
หลายคนคงจะเคยสงสัยกันใช่ไหมล้า ว่าถ้าเรียนศิลป์คำนวณ ไม่ได้เรียนสายวิทย์ คณะที่สามารถเข้าได้จะน้อยลงรึเปล่า ? วันนี้พี่ๆ เลยจะมาสรุปทุกเรื่องที่เกี่ยวกับศิลป์คำนวณ เริ่มตั้งแต่ศิลป์คำนวณเรียนอะไร ถ้าจบศิลป์คำนวณแล้ว
เรียนคณะไหนได้บ้าง สอบเข้าคณะสายวิทย์ได้ไหม พร้อมแชร์ทริคเลือกคณะให้เหมาะกับตัวเองด้วยนะ !
ศิลป์ – คำนวณ เป็น 1 ในชื่อแผนการเรียน ม.ปลายซึ่งเป็นแผนการเรียนที่อยู่ตรงกลางระหว่างสายวิทย์กับสายศิลป์ เพราะสายศิลป์คำนวณจะเน้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (คณิตพื้นฐานและคณิตเพิ่มเติม) และภาษาอังกฤษ
แต่วิชาวิทยาศาสตร์จะเรียนเหมือนสายศิลป์อื่นๆ ไม่ได้เรียนฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยาแบบเข้มข้นเหมือนสายวิทย์คณิต
ศิลป์ - คำนวณ เข้าคณะอะไรได้บ้าง ?
พอได้ยินคำว่า “ศิลป์ – คำนวณ” หลายคนอาจคิดว่าคณะที่สามารถเข้าได้คงมีไม่มากเท่ากับสายวิทย์คณิต แต่น้องๆ
รู้ไหมว่าที่จริงแล้ว สายศิลป์คำนวณก็สามารถเข้าคณะได้หลากหลายไม่แพ้สายวิทย์คณิตเลยน้าและเพื่อไม่ให้ทุกคน
ไล่อ่านจนปวดตา พี่ๆ ก็เลยสรุปและแบ่งกลุ่มออกมาเป็น 5 กลุ่ม เพื่อให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นและไม่สับสน !
(มีสรุปวิชาที่น้องๆ จะต้องใช้สอบด้วยน้า แต่ว่าเกณฑ์คะแนนจะขึ้นอยู่กับคณะกำหนด ซึ่งสามารถดูได้ที่ mytcas ได้เลย)

สายบริหารธุรกิจและการจัดการ
แน่นอนว่าสายที่เน้นคณิตศาสตร์อย่างศิลป์คำนวณ สามารถเข้าคณะสายบริหารธุรกิจและการจัดการได้อย่างสบายๆ เลยล่ะ เพราะคณะในสายนี้ไม่ได้เรียนหนักไปทางคำนวณใช้สูตรยากๆ มีตัวเลขบ้างนิดหน่อยขึ้นอยู่กับคณะและสาขา
แต่ก็ไม่ยากเกินไปแน่นอน เพราะส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการประยุกต์คณิตศาสตร์ให้กับเข้ากับสาขาต่างๆ นั่นเองง
ตัวอย่างคณะสายบริหารธุรกิจและการจัดการ
- คณะบริหารธุรกิจ
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
TGAT, คณิต 1, คณิต 2, สังคม, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย
สายศิลปะและการสื่อสาร
ถ้าพูดถึงการสื่อสาร น้องๆ บางคนอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าคณะไหนบ้างที่อยู่ในสายนี้ แต่ถ้าพูดชื่อคณะอย่าง นิเทศศาสตร์ หรือ การสื่อสารมวลชน ก็คงจะพอคุ้นๆ กันขึ้นมาบ้างแล้วใช่ไหมล้า~ แต่คณะในสายนี้ไม่ได้เรียนแค่
การแสดงอย่างเดียวน้า แต่จะเรียนเกี่ยวกับการสื่อสารทั้งหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์
ผ่านทางโทรทัศน์หรือโซเชียลมีเดียช่องทางต่างๆ
ส่วนสายศิลปะ ก็จะมีทั้งคณะที่เกี่ยวกับศิลปะ การวาดรูป เช่น คณะวิจิตรศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ หรือ ใครชอบดนตรีก็สามารถลงเรียนคณะดุริยางคศาสตร์ได้ และถ้าน้องๆ คนไหนมีผลงานแข่งประกวดเกี่ยวกับการวาดรูปหรือ
การเล่นดนตรี ก็ใช้ความสามารถพิเศษสมัครสอบรอบ 1 Portfolio และรอบ 2 โควตายื่นเรียนต่อมหาลัยฯ ได้ด้วยย
ตัวอย่างคณะสายศิลปะและการสื่อสาร
- คณะนิเทศศาสตร์
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะดุริยางคศาสตร์
สายศิลปะ : TGAT, TPAT4, สังคม, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ
สายการสื่อสาร : TGAT, คณิต 1, คณิต 2, สังคม, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ
สายมนุษย์ / สังคม / ครุฯ
คณะในสายมนุษย์และสังคมจะมีความใกล้เคียงกันมาก บางมหาลัยฯ ก็อาจจะอยู่ในคณะเดียวกันเลยก็มี ซึ่งน้องๆ
สายศิลป์ – คำนวณ คนไหนที่รู้สึกว่าชอบเรียนภาษาหรือชอบวิชาสังคมมากกว่าการคำนวณ ก็สามารถเลือกเรียน
คณะในสายมนุษย์หรือสังคมได้เลย ไม่ต้องห่วงว่าจะเรียนไม่ได้นะ ถึงแม้ว่าต้องศึกษาเกี่ยวกับภาษา มนุษย์ และสังคม
แบบลึกขึ้น แต่น้องๆ จะได้เรียนปรับพื้นฐานอยู่แล้วในช่วงปี 1
ส่วนครุศาสตร์ หลายคนอาจเข้าใจว่าเรียนครูแล้วจะต้องจำเนื้อหาวิชาการแน่นๆ ไปสอน แต่ที่จริงการเป็นครูไม่ใช่มีหน้าที่สอนหนังสืออย่างเดียวน้า น้องๆ จะต้องเรียนรู้จิตวิทยาในการสอนและดูแลเด็กๆ ด้วย
ถ้าเด็กสายศิลป์คำนวณคนไหนที่สนใจสายนี้ก็สามารถเลือกเรียนได้หลายสาขาเลย ไม่ว่าจะเป็น ครูคณิต ครูสอนภาษา ครูสังคม หรือจะเลือกเรียนการสอนเด็กเล็กๆ อย่างครูอนุบาล ครูประถม ก็ได้เหมือนกัน
ตัวอย่างคณะสายมนุษย์ / สังคม / ครุฯ
- คณะอักษรศาสตร์ / คณะมนุษยศาสตร์ / คณะศิลปศาสตร์
- คณะจิตวิทยา
- คณะครุศาสตร์
TGAT, คณิต 2, ภาษาอังกฤษ, สังคม,
ภาษาต่างประเทศ, ภาษาไทย, วิทยาศาสตร์ประยุกต์
อยากสอบติดมหาลัยฯ เรียน TGAT ไว้ไม่มีพลาด
หลายคณะกำหนดต้องยื่นคะแนน TGAT ซึ่งคนที่ได้คะแนนดี ก็จะมีตัวเลือกมากขึ้น แนะนำว่าให้เริ่มติวเลยตอนนี้ มาปูพื้นฐานให้แน่น เพิ่มโอกาสสอบติดมหาลัยฯ ก่อนเพื่อน !!
สมัครคอร์ส คลิกเลยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สงสัยใช่มั้ยว่าทำไมคนเรียนศิลป์ – คำนวณถึงเรียนคณะสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ จริงๆ แล้ว คณะสายวิทย์
บางมหาลัยฯ เปิดรับน้องๆ จากสายศิลป์คำนวณด้วย เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่แนะนำว่าควรดูเกณฑ์การรับสมัคร, คุณสมบัติกันด้วยล่ะ (ถ้าคุณสมบัติไม่ผ่าน ก็ไม่สามารถยื่นสมัครได้น้า T_T)
และสำหรับใครที่กลัวว่าเข้าไปเรียนแล้วจะเรียนตามเพื่อนๆ สายวิทย์ไม่ทัน ไม่ต้องกังวลไปนะ เพราะว่าจะต้องมีการเรียนปรับพื้นฐานอยู่แล้ว
ตัวอย่างคณะสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะสถาปัตยกรรม
- คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
TGAT, TPAT2 หรือ TPAT3, คณิต 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, ภาษาอังกฤษ, วิทยาศาสตร์ประยุกต์
สายสุขภาพ (รอบกสพท)
สำหรับน้องๆ ที่อยากเป็นหมอ ก็สามารถยื่นสมัครผ่านระบบ กสพท ได้เลยน้า เพราะ กสพท ไม่จำกัดแผนการเรียนแล้ว ดังนั้นใครที่เรียนสายศิลป์ แต่ถ้าชอบวิชาวิทยาศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับร่างกายก็สามารถสอบแล้วยื่นสมัครสอบได้เหมือนเพื่อนๆ สายวิทย์คณิตเลย
ส่วนรอบอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ให้ทุกคนลองเช็กประกาศรับสมัครของมหาลัยฯ ดูก่อนน้า อย่างรอบ Portfolio บางมหาลัยฯ จะกำหนดเกณฑ์ GPAX วิชาในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์อย่างฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยาด้วยทำให้น้องๆ สายศิลป์คำนวณ
อาจจะยื่นสมัครไม่ได้
ตัวอย่างคณะสายสุขภาพ
- คณะแพทยศาสตร์
- คณะสัตวแพทยศาสตร์
- คณะเภสัชศาสตร์
TPAT1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คณิต 1, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, สังคม
ศิลป์ - คำนวณ เลือกเรียนคณะไหนดี ?
คำถามต่อมาหลังจากที่ได้รู้กันคร่าวๆ ไปแล้วว่าศิลป์คำนวณ เข้าคณะอะไรได้บ้าง ก็คือเลือกเรียนคณะไหนดี พี่ๆ เข้าใจทุกคนดีเลยล่ะถ้าใครจะยังรู้สึกสับสนในการเลือกคณะเรียนต่ออยู่ มันไม่แปลกเลยนะ เพราะคณะที่สามารถเลือกเรียนได้ก็มีตั้งหลายคณะ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าตัวเองเหมาะกับคณะไหนที่สุด ?
สายบริหารธุรกิจและการจัดการ
สายนี้เหมาะกับคนที่ชอบตัวเลข และไม่ได้ชอบคำนวณอย่างเดียว แต่ยังชอบ
ที่จะได้เอาตัวเลขไปประยุกต์เข้ากับการบริหาร การวิเคราะห์และการวางแผนด้วย
สายศิลปะและการสื่อสาร
สายนี้เหมาะมากถ้าน้องๆ เป็นคนที่กล้าแสดงออก กล้าคิดนอกกรอบ มีความคิดสร้างสรรค์ เพราะต้องอาศัยไอเดียในการเรียนและสร้างผลงานอยู่เสมอ
สายมนุษย์ / สังคม / ครุฯ
คณะสายมนุษย์ เหมาะกับน้องๆ ที่ชอบเรียนภาษา วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับมนุษย์โดยตรง แต่ถ้าชอบเรื่องราวเกี่ยวกับสังคม ก็อาจจะเหมาะกับคณะสายสังคมมากกว่า เพราะคณะในสายนี้จะศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนในสังคม
และสุดท้ายคือครุศาสตร์ อย่างที่รู้กันว่าคนที่เรียนคณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นครู
ดังนั้นใครที่ชอบอยู่กับเด็กๆ ชอบคิดแผนการสอน เหมาะมากเลยที่จะเรียนสายนี้
สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
น้องๆ สายศิลป์ – คำนวณ บางคนอาจจะถนัดการคำนวณและตัวเลขอยู่แล้ว
แต่ถ้าใครชอบวิทยาศาสตร์ด้วย เหมาะกับคณะในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่น้อยเลยน้า เพราะคณะนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเน้นประยุกต์การคำนวณเข้ากับวิทยาศาสตร์เอาไปต่อยอดได้อีกมากมายขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกเรียนคณะไหน
เหมาะกับคนที่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับร่างกาย ที่สำคัญคือต้องเป็นคนที่ขยันและอดทน ชอบเรียนรู้ ชอบอ่านหนังสือ เพราะคณะในสายนี้ค่อนข้างต้องจำเนื้อหาเยอะและเรียนหนักมาก แต่ถ้าใครใจสู้ พี่ๆ พร้อมสนับสนุนทุกคนเลย !
*หมายเหตุ คำแนะนำในการเลือกคณะเป็นแค่ตัวอย่างเพื่อให้ดูเป็นแนวทางเฉยๆ น้า เพราะการเลือกคณะจะขึ้นอยู่กับความชอบ ความถนัดของแต่ละบุคคล
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ น้องๆ ก็คงจะได้รู้กันแล้วใช่ไหมล้า สายศิลป์-คำนวณก็สามารถเลือกเรียนได้หลากหลายคณะ
ไม่แพ้เพื่อนๆ ที่เรียนสายวิทย์คณิตเลยน้า ใครที่ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกเรียนคณะไหนดี ก็ลองเอาทริคที่แนะนำไปปรับใช้
ในรูปแบบของตัวเอง ส่วนใครที่เลือกคณะได้แล้วก็ไม่ต้องกังวลหรือกดดันตัวเองมากจนเกินไป ขอให้ทุกคนและตั้งใจ
ให้เต็มที่ พี่ๆ จะคอยเป็นกำลังใจให้ทุกคนเอง ^^ !
สำหรับน้องๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Line : @smartmathpronews
รวมถึงข่าวสารต่างๆ อัปเดตอย่างเรียลไทม์
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro