
กสพท ย่อมาจาก กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นการรวมกลุ่มของคณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ เพื่อร่วมกันคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยใน 4 คณะดังกล่าว
กสพท คืออะไร?
หลายคนที่มีความฝันอยากจะเป็นหมอ น่าจะต้องเคยได้ยิน หรือแม้กระทั่งนักเรียน ม.ปลายก็อาจจะคุ้นๆ หูมาบ้าง
แต่วันนี้จะมาสรุปประเด็นสำคัญว่า กสพท65 คืออะไร และปีล่าสุดมีการอัพเดทอย่างไรบ้าง สัดส่วนคะแนนเป็นอย่างไร ใครต้องสมัครบ้าง ออกสอบอะไรบ้าง จะได้เตรียมตัววางตารางอ่านหนังสือได้ทัน
กสพท เป็นชื่อย่อจาก กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นการรวมกลุ่มของคณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ เพื่อร่วมกันคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยใน 4 คณะดังกล่าว
โดยในแต่ละปีการศึกษาก็จะมีจำนวนสถาบันที่เข้าร่วมคัดเลือกแตกต่างกันไป ซึ่งน้องๆจะสามารถสอบได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น (อายุคะแนน 1 ปี)
ใครสามารถสมัครสอบได้บ้าง
- นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม. 6 และเทียบเท่า เด็กซิ่ว กศน. ปวช. หรือ จบ ป.ตรี
- คณะทันตแพทยศาสตร์ รับเฉพาะแผนการเรียน วิทย์ – คณิต เท่านั้น
- คณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ รับทุกแผนการเรียน
- ถ้าเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปี 1 ไม่ต้องลาออก *ยกเว้นเป็นนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในคณะที่จะสมัคร ต้องลาออกก่อนตามวันที่กำหนดตามระเบียบการรับสมัครของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยในปีการศึกษานั้นๆ
- กรณีเด็กซิ่วเกินปี 1 ขึ้นไป ต้องลาออกก่อนวันสมัครสอบ
**คณะแพทย์ศาสตร์ (พระมงกุฎเกล้า) ควรศึกษาคุณสมบัติเป็นพิเศษ ที่เว็บไซต์ www.pcm.ac.th เพิ่มเติมนะคะ
สัดส่วนคะแนน / ต้องสอบอะไรบ้าง

วิชาเฉพาะ กสพท หรือ วิชาความถนัดแพทย์
สัดส่วนน้ำหนักคะแนน 30% มีทั้งหมด 3 ส่วนด้วยกัน ดังนี้
- PART เชาว์ปัญญา กลุ่มอนุกรมและการทดสอบเชาว์ กลุ่มมิติสัมพันธ์ กลุ่ม MATH ม.ต้น + ม.ปลาย ทั่วไป
- PART จริยธรรมทางการแพทย์ ที่ไม่มีเรียนในห้องเรียน
- PART ความคิดเชื่อมโยง ใช้การคิดวิเคราะห์จับใจความ คล้ายกับข้อสอบ GATเชื่อมโยง แต่มีความเป็นเหตุเป็นผลที่ค่อนข้างยากกว่า
วิชาสามัญ
สัดส่วนน้ำหนักคะแนน 70% โดยสอบทั้งหมด 7 วิชา ซึ่งแต่ละวิชาจะต้องได้คะแนนขั้นต่ำ 30% จากคะแนนเต็ม ดังนี้
- วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) 40%
- คณิตศาสตร์1 20%
- ภาษาอังกฤษ 20%
- ภาษาไทย 10%
- สังคมศึกษา 10%
วิชาเฉพาะ กสพท65 มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง
- จำนวนข้อสอบเท่าเดิม ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยน
- ลดเวลาในการพักเบรกลง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
- เหลือการสอบแค่ช่วงเช้าเท่านั้น ประมาณ 8.00 – 12.30 น. (รอประกาศเวลาสอบอีกทีนะคะ)
รายชื่อสนามสอบ วิชาเฉพาะ กสพท.
สนามสอบ จะมีทั้งหมด 9 แห่ง
- กรุงเทพและปริมณฑล
- ชลบุรี
- นครนายก (มศว องครักษ์) **เปิดใหม่
- เชียงใหม่
- พิษณุโลก
- นครราชสีมา
- อุบลราชธานี
- ขอนแก่น
- สงขลา
**อาจจะเปิดเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์ ควรเลือกสนามสอบให้ดี หากมีปัญหาจะไม่สามารถเปลี่ยนได้
สมัครที่ไหน / ค่าสมัครสอบเท่าไหร่
วิชาสามัญ(รวมทั้งหมด 7 วิชา)
ราคา 700 บาท สมัครผ่าน สทศ. www.niets.or.th
วิชาเฉพาะหรือ วิชาความถนัดแพทย์
ราคา 800 บาท สมัครผ่าน กสพท www9.si.mahidol.ac.th
ชำระเงินออนไลน์ ผ่านช่องทางดังนี้
- app SCB เท่านั้น
- ตู้ ATM SCB
- ธนาคารสาขาย่อย (ซึ่งต้องพิมพ์เอกสารกสพท.02 หรือใบจ่ายเงินไปด้วย)
จำนวนที่เปิดรับสมัครในกสพท65
กสพท65 เปิดรับสมัครทั้งหมด 2,600 คน (อาจมีการเปิดรับสมัครเพิ่ม)
- คณะแพทย์ศาสตร์ 16 สถาบัน : 1,211 คน ลดลง 35 คน
- คณะทันตแพทย์ 12 สถาบัน : 560 คน เพิ่มขึ้น 10 คน
- คณะสัตวแพทย์ 11 สถาบัน : 528 คน ลดลง 54 คน
- คณะเภสัชศาสตร์ 11 สถาบัน : 301 คน ลดลง 76 คน
โดยมีสาขาใหม่ที่เพิ่มเข้ามา ได้แก่
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.เวสเทิร์น, ม.รังสิต, ม.เนชั่น
- สัตวแพทยศาสตร์ ม.เวสเทิร์น
และสาขาที่ไม่เปิดรับสมัคร ใน กสพท.ปีนี้ คือ
- แพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี วิทยาลัย วิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ม.มหิดล

สรุปประเด็นสำคัญ กสพท ปี 65 ทั้งหมด
- ไม่มีการนำคะแนน O-net มาพิจารณาเกณฑ์ขั้นต่ำ
- ใช้คะแนนสัดส่วนเดิม (วิชาสามัญ 70% ,วิชาเฉพาะ 30%)
- ปรับลดค่าสมัครสอบ วิชาเฉพาะ เหลือ 750 บาท (จากเดิม 800 บาท)
- **คณะ แพทย์ ทันตะ เภสัช หากยืนยันสิทธิ์ในรอบ1 (Portfolio) และรอบ2 (Quota) จะไม่สามารถสมัครสาขาเดิมได้ แม้สละสิทธิ์/เปลี่ยนสถาบันหรือสถาบันเก่า เช่น ยืนยันสิทธิ์แพทย์รอบ1,2 จะสมัครแพทย์รอบ 3 ไม่ได้
- หลักสูตรเภสัชศาสตร์ ไม่กำหนดแผนการเรียนของผู้สมัคร จากเดิมที่ต้องจบสายวิทย์-คณิต เท่านั้น
- เพิ่มสนามสอบที่ มศว องครักษ์ จังหวัดนครนายก
กำหนดการ กสพท 65

กำหนดการ |
รายละเอียด |
หมายเหตุ |
1 – 20 ต.ค. 64 |
รับสมัครสอบ กสพท | |
1 ต.ค 64 (00.00 น.) – 22 ต.ค. 64 (23.00 น.) |
ชำระเงินค่าสมัครสอบ กสพท | **แก้ไขข้อมูลส่วนตัว ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค – 15 พ.ย. 64 |
30 ต.ค. 64 | ตรวจสอบการชำระเงินและแก้ไขเอกสาร | **ก่อนเวลา 16.00 น. |
19 – 20 มี.ค. 65 | วันสอบ วิชาสามัญ | |
26 มี.ค. 65 | วันสอบ กสพท | |
20 เม.ย. 65 | ประกาศคะแนนสอบ กสพท และวิชาสามัญ |
|
21 – 28 เม.ย. 65 | ยื่นคำร้องตรวจสอบคะแนน | |
2 – 10 พ.ค. 65 |
สมัคร TCAS รอบ 3 | |
18 พ.ค. 65 |
ประกาศผลรอบ 3 (ครั้งที่ 1) | |
18 – 19 พ.ค. 65 |
ยืนยันสิทธิ์ สละสิทธิ์ และขอประมวลผลรอบ 2 |
|
24 พ.ค. 65 |
ประกาศผลรอบ 3 (ครั้งที่ 2) | |
25 – 31 พ.ค. 65 |
สอบสัมภาษณ์/ตรวจสุขภาพ | |
2 มิ.ย. 65 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา |
เด็กซิ่ว ต้องทำยังไง
ชั้นปี |
รายละเอียด |
กำลังเรียนอยู่ปี1 คณะแพทย์ เภสัช สัตวะ (ม.รัฐ) | อยากซิ่วเข้าคณะเดิม ต้องลาออกก่อนสมัคร รอบ 3 Admission โดยต้องได้รับการอนุมัติให้ลาออก ก่อนวันที่ 25 เม.ย. 65 |
กำลังเรียนอยู่ปี1 (คณะอื่นๆ) | จะมาสอบ ไม่ต้องลาออกก่อนมาสอบ น้องๆค่อยไปลาออกตอนที่ประกาศผลว่าติดเรียบร้อยแล้วก็ได้ |
กำลังเรียนอยู่ ปี 1 ขึ้นไป (ไม่ว่าคณะใดก็ตาม ที่มีสิทธิลงทะเบียน/ลงทะเบียนแล้ว/ลาพัก) |
ต้องลาออก ก่อนวันที่ 10 ต.ค. 64 แล้วนำใบลาออกมาเป็นหลักฐาน เพื่อนำมาสมัครสอบ วิชาเฉพาะ กสพท. |
เด็กซิ่วที่อยู่ปี 4 | สำหรับน้องๆที่คาดว่าจะจบในปีการศึกษา 2564 สมัครได้ ไม่ต้องลาออก |
จบ ป.ตรี เรียบร้อยแล้ว | ใช้ใบปพ.6 หรือใบจบการศึกษายื่นสมัคร ไม่ต้องลาออก (บางสถาบันสามารถโอนหน่วยกิตได้) |
ม.เอกชน | สามารถสอบได้ตามปกติ ไม่ต้องลาออก |
ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
ม.6 และเด็กซิ่ว
(ต้องเตรียมเหมือนกัน)
- รูปถ่าย
- สำเนาบัตรประชาชน (หน้าแรกหน้าเดียว)
(เตรียมไม่เหมือนกัน)
- ม.6 : ใบปพ.7
- ซิ่วอยู่บ้าน : ใบปพ.1 หรือ ปพ.2
- เรียนอยู่ปี 1 : ใบปพ.1 หรือ ใบปพ.2 , สำเนาบัตรนักศึกษา
เรียนอยู่ ปี 1
แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ
1.ซิ่วต่างคณะ = ไม่ต้องลาออก เช่น นิเทศ -> แพทย์ , เภสัช -> แพทย์
2.ซิ่วคณะเดิม = ต้องลาออกก่อน 25 เม.ย. 65 เช่น แพทย์ มช -> แพทย์ ฬ
เรียนอยู่ปี 1 ขึ้นไป
ใบบฟ.2 , ใบอนุมัติลาออก ภายในวันที่ 10 ต.ค. 64
ใบอนุมัติลาออก = เป็นเอกสารที่ต้องรอทางมหาวิทยาลัยต้องอนุมัติก่อน *ควรเผื่อเวลา*
ข้อควรระวัง
- รูปที่ใช้ในการสมัครสอบ ต้องเป็นรูปพื้นหลังเรียบสีขาว/น้ำเงิน ไม่ควรเป็นฉากอื่นๆ
- ควรศึกษาคุณสมบัติให้ชัดเจน ก่อนสมัครสอบ
- กรณีที่ไม่ได้เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ต้องถ่ายภาพในรูปแบบ เสื้อเชิ้ตขาว สุภาพ
- กรณีที่เป็นเด็กซิ่ว วันที่ไปสอบควรใส่ชุดสุภาพ ถ้าใส่ชุดนักเรียนหรือนักศึกษา ทางสนามสอบ กสพท.จะถือว่าทุจริต
- เอกสารต้องเตรียมให้ครบถ้วน ห้ามแคปภาพหน้าจอ ต้องสแกนจากเอกสารจริงเท่านั้น เพื่อความชัดเจน
- เอกสารที่ต้องเซ็นสำเนาถูกต้อง ลายมือของผู้สมัครให้ครบถ้วน ได้แก่ บัตรประชาชน , ใบสมัครสอบ
หมายเหตุ อัพเดทข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564
สำหรับน้องๆที่สนใจอยากดูข้อมูลอัพเดทเพิ่มเติม รวมถึงข่าวสารต่างๆอย่างเรียลไทม์
สามารถติดตามได้ที่
IG : smartmathprocare
Twitter : @PanSmartMathPro