GPAX คืออะไร พร้อมแจกวิธีคิดเกรด

ช่วงนี้มีน้อง ๆ คนไหนกำลังกังวลเกี่ยวกับการสอบเข้าบ้างมั้ยเอ่ย พี่เข้าใจดีเลยล่ะ T_T เพราะนอกจากจะต้องตั้งใจอ่านหนังสือสอบแล้ว บางโรงเรียน/มหาลัยฯ ต้องใช้ GPAX เป็นเกณฑ์คัดเลือกเข้าเรียนด้วยนี่สิ 

แต่เอ๊ะ ! แล้ว “GPAX” คืออะไรน้า ? ใช่เกรดเฉลี่ยที่เห็นกันทุกเทอมรึเปล่า ? สำคัญแค่ไหน และต้องมีวิธีคิดคำนวณยังไง วันนี้พี่จะมาเคลียร์ข้อสงสัยนี้พร้อมบอกเทคนิคเก็บเกรด 4 ให้ทุกคนเองงงง !

GPAX คือ เกรดเฉลี่ยสะสม เป็นการเอาเกรดเฉลี่ยของแต่ละเทอมมาคำนวณเพื่อหาค่าเฉลี่ย

GPAX ต่างกับ GPA ยังไง ?

GPAX แตกต่างจาก GPA นะ น้อง ๆ ต้องสังเกตกันให้ดีอย่าจำสับสนล่ะ ! แล้ว 2 คำนี้แตกต่างกันยังไงน่ะหรอ ? ไม่ยากเลยย ก็เพราะว่า GPA หมายถึงแค่เกรดเฉลี่ยเฉย ๆ น่ะสิ ไม่ว่าจะเป็นเกรดเฉลี่ยรายวิชาหรือเกรดเฉลี่ยรายเทอม ตัวอย่างเช่น GPA วิชาคณิตศาสตร์ หรือ GPA ของม.4 เทอม 1 เป็นต้น

แต่ GPAX จะเป็นการเอา GPA หรือเกรดเฉลี่ยที่ว่าเนี่ยไปคำนวณหาเกรดเฉลี่ยสะสม เช่น สมมติน้อง ๆ อยู่ม.6 เทอม 2 อยากรู้ว่าเกรดเฉลี่ยสะสมของตัวเองทั้ง 5 เทอมเป็นเท่าไหร่ น้อง ๆ ก็จะต้องเอา GPA  หรือเกรดเฉลี่ยของตัวเองที่ผ่านมารวมกันตั้งแต่ ม.4 เทอม 1 ไปจนถึง ม.6 เทอม 1 ถึงจะได้เป็น GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม 5 เทอมนั่นเอง

ความสำคัญของ GPAX

เมื่อรู้ความหมายไปแล้ว น้อง ๆ หลายคนก็อาจจะสงสัยแล้วว่าเจ้า GPAX หรือ เกรดเฉลี่ยสะสมที่ว่าเนี่ยมันสำคัญยังไง มีความจำเป็นต้องใส่ใจมันมากน้อยแค่ไหน แค่เรียนให้ผ่าน ๆ ไป ไม่ต้องไปคิดอะไรถึงมันได้ไหมล่ะ ? จริง ๆ แล้วเกรดมีประโยชน์เยอะมากเลยน้า เช่น เป็นเกณฑ์คัดเลือกสอบเข้าม.4 หรือเกณฑ์สอบเข้ามหาลัยฯ ด้วย 

ถึงแม้ว่าในตอนนี้น้อง ๆ หลายคนอาจจะยังไม่มีแผนว่าจะเข้าเรียนที่ไหน หรือสถาบันที่น้องอยากจะเรียนไม่ใช้เกรดเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก แต่พี่ว่าตั้งใจทำเกรดให้ดี ๆ สะสมไว้ก็ไม่เสียหายนะ เพราะมันอาจจะมีประโยชน์กับน้อง ๆ ในอนาคตก็ได้น้าา

GPAX เยอะดียังไง ?

ทุกคนคงจะพอเข้าใจกันอย่างคร่าว ๆ ไปแล้วไปแล้วใช่ไหมล้า ว่า GPAX สำคัญยังไง และมีประโยชน์ยังไงบ้าง ?

เพราะโรงเรียนหรือมหาลัยฯ หลายแห่งก็มีการกำหนดเกณฑ์ GPAX เกรดเฉลี่ยสะสมขั้นต่ำ หรือเอา GPAX มาคิดเป็นคะแนนรวมกับคะแนนอื่น ๆ การมี GPAX เยอะ ๆ ก็เลยเหมือนเป็นข้อได้เปรียบเพราะนอกจากจะช่วยให้ผ่านเกณฑ์คัดเลือกในบางที่แล้ว ก็อาจจะช่วยเพิ่มคะแนนเวลาเอาไปคิดรวมกับคะแนนสอบด้วย 

พี่จะยกตัวอย่างให้ดูเพิ่มเติมว่าการมี GPAX เยอะดียังไงบ้าง ไปดูตัวอย่างด้านล่างนี้กันเลยดีกว่า

ตัวอย่าง คุณสมบัติผู้สมัคร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เกณฑ์ GPAX คณะเภสัชศาสตร์ มช

จากตัวอย่าง ให้สังเกตตรงคำว่า “ไม่น้อยกว่า” 3.75 นั่นหมายความน้อง ๆ ว่าจะต้องมี GPAX “สูงกว่า” 3.75 คือมีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.76 ขึ้นไปเท่านั้นคุณสมบัติถึงจะผ่านนะ เห็นไหมล้าว่าต่างกันแค่ 0.1 แต่ก็เป็นตัวตัดสินได้เลยว่าจะผ่านเกณฑ์ไหม ก็เลยเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการมี GPAX เยอะ ๆ ถึงดีกว่านั่นเองง 

GPAX ดูตรงไหน ?

ท่ามกลางใบปพ. มากมายที่มีตั้งแต่ 1-9 ใบไหนที่จะสามารถบอกให้รู้ว่าตัวเองเคยเรียนไปกี่หน่วยกิตแล้วได้ ? ถ้าน้อง ๆ ลองเปิดดูจะเห็นว่าเอกสารแต่ละประเภทก็บอกข้อมูลเกี่ยวกับตัวน้อง ๆ ในแบบที่ต่างกันออกไป ดูได้ตามนี้เลย

GPAX ดูตรงไหน
  • ปพ.1 ระเบียนแสดงผลการเรียน เป็นใบแสดงผลการศึกษาของน้อง ๆ 
  • ปพ.2 แบบแสดงวุฒิการศึกษา ใบนี้โรงเรียนจะออกให้เพื่อที่น้อง ๆ จะได้ใช้เป็นหลักฐานแสดงระดับวุฒิการศึกษาของตัวเอง
  • ปพ.3 แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา ใบนี้เป็นข้อมูลหลักสูตร ใช้ตรวจสอบวุฒิการศึกษาน้อง ๆ
  • ปพ.4 แบบแสดงผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นใบที่แสดงผลการพัฒนาของตัวน้อง ๆ เอง ทั้งด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  • ปพ.5 แบบแสดงผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ใบนี้จะเป็นใบที่คุณครูใช้บันทึกเวลาเรียน และประเมินเพื่อดูว่าน้อง ๆ เรียนเป็นยังไง ทำกิจกรรมหรือไม่ทำ
  • ปพ.6 สมุดพก จะเป็นสมุดที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของน้อง ๆ
  • ปพ.7 ใบรับรองผลการศึกษา เป็นเอกสารรับรองสถานภาพทางการศึกษาของน้อง ๆ ชั่วคราว 
  • ปพ.8 ระเบียนสะสม เป็นเอกสารบันทึกข้อมูลพัฒนาการและผลงานด้านต่าง ๆ ของน้อง ๆ ทุกคน ซึ่งข้อมูลนี้จะบันทึกไปเรื่อย ๆ นะ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงก็จะถูกบันทึกไว้ด้วย
  • ปพ.9 สมุดบันทึกผลการเรียนรู้ เป็นสมุดบันทึกรายวิชาต่าง ๆ ที่น้อง ๆ เรียนมาตามหลักสูตร   

แต่ในการดู GPAX นั้น ไม่จำเป็นต้องไปเปิดหาทุกใบหรอก เพราะว่ามีใบปพ.1 ใบเดียวก็พอแล้ว ซึ่งในใบปพ.1 นี้เป็นใบที่จะแสดงผลการเรียนของน้อง ๆ พร้อมบอกหน่วยกิตที่เรียนไปแล้วอย่างครบถ้วนเลยล่ะ แถมยังเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้สมัคร TCAS ตอนจะเข้ามหาลัยฯ อีกด้วย 

ซึ่งวิธีดูเกรดและหน่วยกิต ในใบปพ.1 ก็ง่ายมาก ๆ ในเอกสารจะมีช่องที่แสดงผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรอยู่แล้ว น้อง ๆ สามารถเอาจำนวนหน่วยกิตกับเกรดเฉลี่ยแต่ละวิชาแต่ละเทอมไปคิดเป็นเกรด GPAX ได้เลย

วิธีคิดเกรด GPAX

คำถามต่อมาคือ ถ้าอยากจะลองคิดเกรดเฉลี่ยสะสมเองล่ะ จะทำได้ไหม ? ยากรึเปล่า ? พวกพี่ ๆ ขอบอกเลยว่าไม่ยากอย่างที่คิด เพราะน้อง ๆ สามารถลองทำด้วยตัวเองได้เลย มาลองทำไปพร้อมกันนะ ! 

ซึ่งสิ่งที่ต้องเตรียมในการคิด GPAX ขึ้นอยู่กับว่าจะคิดกี่เทอม สมมติน้อง ๆ อยากจะคิดเกรด 5 เทอม สิ่งที่ต้องเตรียมก็คือเกรดเฉลี่ยและหน่วยกิตของทั้ง 5 เทอม หรือถ้าจะคิด 2 เทอม ก็ให้เอาเกรดเฉลี่ยและหน่วยกิตของทั้ง 2 เทอมมาคิด

 

      วิธีคิด

  1. ให้น้อง ๆ เอาเกรดแต่ละวิชาคูณกับหน่วยกิต ทำแบบนี้ให้ครบทุกวิชาเลยน้า
  2. เอาผลคูณจากข้อ 1 มาบวกกัน
  3. เอาผลรวมจากข้อ 2 หารด้วยผลรวมของหน่วยกิตทั้งหมด
  4. พอได้เกรดออกมา 1 เทอมแล้วทำแบบนี้ให้ครบทุกเทอมที่จะเอามาคิดเกรดเฉลี่ยสะสม แล้วทำแบบข้อ 1 อีกครั้ง

ตัวอย่างวิธีคิดเกรด 2 เทอม

แชร์เทคนิค เรียนยังไงให้ได้เกรด 4

1. มีสมาธิเวลาอยู่ในชั่วโมงเรียน

พี่เข้าใจว่าเวลาอยู่ในห้องเรียน ก็จะมีน้อง ๆ หลายคนที่เบื่อ ง่วง ไม่อยากฟังที่คุณครูสอน และคิดว่าไปอ่านหนังสือเองดีกว่า แต่พี่เคยได้ยินมาว่า ถ้าฟังเรื่องราวผ่านการเล่าของคนอื่น จะช่วยให้จำได้มากกว่า ดังนั้นเวลาที่คุณครูพูด อยากให้น้อง ๆ ลองตั้งใจฟังดูนะ อาจจะเข้าใจเนื้อหาเพิ่มขึ้นด้วย  

และอีกอย่างคือคนที่ออกข้อสอบของโรงเรียนก็คือครูของน้อง ๆ เพราะงั้นบางครั้งในสิ่งที่ครูพูดมันอาจจะมีแนวข้อสอบแอบซ่อนอยู่ก็ได้ ถ้าน้อง ๆ ตั้งใจฟังในห้องเรียน ก็จะรู้ว่าเนื้อหาไหนเป็นส่วนสำคัญที่จะออกสอบ หรือเป็นแนวข้อสอบ ซึ่งจะช่วยให้การเตรีบมตัวสอบง่ายขึ้น เกรดก็จะออกมาดีตามไปด้วย ดังนั้นการตั้งใจเรียนในห้องเลยมีความสำคัญมากไม่แพ้เรื่องอื่นเลยยย 

2. ทำแบบฝึกหัดสม่ำเสมอ

การทำแบบฝึกหัดก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยทบทวนบทเรียนให้น้องไปในตัว เป็นเหมือนเครื่องวัดความรู้ความเข้าใจของ
ตัวเอง ถ้านั่งฟังเนื้อหาอย่างเดียว แต่ไม่ได้ลงมือทำ น้อง ๆ ก็จะไม่รู้เลยว่าตัวเองเข้าใจเรื่องนี้จริง ๆ แค่ไหน 
และที่สำคัญ
แบบฝึกหัดทุกข้อ น้อง ๆ ควรทำด้วยตัวเองนะ ! แต่หลังจากทำเสร็จแล้ว ลองพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นหรือแชร์วิธีทำต่าง ๆ กับเพื่อนก็ได้น้า

น้อง ๆ คนไหนที่อยากจะลองหาโจทย์คณิตศาสาตร์มาฝึกทำ ก็สามารถดูใน คลังข้อสอบ ของ SmartMathPro ได้เลย เป็นคลังข้อสอบที่พี่ ๆ รวบรวมมาไว้ให้น้อง ๆ ได้ลองทำกัน มีทั้งข้อสอบรายปี ข้อสอบแยกบท คณิตประยุกต์ และ
แบบฝึกหัดเสริมพลัง ลองเลือกดูแล้วลองทำกันได้เลย !

3. สรุปเนื้อหาที่เรียนตามความเข้าใจ

วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลมาก ๆ เลยล่ะ น้อง ๆ รู้กันหรือเปล่า ? ทุกครั้งหลังจากเรียนเสร็จแล้ว ให้น้อง ๆ สรุปสิ่งที่เรียนเพื่อเก็บไปทบทวนทีหลัง สักวันละประมาณวันละ 1 ชั่วโมง หรือช่วงเวลาสั้น ๆ สัก 5 นาทีก่อนนอนก็ได้ 

วิธีนี้จะช่วยให้จำเนื้อหาของสิ่งที่เรียนไปแล้วได้มากขึ้น นอกจากนี้นะการทำสรุปหรือทำแบบฝึกหัด
จะช่วยให้รู้ว่าตัวเองเข้าใจเนื้อหาแค่ไหน พอน้องเข้าใจเนื้อหาแล้ว มันก็จะอยู่ในหัวของน้อง ๆ ตลอดเวลา เข้าไปนั่งในห้องสอบปั๊บก็ อ๋ออออ ! ทันทีเลยล่ะ ^_^

แต่สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ยังหาแนวทางการอ่านหนังสือของตัวเองไม่เจอ พี่ก็มีเทคนิคอ่านหนังสือในมุมของพี่ปั้นมาแชร์ให้ด้วยน้า ลองฟังแล้วเอาไปปรับใช้กันได้เลย

ติดตาม Podcast ดี ๆ จากพี่ปั้นได้ที่ YouTube Channel : SmartMathPro

4. ส่งการบ้านให้ครบ ไม่ขาดเรียนบ่อย

คงมีหลายคนที่รู้สึกว่าโรงเรียนให้การบ้านเยอะเลยไม่อยากทำ หรือบางคนก็ขาดเรียนบ่อยในเทอมสุดท้ายเพราะคิดว่าเกรดไม่จำเป็นอีกต่อไป แต่ถ้าวันหนึ่งน้อง ๆ เจอเป้าหมายใหม่หรือเป้าหมายเดิมเปลี่ยนไปแล้ว และเป้าหมายของน้อง ๆ ก็ต้องใช้เกรดเป็นตัวช่วยขึ้นมา ถ้าน้อง ๆ เก็บเกรดให้ดีตั้งแต่ตอนนี้ อาจจะมีประโยชน์สำหรับน้อง ๆ ในอนาคตก็ได้นะ !!

แต่ถ้าใครยังไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง ก็เริ่มจากการหมั่นส่งการบ้านและเข้าเรียนให้ครบตามที่โรงเรียนกำหนดนี่แหละ เพราะจะช่วยเรื่องคะแนนเก็บได้นะ รู้ไหมว่ามีบางคนที่คะแนนเก็บเยอะ ยังไม่ทันสอบก็ได้เกรดดี ๆ ไปแล้ว แล้วยิ่งเพิ่มคะแนนสอบไปอีก บอกเลยว่าเกรด 4 ลอยมาเห็น ๆ !

5. ทบทวนบทเรียน

เมื่อมีเวลาว่าง พี่อยากให้น้อง ๆ ทุกคนทบทวนบทเรียนอยู่เสมอ สามารถเลือกทางที่ตัวเองถนัดได้เลย ไม่ว่าจะ
หยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน ได้ทั้งหนังสือเรียน, สรุปเนื้อหาตามเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือสรุปของน้อง ๆ เอง ซึ่งทำได้ทุกเวลาเลยนะ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นวันธรรมดาหรือหลังเลิกเรียนเท่านั้น

แบ่งเวลาว่างจากวันหยุดมาสักนิดนึง ถือว่าเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยน้า ถึงแม้ว่าการอ่านจะไม่สามารถทำให้จำเนื้อหาหนังสือได้ทั้งเล่ม แต่ถ้าน้อง ๆ อ่านหนังสือทบทวนบทเรียนบ่อย ๆ เมื่อถึงเวลาเจอข้อสอบ ก็ยังจะพอคุ้น ๆ เพราะว่าเคยเห็นเนื้อหานี้ผ่านตามาแล้ว

และสำหรับน้อง ๆ บางคนที่ทำกิจกรรมเยอะ หรือไม่สะดวกพกหนังสือไปอ่านเวลาไปข้างนอก อีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ได้ทบทวนบทเรียนและได้ฝึกทำโจทย์ใหม่ ๆ ที่แตกต่างออกไปจากในห้องเรียนนั่นก็คือการเรียนพิเศษนั่นเอง

เพราะทุกวันนี้การเรียนพิเศษไม่จำเป็นต้องไปนั่งเรียนในห้องทุกครั้งอีกแล้ว แต่มีตัวเลือกอย่างการเรียนเป็นคอร์สออนไลน์ต่าง ๆ ใน Youtube ที่จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลาตามที่ตัวเองสะดวกเลย อยู่ที่ไหนก็ได้ความรู้เหมือนนั่งอยู่ในห้องเรียนเลยล่ะ

6. จับกลุ่มติวกับเพื่อน

น้อง ๆ บางคนอาจกำลังลังเลว่าควรไปจับกลุ่มติวกับเพื่อนดีไหม ? จะช่วยกันได้มากแค่ไหน ? จริง ๆ แล้ว ถ้าน้อง ๆ
แบ่งเวลาเล่นและเวลาติวให้พอดี การติวกับเพื่อนก็จะช่วยให้ไม่เครียดเหมือนเวลาอยู่ในห้องเรียน

นอกจากจะไม่เครียดเพราะมีเพื่อนอ่านหนังสือเป็นเพื่อนแล้ว ยังทำให้น้อง ๆ ได้รู้ในสิ่งที่บางครั้งตัวเองอาจจะยังไม่เข้าใจดี ตรงนี้แหละ ที่จะเป็นโอกาสให้น้อง ๆ ได้ความรู้เพิ่มจากเพื่อนที่เข้าใจเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดีเลย !

เป็นยังไงกันบ้างงง ? สำหรับความหมาย, ความสำคัญ และการคิด GPAX จริง ๆ แล้วมันไม่ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมล้า และสำหรับเทคนิคเก็บเกรด 4 สามารถเอาไปปรับใช้ตามความถนัดของตัวเองกันได้เลยน้า  ส่วนถ้าใครรู้สึกว่าถ้าให้ทบทวนเอง อาจจะทำให้เข้าใจบทเรียนไม่มากพอ อยากได้ตัวช่วยมาเสริมในจุดที่ยังไม่แข็งแรง พี่ก็ขอแนะนำคอร์สคณิตศาสตร์ ม.ปลาย สำหรับเสริมเกรดที่โรงเรียนเลยยย 

ซึ่งพี่จะสอนเนื้อหาละเอียด เจาะลึกเฉพาะบท อิงตามหลักสูตร สสวท. ปีล่าสุด พร้อมตะลุยโจทย์ และแบบฝึกหัดจำนวนมากให้ฝึกทำแบบจัดเต็ม พิเศษสุด ๆ คือสามารถเลือกเรียนแบบแยกบทได้เลย แอบกระซิบว่าลดสูงสุด 35% ใครสนใจ คลิก ไปดูรายละเอียดได้น้าาา

คอร์สเรียน แนะนำ

บทความ แนะนำ

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Line : @smartmathpronews

รวมถึงข่าวสารต่าง ๆ อัปเดตอย่างเรียลไทม์

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share