Dek68 คนไหนที่ตั้งใจจะสอบ TPAT3 อาจจะเคยได้ยินมาว่า TPAT3 มีทั้งหมด 2 พาร์ต คือ พาร์ตการทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ และ พาร์ตการทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
ซึ่งในบทความนี้พี่จะขอโฟกัสที่ พาร์ตการทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหลัก โดยพี่จะอธิบายทั้งเรื่องที่ออกสอบใน TPAT3 พาร์ตนี้ ตัวอย่างแนวข้อสอบ ไปจนถึงวิธีการเตรียมตัวสอบ ถ้าทุกคนพร้อมที่จะลุยพาร์ตนี้กันแล้วก็ไปอ่านกันเลยยย
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
ToggleTPAT3 คืออะไร ?
TPAT3 เป็นข้อสอบ TPAT ที่วัดความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ โดยสามารถนำคะแนนไปใช้ยื่นเข้าคณะกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ ได้ ซึ่งข้อสอบ TPAT3 จะมีทั้งหมด 70 ข้อ แบ่งเป็น 2 พาร์ตใหญ่ คือ
- การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (45 ข้อ)
- การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (25 ข้อ)
ซึ่งอย่างที่พี่บอกเลยว่า บทความนี้จะโฟกัสเฉพาะพาร์ตที่สองเท่านั้น โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง สามารถเลื่อนไปอ่านหัวข้อถัดไปได้เลยน้า
TPAT3 ความคิดและความสนใจฯ ออกสอบอะไรบ้าง ?
ข้อสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์มีทั้งหมด 25 ข้อ โดยข้อสอบ
พาร์ตนี้จะเป็นข้อสอบปรนัย (5 ตัวเลือก) รวมทั้งหมด 40 คะแนน ประกอบด้วย
- ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 15 ข้อ (ข้อละ 1.33 คะแนน รวม 20 คะแนน)
- ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 10 ข้อ (ข้อละ 2 คะแนน รวม
20 คะแนน)
ข้อสอบพาร์ตนี้จะเป็นข้อสอบปรนัย (5 ตัวเลือก) โดยน้อง ๆ จะมีเวลาในการทำข้อสอบ TPAT3 ทั้งฉบับ 180 นาที ดังนั้นเวลาในการทำข้อสอบแต่ละข้อจะอยู่ที่ประมาณ 2 นาที 30 วินาที (เป็นการคำนวณเวลาในการทำข้อสอบแบบคร่าว ๆ เท่านั้น สามารถปรับเวลาให้เหมาะสมกับตัวเองได้เลยน้าาา)
TPAT3 ด้านความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
สำหรับพาร์ตนี้ ข้อสอบจะออกเกี่ยวกับสถานการณ์การทดลอง หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่น่าสนใจ เกี่ยวกับเรื่อง กลศาสตร์ ไฟฟ้า และสมบัติของสสาร รวมถึงความรู้ทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ ที่ต้องอาศัยทักษะทางวิทยาศาสตร์ใน
การหาคำตอบ เช่น
- ทักษะการตั้งสมมติฐาน
- ทักษะการกำหนดตัวแปร
- ทักษะการตีความและสรุปผล
- ทักษะการใช้จำนวนและการพยากรณ์
Tips
พาร์ตความถนัดด้านเชิงกลและด้านฟิสิกส์ กับ พาร์ตความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ แตกต่างกันอย่างไร ?
- พาร์ตความถนัดด้านเชิงกลและด้านฟิสิกส์ (TPAT 3 พาร์ตความถนัดฯ) : เป็นข้อสอบที่วัดความรู้ฟิสิกส์
พื้นฐาน ม.ปลาย โดยเน้นความรู้เชิงบรรยาย และความสัมพันธ์ของปริมาณต่าง ๆ - พาร์ตความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ : เป็นข้อสอบแนวสถานการณ์ เหตุการณ์ หรือการทดลองให้น้อง ๆ ได้สังเกต วิเคราะห์ และหาข้อสรุปของสถานการณ์นั้น ๆ โดยอาศัยทักษะทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน
ตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 ด้านความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
บรรจุน้ำไว้เต็มขวดพลาสติก เปิดฝาขวดไว้แล้วใช้เข็มขนาดเท่ากันเจาะรูด้านข้างของขวดบริเวณที่มีน้ำ พบว่าน้ำจะพุ่งออกมาจากรู ปัญหาที่สนใจคือว่า ถ้าเจาะรูที่ระดับความลึกจากผิวหน้าของน้ำลงไปที่ระดับต่าง ๆ กัน น้ำที่พุ่งออกจะได้ระยะทางที่เท่ากันหรือไม่ ข้อสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ข้อใดถูกต้อง
1. ที่ระดับความลึกจากผิวหน้าของน้ำแตกต่างกัน น้ำจะพุ่งไปไกลไม่เท่ากัน
2. ของเหลวต่างชนิดกันจะพุ่งไกลไม่เท่ากัน
3. ยิ่งลึกลงไปน้ำยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้น
4. ขนาดของรูที่เจาะทำให้น้ำพุ่งไปไกลไม่เท่ากัน
5. ขนาดของขวดพลาสติกมีผลต่อระยะทางที่น้ำพุ่งไป
เฉลย ตัวเลือกที่ 1. ถูกต้อง
เนื่องจาก โจทย์ถามว่า “ถ้าเจาะรูที่ระดับความลึกจากผิวหน้าของน้ำลงไปที่ระดับต่าง ๆ กัน น้ำที่พุ่งออกจะได้ระยะทางที่เท่ากันหรือไม่” ดังนั้นข้อสมมติฐานจึงจะต้องสอดคล้องกับการทดลองที่เราทำ นั่นก็คือ ที่ระดับความลึกจากผิวหน้าของน้ำแตกต่างกัน น้ำจะพุ่งไปไกลไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสิ่งที่สังเกตและพิสูจน์ได้จากการทดลอง
ตัวเลือกที่ 2. ไม่ถูกต้อง เพราะ การทดลองไม่มีการเปลี่ยนชนิดของของเหลว ข้อสมมติฐานนี้จึงไม่สามารถสังเกต และพิสูจน์ได้จากการทดลอง
ตัวเลือกที่ 3. ไม่ถูกต้อง เพราะ การทดลองไม่มีการวัดค่าน้ำหนักของน้ำ ข้อสมมติฐานนี้จึงไม่สามารถสังเกต และพิสูจน์ได้จากการทดลอง
ตัวเลือกที่ 4. ไม่ถูกต้อง เพราะ การทดลองใช้เข็มขนาดเท่ากันในการเจาะรูด้านข้าง ทำให้ขนาดของรูทุกรูมีขนาดเท่ากัน ข้อสมมติฐานนี้จึงไม่สามารถสังเกต และพิสูจน์ได้จากการทดลอง
ตัวเลือกที่ 5. ไม่ถูกต้อง เพราะ การทดลองไม่มีการเปลี่ยนขนาดของขวดน้ำ ข้อสมมติฐานนี้จึงไม่สามารถสังเกต และพิสูจน์ได้จากการทดลอง
TPAT 3 ด้านความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
เนื้อหาพาร์ตนี้จะเกี่ยวกับความสนใจข่าวสารความรู้ต่าง ๆ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- ข้อเท็จจริงและความรู้ : ข้อสอบจะออกเกี่ยวกับความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่
ควรรู้ เช่น ป้ายควรรู้ในห้องปฎิบัติการ, ประวัติ ผลงานของนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ - ข่าวสาร : ข้อสอบจะออกเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ที่เกิดขึ้นในช่วงปีของการจัดสอบ ซึ่งพี่แนะนำให้น้อง ๆ หยิบพาร์ตนี้ขึ้นมาทำก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากเป็นเรื่องที่เราอาจรู้หรือไม่รู้คำตอบ ทำให้สามารถเลือกตอบได้ทันที และใช้เวลาในการทำน้อยกว่าพาร์ตอื่น ๆ
ตัวอย่างข้อสอบ TPAT 3 ด้านความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
เครื่องบินขับไล่ F-22 และ F-35 ถูกเรียกว่าเป็น Stealth Fighter เนื่องจากคุณสมบัติในข้อใด
1. ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา
2. ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์
3. ตรวจพบได้ยากด้วยเรดาร์
4. ความเร็วสูงกว่า 3 เท่าเสียง
5. สามารถควบคุมแรงขับได้หลายทิศทาง (Multi Axis Thrust Vectoring)
เฉลย ตัวเลือกที่ 3. ถูกต้อง
เพราะ Stealth Fighter คือ เครื่องบินที่ออกแบบมาเพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับจากเรดาร์และเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ของศัตรู โดยการเลือกใช้วัสดุและการออกแบบที่ลดการสะท้อนคลื่นเรดาร์และวัสดุที่ดูดซับคลื่นเรดาร์
ทั้งแสง อินฟราเรด เสียง และคลื่นความถี่วิทยุ ทำให้ยากต่อการตรวจจับและติดตาม
ตัวเลือก 1. ไม่ถูกต้อง เพราะ เครื่องบินขับไล่ที่ใช้เทคโนโลยี Stealth Fighter ทำให้เรามองเห็นได้ยากขึ้น แต่ยังสามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาอยู่
ตัวเลือก 2. ไม่ถูกต้อง เพราะ เครื่องบินขับไล่ที่ใช้เทคโนโลยี Stealth Fighter ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องยนต์สันดาป
ตัวเลือก 4. ไม่ถูกต้อง เพราะ เครื่องบินขับไล่ที่ใช้เทคโนโลยี Stealth Fighter จะมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 1.82 เท่าของความเร็วเสียง เมื่อไม่มีอาวุธ
ตัวเลือก 5. ไม่ถูกต้อง เพราะ ความสามารถควบคุมแรงขับได้หลายทิศทางไม่ใช่คุณสมบัติของเทคโนโลยี Stealth Fighter
เทคนิคเตรียมตัวสอบ TPAT3 ความคิดและความสนใจฯ
เช็กแนวข้อสอบและติดตามข่าวสาร
ด้านความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
พี่แนะนำให้น้อง ๆ เช็กแนวข้อสอบ เพื่อสังเกตรูปแบบและแนวคิดในการทำข้อสอบ รวมถึงบทเรียนทางวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของน้อง ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่มักถูกเลือกมาออกสอบบ่อย ๆ
เพราะการจับประเด็นบางเรื่องได้จะทำให้น้อง ๆ เตรียมตัวได้ถูกจุด ได้รู้ความถนัดของตัวเอง ซึ่งจะช่วยเรื่องการบริหารเวลาในการทำข้อสอบ รวมถึงการเช็กแนวข้อสอบเพื่อหาเทคนิคหรือกลยุทธ์ในการทำข้อสอบด้วย
ด้านความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
พี่แนะนำให้น้อง ๆ อัปเดตข่าวสารเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ เช่น ผลงานของนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ
ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน รวมทั้งติดตามข่าวสารทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งพี่ได้รวบรวม Keyword ของข่าวสารที่น่าสนใจและอาจจะออกข้อสอบปีนี้มาให้แล้ว ตามนี้เลยน้า
ตัวอย่าง Keyword ข่าวสารน่าสนใจทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
- Crowdstrike
- AI
- Voyager
- ลานีญา
- พลังงานสะอาดในไทย
- พายุสุริยะครั้งใหญ่
ฝึกทำโจทย์
การฝึกทำโจทย์หลายแนว จะช่วยให้น้อง ๆ ได้เห็นแนวคิดในการทำโจทย์ที่แตกต่างกัน โดยน้อง ๆ สามารถฝึกทำข้อสอบด้านทักษะทางวิทยาศาสตร์ ได้จากคำถามหรือข้อสังเกตท้ายการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของหนังสือแบบเรียน สสวท. ได้เลย
นอกจากนี้ยังสามารถฝึกทำข้อสอบเพิ่มเติมจากข้อสอบต่างประเทศได้ เช่น ข้อสอบแนว Logical Reasoning (ข้อสอบที่วัดความสามารถในการวิเคราะห์และใช้เหตุผล) และแนว Non-verbal Reasoning (ข้อสอบที่วัดการแก้ปัญหาผ่านการใช้รูปภาพหรือแบบรูปต่าง ๆ เป็นแบบทดสอบ) เพื่อให้คุ้นเคยกับรูปแบบของคำถามในข้อสอบมากขึ้น
รวมถึงข้อสอบ PAT2, PAT3 ในระบบเก่าที่ตรงกับแนว TPAT3 ของระบบปัจจุบันก็สามารถหยิบมาทำได้ ซึ่งในช่วงแรก น้อง ๆ อาจจะใช้เวลาในการทำโจทย์แต่ละข้อประมาณหนึ่ง แต่เมื่อฝึกทำโจทย์บ่อย ๆ พี่เชื่อว่าน้อง ๆ จะสามารถจัดการเวลาในการทำข้อสอบแต่ละข้อได้ดีขึ้น
จับเวลาทำข้อสอบจริง
หลังจากที่น้อง ๆ ฝึกทำโจทย์แนวข้อสอบเก่าหรือแนวใกล้เคียงแล้ว พี่แนะนำให้จำลองการสอบด้วยการหาข้อสอบมาทำพร้อมจับเวลาและจัดบรรยากาศรอบตัวให้เหมือนอยู่ในห้องสอบจริงมากที่สุด เพื่อให้คุ้นชินกับบรรยากาศของห้องสอบมากยิ่งขึ้น โดยขณะจำลองการสอบน้อง ๆ ไม่ควรนอนทำข้อสอบ เปิดทีวี ใช้โทรศัพท์มือถือ ฟังเพลง หรือกินขนมไปด้วย
ดูความถนัดและข้อผิดพลาดในการทำข้อสอบ
หลังจากทำข้อสอบจำลองเสร็จแล้วน้อง ๆ ควรดูและจดข้อผิดพลาดของตนเองด้วย เพราะการจดข้อผิดพลาดจะช่วยให้น้อง ๆ รู้ว่าพาร์ตไหนที่ยังไม่ค่อยแม่น ซึ่งจะช่วยลดข้อผิดพลาดเมื่อน้อง ๆ ได้เจอข้อสอบจริง และเพิ่มโอกาสในการทำคะแนนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ให้ลองสังเกตว่าตัวเองถนัดพาร์ตไหนมากที่สุด ใช้เวลาในการทำข้อสอบแต่ละพาร์ตมากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยให้เราวางแผนว่า พาร์ตไหนควรทำก่อนหรือทำหลังนั่นเองงง
จัดเต็มกันไปแล้วกับสรุป TPAT3 พาร์ตการทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ที่พี่นำมาฝากทุกคน จะเห็นว่านอกจากเรื่องการทบทวนเนื้อหา และการฝึกทำข้อสอบบ่อย ๆ แล้ว ยังมีเรื่องข่าวสารทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดด้วย เพื่อให้ไม่พลาดเรื่องสำคัญที่อาจจะนำมาออกสอบนั่นเอง ถ้า Dek68 คนไหนกำลังเตรียมสอบ TPAT3 ก็อย่าลืมเรื่องนี้กันน้าา
ส่วนใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มเตรียมสอบ TPAT3 ยังไง กังวลว่าถ้าเริ่มเองก็อาจเตรียมตัวไม่ถูกจุด หรือมีติดตรงไหนที่อยากได้คนช่วยไกด์ ปูพื้นฐานใหม่ให้แน่นขึ้นและสามารถต่อยอดบทยาก ๆ ต่อไปได้ พี่ก็ขอแนะนำคอร์สเตรียมสอบเข้าคณะกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้เลย เพราะนอกจากจะใช้ยื่นคะแนนแล้ว ยังเป็นพื้นฐานที่จะใช้ต่อยอดในการเรียนมหาลัยฯ ได้ด้วย
โดยในคอร์สนี้ จะสอนเนื้อหาให้แบบละเอียด พร้อมพาลุยโจทย์แบบไต่ระดับตั้งแต่ข้อง่าย ๆ ไปจนถึงข้อสอบแข่งขัน นอกจากนี้ยังอัปเดตข้อสอบปีล่าสุดและโจทย์ที่พี่ ๆ ทีมวิชาการแต่งขึ้น อิงตาม Test Blueprint ปีล่าสุดด้วย พร้อมเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยอัปคะแนนและทำข้อสอบได้ทันเวลาอีกน้าา แถมยังมี Unseen Mock Test ชุดพิเศษแจกฟรีและอัปเดตข่าวในคอร์ส TPAT3 ให้ด้วย สมัครตอนนี้แอบกระซิบว่ามีสิทธิพิเศษและโปรโมชันพิเศษประจำเดือน !! ใครสนใจ คลิก ไปดูรายละเอียดได้เลยยย
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro