รวมเทคนิคเตรียมตัวสอบแพทย์ภายใน 1 ปี

เหลือเวลาเตรียมตัวสอบแพทย์อีกแค่ 1 ปี ควรจะเตรียมตัวยังไงดีถึงจะสอบติด ? สำหรับ Dek68 คนไหนที่ฝันอยากเป็นแพทย์ แล้วกำลังกังวลเรื่องนี้อยู่ ก่อนอื่นสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ และใจเย็น ๆ กันก่อนน้า เพราะช่วงเวลา 1 ปีต่อจากนี้
พี่บอกเลยว่าทุกคนยังมีเวลาเหลืออยู่อีกเยอะเลย ยังไงก็เตรียมตัวสอบทันแน่นอนน

แต่ถ้าใครที่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง และอยากได้วิธีในการเตรียมตัวสอบแพทย์เพิ่มเติม พี่ก็จัดมาให้แล้วในบทความนี้กับ
3 วิธีเตรียมตัวยังไงให้สอบติดแพทย์ภายใน 1 ปี เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมายไปจนถึงการอ่านหนังสือ ถ้าทุกคนอยากรู้แล้วว่าจะมีวิธีอะไรบ้าง ตามพี่ไปดูได้เลยย

3 วิธีเตรียมตัวสอบแพทย์ให้ติดใน 1 ปี

1. ค้นหาตัวเองว่าอยากเป็นแพทย์แบบไหน ?

ก่อนที่เราจะเริ่มวางแผนอ่านหนังสือ สิ่งแรกที่พี่แนะนำให้น้อง ๆ ทำเลยก็คือ “ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน” ว่าเราอยากจะเป็นแพทย์แบบไหน เพราะการมีเป้าหมายชัดจะช่วยให้เราวางแผนอ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และทำให้รู้ว่าควรจะตั้งเป้าคะแนนที่เท่าไรด้วย ซึ่งถ้าพูดถึงการเรียนแพทย์ หลายคนอาจจะนึกถึงคณะแพทยศาสตร์อย่างเดียว แต่ที่จริงการเรียนแพทย์ในประเทศไทยมีหลากหลายมากกก พี่จะขอยกตัวอย่าง 4 คณะมาให้น้าา นั่นคืออ

คณะแพทยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์จะได้เรียนเกี่ยวกับระบบร่างกายของมนุษย์ทั้งหมด รวมถึงความผิดปกติของร่างกาย ยารักษาโรค และอื่น ๆ อีกมากมายตั้งแต่ภาคทฤษฎีไปจนถึงภาคปฏิบัติที่เราจะได้เรียนรู้จากการรักษาคนไข้จริง ๆ เรียกได้ว่าใครชอบ
ช่วยเหลือ อยากรักษาให้คนอื่นหายดี คณะแพทยศาสตร์อาจเป็นคณะที่ใช่ของน้อง ๆ ก็ได้น้าา

คณะทันตแพทยศาสตร์

คณะทันตแพทยศาสตร์เป็นอีกคณะที่น้อง ๆ จะได้เรียนเพื่อไปรักษาคนไข้เหมือนกับคณะแพทยศาสตร์เลยย แต่คณะนี้จะโฟกัสที่การรักษาภายในช่องปากของคนเรา ซึ่งนอกจากการที่น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับอวัยวะ ระบบภายในช่องปาก โรคและวิธีการรักษาแล้ว

น้อง ๆ ก็ยังจะได้ใช้สกิลงานฝีมือในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การทำฟันปลอม การกรอฟัน เป็นต้น ถ้าใครอยากช่วยเหลือคนอื่น อยากเรียนรู้เรื่องของการรักษาฟันและช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ก็เหมาะเลยยย

คณะสัตวแพทยศาสตร์

ได้รู้จักคณะแพทย์ที่รักษาคนไปแล้ว ขยับมาดูคณะแพทย์ที่รักษาเพื่อนรักต่างสายพันธุ์ของเรากันบ้างดีกว่ากับ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ที่น้อง ๆ จะได้รู้จักกับระบบร่างกายของสัตว์หลายประเภทมากก รวมถึงโรคและวิธีการรักษา
ต่าง ๆ เรียกได้ว่าใครที่รักและฝันอยากจะช่วยเหลือสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ก็เป็นทางเลือกที่พี่ว่าน่าสนใจมากเลยยย

คณะเภสัชศาสตร์

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า หมอยา กันมาบ้าง ซึ่งเป็นชื่อเล่นของคณะเภสัชศาสตร์ที่น้อง ๆ จะได้เรียนเจาะลึกเกี่ยวกับ
ยารักษาโรคตั้งแต่โครงสร้างทางเคมีของยา การคำนวณโดสยา ไปจนถึงการให้คำแนะนำกับผู้ป่วยเพื่อวิเคราะห์อาการและจ่ายยาที่เหมาะสมที่สุด ใครที่อยากรู้ว่ายาแต่ละประเภทมีโครงสร้างยังไง และสามารถใช้รักษาคนเราได้ยังไงบ้าง น้อง ๆ ก็สามารถเก็บคณะเภสัชศาสตร์ไว้เป็นอีกทางเลือกก็ได้น้า

นี่ก็เป็นแค่การอธิบายคร่าว ๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของคณะแพทย์แต่ละสายเท่านั้นน้าา แต่ถ้าใครอยากรู้ว่าแต่ละคณะของสายหมอรวมถึงคณะอื่น ๆ จะเรียนอะไรบ้าง หรือจบไปจะได้ทำงานประมาณไหน ก็สามารถเข้าไปอ่านบทความรวมคณะ ได้เลยน้าา บอกเลยว่าน้อง ๆ จะได้รู้จักคณะสายหมอ และคณะอื่น ๆ มากขึ้นแน่นอน !!

2. เช็กว่าเตรียมตัวสอบแพทย์รอบไหนได้บ้าง ?

หลังจากที่ตั้งเป้าหมายกันแล้วว่าเราอยากจะเป็นแพทย์แบบไหน ขั้นต่อไปที่น้อง ๆ ควรรู้ก็คือ “สามารถสอบแพทย์เข้ารอบไหนได้บ้าง” เพราะน้อง ๆ สามารถเลือกยื่นได้ถึง 4 รอบด้วยกันในระบบ TCAS68 โดยแต่ละรอบก็จะมีจุดเด่นและเกณฑ์การรับสมัครที่ต่างกันด้วยน้าา ซึ่งพี่ก็สรุปมาให้แล้ว ตามนี้เลยย

รอบ 1 Portfolio

รอบ 1 Portfolio เป็นรอบที่เหมาะกับน้อง ๆ สายทำกิจกรรม ชอบเก็บผลงาน หรือมีความสามารถพิเศษ เพราะรอบนี้จะใช้ Portfolio หรือแฟ้มสะสมผลงานเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ในการคัดเลือก ซึ่งนอกจากการยื่น Portfolio แล้ว
บางโครงการของคณะสายหมอในบางมหาลัยฯ ก็กำหนดเกณฑ์อื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คะแนนสอบ BMAT, GPAX ขั้นต่ำ, คะแนนสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ เป็นต้น

ดังนั้นพี่แนะนำให้ลองเช็กกับทางคณะ / มหาลัยฯ ที่อยากเข้า อีกทีโดยอ้างอิงข้อมูลจาก TCAS67 กันไปก่อนก็ได้น้าา ตัวอย่างโครงการคณะสายหมอในรอบนี้ เช่น โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย, โครงการเด็กดีมีที่เรียน, โครงการโอลิมปิกวิชาการ

รอบ 2 Quota

สำหรับการคัดเลือกรอบ 2 Quota จะมีการเปิดรับสมัครในรูปแบบโครงการต่าง ๆ คล้ายกับรอบ 1 Portfolio เลยย โดยบางคณะ / มหาลัยฯ ก็จะกำหนดเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น น้อง ๆ ต้องเรียนอยู่ในโรงเรียนเครือข่ายของมหาลัยฯ หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมหาลัยฯ กำหนด

นอกจากนี้คณะสายหมอในบางแห่งก็เริ่มใช้เกณฑ์คะแนนที่หลากหลายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น TPAT1, A-Level รวมถึง
วิชาเฉพาะของมหาลัยฯ นั้น ๆ ด้วยน้าา ตัวอย่างโครงการคณะสายหมอในรอบนี้ เช่น โควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท, โครงการโควตาพื้นที่

รอบ 3 Admission

ในส่วนของรอบ 3 Adimission พี่เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อ “กสพท” กันมาก่อนแน่นอน ซึ่งเป็นระบบ
การคัดเลือกเพื่อสอบเข้าคณะสายหมออย่าง คณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, และ
คณะสัตวแพทยศาสตร์โดยเฉพาะ แถมยังเปิดรับสมัครเยอะมากก และใช้แค่เกณฑ์เดียวในการคัดเลือก นั่นคือ
TPAT1 30% + A-Level 70%

นอกจากคณะสายหมอในกลุ่ม กสพท ที่เปิดรับสมัครแล้ว ก็ยังมีคณะสายหมอนอก กสพท ที่เปิดรับสมัครในรอบนี้ด้วย (แต่เปิดรับค่อนข้างน้อยเลย T_T) ซึ่งเกณฑ์คะแนนก็จะขึ้นอยู่กับคณะ / มหาลัยฯ นั้น ๆ กำหนด เช่น
คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.พะเยา, คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ เป็นต้น

รอบ 4 Direct Admission

รอบ 4 Direct Admission เป็นรอบสุดท้ายของระบบ TCAS ที่พี่ต้องขอบอกก่อนว่าไม่ได้มีคณะสายหมอ
เปิดรับทุกมหาลัยฯ T_T และเกณฑ์รวมถึงคุณสมบัติที่น้อง ๆ จะสามารถสมัครได้ก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับทางคณะ / มหาลัยฯ เป็นคนกำหนด คล้ายกับการคัดเลือกในรอบ 1 และ 2 เลยย

ซึ่งพี่ก็แนะนำให้ติดตามประกาศจากทางมหาลัยฯ ที่เราอยากเข้าอีกทีน้า หรือเช็กข้อมูลจาก TCAS67 กันก่อนก็ได้
สำหรับตัวอย่างคณะสายหมอที่เปิดรับในรอบ 4 เช่น คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร (อ้างอิงข้อมูลจาก TCAS66)

และนี่ก็คือทั้ง 4 รอบ TCAS68 ที่น้อง ๆ สามารถสมัครเข้าคณะสายหมอที่ตัวเองตั้งเป้าหมายได้น้าา ใครที่สนใจจะยื่นเข้ารอบไหนพี่ก็แนะนำให้เริ่มวางแผนและค่อย ๆ เตรียมตัวกันตั้งแต่ตอนนี้ เพราะยิ่งเริ่มเร็วเท่าไร เราก็จะมีชัยไปมากกว่าครึ่ง พูดมาถึงขนาดนี้แล้วก็อย่ารอช้า ใครอยากรู้วิธีเตรียมตัวสอบแพทย์ ก็ไปดูหัวข้อถัดไปกันเลยดีกว่าา

3. เริ่มวางแผนเตรียมตัวสอบแพทย์ภายใน 1 ปี ยังไงให้สอบติด ?

มีเป้าหมายแล้ว รู้แล้วว่าอยากจะสอบเข้าคณะสายหมอในรอบไหน ขั้นตอนถัดไปที่สำคัญมากกกเพื่อให้น้อง ๆ ไปถึง
เป้าหมายได้สำเร็จ ก็คือ “การวางแผนอ่านหนังสือ” โดยพี่ได้รวบรวมวิธีอ่านหนังสือที่จะช่วยให้การเตรียมตัวสอบเข้าของทุกคนง่ายมากขึ้นมาให้แล้วว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

ลิสต์วิชาที่ต้องสอบ คำนวณเวลาที่เหลือ และตั้งเป้าคะแนน

อย่างที่น้อง ๆ เห็นในหัวข้อที่แล้วเลยว่าเกณฑ์การคัดเลือกทั้ง 4 รอบของระบบ TCAS68 ก็จะมีเรื่องของคะแนนสอบเข้ามาใช้เป็นเกณฑ์การตัดสินด้วยว่าเราจะสอบติดคณะสายหมอที่อยากเข้าไหม ดังนั้นวิธีแรกที่พี่แนะนำให้น้อง ๆ ทำเลย
ก็คือ การลิสต์ว่าเราจะต้องสอบอะไรบ้าง และ ตอนนี้เราเหลือเวลาอีกเท่าไรก่อนจะถึงวันสอบ

เพราะวิธีนี้จะช่วยให้น้อง ๆ จัดวิชาที่ต้องอ่านได้ง่ายขึ้นว่าควรเก็บวิชาไหนก่อนหรือหลัง รวมถึงยังสามารถเผื่อเวลากรณีมีเรื่องสำคัญที่ทำให้เราไม่สามารถทำตามแผนที่วางไว้ในตอนแรกได้ด้วย

นอกจากนี้การตั้งเป้าคะแนนที่เราอยากได้ก็เป็นอีกวิธีที่พี่ว่ามีประโยชน์มากเลยย ถ้าเรารู้ว่าคะแนนต่ำสุดของคณะที่เราอยากเข้าในปีก่อนเป็นยังไง ก็จะทำให้เห็นเป้าหมายได้ชัดเจน และช่วยให้เราวางแผนอ่านหนังสือได้ตรงจุดมากขึ้นด้วย

หมายเหตุ : ตอนนี้ข้อมูลวันสอบและคะแนนสูง-ต่ำปียังไม่มีการอัปเดตจากทางทปอ. ดังนั้นถ้าใครจะเตรียมตัวก่อนสามารถดู กำหนดการ TCAS67 เป็นแนวทางไปก่อนได้เลยย

หาวิธีอ่านหนังสือที่ตรงกับสไตล์ของตัวเอง

การเตรียมตัวสอบแพทย์มีวิชาที่ต้องอ่านเยอะมากก จนบางคนก็อาจจะยังไม่แน่ใจว่าควรจัดตารางอ่านหนังสือยังไงถึงจะได้ผลที่สุด พี่ก็ขอแนะนำให้น้อง ๆ ลองค้นหาสไตล์การอ่านหนังสือของตัวเองกันดูก่อนว่าเราชอบแบบไหน เช่น อาจจะลองอ่านโดยการจับคู่วิชาที่เน้นจำกับวิชาที่เน้นคำนวณมาอ่านด้วยกัน, เริ่มอ่านจากวิชาที่ถนัดก่อน, หรือการทำสรุปไปพร้อมกับการอ่านหนังสือ เป็นต้น เพราะเมื่อเราเจอวิธีการอ่านหนังสือที่ใช่กับเราแล้ว เราจะทำมันได้นานและได้ผลกับ
ตัวเรามากที่สุดนั่นเองง

ควรฝึกทำโจทย์และจับเวลาจริงควบคู่ไปด้วย

เป็นวิธีที่พี่บอกเลยว่าสำคัญมากกกก เพราะยิ่งเราฝึกทำโจทย์หรือเจอข้อสอบเก่าบ่อย ๆ พร้อมกับจับเวลาในการ
ทำข้อสอบไปด้วย ก็จะยิ่งทำให้น้อง ๆ คุ้นชินกับบรรยากาศการสอบมากเท่านั้น แถมยังได้รู้ว่าข้อสอบจะพลิกแพลง
ยังไงบ้าง ทำให้เมื่อวันสอบจริงมาถึง ก็จะช่วยลดความตื่นเต้นในห้องสอบรวมถึงจุดผิดพลาดของเราด้วย เพราะเราเคยซ้อมกับข้อสอบเก่ามาแล้ว

สำหรับข้อสอบสนาม A-Level ถือว่ายังเป็นสนามใหม่ที่เพิ่งใช้มาได้แค่ 2 รุ่นเท่านั้น ทำให้น้อง ๆ อาจจะกังวลว่ากลัวจะทำข้อสอบเก่าไม่ถูกปี เพราะเนื้อหาข้อสอบมีการเปลี่ยนแปลง วันนี้พี่เลยลิสต์ของวิชา A-Level คณิต 1, A-Level คณิต 2, A-Level ภาษาไทย, A-Level สังคม มาให้แล้วว่าเราต้องเก็บและควรเก็บข้อสอบของปีไหนบ้าง ตามมาดูได้เลยย

ตารางสรุปข้อสอบเก่าวิชา A-Level คณิต, A-Level ภาษาไทย, A-Level สังคมที่ต้องเก็บ

จดข้อผิดพลาดตัวเองแล้วทบทวนบ่อย ๆ

เวลาที่น้อง ๆ ฝึกทำโจทย์ พี่เชื่อว่าคงมีข้อที่เราทำผิดบ้างเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ซึ่งการที่เราจะเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตัวเองได้ก็คือการที่เราทำความเข้าใจแล้วก็จดเอาไว้น้าา เพราะเราจะได้รู้ว่าตัวเองยังไม่เข้าใจตรงไหน เมื่อน้อง ๆ ไปเจอโจทย์ที่คล้ายกันอีกครั้ง ก็จะช่วยให้เราทำข้อสอบผิดน้อยลง

ขอเสริมเพิ่มอีกนิดหนึ่งง สำหรับคนที่สงสัยว่าเราควรย้อนกลับมาทำโจทย์หรือข้อสอบเดิมอีกครั้งตอนไหน พี่แนะนำให้ลองเอากลับมาทำอีกครั้งหลังจากผ่านไป 1 เดือนน้าา เพราะจะได้ทดสอบตัวเองด้วยว่ายังพลาดในจุดเดิมไหม หรือยังมีเนื้อหาตรงไหนที่ยังไม่เคลียร์หรือเปล่านั่นเองง

หาตัวช่วยในการอ่านหนังสือ

ใครที่ลองอ่านหนังสือคนเดียวดูแล้ว แต่รู้สึกไม่มีไฟในการเตรียมตัวสอบแพทย์ พี่ว่าการลองหาเพื่อนร่วมทางที่มี
เป้าหมายเดียวกันกับเราอาจเป็นตัวช่วยในการเติมพลังและแรงใจในการอ่านหนังสือของน้อง ๆ ก็ได้น้าา ซึ่งนอกจากที่เราจะมี Passion ในการเตรียมตัวสอบแพทย์มากขึ้น เรายังได้แชร์เทคนิคในการเรียนต่าง ๆ รวมถึงถ้ามีคำถามสงสัย
ตรงไหนก็สามารถแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ ได้ด้วย ทำให้การเตรียมตัวสอบสนุกยิ่งขึ้น

และตัวช่วยอีกอย่างหนึ่งสำหรับน้อง ๆ ที่ยังเริ่มต้นอ่านหนังสือไม่ถูก แต่อยากเตรียมตัวสอบแพทย์ตั้งแต่วันนี้ เพราะจะได้พร้อมสอบก่อนใคร พี่ก็มีคอร์สเตรียมสอบแพทย์มาแนะนำน้อง ๆ ด้วยน้า ซึ่งคนไม่มีพื้นฐานก็เรียนได้สบายมากก เพราะในแต่ละคอร์สพี่ก็จะสอนเนื้อหาตั้งแต่ปูพื้นฐานไปจนถึงพาทำโจทย์แบบไต่ระดับทั้งโจทย์ซ้อมมือและข้อสอบแข่งขัน แถมยังสอนเทคนิคทำข้อสอบให้ทันเวลาด้วย (กระซิบว่าถ้าสมัครเรียนตั้งแต่ตอนนี้ มีอัปเดตข้อสอบให้ฟรีจนถึงปีล่าสุดพร้อมสิทธิพิเศษมากมายเลยน้าา) ถ้าใครสนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก ได้เลยย

แบ่งเวลาอ่านหนังสือและพักผ่อนให้ชัดเจน

หลายคนที่เตรียมตัวสอบแพทย์อาจจะกำลังมุ่งมั่นที่จะอ่านหนังสือให้ได้นาน ๆ หรือทำโจทย์ให้ได้เยอะ ๆ จนอาจละเลยการพักผ่อนไป ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่พี่แนะนำว่าทุกคนไม่ควรมองข้ามเลยน้า T_T เพราะถ้าเราพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำให้สุขภาพของน้อง ๆ แย่ลง หรืออาจทำให้หมดไฟอ่านหนังสือไวกว่าปกติ

ดังนั้นนอกจากการแบ่งเวลาอ่านหนังสือของแต่ละวิชาแล้ว ก็อย่าลืมแบ่งเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่แล้วค่อยไปลุยต่อกันด้วยน้าา

วิธีในการเตรียมตัวสอบแพทย์ที่พี่ลิสต์มาให้ทุกคนในวันนี้ก็เป็นวิธีในเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้กับไลฟ์สไตล์การอ่านหนังสือ หรือตารางชีวิตของทุกคนได้เลยย และไม่ว่าน้อง ๆ จะอยากเป็นแพทย์แบบไหน หรืออยากสอบเข้ารอบที่เท่าไรในระบบ TCAS68 พี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน ใน 1 ปีนี้ มาลุยกันให้เต็มที่ เพื่อสอบติดคณะสายหมอ
ในฝันกันเลย !!

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุป TPAT1 กสพท 68 ฉบับอัปเดตล่าสุด ตามแถลงการณ์
กสพท คืออะไร? กสพท 68 มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง อัปเดตล่าสุด 20 ส.ค. 67
แจกฟรี กำหนดการ กสพท 68 ฉบับอัปเดตล่าสุด
กสพท 68 สอบวันไหน ? สมัครสอบวันไหน ? Dek68 เช็กเลย !
A-Level คืออะไร ? ปี 68 สอบวิชาอะไรบ้าง ?
A-Level คืออะไร ? มีวิชาอะไรบ้าง อัปเดตล่าสุด ที่ Dek68 ควรรู้ !
Dek68 จะสอบเข้ามหาลัยฯ ต้องเตรียมตัวยังไง ?
Dek68 สอบเข้ามหาลัยฯ ควรเริ่มยังไง? สรุปทุกขั้นตอนควรรู้ของ TCAS68
เตรียมตัวอ่านหนังสือ TCAS68 ยังไงให้สอบติด
เตรียมสอบเข้ามหาลัยฯ TCAS68 ยังไง พร้อมแจกวิธีอ่านหนังสือให้ Dek68

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share