คะแนน A-Level ประกาศออกมาแล้ว น้อง ๆ ทุกคนเป็นยังไงกันบ้างง ใครที่ได้คะแนนตามที่หวังไว้พี่ก็ขอแสดงความยินดีด้วยยย แต่ถ้าใครรู้สึกว่าตัวเองได้คะแนนน้อย กลัวสอบไม่ติดคณะที่หวังก็อย่าเพิ่งท้อกันน้าา เพราะที่จริงคะแนนของ
น้อง ๆ อาจจะดีกว่าที่คิดก็ได้เมื่อเทียบกับคะแนนภาพรวมของคนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ !!
ซึ่งวันนี้พี่จะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน กับการวิเคราะห์คะแนน A-Level ปี 67 ว่าจะเฟ้อหรือฝืดมากแค่ไหน คะแนนเฉลี่ย A-Level 3 ปีย้อนหลังเป็นยังไง พร้อมตัวช่วยเช็กโอกาสสอบติดและคลิปวิเคราะห์คะแนน A-Level แบบจัดเต็มที่
ท้ายบทความ ใครที่อยากรู้ว่าแนวโน้มคะแนนปีนี้จะเป็นยังไงก็อย่ารอช้า ไปดูพร้อมกันเลยย
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleค่าสถิติต่าง ๆ ของคะแนน A-Level
ก่อนที่เราจะไปวิเคราะห์คะแนนกัน น้อง ๆ ควรจะรู้จักค่าสถิติต่าง ๆ ที่อยู่ในผลสอบก่อน เพราะค่าเหล่านี้จะช่วยให้เราทำความเข้าใจและเปรียบเทียบคะแนนของน้อง ๆ กับภาพรวมได้ง่ายขึ้น โดยพี่ได้ลิสต์ค่าสถิติที่ควรรู้มาให้หมดแล้ว
ดูตามนี้กันได้เลยยย
- คะแนนเฉลี่ย (Mean) คือ ค่าคะแนนที่นำคะแนนที่ทุกคนสอบได้ในรายวิชานั้นมารวมกันทั้งหมด แล้วหารด้วยจำนวนผู้เข้าสอบในรายวิชานั้นทั้งหมด
- มัธยฐาน (Median) คือ ค่าคะแนนที่มีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียบเรียงข้อมูลจากคะแนนน้อยที่สุดไปหาคะแนนมากที่สุด หรือจากคะแนนที่มากที่สุดไปหาคะแนนที่น้อยที่สุด
- ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าคะแนนที่มีจำนวนคนสอบได้คะแนนนี้เยอะที่สุด
- เปอร์เซ็นไทล์ (Percentile) คือ ตำแหน่งของข้อมูลที่แสดงให้รู้ว่าเราอยู่ตำแหน่งไหนเมื่อนำคะแนนของผู้เข้าสอบ
ทุกคนมาเรียงจากน้อยไปมากโดยนำไปเทียบกับ 100 (ค่าเปอร์เซ็นไทล์จะเรียงลำดับคะแนนจากน้อยไปหามาก
คนที่ได้คะแนนมาก ค่านี้จะมากตามไปด้วย) - ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation, S.D) คือ ค่าที่ทำให้เห็นการกระจายตัวของคะแนนสอบในรายวิชานั้น ยิ่งส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่ามาก แสดงว่าคะแนนมีการกระจายตัวห่างจากค่าเฉลี่ยมาก
- คะแนนมาตรฐาน (ค่า T-Score) คือ การนำคะแนนที่น้อง ๆ ได้มาผ่านการแปลงทางสถิติตามสูตรคำนวณ
จะได้เป็นคะแนนมาตรฐาน หรือ T-Score เป็นคะแนนที่ถูกปรับคะแนนค่าเฉลี่ยให้มาอยู่ตรงกลาง (50 คะแนน)
บางมหาวิทยาลัยกำหนด T-Score ขั้นต่ำ รวมถึงใช้คะแนน T-Score ของเราแทนใช้คะแนนที่สอบได้จริงในการ
คิดคะแนน TCAS ด้วย
คะแนนเฉลี่ย A-Level ย้อนหลัง 3 ปี
ในการเปรียบเทียบคะแนนย้อนหลังพี่แนะนำให้เปรียบเทียบกับคะแนนปีล่าสุดเป็นหลักน้าา เพราะว่าระเบียบการในแต่ละปีจะไม่ตรงกับระบบสอบในปัจจุบัน ดังนั้นการเปรียบเทียบคะแนนย้อนหลังกับปีล่าสุดจึงเซฟที่สุด (แต่พี่แถมของปี 65
มาด้วย เผื่อในกรณีที่เทียบ 2 ปีแล้วคะแนนเฟ้อหรือฝืดเกินไปจะได้กะคะแนนจากปี 65 ได้นั่นเองง)
เมื่อลองดูคะแนนเฉลี่ยของแต่ละวิชาที่พี่สรุปมาให้ น้อง ๆ จะเห็นว่า ปีนี้มีวิชาที่คะแนนแตกต่างจากปีก่อนค่อนข้างมากอยู่ 4 วิชา คือ A-Level คณิต 2, A-Level วิทย์ประยุกต์, A-Level สังคม, A-Level อังกฤษ ส่วนวิชาอื่น ๆ ยังมีแนวโน้มที่ทรงตัวคล้ายกับปี 66 ซึ่งพี่ก็ได้ทำกราฟสรุปแต่ละวิชาโดยละเอียดมาให้แล้ว เลื่อนไปดูหัวข้อถัดไปกันได้เลยย
การกระจายตัวคะแนน A-Level เมื่อเทียบ 3 ปีย้อนหลัง
การกระจายตัวคะแนน A-Level คณิต 1
หมายเหตุ : กราฟที่พี่ยกมานี้เป็นการเปรียบเทียบค่าสถิติของช่วงคะแนนกับจำนวนคน ไม่ใช่เปอร์เซ็นต์ เพราะในการ
คัดเลือกของแต่ละคณะ / มหาลัยฯ จะยึดจากจำนวนคนเป็นหลัก
เมื่อดูภาพรวมของคะแนน A-Level คณิต 1 น้อง ๆ จะเห็นเลยว่าจำนวนคนที่ได้คะแนนตั้งแต่ 50 คะแนนขึ้นไปมีจำนวน
ลดลงเมื่อเทียบกับปี 66 ดังนั้นคณะไหนที่มีการแข่งขันสูงหรือมีสัดส่วนคะแนน A-Level คณิต 1 เยอะ ๆ เช่น
คณะสายหมอในกลุ่ม กสพท หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็จะมีคะแนนขั้นต่ำในรอบ 3 ที่ลดลง เพราะคนที่ได้คะแนน
A-Level คณิต 1 เยอะ ๆ มีจำนวนน้อยลงนั่นเอง
ในทางกลับกัน คนที่ได้คะแนน A-Level คณิต 1 50 คะแนนลงไป (โดยเฉพาะช่วง 20-30 คะแนน) มีจำนวนที่เพิ่มขึ้น หมายความว่าคณะที่ใช้สัดส่วนคะแนน A-Level คณิต 1 น้อยหรือมีการแข่งขันต่ำก็มีโอกาสที่คะแนนขั้นต่ำรอบ 3
จะเฟ้อขึ้นมาได้
การกระจายตัวคะแนน A-Level คณิต 2
สำหรับภาพรวมคะแนน A-Level คณิต 2 มีค่าเฉลี่ยลดลงมา ซึ่งถ้าลองเจาะลึกดูช่วงตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไป จะเห็นว่าจำนวนคนที่ได้คะแนนอยู่ในช่วงนี้ลดน้อยลงมากกก ดังนั้นคณะที่กำหนดสัดส่วนคะแนน A-Level คณิต 2 สูง ๆ เช่น
คณะบัญชีและบริหารในบางมหาลัยฯ ก็จะมีคะแนนขั้นต่ำของรอบ 3 ที่ลดลงด้วย
นอกจากนี้จำนวนคนที่ได้คะแนนอยู่ในช่วง 10-30 คะแนนมีจำนวนมากขึ้นกว่าปีก่อน (ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยในปีนี้ลดลง)
นั่นหมายความว่าทุกคณะที่กำหนดเกณฑ์ A-Level คณิต 2 ก็มีโอกาสที่คะแนนขั้นต่ำจะฝืดลงเหมือนกันทุกคณะ และ
ภาพรวมคะแนนขั้นต่ำของคณะในกลุ่มที่มีการแข่งขันสูงอาจมีคะแนนลดถึง 8-12 คะแนน รวมถึงคณะที่มีการแข่งขัน
ปานกลางคะแนนก็จะลดประมาณ 4-8 คะแนนเช่นกัน
การกระจายตัวคะแนน A-Level ฟิสิกส์
สำหรับ A-Level ฟิสิกส์ เป็นวิชาที่คนที่ได้คะแนนอยู่ในช่วงสูง ๆ ตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไป และคนที่ได้คะแนนอยู่ในช่วงตั้งแต่ 10-20 คะแนน มีจำนวนที่มากขึ้นเหมือนกัน แต่จำนวนคนที่ได้คะแนนกลาง ๆ กลับมีน้อยลง ดังนั้นในการยื่นคณะที่กำหนดให้ใช้ A-Level ฟิสิกส์ก็จะมีแนวโน้มที่ต่างกันขึ้นอยู่กับการแข่งขันของคณะนั้น ๆ ซึ่งพี่ขอสรุปตามนี้เลยน้าา
- คณะที่มีการแข่งขันสูง : มีโอกาสเฟ้อขึ้น เพราะคนที่ได้คะแนนสูง มีเยอะขึ้น
- คณะที่มีการแข่งขันปานกลาง : มีโอกาสเฟ้ออยู่บ้าง เพราะคนที่ได้คะแนนกลาง ๆ มีน้อยลง
- คณะที่มีการแข่งขันต่ำ : มีโอกาสฝืดลง เพราะคนที่ได้คะแนนน้อย มีเยอะขึ้น
การกระจายตัวคะแนน A-Level เคมี
ช่วงคะแนนตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไปของคะแนน A-Level เคมี มีจำนวนน้อยลง หมายความว่า คณะที่กำหนดสัดส่วน
A-Level เคมีสูง ๆ ก็จะมีคะแนนขั้นต่ำของรอบ 3 ที่ฝืดลงเล็กน้อย ถือเป็นวิชาที่ปีนี้คะแนนมีการกระจายตัวคล้ายกับปี 66 ดังนั้นน้อง ๆ อาจเปรียบเทียบกับปี 66 เพื่อดูเป็นแนวทางสำหรับการยื่นคะแนนปีนี้ก็ได้น้า
การกระจายตัวคะแนน A-Level ชีววิทยา
สำหรับการกระจายตัวของคะแนน A-Level ชีววิทยาจะเป็นระนาบเดียวกันทั้งหมด ยกเว้นช่วงคะแนนกลาง ๆ ระหว่าง
30 – 50 คะแนนที่จะมีจำนวนคนที่ได้คะแนนในช่วงนี้เยอะขึ้น
การกระจายตัวคะแนน A-Level สังคม
เป็นอีกวิชาที่คะแนนภาพรวมฝืดลงเช่นกัน เพราะจำนวนคนที่ได้คะแนนอยู่ในช่วงที่สูง ๆ ตั้งแต่ 50 คะแนนขึ้นไปมีจำนวนที่ลดลงค่อนข้างเยอะเลย ดังนั้นถ้าคณะไหนกำหนดใช้ A-Level สังคม ไม่ว่าจะเป็นคณะที่มีการแข่งขันสูงหรือต่ำ คะแนน
ขั้นต่ำของรอบ 3 ก็อาจจะฝืดลงทั้งหมดน้า
การกระจายตัวคะแนน A-Level ภาษาไทย
ภาพรวมคะแนน A-Level ภาษาไทยเมื่อเทียบกับปี 66 ค่อนข้างทรงตัว ทำให้คะแนนในปี 67 นี้มีแพตเทิร์น
เหมือนกับปี 66 เลย
การกระจายตัวคะแนน A-Level ภาษาอังกฤษ
ภาพรวมคะแนน A-Level ภาษาอังกฤษฝืดลง แต่ถ้าดูเจาะลึกในช่วงคะแนนตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไปจะเห็นเลยว่าจำนวนคนที่ได้คะแนนอยู่ในช่วงนี้ค่อนข้างทรงตัวเหมือนกับปี 66 ดังนั้นคณะที่กำหนดใช้ A-Level ภาษาอังกฤษในสัดส่วนที่เยอะและมีการแข่งขันสูง จะมีแนวโน้มคะแนนขั้นต่ำของรอบ 3 เท่าเดิม แต่ทั้งนี้กลุ่มคณะที่มีการแข่งขันกลาง-ต่ำ คะแนนจะฝืดลง เพราะคะแนนเฉลี่ยโดยรวมลดลงกว่าปีก่อน
ได้รู้แนวโน้มความเฟ้อ – ฝืดแบบแยกรายวิชาไปแล้ว ต่อไปพี่จะพาน้อง ๆ ไปวิเคราะห์ความเฟ้อ – ฝืดแบบแบ่งเป็นกลุ่มคณะกันบ้างว่าจะมีแนวโน้มเป็นยังไง โดยเริ่มจากคณะในกลุ่ม กสพท กันก่อนน้า
วิเคราะห์ความเฟ้อ - ฝืดในกลุ่มคณะ กสพท
ต้องบอกก่อนเลยว่าสำหรับการวิเคราะห์ความเฟ้อ – ฝืดของคณะในกลุ่ม กสพท จะไม่สามารถนำค่าเฉลี่ยแบบปกติมาวิเคราะห์ได้เหมือนกับคณะทั่วไปน้าา เพราะส่วนใหญ่แล้วน้อง ๆ ที่ยื่นคะแนนและสอบติดในกสพท ถือเป็นน้อง ๆ ที่ได้คะแนนแต่ละวิชาค่อนข้างสูงกว่าค่าเฉลี่ย ดังนั้นพี่จะวิเคราะห์โดยการใช้ ค่าเฉลี่ยใหม่ ที่พี่คิดขึ้นมาเอง ซึ่งพี่จะพาไปพิสูจน์และวิเคราะห์ไปพร้อมกันเลยย
พิสูจน์ความเฟ้อ - ฝืดในกลุ่มคณะ กสพท ปี 65 VS 66
สำหรับการพิสูจน์ความเฟ้อ – ฝืด ของคะแนน กสพท น้อง ๆ สามารถคำนวณได้ตามขั้นตอนนี้
1. ดูว่าคนที่ได้ 30 คะแนนขึ้นไปในแต่ละวิชามีกี่คน
2. คำนวณค่าเฉลี่ยใหม่ของคนที่ได้ 5% แรกในแต่ละวิชา (ถ้าน้อง ๆ อยากรู้ว่าจะคำนวณยังไง สามารถเลื่อนลงไปดูคลิปอธิบายได้ที่ท้ายบทความน้าา ส่วนในตารางนี้พี่คำนวณมาให้หมดแล้วว)
หมายเหตุ : วิชากลุ่มวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา) และ TPAT1 เป็นวิชาที่เกิดจากคะแนนของหลาายวิชารวมกัน จึงไม่ได้นำมาคำนวณหาจำนวนคนที่ได้ 30 คะแนนขึ้นไป
เมื่อคำนวณแล้วจะได้ว่า คะแนนจะเฟ้อขึ้นประมาณ 59.151 – 57.283 = 1.868 คะแนน ซึ่งเมื่อเช็กจากคะแนนต่ำสุดของคณะในกลุ่ม กสพท ปี 65 เทียบกับปี 66 ก็พบว่าคะแนนเฟ้อขึ้นจริงตามที่คาดการณ์ไว้ แต่ในความเป็นจริง คะแนนที่เฟ้อขึ้นนั้นมากกว่าที่พี่คาดการณ์ไว้ถึง 3 เท่าเลย
ดังนั้นเราต้องเช็กความเฟ้อ – ฝืดของคะแนนในกลุ่มที่ได้ 5% แรกในแต่ละวิชาด้วย เพราะบางวิชาก็มีความเฟ้อ – ฝืดที่แตกต่างกัน ทำให้ในปี 66 มีบางวิชาที่ค่าเฉลี่ยใหม่ของคนกลุ่มนี้พุ่งสูงขึ้นจากปี 65 ค่อนข้างมาก รวมถึงยังมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย พี่เลยคิดว่าคะแนน กสพท 67 อาจต้องมีการคาดการณ์แยกเป็น 2 กรณี ซึ่งพี่จะขออธิบายในหัวข้อถัดไปน้าา
คาดการณ์ความเฟ้อ - ฝืดในกลุ่มคณะ กสพท ปี 66 VS 67
จากที่พี่อธิบายเรื่องการคาดการณ์คะแนนขั้นต่ำปี 65 เปรียบเทียบกับปี 66 ของคณะในกลุ่ม กสพทไปแล้ว เมื่อลองมาปรับกับปี 67 จะได้ข้อมูลตามตารางข้างล่างนี้เลย
น้อง ๆ จะเห็นว่าคะแนนภาพรวมมีโอกาสที่จะสูงขึ้นประมาณ 0.17 คะแนน แต่ทั้งนี้คะแนนเต็มของ กสพท ปี 66 จะเต็ม 100 คะแนน ในขณะที่ของปีนี้คะแนนเต็มจะอยู่ที่ 90 คะแนน เพื่อให้คาดการณ์คะแนนได้แม่นยำขึ้น พี่ก็คิดวิธีการคาดการณ์คะแนนแบบเซฟ ๆ ของคณะสายหมอในกลุ่ม กสพท มาให้ทุกคนแล้ว โดยจะแบ่งเป็นการคาดการณ์แบบโหดน้อยและโหดมาก (แนะนำให้ดูเป็นแนวทางเท่านั้นน้าา เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกเยอะมากที่อาจส่งผลต่อคะแนนที่พี่ไม่ได้เอามาคิดด้วย)
- คาดการณ์แบบโหดน้อย : บวกด้วย 0.17 ได้เลย
- คาดการณ์แบบโหดมาก : บวกด้วย 3 โดยคิดจากการตัดความเฟ้อที่อาจจะมาจากพาร์ตเชาวน์ปัญญา (ที่ปีนี้ไม่ได้เอามาคำนวณนั่นเอง)
ซึ่งพี่ก็ได้สรุปออกมาเป็นตารางแบบแยกคณะสายหมอในกลุ่ม กสพท ให้แล้ว สามารถเช็กดูตามนี้ได้เลยน้าา
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ตั้งใจจะยื่นคณะทั่วไป พี่ก็มีวิธีการวิเคราะห์ความเฟ้อ – ฝืดในคณะกลุ่มอื่น ๆ นอกเหนือจากกลุ่ม กสพท มาฝากทุกคนด้วยเหมือนกันน้าา ถ้าอยากรู้แล้วว่าคณะที่ตัวเองอยากเข้าจะมีคะแนนขั้นต่ำเฟ้อหรือฝืดขึ้นประมาณไหน ก็ลองดูวิธีในหัวข้อถัดไปเป็นแนวทางได้เลยยย
คาดการณ์ความเฟ้อ - ฝืดในคณะอื่น ๆ
ขั้นตอนการดูความเฟ้อ – ฝืดของคะแนนในคณะกลุ่มอื่น ๆ
1. ดูเกณฑ์คะแนนปี 66 และ 67 ว่าใช้เกณฑ์แตกต่างกันยังไง
2. เช็กว่าวิชาที่เปลี่ยนไปในปี 67 สามารถทำคะแนนได้ง่ายลงหรือยากขึ้นกว่าเกณฑ์เก่าของปี 66 เช่น ปี 66 ใช้ GPAX เป็นเกณฑ์ แต่ปี 67 เปลี่ยนมาใช้ A-Level คณิต 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเก็บคะแนน A-Level คณิต 1 ได้ยากกว่า GPAX ก็มีมากกว่า
3. คาดการณ์คะแนนที่เราคิดว่ามันง่ายลงหรือยากขึ้นว่ามันจะลดลงหรือเพิ่มขึ้นประมาณไหน เช่น ถ้าคิดว่ามันง่ายลง คะแนนก็น่าจะบวกขึ้น 5 คะแนนจากนั้นให้นำไปคูณกับค่าน้ำหนักที่ใช้ จะได้ความเฟ้อ – ฝืดโดยประมาณออกมานั่นเองงง
ตัวอย่าง
คณะบัญชี จุฬาฯ รูปแบบ 1 (ใช้ A-Level คณิต 2)
จากที่พี่คาดการณ์ไปว่าคะแนน A-Level คณิต 2 ฝืดลงในปีนี้ ซึ่งส่งผลต่อคะแนนขั้นต่ำของคณะแข่งขันสูงที่น่าจะลดลงประมาณ 8-12 คะแนน (ซึ่งพี่จะขอประมาณเป็น 10 คะแนนน้า)
ให้เรานำคะแนนที่เราประมาณไว้มาคูณกับค่าน้ำหนักที่ทางคณะกำหนด คือ A-Level คณิต 2 60% จะได้ 6% หมายความว่ามีโอกาสที่คะแนนขั้นต่ำของปี 67 ของคณะบัญชี จุฬาฯ รูปแบบที่ 1 จะลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 6 คะแนน หรือก็คือ 83.16 – 6 = 77.16 นั่นเอง (ทั้งนี้ให้น้อง ๆ คิดแบบบวกลบเพิ่ม 2 คะแนนเพื่อความเซฟด้วย)
คณะบัญชี จุฬาฯ รูปแบบที่ 2 (ใช้ A-Level คณิต 1)
เนื่องจากเกณฑ์ของคณะบัญชี จุฬาฯ รูปแบบที่ 1 มีกำหนดใช้ TGAT ควบคู่กับ A-Level คณิต 1 ด้วยซึ่งจากที่พี่เคยวิเคราะห์แนวโน้มคะแนนของ TGAT 67 ไปว่าปีนี้คะแนนเฟ้อประมาณหนึ่ง ในขณะที่ A-Level คณิต 1 ตอนนี้จะฝืดประมาณหนึ่ง พี่จึงคิดว่าสองวิชานี้สามารถหักลบกันได้ ดังนั้นแนวโน้มคะแนนขั้นต่ำรอบ 3 ของ คณะบัญชี จุฬาฯ
รูปแบบที่ 2 ก็มีโอกาสที่แนวโน้มจะเท่าเดิมกับปี 66 หรือประมาณ 68.80 (บวกลบ 2 คะแนน) น้า
นอกจากคณะบัญชี จุฬาฯ ทั้งสองรูปแบบพี่ก็คาดการณ์ความเฟ้อ – ฝืดของคะแนนขั้นต่ำรอบ 3 คณะบริหาร จุฬาฯ และคณะบัญชี – บริหารของ มธ. เพิ่มมาให้ด้วยย ดูตามนี้กันได้เลยยย
ขอย้ำอีกทีว่า นี่เป็นการคำนวณในเบื้องต้นเท่านั้นเพื่อให้น้อง ๆ ใช้ดูเป็นแนวทางในการเช็กความเฟ้อ – ฝืด สามารถนำไปปรับใช้กับคณะอื่น ๆ และดูประกอบตอนที่จัดอันดับได้เลยย
ทั้งนี้ถ้าน้อง ๆ คนไหนไม่อยากคำนวณเอง กลัวคาดการณ์เองแล้วทำไม่ถูก แต่อยากลองวิเคราะห์โอกาสสอบติดของ
ตัวเองพี่ก็มีตัวช่วยดี ๆ อย่างไฟล์ประเมินภาพรวมความเฟ้อฝืดของคะแนน TGAT / TPAT A-Level มาฝากด้วยย
ใครอยากลองใช้เพื่อเช็กโอกาสสอบติดโดยเทียบกับความเฟ้อ – ฝืดของปี 66 ก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่คลิปวิเคราะห์คะแนนท้ายบทความน้าา
ปัจจัยที่ทำให้คะแนนขั้นต่ำเฟ้อหรือฝืด
อย่างที่พี่บอกไปในหัวข้อก่อน ๆ เลยว่าการวิเคราะห์คะแนน นอกจากที่เราจะต้องดูคะแนนของปีล่าสุดเทียบกันเพื่อหาแนวโน้มแล้ว ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยเลยที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งพี่ก็ได้สรุป 6 ปัจจัยที่อาจจะส่งผลต่อภาพรวมคะแนนของปีนี้มาให้แล้ว เผื่อใครอยากใช้ดูประกอบวิธีการวิเคราะห์คะแนนที่พี่อธิบายไปก่อนหน้านี้น้าา
1. สถิติคะแนนพื้นฐานที่ประกาศมาจากหน่วยงานทดสอบ เช่น ค่าเฉลี่ย การกระจายตัวช่วงคะแนน
2. การมีสถิติคะแนนย้อนหลังให้ดูและเกณฑ์คัดเลือกคงที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก
3. ความนิยมของคณะและสาขาที่ต้องการเข้าคัดเลือก
4. จำนวนที่นั่งที่เปิดรับ โดยถ้าจำนวนที่นั่งน้อยลงคะแนนก็จะมีโอกาสเฟ้อ แต่ถ้าจำนวนที่นั่งมากขึ้นคะแนนก็จะ
มีโอกาสฝืด
5. เงื่อนไขอื่น ๆ ของคณะและมหาวิทยาลัย เช่น การกำหนดขั้นต่ำ การพิจารณาจากอันดับ เป็นต้น
6. การปั่น / หรือการสร้างจิตวิทยา / ความกล้าเลือกและข้อมูลที่มีในมือ
และนี่ก็คือภาพรวมทั้งหมดของคะแนน A-Level 67 ในปีนี้ซึ่งต้องขอย้ำอีกทีว่านี่เป็นแค่การวิเคราะห์ภาพรวมในเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งพอจะทำให้น้อง ๆ ได้เห็นภาพรวมคะแนนของปีนี้ในหลาย ๆ วิชา สามารถเปรียบเทียบคะแนนของตัวเองกับภาพรวมคะแนนของทั้งประเทศได้ รวมถึงสามารถไปปรับใช้กับการเลือกคณะเพื่อจัดอันดับในรอบ 3 ได้ด้วยน้าา
ถ้าใครอ่านบทความนี้จบแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าควรจะจัดอันดับยังไงดี อยากรู้ทริคการจัดอันดับคณะ / มหาลัยฯ ที่อยากเข้าในรอบ 3 ยังไงให้เซฟที่สุด ก็ลองเข้าไปอ่านบทความ เทคนิคจัดอันดับรอบ 3 เพิ่มเติมได้น้าา
ดูคลิปวิเคราะห์คะแนน A-Level 67
ดูคลิปแนะแนวอื่น ๆ ได้ที่ Youtube : SmartMathPro
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro