวมไปถึงการสังเกตรูปแบบการดำเนินการแปลงภาพต่าง ๆ

หัวข้อที่ออกข้อสอบเยอะของ TPAT3 ความถนัดด้านมิติสัมพันธ์

1. แนวประยุกต์การแปลงทางเรขาคณิต : จะใช้ความรู้ในการแปลงทางเรขาคณิตในการหาคำตอบจากสิ่งที่โจทย์ถาม

ตัวอย่างข้อสอบข้อที่ 5

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 พาร์ตความถนัดด้านมิติสัมพันธ์ แนวประยุกต์การแปลงทางเรขาคณิต

เฉลย ตัวเลือก 4.

2. แนวการมองภาพฉาย : น้อง ๆ จะต้องมองวัตถุ 3 มิติในมุมมองต่าง ๆ และสามารถตอบได้ว่าภาพที่มองเห็นในแต่ละมุมมองมีลักษณะเป็นอย่างไร

ตัวอย่างข้อสอบข้อที่ 6

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 พาร์ตความถนัดด้านมิติสัมพันธ์ แนวการมองภาพฉาย

เฉลย ตัวเลือก 3.

3. แนวพับกระดาษและเจาะรู : โจทย์จะให้น้อง ๆ สังเกตการพับกระดาษและเจาะรูตามขั้นตอนที่โจทย์ให้มา และตอบให้ได้ว่า เมื่อคลี่กระดาษออกมาหลังจากทำตามขั้นตอนตามโจทย์แล้ว กระดาษที่ได้มาจะมีลักษณะเป็นอย่างไร

ตัวอย่างข้อสอบข้อที่ 7

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 พาร์ตความถนัดด้านมิติสัมพันธ์ แนวพับกระดาษและเจาะรู

เฉลย ตัวเลือก 1.

4. แนวอุปมาอุปไมยภาพ : น้อง ๆ จะต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงภาพจากซ้ายไปขวาว่ามีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละส่วนอย่างไร ซึ่งรูปแบบโจทย์จะมีความคล้ายกับข้อสอบ TGAT2 พาร์ตอุปมาอุปไมยภาพเลย

ตัวอย่างข้อสอบข้อที่ 8

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 พาร์ตความถนัดด้านมิติสัมพันธ์ แนวอุปมาอุปไมยภาพ

เฉลย ตัวเลือก 3.

พี่ขอสรุปวิธีการเตรียมตัวสอบพาร์ตนี้น้าา น้อง ๆ จะต้องฝึกการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของรูปภาพผ่านขั้นตอนที่โจทย์ให้มา โดยสามารถฝึกทำโจทย์ด้วยการทำข้อสอบแนว non-verbal reasoning (ข้อสอบที่วัดการแก้ปัญหาผ่านการใช้รูปภาพหรือแบบรูปต่าง ๆ เป็นแบบทดสอบ) ได้เลย

TPAT3 ความถนัดด้านเชิงกลและด้านฟิสิกส์

โจทย์ของพาร์ตนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  • ความถนัดเชิงกล : ออกข้อสอบเกี่ยวกับกลไกการทำงานของเครื่องกล ได้แก่เรื่อง คาน ระบบรอก เพลา ลิ่ม พื้นเอียง และสกรู ซึ่งในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้กลศาสตร์ในการประยุกต์
  • ความถนัดทางฟิสิกส์ : จะวัดความรู้พื้นฐานของฟิสิกส์ ม. ปลาย โดยเน้นความรู้เชิงบรรยาย และความสัมพันธ์ของปริมาณ 2 ปริมาณขึ้นไปในโจทย์ จะไม่ใช่แนวสถานการณ์หรือเหตุการณ์ และบางครั้งจะออกสอบแนวคำนวณตัวเลขคล้าย A-level ฟิสิกส์บ้าง แต่มีความซับซ้อนน้อยกว่า
    โดยออกสอบใน 3 สาระนี้เป็นหลัก ได้แก่ กลศาสตร์ ไฟฟ้า และสมบัติของสสาร ส่วนสาระอื่น ๆ จะออกสอบไม่เยอะ

หัวข้อที่ออกข้อสอบเยอะของ TPAT3 ความถนัดด้านเชิงกลและด้านฟิสิกส์

1. กลศาสตร์ : โจทย์จะเป็นแนวเน้นความรู้กลศาสตร์เชิงบรรยาย ความสัมพันธ์ของปริมาณ 2 ปริมาณขึ้นไปในโจทย์ รวมถึงมีการคำนวณบ้าง จะไม่ใช่แนวสถานการณ์หรือเหตุการณ์

ตัวอย่างข้อสอบข้อที่ 9

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 พาร์ตความถนัดด้านเชิงกลและด้านฟิสิกส์ แนวกลศาสตร์

เฉลย ตัวเลือก 1.

2. ไฟฟ้า : โจทย์ส่วนใหญ่จะเป็นแนวการวิเคราะห์วงจร จะใช้ความรู้พื้นฐานในการวิเคราะห์ โดยไม่ได้ประยุกต์ซับซ้อน

ตัวอย่างข้อสอบข้อที่ 10

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 พาร์ตความถนัดด้านเชิงกลและด้านฟิสิกส์ แนวไฟฟ้า

เฉลย ตัวเลือก 3.

3. สมบัติของสสาร : โจทย์จะเป็นแนวเน้นความรู้สมบัติของสสารเชิงบรรยาย ความสัมพันธ์ของปริมาณ 2 ปริมาณขึ้นไปในโจทย์ รวมถึงมีการคำนวณบ้าง จะไม่ใช่แนวสถานการณ์หรือเหตุการณ์

ตัวอย่างข้อสอบข้อที่ 11

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 พาร์ตความถนัดด้านเชิงกลและด้านฟิสิกส์ แนวสมบัติของสสาร

เฉลย ตัวเลือก 5.

เทคนิคเตรียมสอบ TPAT3 การทดสอบความถนัดฯ

เช็กแนวข้อสอบ

ความถนัดด้านตัวเลขและด้านมิติสัมพันธ์

พี่แนะนำให้น้อง ๆ เช็กแนวข้อสอบ เพื่อสังเกตรูปแบบและแนวคิดในการทำข้อสอบ เนื่องจากข้อสอบพาร์ตนี้สามารถออกได้หลากหลายแนวมาก การเช็กแนวข้อสอบจะทำให้น้อง ๆ เห็นทิศทางของข้อสอบ และที่สำคัญเราจะได้เตรียมตัวสอบได้อย่างถูกจุด ไม่หลงทางนั่นเอง

ความถนัดด้านตัวเลขและด้านมิติสัมพันธ์

พี่แนะนำให้น้อง ๆ เช็กรูปแบบของข้อสอบรวมถึงบทฟิสิกส์ ม.ปลาย ที่นำมาออกข้อสอบ เพื่อสังเกตแนวคิดและจุดประสงค์ในการออกข้อสอบ เนื่องจากในข้อสอบจะไม่ได้ออกเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ปลาย ทั้งหมด

ดังนั้นการจับประเด็นบางเรื่องได้จะทำให้น้อง ๆ เตรียมตัวได้อย่างตรงประเด็น ได้รู้ความถนัดตัวเองในพาร์ตนี้ ซึ่งจะช่วยเรื่องการบริหารเวลาในการทำข้อสอบ รวมถึงการเช็กแนวข้อสอบเพื่อหาเทคนิคหรือกลยุทธ์ในการทำข้อสอบด้วย

ฝึกทำโจทย์

ความถนัดด้านตัวเลขและด้านมิติสัมพันธ์

โจทย์ส่วนใหญ่ในพาร์ตนี้มีแนวคิดในการทำโจทย์ที่หลากหลาย ถึงแม้จะเจอโจทย์ที่มีรูปแบบที่คล้ายกัน แต่วิธีการคิดของแต่ละข้อจะต่างกัน ดังนั้นการฝึกทำโจทย์หลายแนว จะช่วยให้น้อง ๆ ได้เห็นแนวคิดในการทำโจทย์ที่แตกต่างกัน และยังทำให้เกิดความคุ้นเคยในตัวข้อสอบมากยิ่งขึ้น แนะนำว่าน้อง ๆ สามารถฝึกทำข้อสอบเพิ่มเติมจากข้อสอบต่างประเทศได้ เช่น ข้อสอบแนว logical reasoning, non-verbal reasoning

ความถนัดด้านเชิงกลและด้านฟิสิกส์

โจทย์ส่วนใหญ่จะใช้ความรู้ฟิสิกส์และมีเรื่องที่นำมาออกข้อสอบหลากหลาย ดังนั้นการฝึกทำโจทย์หลายแนว จะทำให้
น้อง ๆ คุ้นเคยกับตัวข้อสอบมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากข้อสอบเก่าของสนาม TPAT3 ยังมีไม่มาก น้อง ๆ สามารถฝึกทำข้อสอบต่างประเทศที่เป็นแนว mechanical reasoning (ข้อสอบที่วัดความเข้าใจด้านเชิงกล) ได้ 

รวมถึงข้อสอบ PAT3 ในระบบเก่าที่ตรงกับแนว TPAT3 ของระบบปัจจุบันได้ ซึ่งในช่วงแรก น้อง ๆ อาจจะใช้เวลาในการทำโจทย์แต่ละข้อประมาณหนึ่ง แต่เมื่อฝึกทำโจทย์บ่อย ๆ พี่เชื่อว่าน้อง ๆ จะใช้เวลาในการทำข้อสอบแต่ละข้อน้อยลงน้าา

จับเวลาทำข้อสอบจริง

หลังจากที่น้อง ๆ ฝึกทำโจทย์แนวข้อสอบเก่าหรือแนวใกล้เคียงแล้ว พี่แนะนำให้จำลองการสอบโดยหาข้อสอบมาทำพร้อมจับเวลาและจัดบรรยากาศรอบตัวให้เหมือนอยู่ในห้องสอบจริงดูน้า และระหว่างทำข้อสอบก็ไม่ควรนอนทำข้อสอบ เปิดทีวี ใช้โทรศัพท์มือถือ ฟังเพลง หรือกินขนมไปด้วย เพื่อให้น้อง ๆ คุ้นชินกับบรรยากาศของห้องสอบมากยิ่งขึ้น

ดูความถนัดและข้อผิดพลาดจากการทำข้อสอบ

หลังจากทำข้อสอบจำลองเสร็จแล้วควรดูและจดข้อผิดพลาดของตนเองด้วย ซึ่งจะช่วยให้น้อง ๆ รู้ว่าพาร์ตไหนที่ยังไม่ค่อยแม่น รวมถึงลดข้อผิดพลาดในการทำข้อสอบเมื่อน้อง ๆ ได้เจอข้อสอบจริง และเพิ่มโอกาสในการทำคะแนนมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ให้น้อง ๆ ลองสังเกตว่าตัวเองถนัดพาร์ตไหนมากที่สุด ใช้เวลาในการทำข้อสอบแต่ละพาร์ตมากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยให้เราวางแผนว่า พาร์ตไหนควรทำก่อนหรือทำหลังนั่นเอง

จัดเต็มกันไปแล้วกับสรุปเนื้อหาพร้อมตัวอย่างข้อสอบของ TPAT3 การทดสอบความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งน้อง ๆ คงจะสังเกตแล้วว่าโจทย์ที่ออกพาร์ตนี้ส่วนใหญ่จะมีความหลากหลายมาก และข้อสอบที่ให้ฝึกทำก็อาจจะมีไม่เยอะด้วย T_T

ถ้าน้อง ๆ คนไหนเริ่มอ่าน TPAT3 ไปแล้ว และเจอจุดที่ไม่เข้าใจ หรือยังหาโจทย์มาฝึกทำได้ไม่มากพอ จนกังวลเรื่องการ
เตรียมตัวสอบ TPAT3 อยากได้ตัวช่วยในการอ่านหนังสือ วันนี้พี่มีคอร์สพิชิต TPAT3 ที่สอนโดย พี่ปั้น และ พี่ลัคกี้
มาแนะนำให้น้อง ๆ ด้วยน้าา

โดยคอร์สนี้จะปูพื้นฐานเนื้อหา TPAT3 ครบทุกพาร์ตอิงตาม Test Blueprint ปีล่าสุด ไม่ว่าน้อง ๆ จะมีพื้นฐานระดับไหนก็สามารถเรียนได้ (สรุปคอนเซ็ปต์แต่ละพาร์ตให้ด้วย) พร้อมพาตะลุยแบบฝึกหัด โจทย์ที่ทีมวิชาการแต่งขึ้นใหม่ และข้อสอบเก่าจัดเต็มครอบคลุมหลายแนวที่ออกสอบ

นอกจากนี้ยังมีคลิปอัปเดตข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ให้ด้วยน้า แนะนำว่าให้เตรียมตัวสอบกันตั้งแต่ตอนนี้เลย เพราะปีนี้สนาม TGAT TPAT เลื่อนมาสอบไวขึ้น น้อง ๆ จะได้มีเวลาทบทวนเนื้อหากับฝึกทำโจทย์มากขึ้นน้า ใครสนใจคอร์ส TPAT3 ก็สามารถ คลิก ดูรายละเอียดได้เลยย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

A-Level คืออะไร ? ปี 68 สอบวิชาอะไรบ้าง ?
A-Level คืออะไร ? มีวิชาอะไรบ้าง อัปเดตล่าสุด ที่ Dek68 ควรรู้ !
กำหนดการ TCAS68
TCAS68 สอบวันไหน? ลงทะเบียน MyTCAS68 เมื่อไหร่? สรุปตารางสอบ Dek68 ฉบับอัปเดตล่าสุด
เตรียมตัวอ่านหนังสือ TCAS68 ยังไงให้สอบติด
เตรียมสอบเข้ามหาลัยฯ TCAS68 ยังไง พร้อมแจกวิธีอ่านหนังสือให้ Dek68
TGAT TPAT คืออะไร? Dek68 ต้องสอบ TGAT TPAT ไหม ? สรุปครบในบทความนี้
TGAT TPAT คืออะไร? มีอะไรบ้าง? ต้องสอบทุกคนไหม? Dek68 ควรรู้ !
TPAT3 เข้าคณะอะไรได้บ้าง
TPAT3 เข้าคณะอะไรได้บ้าง? รวมให้ถึง 25 มหาลัยที่ Dek68 ห้ามพลาด!
สรุป tcas68 อ้างอิงจาก tcas67
ระบบ TCAS คืออะไร ? มีกี่รอบ ? ใครจะสอบ TCAS68 ควรอ่าน !

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share