TGAT2, TGAT3 คืออะไร ? น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้ว แต่บางคนก็อาจจะยังไม่แน่ใจว่า ข้อสอบ 2
พาร์ตนี้คืออะไร ? แตกต่างกันยังไง ? TGAT2, TGAT3 ออกสอบอะไรบ้าง ? รวมถึงคำถามอื่น ๆ อีกมากมาย และเพื่อคลายข้อสงสัยของทุกคน วันนี้พี่ก็เลยเตรียมเนื้อหาเกี่ยวกับ TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล และ TGAT3 สมรรถนะการทำงานในอนาคต มาอธิบายแบบละเอียดยิบทุกหัวข้อให้เข้าใจกันก่อนจะไปสอบจริง !!
นอกจากนี้พี่ยังมีคลิปติว TGAT2, TGAT3, เทคนิคเตรียมสอบ รวมไปถึงข้อสอบแจกฟรีให้ทุกคนได้ลองทำด้วยยย ถ้าใครพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยย !!
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
ToggleTGAT คืออะไร ?
TGAT (Thai General Aptitude Test) คือ การสอบเพื่อวัดสมรรถนะทั่วไป ใช้เป็นหนึ่งในคะแนนสำหรับยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS ซึ่งจะแตกต่างจากข้อสอบ GAT ของระบบเก่าน้าา อย่าจำสับสน โดยข้อสอบ TGAT จะแบ่งออกเป็น 3 พาร์ต ประกอบด้วย
- TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ ( English communication )
- TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical and Logical Thinking)
- TGAT3 สมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Workforce Competencies)
จริง ๆ แล้ว ข้อสอบ TGAT กับข้อสอบ GAT ไม่เหมือนกันเลย แถมมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็ต้องใช้คะแนน TGAT ทั้ง 3 พาร์ตในการยื่นสอบเข้าด้วย ดังนั้นใครที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ต้องเตรียมตัวสอบ TGAT ให้ดี ๆ เลยนะ !! โดยพี่จะพาทุกคนมารู้จักกับข้อสอบ TGAT 2 กันก่อน
TGAT2 TGAT3 ออกสอบอะไรบ้าง ?
TGAT2 คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
TGAT 2 คือ ข้อสอบพาร์ตการคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking) เป็นข้อสอบที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ เน้นความเข้าใจ แบ่งออกเป็น 4 พาร์ต โดยแต่ละพาร์ตจะเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์และความเข้าใจที่ต่างกัน ดังนี้
ซึ่งข้อสอบ TGAT2 เป็นแบบปรนัย 5 ตัวเลือก คะแนนเต็ม 100 คะแนน มีเวลาทำข้อสอบ 3 ชั่วโมง (สามารถแบ่งเวลาทำข้อสอบกับพาร์ตอื่น ๆ เองได้เลยย) และถ้าใครอยากรู้ว่าแต่ละพาร์ตออกสอบประมาณไหน, มีความแตกต่างกันอย่างไร พี่ได้รวมไว้ให้ข้างล่างหมดแล้ว มาดูพร้อมกันไปทีละพาร์ตเลยน้า
1. TGAT2 ความสามารถทางภาษา
ความสามารถในการสื่อความหมาย คือ การวัดความรู้และทักษะการเลือกใช้คำให้ถูกต้องตามบริบทของโจทย์เพราะแต่ละคำมีหน้าที่แตกต่างกันเมื่อใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน ย่อมสื่อความหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งน้อง ๆ สามารถดูได้จากตัวอย่างด้านล่างนี้ได้เลย
(เครดิต : รูปภาพจาก mytcas.com)
ที่ถามว่าข้อใดมีความหมายแคบที่สุด ตัวเลือกข้อ 1-4 น้องๆ จะสังเกตได้ว่าโจทย์จงใจใช้คำว่า “เครื่อง” ซ้ำกัน เพื่อให้เราได้วิเคราะห์ตามบริบทว่า คำว่า “เครื่อง” ในบริบทนี้เป็นสิ่งที่เฉพาะเจาะจงหรือไม่ และยังมีการใช้คำว่า “นี้” เพื่อทำให้มีความหมายแคบกว่าอันอื่นด้วย
ความสามารถในการใช้ภาษา คือ การวัดความรู้ ความสามารถในการเขียน พูดหรือสื่อสารออกไปอย่างมีกาลเทศะตามสถานการณ์ต่าง ๆ เมื่อน้อง ๆ เป็นผู้พูดหรือผู้ฟัง รวมไปถึงต้องรู้ว่าหัวข้อที่กำลังสนทนาเป็นเรื่องอะไรเพื่อที่จะได้ใช้ถ้อยคำอย่างเหมาะสม
ความสามารถในการอ่าน คือ การวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ ตีความ และสรุปความ รวมไปถึงหาจุดประสงค์ เจตนา และอารมณ์ของผู้เขียนซึ่งอาจจะสามารถอนุมานได้หรืออนุมานไม่ได้ จึงเป็นหน้าที่ของน้อง ๆ ที่ต้องวิเคราะห์จากบทความสั้น ๆ ที่ข้อสอบให้มา
ความสามารถในการเข้าใจภาษา คือ ข้อสอบที่เน้นการเข้าใจในสำนวน สุภาษิตไทยแล้วนำมาปรับใช้กับประโยค หรือในสังเกตว่าประโยคที่ให้มา ใช้คู่กับสำนวนแล้วสื่อความหมายได้ถูกต้องหรือไม่
2. TGAT2 ความสามารถทางตัวเลข
อนุกรมมิติ : อนุกรม (Number Series) คือ การหาความสัมพันธ์ของตัวเลขที่ให้มา และต้องมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยโจทย์จะให้หาตัวเลขตัวสุดท้ายหรือตัวที่หายไป ซึ่งวิธีในการหาอนุกรม จะไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวเลขนั้น ๆ
การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ คือ โจทย์จะมีปริมาณทั้งหมด 3 ปริมาณ แล้วให้พิจารณาว่าปริมาณใดมีค่ามากที่สุด หรือทุกปริมาณมีค่าเท่ากัน หรือข้อมูลไม่เพียงพอที่จะเปรียบเทียบ
ความเพียงพอของข้อมูล คือ โจทย์จะให้คำถามมา แล้วให้ข้อมูลมา 2 ข้อมูล น้อง ๆ จะต้องพิจารณาว่า ใช้ข้อมูลใดที่สามารถหาคำตอบได้ทันที แต่บางข้ออาจใช้ข้อมูลใดก็ได้ บางข้อต้องใช้ทั้งสองข้อมูลร่วมกันจึงจะหาคำตอบได้ และบางข้อแม้จะใช้ข้อมูลทั้งสองก็ยังไม่เพียงพอที่จะตอบคำถาม น้องจะต้องคิดโจทย์ส่วนนี้ให้ดี ๆ น้า
โจทย์ปัญหา คือ โจทย์ทางคณิตศาสตร์ แต่จะเป็นการคำนวณโดยใช้ความรู้ไม่เกินมัธยมศึกษาตอนต้น โดยบางข้ออาจใช้การทำตรง ๆ หรืออาจใช้มุมมองบางอย่างในการคำนวณอย่างรวดเร็วก็เป็นไปได้
3. TGAT2 ความสามารถทางมิติสัมพันธ์
ข้อสอบด้านมิติสัมพันธ์ คือ ข้อสอบที่น้อง ๆ จะต้องมองภาพและคาดเดาภาพในมุมต่าง ๆ ข้อสอบส่วนนี้จะมีลักษณะ
4 แบบย่อย คือ แบบพับกล่อง / แบบหาภาพต่าง / แบบหมุนภาพสามมิติ / แบบประกอบภาพ
4. TGAT2 ความสามารถทางเหตุผล
ความสามารถทางเหตุผล คือ ข้อสอบที่น้อง ๆ จะต้องมองภาพ มี 4 ด้าน คือ อนุกรมภาพ / อุปมาอุปไมยภาพ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่ต้องอ่านเพื่อวิเคราะห์ความและสรุปความด้วย
TGAT2 มีกี่ข้อ ? คิดคะแนนยังไง ?
จากข้อสอบทั้งหมด 4 ส่วนจะรวมกันได้ทั้งหมด 80 ข้อซึ่งต้องมาแปลงเป็น 100 คะแนนอีกที โดยสามารถคำนวนได้ตามนี้
คะแนน TGAT2 (เต็ม 100) = คะแนน TGAT2 (เต็ม 80) × 5 ÷ 4
ตัวอย่าง ถ้าน้องได้คะแนนจากทุกพาร์ตรวมกัน 40 คะแนน จากคะแนนเต็ม 80 คะแนน จะได้เป็น คะแนน TGAT2 = 40 × 5 ÷ 4 = 50 คะแนน
TGAT3 คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
TGAT3 คือ ข้อสอบสมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Workforce Competencies) เป็นส่วนหนึ่งข้อสอบของ TGAT ที่เน้นให้น้อง ๆ ได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ บทบาท หน้าที่หรือเงื่อนไขต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 4 พาร์ตหลัก ๆ ดังนี้
- การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม
- การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
- การบริหารจัดการอารมณ์
- การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม
ซึ่งข้อสอบ TGAT3 เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก การตอบคำถาม มี 2 แบบ คือ เลือกตอบตัวเลือกเดียว และเลือกตอบหลายตัวเลือก คะแนนเต็ม 100 คะแนน มีเวลาทำข้อสอบ 3 ชั่วโมง (สามารถแบ่งเวลาทำข้อสอบกับพาร์ตอื่น ๆ เองได้เลยย) และถ้าใครอยากรู้ว่าแต่ละพาร์ตออกสอบประมาณไหนและมีความแตกต่างกันอย่างไร พี่ได้รวมไว้ให้ข้างล่างหมดแล้ว มาดูกันว่าแต่ละพาร์ตจะมีความแตกต่างกันยังไง
1. TGAT3 การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม
การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม คือ การอ่านข้อสอบและวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลัก Critical thinking + Data sufficiency + Logical reasoning เพื่อเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น หาแนวทางในการแก้ไขปัญหา และหาทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อพลิกวิกฤติเป็นโอกาส เช่น การคิดต้นทุนของสินค้า การหาต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้น การกำหนดประเด็นสนับสนุนหรือประเด็นโต้แย้งกับข้อความที่โจทย์ให้มา การแก้ปัญหารวมถึงการสร้างโอกาสใหม่โดยใช้จุดแข็งที่มี มีจำนวน 15 ข้อ ซึ่งคำตอบทุกตัวเลือกจะมีคะแนน ซึ่งไล่ตั้งแต่ 0-1 คะแนน (0, 0.25, 0.50, 0.75, 1)
2. TGAT3 การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน คือ ข้อสอบที่ประกอบด้วยส่วนของสถานการณ์สมมติ และอิงตามสถานการณ์ โดย 1 สถานการณ์จะใช้ตอบคำถาม 3 – 4 ข้อ เท่านั้นยังไม่พอ บางข้อยังมีวิธีการตอบได้หลายคำตอบ ซึ่งเป็นการตอบ
ที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษด้วย มีทั้งหมด 15 ข้อ อ้างอิงจาก Test Blueprint ตามนี้เลยย
3. TGAT3 การบริหารจัดการอารมณ์
การบริหารจัดการอารมณ์ คือ ข้อสอบที่ประกอบด้วยความตระหนักรู้ในตนเอง การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ ความเข้าใจผู้อื่น เป็นข้อสอบแบบวัดทัศนคติ 4 ระดับ มีจำนวน 15 ข้อ โดยทุกคำตอบจะมีคะแนนลดหลั่นไปตามความถูกต้องของคำตอบ ตั้งแต่ 0-1 คะแนน เหมือนกับพาร์ตการสร้างคุณค่าและนวัตกรรม
4. TGAT3 การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม
การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม คือ ข้อสอบประกอบด้วยการมุ่งเน้นการบริการสังคม จิตสำนึกและรับผิดชอบ
ต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น เป็นข้อสอบแบบวัดทัศนคติ 4 ระดับ มีจำนวน 15 ข้อ
โดยทุกคำตอบจะมีคะแนนลดหลั่นไปตามความถูกต้องของคำตอบ ตั้งแต่ 0-1 คะแนน เหมือนกับพาร์ตก่อนหน้า
TGAT3 มีกี่ข้อ ? คิดคะแนนยังไง ?
น้อง ๆ อาจจะสังเกตได้ว่าข้อสอบนั้นแม้จะมีคะแนนหลายแบบตั้งแต่ 0 และสูงสุดที่ 1 คะแนนและจำนวนข้อก็มีเพียง 60 ข้อเท่านั้น ในส่วนของการคิดคะแนน TGAT3 ซึ่งถ้าหากน้อง ๆ ต้องการคำนวณคะแนนด้วยตัวเองก็จะต้องทำตามนี้น้า
ตัวอย่าง ถ้าน้องได้คะแนนจากทุกพาร์ตรวมกัน 45 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน จะได้เป็น
คะแนน TGAT3 (เต็ม 100) = คะแนน TGAT3 (เต็ม 60) × 5 ÷ 3
ตัวอย่าง ถ้าน้องได้คะแนนจากทุกพาร์ตรวมกัน 45 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน จะได้เป็น คะแนน TGAT3 = 45 × 5 ÷ 3 = 75 คะแนน
ดูคลิปติว TGAT พาร์ตต่าง ๆ
พี่มีคลิปติว TGAT3 พาร์ตการสร้างคุณค่าและนวัตกรรม รวมถึงคลิปติว / ตะลุยโจทย์สนาม TGAT ให้น้อง ๆ เลือกดูเยอะมากเลยน้าา ถ้าสนใจดูคลิปไหนก็สามารถกดปุ่ม Playlist ที่มุมขวาบนของคลิป แล้วเลือกดูกันได้เลยยย
ดูคลิปติววิชาอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ YouTube : SmartMathPro
รูปแบบการสอบ TGAT
สำหรับ TCAS68 สามารถเลือกสอบ TGAT ได้ทั้งคอมพิวเตอร์และกระดาษ ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบมีค่าสมัครสอบเท่ากันคือ 140 บาท
ขอกระซิบเพิ่มเติม การสอบด้วยคอมพิวเตอร์จะใช้ระบบเดียวกับการสอบ PISA (Programme for International Student Assessment) หรือการประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามมาตรฐานสากล ถ้าใครอยากรู้คะแนนสอบแบบเร็วๆ
ก็สามารถเลือกสอบแบบคอมพิวเตอร์ได้เลย !!
ป.ล. การสอบแบบคอมพิวเตอร์ไม่ใช่การสอบ online ที่บ้านน้า แต่เป็นการสอบตามสนามสอบ TGAT / TPAT ที่ทปอ.จัดไว้ให้เท่านั้น
ต้องสอบ TGAT ให้ครบทุกพาร์ตมั้ย ?
ไม่บังคับสอบน้า เพราะน้อง ๆ จะได้รับข้อสอบ TGAT แบบครบทั้ง 3 พาร์ตตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ซึ่งทุกคนสามารถจัดสรรเวลาในการทำข้อสอบ หรือเลือกพาร์ตที่จะสอบได้เลย แต่พี่แแนะนำให้สอบครบทั้ง 3 พาร์ตดีกว่าน้า เพราะมหาลัยฯ
ส่วนใหญ่กำหนดใช้คะแนน TGAT ครบทุกพาร์ตอยู่แล้ว
เทคนิคเตรียมสอบ TGAT2, 3
สำหรับเทคนิคเตรียมสอบ TGAT2, 3 นอกจากจะต้องศึกษาแนวข้อสอบ, ลักษณะข้อสอบในแต่ละพาร์ตแล้ว ก็จะมีการฝึกทำโจทย์หรืออื่น ๆ ตามลักษณะของข้อสอบพาร์ตนั้น ๆ ซึ่งน้อง ๆ คนไหนอยากรู้ว่าจะเตรียมตัวสอบยังไง พี่ก็รวบรวมเทคนิคเตรียมสอบ TGAT ไว้ให้แล้ว สามารถตามไปดูกันได้เลยน้า
ถึงแม้ว่ากำหนดการสอบ TCAS68 ขยับเข้ามาเร็วขึ้น แต่พี่เชื่อว่าถ้า Dek68 เตรียมตัวอ่านหนังสืออย่างเต็มที่และฝึกทำโจทย์และข้อสอบเยอะ ๆ ไม่ว่าจะเจอกับข้อสอบแบบไหนก็ทำได้แน่นอนนน
แต่ถ้า Dek68 คนไหนที่กำลังจะเตรียมตัวสอบ TGAT/TPAT แล้วไม่รู้ว่าควรเริ่มยังไง ? เตรียมตัวตอนนี้ทันมั้ย ? จุดไหนควรเน้น ควรให้ความสำคัญ เพื่อให้ได้คะแนนจากสนามนี้เยอะๆ พี่ขอแนะนำตัวช่วยดีๆ จาก SmartMathPro นั่นก็คือ คอร์สเตรียมสอบ TGAT/TPAT มีให้เลือกมากมายหลายสนาม
สำหรับใครที่ไม่มีพื้นฐานก็สามารถเรียนได้ เพราะพี่สอนตั้งแต่ปูพื้นฐาน ไปจนถึงพาทำโจทย์ตั้งแต่ระดับง่ายไปจนถึงความยากใกล้เคียงกับข้อสอบจริงเลย แถมเทคนิคอีกเพียบที่จะช่วยให้น้องทำข้อสอบได้เร็วขึ้น > <
และสำหรับใครที่ยังไม่เริ่ม เริ่มติวตอนนี้ก็ยังทันน้าา (กระซิบว่าถ้าสมัครคอร์ส TGAT TPAT ตอนนี้ พี่มี Unseen Mock Test ชุดพิเศษ 1 ชุด แถมฟรีไปให้ลองทำ พร้อมสิทธิพิเศษประจำเดือนอีกมากมายเลยน้า) ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจก็สามารถ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดได้เลยยย
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
X : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro