
สำหรับการสอบ A-Level ที่ใกล้จะเข้ามาถึงนี้ น้องๆ Dek67 หลายคนคงจะกำลังเตรียมสอบอย่างวุ่น ๆ กันอยู่เลยใช่มั้ยย ไหนจะต้องเตรียมสอบที่โรงเรียน และเตรียมสอบ TGAT TPAT อีก ซึ่งหลายคนอาจจะเตรียมสอบไม่ทัน และยังจัดตารางอ่านหนังสือไม่ถูกว่าควรจะอ่านอะไรก่อนดี
วันนี้พี่ ๆ ทีมงานเลยสรุป Test blueprint หรือโครงสร้างข้อสอบ A-Level สังคมศึกษามาให้น้อง ๆ พร้อมสรุปว่าควรจะโฟกัสหัวข้อไหนบ้างกับเวลาที่เหลือแค่ไม่กี่เดือน เพื่อช่วยให้ทุกคนอ่านหนังสือได้ถูกจุดมากขึ้นนน
เนื้อหา A-Level สังคมตามที่ ทปอ. ใช้ออกข้อสอบที่อ้างอิงตามโครงสร้างข้อสอบหรือ Test Blueprint มีทั้งหมด 5 สาระการเรียนรู้ ดังนี้
- ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
- หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม
- เศรษฐศาสตร์
- ประวัติศาสตร์
- ภูมิศาสตร์
ซึ่งทั้ง 5 สาระการเรียนรู้นี้น่าจะเคยเรียนเป็นรายวิชาที่น้อง ๆ Dek67 เรียนกันที่โรงเรียนมาแล้ว ดังนั้นเรามาเจาะลึกกันเพิ่มดีกว่าว่าในแต่ละหัวข้อนั้นออกสอบเนื้อหาอะไรบ้างง
หมายเหตุ : เรื่องที่ใส่เครื่องหมาย * ไว้เป็นเรื่องที่ออกสอบบ่อยมากเลยน้า ใครไม่อยากพลาดรีบจดไว้เลย > <
A-Level สังคม พาร์ตศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม (10 ข้อ)
- ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
- การปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาที่ตนนับถือ
จะเห็นได้ว่าถึงจะมีเนื้อหาแค่ 2 ข้อแต่ว่าทาง ทปอ. ก็ใช้คำกว้างมากเลยใช่มั้ย แต่น้อง ๆ ไม่ต้องกังวลไปน้า เพราะพี่ ๆ ได้สรุปหัวข้อย่อยมาให้แล้วอีกทีหนึ่ง ไปดูกันเลยว่าหัวข้อสาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรมของ A-Level จะออกอะไรบ้าง !
- อนุทวีปอินเดีย ออกสอบเกี่ยวกับคติความเชื่อต่าง ๆ ภายในชมพูทวีปหรืออินเดียโบราณก่อนศาสนาพุทธ
- ศาสนาพุทธ* เน้นออกสอบเกี่ยวกับประวัติของพระพุทธเจ้า สาวกคนสำคัญ รวมไปถึงหลักธรรมคำสอนต่าง ๆ และวันสำคัญทางศาสนา
- ศาสนาสากล* ออกสอบเรื่องประวัติศาสนาสากล ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามรวมถึงคำสอนสำคัญของแต่ละศาสนาด้วย
การกระทำของบุคคลใดเป็นการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับวิถีปฏิบัติในวันสำคัญทางศาสนา
- นาย ก ตั้งใจทำความดี ละความชั่ว ทำใจให้ผ่องใส และเวียนเทียน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
- นาย ข ไปเวียนเทียนและตั้งจิตถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6
- นาย ค ไปตักบาตรเทโวโรหณะ และถวายผ้าพระกฐิน ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 8
- นาย ง เป็นประธานร่วมกับคนในชุมชนจัดพิธีทอดกฐินของวัด ในวันแรม 3 ค่ำ เดือน 11
- นาย จ ถวายสังฆทาน ปล่อยนก ปล่อยปลา และใส่บาตร ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
ตอบ ข้อ 3. นาย ค ไปตักบาตรเทโวโรหณะ และถวายผ้าพระกฐิน ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 8
A-Level สังคมพาร์ตหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม (10 ข้อ)
- หน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี มีค่านิยมที่ดีงาม การธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
- การเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน การยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ถึงจะมีเนื้อหาแค่ 2 หัวข้อเหมือนกับสาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม แต่จริง ๆ แล้วสาระการเรียนรู้นี้ออกสอบทั้งหมด
3 หัวข้อ ได้แก่ กฏหมายพื้นฐาน สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์ โดยแต่ละหัวข้อจะออกสอบเรื่องอะไร มาดูกันด้านล่างนี้เลย
- กฎหมายพื้นฐาน* ออกสอบเกี่ยวกับกฎหมายทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น
- สังคมวิทยา* เน้นเรื่องโครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ทฤษฎีทางสังคม ปรากฏการณ์ทางสังคม
- รัฐศาสตร์* ออกสอบเรื่องการเมืองการปกครอง รูปแบบการปกครอง ทฤษฎีการเมือง วิเคราะห์ปัญหาทางการเมือง
สถาบันทางสังคมในข้อใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุดกับการทำหน้าที่ ปลูกฝังความคิดและส่งเสริมค่านิยมต่าง ๆ ให้กับสมาชิกในสังคม
- สถาบันศาสนา
- สถาบันการศึกษา
- สถาบันครอบครัว
- สถาบันสื่อสารมวลชน
- สถาบันการเมืองการปกครอง
ตอบ ข้อ 5. สถาบันการเมืองการปกครอง
A-Level สังคม พาร์ตเศรษฐศาสตร์
- บริหารจัดการทรัพยากรการผลิตและการบริโภคใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
- สถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
หัวข้อตาม Test Blueprint ดูกว้างและเหมือนจะน้อยใช่มั้ย แต่ความเป็นจริงแล้ว หัวข้อที่ออกสอบของสาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์มีมากถึง 5 หัวข้อเลยนะ ได้แก่
- เศรษฐศาสตร์พื้นฐาน ข้อสอบจะออกเรื่องความหมายของเศรษฐศาสตร์ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (ผลิตอะไร / ผลิตอย่างไร / ผลิตเพื่อใคร) ปัจจัยการผลิต ระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมไปถึงระบบตลาด
- เศรษฐศาสตร์จุลภาค* เน้นอุปสงค์ อุปทาน ดุลยภาพของกลไกราคาเป็นหลัก รวมถึงการเกิดอุปสงค์ส่วนเกินหรืออุปทานส่วนเกิน และการแทรกแซงกลไกราคาโดยรัฐบาลด้วย
- เศรษฐศาสตร์มหภาค* ออกสอบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) รายได้ประชาชาติ (NI) หนี้สาธารณะและงบประมาณแผ่นดิน ปัญหาทางเศรษฐกิจ อาทิ เงินฝืด เงินเฟ้อ นโยบายทางเศรษฐกิจ อาทิ นโยบายการเงิน การคลัง
- การค้าระหว่างประเทศ ออกสอบเกี่ยวกับนโยบายการค้าแบบเสรี นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
- เศรษฐกิจพอเพียง มีหัวข้อที่ออกสอบ คือ หลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่
หากต้องการสนับสนุนการส่งออกทุเรียน ควรดำเนินการตามนโยบายในข้อใด
- นโยบายเพิ่มค่าเงินบาท
- นโยบายควบคุมราคาทุเรียนในประเทศ
- นโยบายรณรงค์ให้คนไทยบริโภคทุเรียน
- นโยบายลดโควตาสินค้าส่งออกสำหรับทุเรียน
- นโยบายลดหรือยกเว้นภาษีอากรขาออกสำหรับทุเรียน
ตอบ ข้อ 5. นโยบายลดหรือยกเว้นภาษีอากรขาออกสำหรับทุเรียน
A-Level สังคม พาร์ตประวัติศาสตร์
- เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์หลักฐานและวิธีการทางประวัติศาสตร์ วิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ
- พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในทวีปเอเซีย ยุโรป แอฟริกา และอเมริกา
- ชาติไทย การเมืองเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจ และความเป็นไทย
จริง ๆ หัวข้อประวัติศาสตร์ของวิชา A-Level สังคม มีออกสอบเพียงแค่ 2 เรื่องเท่านั้น คือ ประวัติศาสตร์ตะวันตก
และประวัติศาสตร์ไทย ถ้าใครถนัดและอยากเก็บคะแนน A-Level สังคมจากสาระเรียนรู้นี้ก็สามารถอ่านเนื้อหาตามที่พี่ ๆ สรุปด้านล่างนี้ได้เลยย
- ประวัติศาสตร์ตะวันตก* ออกสอบเกี่ยวกับเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ สถานการณ์ปัจจุบันโลก
- ประวัติศาสตร์ไทย* ออกสอบเกี่ยวกับรัฐโบราณ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การปฏิรูปการปกครองสมัยร.5 การปฏิวัติสยาม 2475 ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย ศิลปะวัฒนธรรมไทย
นักปรัชญาทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อการเมืองในตะวันตกในยุคการปฏิวัติภูมิปัญญาคนใดที่กล่าวถึงเจตจำนงร่วมกันของสังคม และเน้นย้ำหลักการเสรภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ โดยมีผลงานสำคัญ คือ The Social Contract (สัญญาประชาชน)
- รุสโซ
- จอห์น ล็อค
- อริสโตเติล
- มองเตสกิเออร์
- โทมัส ฮอบส์
ตอบ ข้อ 1. รุสโซ
A-Level สังคม พาร์ตภูมิศาสตร์
- โลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกัน การใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์สรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนใช้ภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิถีการดำเนินชีวิต มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วม ในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
สาระการเรียนรู้สุดท้ายของ A-Level สังคม คือ ภูมิศาสตร์ โดยหัวข้อที่ออกสอบ และน้อง ๆ ควรจะโฟกัสมีทั้งหมด 3 หัวข้อ ได้แก่ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์, ปัญหาภูมิศาสตร์กายภาพ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- เครื่องมือทางภูมิศาสตร์* ออกสอบเกี่ยวกับแผนที่ GPS RS GIS
- ปัญหาภูมิศาสตร์กายภาพ* เน้นเรื่องภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพื้นที่ต่าง ๆ ภาวะโลกร้อน รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายของประชากรโลก
- การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ* มีหัวข้อที่ออกสอบ ได้แก่ อนุสัญญา การใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม
อย่างยั่งยืน บทบาทองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
ถ้านักเรียนต้องการเปรียบเทียบพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในจังหวัดอุบาลราชธานีย้อนหลัง 5 ปี ควรเลือกใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในข้อใดจึงจะเหมาะสมที่สุด
- แผนที่อ้างอิงทั่วไป
- รูปถ่ายทางอากาศ
- ภาพจากดาวเทียม
- ระบบนำทางด้วยดาวเทียม
- ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ
ตอบ ข้อ 3. ภาพจากดาวเทียม
คณะไหนใช้คะแนน A-Level สังคมบ้าง ?
ถึงแม้ว่า A-Level สังคมจะใช้ยื่นสำหรับคณะสายศิลป์เป็นหลัก แต่น้อง ๆ ที่จะเข้าคณะสายวิทย์ก็ไม่แนะนำให้ทิ้ง A-Level สังคมไปเลยน้า เพราะวิชานี้เก็บคะแนนได้ไม่ยากมากและสามารถช่วยอัปคะแนนภาพรวมให้สูงขึ้นได้ด้วยย
แต่ถ้าใครที่มีเวลาน้อย ยังเหลืออีกหลายวิชาที่ต้องเก็บแต่ก็อยากได้คะแนน Alevel สังคมแบบสูง ๆ แนะนำให้ลงคอร์ส
ติว Alevel สังคมกับครูกอล์ฟเลยย เพราะคอร์สนี้ใช้เวลาเรียนแค่ 30 ชม. ได้เรียนครบทุกข้อที่ออกสอบในสนามนี้
แถมตะลุยโจทย์แบบอีกจัดเต็มด้วยย ใครสนใจสมัครคอร์ส กดคลิกได้เลยย

ถึงแม้ว่าวิชา A-Level สังคม จะดูเหมือนเป็นวิชาที่ออกสอบเยอะและค่อนข้างกว้าง แต่ถ้าน้อง ๆ Dek67 สามารถ
จับประเด็นและหัวข้อที่ควรอ่านได้ถูกก็สามารถทำคะแนนให้ดีได้น้า และถ้าใครมีเวลาน้อยและกลัวอ่านเองไม่ทัน
แนะนำว่าลองมาดูคอร์ส A-Level สังคมของ SmartMathPro ได้น้า เนื้อหาสรุปครบพร้อมทันสอบ มี.ค. นี้แน่นอน > < แล้วเจอกันใหม่บทความหน้าน้าาา
สำหรับน้องๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Line : @smartmathpronews
รวมถึงข่าวสารต่างๆ อัปเดตอย่างเรียลไทม์
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro