หน้าหลัก > เนื้อหาวิชาการ > สรุปเนื้อหาวิชาการ > สรุป A-Level สังคม (กฎหมาย) ออกสอบอะไรบ้าง ? พร้อมตัวอย่างข้อสอบ
สรุปเนื้อหากฎหมาย-A-Level-สังคม

น้อง ๆ คนไหนที่กำลังเตรียมตัวเก็บเนื้อหาของพาร์ตกฎหมายในวิชา A-Level สังคม อยู่และไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี ไม่ต้องกังวลใจไปน้าา เพราะวันนี้พี่จะมาสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ของพาร์ตกฎหมายที่ออกสอบบ่อย ๆ ให้น้อง  ๆ ได้อ่านกันรับรองว่าจะช่วยให้น้อง ๆ จับประเด็นที่ข้อสอบถามได้ และนำไปใช้ทำข้อสอบในห้องสอบได้อย่างมั่นใจแน่นอน ถ้าพร้อมแล้ว
เลื่อนลงไปอ่านกัน

ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาอื่น ๆ สิ่งที่น้อง ๆ ควรจะต้องรู้เป็นลำดับแรก คือกฎหมายที่เราเรียกกันนี้ มีลักษณะสำคัญอย่างไรบ้าง ซึ่งพี่สรุปมาให้แล้ว ตามนี้เลยยย

  • เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐ (สั่งให้ทำหรือไม่ให้ทำก็ได้)
  • มาจากรัฎฐาธิปัตย์หรือผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ (ไม่ใช่ว่าใครจะออกกฎหมายก็ได้น้าา)
  • มีสภาพบังคับหรือบทลงโทษ (ต้องบอกด้วยว่าถ้าละเมิดจะโดนอะไรบ้าง)
  • ต้องใช้ได้ทั่วไปและใช้ได้เสมอไป (ใช้กับทุกคน ทุกที่อย่างเสมอภาคและใช้จนกว่าจะยกเลิก)

ประเภทของกฎหมาย

ในการแบ่งประเภทของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราสามารถใช้เกณฑ์ที่หลากหลายในการแบ่ง เช่นเดียวกันกับการแบ่งประเภท
ของกฎหมาย โดยเกณฑ์การแบ่งประเภทของกฎหมายที่น้อง ๆ ควรรู้จักนั้น มีดังนี้

แบ่งตามความสัมพันธ์

  1. กฎหมายมหาชน (เจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐกับเจ้าหน้าที่รัฐ)
  2. กฎหมายเอกชน (เอกชนกับเอกชน)
  3. กฎหมายระหว่างประเทศ (รัฐกับรัฐ)

แบ่งตามสภาพบังคับ

  1. กฎหมายอาญา
  2. กฎหมายแพ่ง

แบ่งตามการใช้หรือหน้าที่

  1. กฎหมายสารบัญญัติ (กำหนดเนื้อหาและพฤติกรรมความถูกผิด)
  2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ (กล่างถึงวิธีการพิจารณาและวิธีดำเนินการ)

แบ่งตามลำดับศักดิ์ของกฎหมาย เรียงจากสูงสุดไปต่ำสุด

  1. รัฐธรรมนูญ
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  3. พระราชบัญญัติ / ประมวลกฎหมาย
  4. พระราชกำหนด
  5. พระราชกฤษฎีกา
  6. กฎกระทรวง / ประกาศกระทรวง
  7. ข้อบัญญัติปกครองท้องถิ่น

กฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์

กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น

กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า
โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท เรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน และกฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น

ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์”

โดยกฎหมายย่อย ๆ ที่อยู่ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีอยู่เยอะมาก แต่พี่ได้สรุปเรื่องสำคัญที่น้อง ๆ ควรรู้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งการไปทำข้อสอบในโรงเรียนและสนามสอบ A-Level สังคม มาให้แล้ว ไปดูกันนน !!

กฎหมายกู้ยืมเงิน

ปัจจุบันการกู้ยืมเงินกฎหมายวางแนวทางไว้ว่า “ถ้ากู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้เป็นสำคัญ จึงจะสามารถฟ้องร้องได้” ดังนั้น ถ้ากู้ยืมเงินไม่เกิน 2,000 บาท แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่มี
ลายมือชื่อผู้กู้ก็สามารถฟ้องร้องได้

กฎหมายมรดก

การแบ่งมรดกสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม (เขียนให้ใครคนนั้นได้)
  2. การแบ่งมรดกตามหลักทายาทโดยธรรม

ในข้อสอบมักถามเรื่องการแบ่งมรดกตามหลักทายาทโดยธรรม เพราะเป็นการวัดความรู้พื้นฐานเรื่องที่พบบ่อย ๆ ในชีวิตจริงว่าเรามีความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงหรือไม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ 

ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆ ควรทำความเข้าใจ คือ “หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรม หรือพินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ ให้แบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาทโดยธรรม โดยจะใช้หลักญาติสนิทตัดญาติห่าง คือ รับมรดกตามลำดับก่อนหลัง ถ้าลำดับบนยังมีชีวิตอยู่ลำดับถัดไปจะหมดสิทธิ์ ยกเว้น ! ชั้นพ่อแม่และคู่สมรส”

ทายาทโดยธรรม 6 ลำดับมีดังต่อไปนี้

  1. ผู้สืบสันดาน (ลูก, หลาน, เหลน)
  2. บิดามารดา
  3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
  5. ปู่ย่าตายาย
  6. ลุงป้าน้าอา

จากตรงนี้น้อง ๆ จะเห็นว่าไม่มีคู่สมรสอยู่ในลำดับใดเลย นั่นเพราะคู่สมรสของเจ้ามรดก (ผู้ตาย) ถือเป็นทายาทโดยธรรมชั้นพิเศษ ดังนั้น นอกจากคู่สมรสจะมีสิทธิ์ได้สินสมรสแล้วก็ยังมีสิทธิ์ได้รับมรดกอีกด้วยน้าา

กฎหมาย-มรดก-A-Level-สังคม-ทายาทโดยธรรม

กฎหมายสมรสเท่าเทียม

กฎหมายสมรสเท่าเทียม เป็นกฎหมายอัปเดตใหม่ล่าสุดที่ออกสอบใน A-Level สังคม เนื้อหาของกฎหมายมีการปรับเปล่ียนสาระสำคัญเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหมั้นหรือการสมรส ซึ่งถ้าน้อง ๆ ยังจำกฎหมายเดิมอยู่อาจจะทำให้ตอบผิดแล้วเสียคะแนนได้เลย T_T ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียม
มีการเปล่ียนเนื้อหาสาระส่วนไหนไปบ้าง

  • การหมั้น : กฎหมายเดิมเป็นชายและหญิงต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์
    > กฎหมายใหม่เปล่ียนเป็นผู้หมั้นและผู้รับหมั้นต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์

  • การสมรส : กฎหมายเดิมเป็นชายและหญิงอายุต้อง 17 ปีบริบูรณ์
    > กฎหมายใหม่เปล่ียนเป็นบุคคลสองฝ่ายต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ (ใช้คำว่าบุคคลแทนชายหญิง)

  • สิทธิต่าง ๆ ในฐานะคู่สมรส : การสมรสระหว่างบุคคลในกฎหมายฉบับนี้ไม่ว่าจะมีอัตลักษณ์ทางเพศใดก็ตาม
    จะมีสิทธิต่าง ๆ เหมือนกับสิทธิของคู่สมรสในกฎหมายฉบับเดิมเลย เช่น การตัดสินใจในการรักษาพยาบาล,
    การรับมรดก หรือการใช้นามสกุลร่วมกัน

บทลงโทษในคดีแพ่ง

คดีแพ่งเป็นคดีที่ฟ้องร้องกันในเรื่องของการทำผิดสัญญา การละเมิดสิทธิในทรัพย์ การจ้างแรงงาน หรืออย่างอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ทำให้บทลงโทษในคดีแพ่งจะเป็นการ “ชำระหนี้” หรือ “จ่ายค่าสินไหมทดแทน” ในความผิดต่าง ๆ
ที่ได้กระทำลงไป

กฎหมายอาญา

การประมาทเลินเล่อ

กฎหมายอาญาวางแนวทางของการกระทำความผิดโดยประมาทเอาไว้ว่า “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท”

ซึ่งแปลให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ว่า ตามปกติแล้วคนที่ทำสิ่งใดไปก็ตามโดยความประมาท แม้จะทำให้ผู้อื่นเสียหายก็จะไม่ถือว่ามีความผิดทางอาญา (แต่อาจจะผิดทางแพ่งได้นะ) ยกเว้นว่าความผิดที่ได้ทำลงไปนั้นกฎหมายบัญญัติเอาไว้ว่าแม้จะประมาทก็ให้ถือว่าเป็นความผิดต้องได้รับโทษ เช่น นาย A ดื่มสุราแล้วขับขี่รถยนต์เฉี่ยวชนนาย B บาดเจ็บ กรณีนี้แม้
นาย A จะไม่ได้ตั้งใจ กฎหมายก็ถือว่านาย A มีความผิดอยู่ดี

การกระทำความผิดและการพยายามกระทำความผิด

พี่ขออธิบายว่า สมมตินาย A ใช้ปืนยิงนาย B เสียชีวิต แบบนี้จะถือว่านาย A กระทำความผิดสำเร็จ แต่ถ้านาย A ใช้ปืนยิงนาย B แต่บังเอิญนาย B หลบหนีไปได้ แบบนี้จะถือว่านาย A พยายามกระทำความผิด (ความผิดไม่สำเร็จ)

บทลงโทษในคดีอาญา

ในคดีอาญาส่วนใหญ่มักเป็นคดีที่สะเทือนขวัญ มีความเสียหายทั้งในแง่ของสิทธิ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ ไม่ว่ากับตัวเอง
หรือผู้อื่น ดังนั้น บทลงโทษทางอาญามักเป็นลักษณะของการทำให้หลาบจำและกลัวการกระทำความซ้ำสอง (แตกต่างจากแพ่งที่จะเน้นเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น) โดยโทษทางอาญามีทั้งหมด 5 สถาน เรียงจากหนักที่สุดไปจนถึงเบาที่สุด ดังนี้

  1. ประหารชีวิต
  2. จำคุก
  3. กักขัง
  4. ปรับ
  5. ริบทรัพย์สิน

นอกจากนี้ยังมีการลงโทษแบบใหม่ที่กฎหมายบ้านเราเพิ่งนำมาใช้ได้ไม่นานคือ การปรับพินัย ซึ่งมีลักษณะ คือ
การปรับเงิน แต่กฎหมายจะไม่นับว่าการปรับพินัยเป็นบทลงโทษทางอาญาน้าาา (ถือว่าเป็นกฎหมายเฉพาะ)

ทิศทางแนวข้อสอบ A-Level สังคม (กฎหมาย) 69

สำหรับทิศทางของแนวข้อสอบพาร์ตกฎหมายในปี 69 พี่คิดว่ามีแนวโน้มที่จะง่ายขึ้นมากกว่า 2-3 ปี ที่ผ่านมา เพราะจากที่พี่ได้วิเคราะห์ข้อสอบปีล่าสุด ลักษณะของข้อสอบจะเป็นการถามหลักการที่ตรงไปตรงมา ไม่ซับซ้อน ซึ่งต่างจาก 2-3 ปี ก่อนหน้าที่โจทย์และตัวเลือกจะมีบริบทที่ซับซ้อนมาก และเน้นให้น้อง ๆ วิเคราะห์เหตุผลตามเหตุการณ์ที่โจทย์กำหนดมา  ซึ่งบางข้อเป็นการประยุกต์กฎหมายในหลาย ๆ มาตรามารวมกัน กว่าจะตอบคำถามได้แต่ละข้อต้องเชื่อมโยงความรู้หลาย ๆ ส่วนมาตอบ แต่ยังไงก็ตาม 

พี่ขอแนะนำน้อง ๆ ทุกคนน้าา ว่าห้ามประมาทเด็ดขาดเลยย เพราะข้อสอบพาร์ตกฎหมายสามารถถามได้หลากหลายรูปแบบมาก ๆ  ตั้งแต่ความรู้ ความจำ เช่น ลำดับความหนักเบาของโทษ อายุของการสมรส หรือที่ยากขึ้นมาอีกขั้น คือ รายละเอียดย่อย ๆ ในกฎหมาย พวกข้อยกเว้นต่าง ๆ ก็สามารถดึงมาถามได้เหมือนกันน เพราะงั้นเราต้องเตรียมตัว ดักไว้ทุกทางน้าา

ตัวอย่างข้อสอบสังคม (กฎหมาย)

ตัวอย่างข้อสอบ-กฎหมาย-A-Level-สังคม-1
อธิบายเฉลยตัวอย่างข้อสอบกฎหมาย

ตอบ ตัวเลือกที่ 2 เนื่องจากนายสามและนางตรีจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย เงินสด 5,000,000 บาท จึงถือเป็นสินสมรสของทั้งสองคน เมื่อนายสามเสียชีวิต สินสมรสต้องถูกแบ่งให้แก่คู่สมรส คือ นางตรี กึ่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน 2,500,000 บาท ทำให้ทรัพย์มรดก (ที่เหลือ) ของนายสามมีจำนวน 2,500,000 บาท

และเนื่องจากนายสามถึงแก่ความตายโดยโจทย์ไม่ได้ระบุว่าทำพินัยกรรมเอาไว้ ทรัพย์มรดกจึงต้องถูกแบ่งตามกฎหมายให้แก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับ คือ นายส่ีและเด็กชายห้า ในฐานะทายาทลำดับที่หนึ่ง (ผู้สืบสันดาน) นางตรีในฐานะคู่สมรสตามกฎหมาย นายหนึ่งและนางสองในฐานะทายาทลำดับที่สอง (บิดามารดา)

ดังนั้น ทรัพย์มรดก 2,500,000 บาทจะถูกแบ่งเป็น 5 ส่วน มอบให้แก่ นายหนึ่ง (บิดา) นางสอง (มารดา) นางตรี (คู่สมรส) นายส่ี (ผู้สืบสันดาน) เด็กชายห้า (ผู้สืบสันดาน) เป็นจำนวน 500,000 บาทเท่า ๆ กัน จึงสรุปได้ว่า นางตรีมีสิทธิ์ในเงินที่เหลือของนายสามจำนวน 3,000,000 บาท จากสินสมรสและมรดก ข้อนี้พี่แนะนำว่าน้องควรวาดรูปแผนผังครอบครัวเพื่อดูว่าใครเป็นญาติใคร ใครอยู่ใครเสียชีวิต จะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้น

ตัวอย่างข้อสอบ-กฎหมาย-A-Level-สังคม-2
อธิบายเฉลยตัวอย่างข้อสอบกฎหมาย

ตอบ ตัวเลือกที่ 2 เนื่องจากการวางเพลิงเผาทรัพย์หากเกิดขึ้นแล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตร่างกายและทรัพย์สินในวงกว้าง ดังนั้น แม้อยู่ในขั้นตอนตระเตรียมการ (เตรียมตัวจะทำหรือซื้ออุปกรณ์สำหรับ
กระทำความผิดไว้) ก็ถือว่าความผิดนั้นได้กระทำสำเร็จแล้วตามหลักกฎหมายอาญาว่าด้วยการวางเพลิงเผาทรัพย์

ซึ่งจะมีหลักเจตนารมย์ทางกฎหมายต่างจากความผิดทางอาญาทั่วไป เช่น ปล้นทรัพย์ ที่หากอยู่ในขั้นตระเตรียมการ (คิดว่าจะทำหรือหาซื้อเครื่องมือสำหรับปล้นไว้ก่อน) แต่หากยังไม่เกิดการกระทำความผิด จะถือว่าไม่ครบ
องค์ประกอบความผิดทางอาญา จึงยังไม่นับว่าได้ทำผิดกฎหมายอาญา

ตัวอย่างข้อสอบ-กฎหมาย-A-Level-สังคม-3
อธิบายเฉลยตัวอย่างข้อสอบกฎหมาย

ตอบ ตัวเลือกที่ 3
เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้บุคคลสามารถสมรสได้เมื่อมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งการสมรสมีผลทำให้พ้นภาวะผู้เยาว์ได้ โดยการพ้นภาวะผู้เยาว์มี 2 กรณี ได้แก่
– กรณีที่ 1 คือ การบรรลุนิติภาวะ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
– กรณีที่ 2 คือ การจดทะเบียนสมรส ซึ่งสามารถทำได้เมื่อมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์
ดังนั้น ตามตัวเลือกที่ 3 จึงถือว่านางสาวเจี๊ยบพ้นภาวะผู้เยาว์แล้ว และสามารถทำนิติกรรมและสัญญาต่าง ๆ ได้เอง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเนื้อหากฎหมายที่พี่รวบรวมมาฝากน้อง ๆ ในวันนี้ ถึงแม้ว่าเนื้อหา ในพาร์ตนี้จะดูเยอะและมีรายละเอียดให้น้อง ๆ ต้องจำเยอะไปหมด แต่พี่เชื่อว่าหากน้อง ๆ หมั่นทบทวนเนื้อหา ก็จะสามารถพิชิตคะแนนสวย ๆ ที่ต้องการมาได้อย่างแน่นอนนน > < 

แต่นอกจากวิชาสังคมแล้ว หลาย ๆ คณะก็อาจจะให้น้อง ๆ ยื่นคะแนน A-Level วิชาอื่น ๆ ควบคู่ด้วย ซึ่งแต่ละวิชาอาจจะต้องใช้เวลาเตรียมตัวค่อนข้างนาน สำหรับใครที่กลัวเตรียมตัวไม่ทันอยากจะประหยัดเวลาในการเตรียมสอบ พี่ขอแนะนำคอร์สเรียนพิเศษสนาม A-Level ของ SmartMathPro ที่มีทั้ง A-Level คณิต 1,2 / A-Level ภาษาอังกฤษ / A-Level ฟิสิกส์ / A-Level ภาษาไทย / A-Level สังคม เลยน้าา

โดยสำหรับใครที่ไม่มีพื้นฐานก็สามารถเรียนได้ เพราะพี่สอนตั้งแต่ปูพื้นฐาน ไปจนถึงพาทำโจทย์ตั้งแต่ระดับง่ายไปจนถึงความยากใกล้เคียงกับข้อสอบจริงเลย แถมมีเทคนิคในการทำข้อสอบอีกเพียบที่จะช่วยให้น้อง ๆ ทำข้อสอบได้เร็วขึ้น > <

และสำหรับใครที่ยังไม่เริ่ม เริ่มติวตอนนี้ก็ยังทันน้าา แอบกระซิบว่าถ้าสมัครคอร์สตั้งแต่ตอนนี้พี่มี Unseen Mock Test ชุดพิเศษ 1 ชุด แถมฟรีไปให้ลองทำพร้อมสิทธิพิเศษประจำเดือนอีกมากมายด้วย ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจคอร์สเตรียมสอบ A-Level สามารถ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดได้เลยย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาสังคม เศรษฐศาสตร์จุลภาค
เศรษฐศาสตร์จุลภาคคืออะไร? สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์พร้อมข้อสอบจริง
สรุปเนื้อหาสังคม เรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาค
เศรษฐศาสตร์มหภาค สรุปเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์พร้อมข้อสอบจริง
สรุปเนื้อหาสังคม เรื่องประวัติศาสตร์สากล
ประวัติศาสตร์สากล สรุปเนื้อหาประวัติศาสตร์ พร้อมข้อสอบจริง
สรุปเนื้อหาสังคม ม.ปลาย ประวัติศาสตร์ไทย
ประวัติศาสตร์ไทย มีอะไรบ้าง? สรุปเนื้อหาพร้อมข้อสอบจริงให้ฝึกทำ
A-Level สังคม ภูมิศาสตร์ ออกสอบอะไรบ้าง
A-Level สังคม (ภูมิศาสตร์) ออกสอบอะไร ? พร้อมตัวอย่างข้อสอบจริง
ก่อนสอบ A-Level สังคมต้องรู้อะไรบ้าง
ก่อนสอบ A-Level สังคม ต้องรู้อะไรบ้าง ? สรุปครบในบทความนี้

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro

Tiktok : @pan_smartmathpro

Lemon8 : @pan_smartmathpro

Share