ทุกสิ่งที่ต้องรู้ก่อนสอบ A-Level ภาษาไทย

ใครกำลังจะเริ่มอ่าน A-Level ภาษาไทย แต่ยังไม่รู้จะเริ่มยังไงบ้างมั้ยย ? น้อง ๆ หลายคนอาจจะยังเหลืออีกหลายวิชาที่ต้องเก็บ เลยคิดว่าเดี๋ยวค่อยเริ่มก็ได้ แต่พี่อยากแนะนำให้น้อง ๆ เริ่มเก็บภาษาไทยควบคู่ไปกับวิชาอื่นไปด้วยเลยน้าา เพราะถ้าไปเริ่มช่วงใกล้ ๆ สอบอาจจะเก็บเนื้อหาไม่ทัน

แต่สำหรับคนที่ยังเริ่มต้นไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะต้องอ่านอะไร หรือ ต้องทำข้อสอบเก่าปีไหนบ้างถึงจะตรงกับเนื้อหาปัจจุบัน
พี่ก็สรุปทุกสิ่งที่น้อง ๆ ควรรู้ก่อนสอบ A-Level ภาษาไทยมาไว้ให้หมดแล้ว ทั้งเนื้อหาที่ออกสอบ ความเหมือนและ
ความต่างระหว่าง A-Level กับ 9 วิชาสามัญ รวมถึงเทคนิคเตรียมตัวสอบ รับรองว่าอ่านจบแล้วทุกคนจะเริ่มต้นอ่าน
A-Level ภาษาไทยได้แบบตรงจุดแน่นอนนน

ถ้าพูดถึง A Level ภาษาไทย น้อง ๆ บางคนอาจจะยังนึกภาพไม่ออกว่าข้อสอบที่เราจะต้องเจอเนี่ยหน้าตาจะเป็นแบบไหน หรือต้องสอบเรื่องอะไรบ้าง เลยทำให้หลายคนเริ่มเตรียมตัวไม่ถูก กลัวว่าสิ่งที่อ่านไปจะไม่ออกสอบ แต่จริง ๆ แล้ว เนื้อหา A-Level ภาษาไทย ที่ออกสอบมีแค่ 4 พาร์ตเท่านั้น นั่นก็คือ

1. พาร์ตหลักภาษาไทย (12 ข้อ)

จะเน้นทดสอบความเข้าใจและความจำเรื่องหลักการใช้ภาษาในระดับชั้นม.ปลาย ซึ่งตัวอย่างเนื้อหาที่ออกข้อสอบ เช่น เรื่องประโยคสมบูรณ์ ระดับภาษา การใช้สำนวนให้ถูกต้องตามความหมาย

2. พาร์ตการอ่าน (13 ข้อ)

เน้นทดสอบความสามารถด้านการอ่านของน้อง ๆ ทุกคนว่าอ่านแล้วจับใจความเนื้อหาสำคัญได้ไหม
ซึ่งตัวอย่างเรื่องที่ออกข้อสอบ เช่น การอ่านเพื่อเข้าใจเนื้อหา การจับใจความ / การสรุปสาระสำคัญของข้อความ
การวิเคราะห์จุดประสงค์ / เจตนาของผู้เขียน

3. พาร์ตการเขียน (13 ข้อ)

ถึงจะชื่อว่าเป็นการเขียน แต่บอกเลยว่าพาร์ตนี้ไม่ได้ให้น้อง ๆ เขียนตอบนะ แต่จะเน้นเรื่องการลำดับความเรียงรวมถึงกลวิธีการเขียนด้วย ซึ่งตัวอย่างเรื่องที่ออกข้อสอบ เช่น การเรียงลำดับข้อความ การเรียงความ
การพรรณนา / บรรยาย / อธิบาย

4. พาร์ตการพูด การฟัง (12 ข้อ)

พาร์ตนี้จะทดสอบน้อง ๆ เหมือนกับพาร์ตการเขียนเลย เพราะน้อง ๆ จะไม่ได้สอบพูดหรือฟัง
แต่จะเน้นทดสอบความสามารถทางสื่อสาร การถามตอบ รวมถึงมารยาทในการพูด ฟัง ซึ่งตัวอย่างเรื่องที่ออกข้อสอบ เช่น การวิเคราะห์จุดประสงค์ในการพูด การใช้ข้อความถามและตอบที่สัมพันธ์กัน เป็นต้น

ทั้งหมดก็จะมี 50 ข้อ คิดเป็น 100 คะแนนเต็ม ซึ่งจะใช้เวลาในการสอบทั้งหมด 90 นาที เลยย

9 วิชาสามัญ ภาษาไทย VS A-Level ภาษาไทย

น้อง ๆ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ก่อนจะมาเป็นข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ในปีล่าสุด เมื่อก่อนเขาถูกเรียกว่า 9 วิชาสามัญ ภาษาไทย น้า ซึ่งถ้าดูโครงสร้างข้อสอบ หรือ Test Blueprint จะเห็นเลยว่าโครงสร้างข้อสอบ A-Level ภาษาไทยปีล่าสุดแทบจะไม่ต่างกับ 9 วิชาสามัญเลยแถมเรื่องที่ออกสอบก็เหมือนกันเกือบ 100 % อีก !! 

แต่ถ้าลองเจาะลึกเนื้อหาเพิ่มเติมจะเห็นว่า เนื้อหาบางเรื่องแม้จะเป็นเรื่องเดียวกันแต่ลักษณะของการออกข้อสอบต่างกันอยู่น้าา ซึ่งพี่ก็ได้รวบรวมความแตกต่างของข้อสอบทั้งสองสนามมาให้น้อง ๆ แล้ว โดยจะแบ่งเป็น 2 พาร์ต คือ พาร์ตหลักภาษาและพาร์ตทักษะการใช้ภาษา (การอ่าน / การเขียน / การฟัง พูด) 

  • พาร์ตหลักการใช้ภาษา สำหรับข้อสอบ A-Level พาร์ตนี้ง่ายลงกว่า 9 วิชาสามัญ ความยาวของชอยซ์ก็ต่างกันอย่างชัดเจนด้วย จากตอนแรก ชอยซ์ของข้อสอบ 9 วิชาสามัญจะมีความยาวมากกว่าของข้อสอบ A-Level
    ในขณะที่โจทย์ของ A-Level จะเป็นการถามตรง ๆ ไม่ได้หลอกให้สับสนมาก ถ้าน้อง ๆ จำและเข้าใจหลักการใช้ภาษาก็จะสามารถเก็บคะแนนในส่วนนี้ไปได้แบบสบาย ๆ เลยล่ะ !!
  • พาร์ตการใช้ภาษา มีทั้งเรื่องที่ง่ายลงและยากขึ้น ส่วนที่ง่ายลงก็เหมือนกับพาร์ตหลักภาษา คือ การใช้คำในโจทย์ไม่ได้ยากหรือกำกวมมากจนทำให้น้อง ๆ ทำข้อสอบผิด แต่ส่วนที่ยาก คือ ตัวบทความ เพราะนอกจากจะมี
    จำนวนข้อมากขึ้นแล้ว บางบทความต้องใช้การวิเคราะห์มากกว่าข้อสอบ 9 วิชาสามัญด้วย ซึ่งเรียกได้ว่า
    เป็นข้อสอบที่ถูกปรับให้เหมาะสมกับ “การใช้ภาษา” มากขึ้นนั่นเอง

ข้อสอบ A-Level ภาษาไทยเปลี่ยนไปยังไง ?

อย่างที่พี่บอกไปเลยว่าโครงสร้างข้อสอบทั้ง 9 วิชาสามัญและ A-Level ภาษาไทย มีความคล้ายกันมาก
ดังนั้นเรื่องที่เคยออก ตอนนี้ก็ยังออกอยู่น้าา แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปนั่นก็คือ ข้อสอบเรื่องเดิมแต่ออกสอบไม่เหมือนเดิม
ซึ่งจะมีอยู่ 3 เรื่องใหญ่ที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน คือ

  • เรื่อง การโต้แย้ง ซึ่งในข้อสอบ 9 วิชาสามัญเคยออก 2 แบบทุกปี คือ แบบให้บทความที่เป็นบทพูดโต้แย้งมาแล้วถามหาประเด็นการโต้แย้ง  กับถามว่าข้อใดสนับสนุนประเด็นการโต้แย้ง แต่สำหรับข้อสอบ A-Level จะออกแค่เรื่อง มารยาทในการโต้แย้ง อย่างเดียว
  • เรื่อง คำทับศัพท์ ซึ่งในข้อสอบ 9 วิชาสามัญจะออกแบบถามว่าข้อใดใช้คำไทยแทนได้ แต่ในข้อสอบ A-Level
    มีการเปลี่ยนไปออกเรื่องการเขียนคำทับศัพท์ให้ถูกต้องตามหลักแทน
  • เรื่อง การสะกดคำ อันนี้จะออกเหมือนกันทั้ง 2 ข้อสอบเลยย แต่ข้อสอบ 9 วิชาสามัญจะเลือกออกคำที่น้องไม่คุ้นตาหรือไม่ค่อยได้ใช้ เช่น กระเบียดกระเสียร ปฏิสังขรณ์ แต่สำหรับข้อสอบ A-Level จะเน้นไปที่คำที่น้อง ๆ ใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าเช่น ไอศกรีม มุกตลก
สำหรับใครที่กำลังกังวลว่ายังมีเรื่องอื่น ๆ อีกไหมที่เปลี่ยนไป พี่ต้องบอกก่อนว่ามันอาจจะมีจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แตกต่างจากข้อสอบเก่า แต่โดยรวมแล้ว เนื้อหาหลักก็ยังคงเหมือนเดิม ซึ่งพี่เชื่อว่าถ้าได้ทบทวนเนื้อหาภาษาไทย ม.ปลาย
อยู่บ่อย ๆ แล้วล่ะก็ ทุกคนจะทำคะแนนออกมาได้ดีแน่นอน !!

จะสอบ A-Level ภาษาไทย เตรียมตัวยังไงดี ?

  • เข้าใจว่าหน่วยงานที่ดูแลการออกข้อสอบต่างกัน สำคัญมาก ๆ เลยน้าา เพราะต่อให้โครงสร้างข้อสอบจะเหมือนกัน แต่ถ้าหน่วยงานที่ดูแลการออกข้อสอบเป็นคนละหน่วยงาน ลักษณะของคำถามที่เน้นออกสอบในปีนั้น ๆ ก็จะไม่เหมือนกันด้วย

    โดยข้อสอบ 9 วิชาสามัญภาษาไทย ปี 65 และข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ปี 66-67 จะดูแลโดยทปอ. ส่วนปีก่อนหน้านั้นจะเป็น สทศ. (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ) นั่นเองง
  • ยึดแนวข้อสอบจาก A-Level ปี 66 เป็นหลัก เพราะคนออกข้อสอบเป็นคนเดียวกัน ข้อสอบน่าจะมีความใกล้เคียงกันที่สุด ส่วนข้อสอบเก่าปีอื่น ๆ ก็ยังดูเป็นแนวทางได้น้าา แต่แนะนำว่าให้เอามาเทียบกับ A-Level ปี 66 ก่อน เพื่อหาโจทย์ที่คล้ายกันแล้วค่อยลองทำ น้อง ๆ จะได้ไม่เสียเวลาอ่านหนังสือและเตรียมสอบได้แบบตรงจุดที่สุด !!
  • มีสติในการอ่านโจทย์ เพราะหลายคนพลาดจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปอย่างเช่น คำว่า ถูก / ผิด ใช่ / ไม่ใช่ ถามหาข้อที่เป็นประโยคหรือไม่เป็นประโยค ถามหาการใช้คำถูกหรือการใช้คำผิด ทำให้แม้จะเตรียมตัวมาดีมากแค่ไหน แต่ถ้าอ่านโจทย์ไม่ดีก็จะทำให้เสียคะแนนได้ T_T เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดต้องมีสติเยอะ ๆ เลยนะทุกคน !!
  • ฝึกทำข้อสอบจริง สำคัญมาก โดยพาร์ตหลักภาษาสามารถเน้นการจำและเข้าใจเนื้อหาเพื่อเป็นพื้นฐานในการทำข้อสอบได้เลย แต่สำหรับพาร์ตทักษะการใช้ภาษา (การอ่าน / การเขียน / การฟัง / การพูด) ที่ต้องอ่านบทความ

    พี่แนะนำให้ลองจับเวลาในการทำและฝนข้อสอบจริง จะได้รู้ว่าใช้เวลากับการอ่านไปเท่าไร เพราะข้อสอบเน้นทักษะการใช้ภาษา ไม่มีเนื้อหาให้จำ ดังนั้นการฝึกทำข้อสอบนี่แหละได้ผลที่สุด ซึ่งน้อง ๆ สามารถเลือกฝึกจากข้อสอบ
    9 วิชาสามัญปีก่อน ๆ รวมไปถึงข้อสอบ O-NET ก็ได้เหมือนกันนะ

ดูคลิปติว A-Level ภาษาไทย

ติดตามคลิปติว A-Level อื่น ๆ ได้ทาง Youtube : SmartMathPro

ได้รู้จักข้อสอบ A-Level ภาษาไทยกันมากขึ้นแล้ว สิ่งที่สำคัญมากที่น้อง ๆ  ควรทำต่อไป ถ้าอยากเก็บคะแนนสอบวิชานี้
ให้ได้สูง ๆ ก็คือการฝึกทำโจทย์บ่อย ๆ ซึ่งถ้าใครกำลังมองหาโจทย์ A-Level ภาษาไทยไว้ฝึกซ้อมมือก่อนลงสนามจริง
พี่ก็มีข้อสอบให้ทุกคนได้ไปดาวน์โหลดมาฝึกทำด้วยน้าา สามารถไปดูที่คลังข้อสอบได้เลยย

แต่สำหรับที่ลองทำโจทย์ดูเองแล้วแต่ก็ยังรู้สึกไม่จุใจ อยากเรียนเนื้อหาหรือฝึกทำโจทย์เพิ่มเติม เพื่อเตรียมสอบ A-Level ภาษาไทยตั้งแต่ตอนนี้ จะได้พร้อมสอบยิ่งกว่าใคร พี่ก็มีคอร์ส พิชิต A-Level ภาษาไทย ฉบับรวบรัด สอนโดย อ.ขลุ่ย
ที่จะช่วยให้การอ่านหนังสือสอบของทุกคนสะดวกขึ้น มาแนะนำด้วยน้าา

โดยคอร์สนี้พี่ก็จะสอนเนื้อหาวิชาภาษาไทยที่ออกสอบในสนาม A-Level ครบทุกหัวข้อ พร้อมพาไปตะลุยโจทย์จัดเต็มทั้งข้อสอบเก่าจากสนามต่าง ๆ และข้อสอบจริงอัปเดตปีล่าสุด รับรองว่าได้เทคนิคไปอัปคะแนนสอบเพียบบ เจอโจทย์ประยุกต์แค่ไหนก็ไม่หวั่น แถมยังมี Unseen Mock Test ภาษาไทย ชุดพิเศษ ให้ไปฝึกทำแบบฟรี ๆ 1 ชุดด้วยน้าา
ใครสนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก เลยย

อ่านมาจนถึงตรงนี้น้อง ๆ คงจะเห็นภาพรวมและสิ่งที่ควรรู้ก่อนสอบ A-Level ภาษาไทยกันแล้วใช่มั้ยยย หลังจากนี้ก็วางแผนและจัดตารางอ่านหนังสือกันดี ๆ น้าา นอกจากเก็บเนื้อหาแล้ว อย่าลืมทำโจทย์บ่อย ๆ จะได้เห็นแนวข้อสอบและ
จับจุดได้ พี่เป็นกำลังใจให้ทุกคนน้าา

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุป A-Level ไทยสังคม ออกสอบอะไรบ้าง
สรุป A-Level ไทย สังคม TCAS67 ออกสอบอะไรบ้าง? พร้อมคลิปติวฟรี
สรุปเนื้อหาภาษาไทย การอ่านจับใจความ
การอ่านจับใจความ สรุปเนื้อหาพร้อมเทคนิคและข้อสอบจริงให้ลองทำ
สรุปเนื้อหาและตัวอย่างคำทับศัพท์
คำทับศัพท์ สรุปเนื้อหาและตัวอย่างคำทับศัพท์ พร้อมข้อสอบจริง
คำราชาศัพท์ มีอะไรบ้าง สรุปเนื้อหา
คำราชาศัพท์ สรุปหลักการใช้เข้าใจง่าย พร้อมตัวอย่างคำแต่ละหมวด
Dek68 จะสอบเข้ามหาลัยฯ ต้องเตรียมตัวยังไง ?
Dek68 สอบเข้ามหาลัยฯ ควรเริ่มยังไง? สรุปทุกขั้นตอนควรรู้ของ TCAS68
เตรียมตัวอ่านหนังสือ TCAS68 ยังไงให้สอบติด
เตรียมตัวสอบเข้ามหาลัยยังไง? สรุปและแจกเทคนิคอ่านหนังสือสอบ TCAS

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share