เด็กซิ่ว คืออะไร ? ถ้าอยากเริ่มซิ่วจะต้องทำยังไง ?

เด็กซิ่ว_ปก

น้องๆ คนไหนที่คิดว่าอยากจะซิ่ว ก่อนอื่นเลย มาทำความรู้จักกับคำว่า “เด็กซิ่ว” ให้มากขึ้นกันก่อนดีกว่า พี่จะมาอธิบายให้ตั้งแต่เริ่ม จนไปถึงเรื่องที่ควรรู้ในการสอบเข้ามหาลัยฯ 

ในช่วงเวลานี้อาจจะมีหลายคนอยู่ในช่วงที่กำลังตัดสินใจเลือกที่จะซิ่ว ด้วยสาเหตุที่แตกต่างกันไป เช่น คะแนนไม่มากพอที่จะสอบติดคณะที่ตัวเองหวัง คิดว่าตัวเองน่าจะทำได้ดีกว่านี้ หรือลองเข้าไปเรียนคณะ/มหาลัยฯ นั้นแล้ว รู้สึกว่ายังไม่ตอบโจทย์ เลยคิดอยากจะซิ่ว แต่ยังลังเลอยู่ ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงดี ? แล้วถ้าเลือกที่จะซิ่ว มีเรื่องอะไรบ้างที่ควรรู้ก่อนจะเป็นเด็กซิ่วเต็มตัว  

วันนี้พี่ๆ ทีม SMP รวมข้อมูลไว้ให้หมดแล้ว หวังว่าบทความนี้จะช่วยตอบคำถามในใจของน้องๆ และช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นน้า > <

หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า “เด็กซิ่ว” แต่ยังไม่รู้ความหมายจริงๆ ของคำนี้ มาจากคำว่า Fossil (ซากดึกดำบรรพ์)
มักจะใช้เรียกคนที่เข้าเรียนที่หลัง และมาลงเรียนพร้อมกับรุ่นน้อง เช่น น้องเป็น Dek66 แต่เรียนมหาลัยฯ พร้อมกับเด็ก Dek67 เขาจะเรียกว่าเป็น “เด็กซิ่ว” นั่นเอง 

เหตุผลของคนส่วนใหญ่ ทำไมเลือกที่จะซิ่ว ?

แต่ละคนคงจะมีเหตุผลในการซิ่วที่ไม่เหมือนกัน ถ้ารวมมาทั้งหมด บทความนี้ก็คงจะยาวมาก ดังนั้นพี่ๆ ทีม SMP เลยจะขอเล่าแค่ประเด็นหลักๆ ที่ได้สอบถามจากเด็กซิ่วเพื่อมาสรุปให้น้องๆ ได้อ่านกันว่าจริงๆ แล้วคนที่เขาตัดสินใจเป็นเด็กซิ่วนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ?

สอบไม่ติดคณะที่หวัง

เรียกได้ว่าเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้หลายๆ คนตัดสินใจที่จะซิ่ว อาจจะด้วยคะแนนสอบครั้งล่าสุดไม่ดีเท่าที่ควร หรือมีการวางแผนเลือกคณะ/มหาลัยฯ ผิดพลาด เลยอยากลองสอบใหม่อีกครั้ง เพื่อที่จะได้เข้าคณะที่ตัวเองอยากเข้าจริงๆ 

เรียนแล้วไม่มีความสุข รู้สึกไม่ชอบ

มีน้องๆ จำนวนมากที่สามารถเข้าคณะที่ตัวเองต้องการได้ แต่พอลองเรียนแล้วไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ อาจจะเรียนหนักมากเกินไป หรือเรียนแล้วรู้สึกไม่ใช่ ซึ่งพี่ๆ จะบอกว่าไม่ใช่เรื่องที่ผิดเลยน้า ที่จะรู้สึกไม่ชอบและอยากจะซิ่ว ถึงแม้จะเป็นคณะที่น้องๆ เคยอยากเข้ามาก เพราะมันคงจะแย่มากกว่านี้ ถ้าเลือกที่จะฝืนเรียนมันไปอีก 4 ปี 

เป้าหมายในชีวิตเปลี่ยน

เมื่อเวลาผ่านไป น้องๆ จะได้เจอกับสังคมที่หลากหลายมากขึ้น มีหลายปัจจัยที่ทำให้เปลี่ยนเส้นทางที่เลือกตั้งแต่แรก เลยทำให้ความคิดและเป้าหมายเปลี่ยนไปจากเดิม ทั้งแพลนด้านอาชีพที่อยากจะทำ หรือการใช้ชีวิตในอนาคต ซึ่งถ้าน้องๆ มั่นใจแล้วว่าทางเดิมไม่ใช่ พี่ก็แนะนำให้ซิ่วน้า

สภาพแวดล้อม / การเข้าสังคม

หลายคนเลือกที่จะซิ่วเพราะรู้สึกว่าที่นี่ไม่ใช่ที่ของเรา เป็นอย่างคำที่ว่า “คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก” จริงๆ ถ้ารู้สึกไม่ดีกับสภาพแวดล้อมตั้งแต่ต้น พี่คิดว่ามันก็น่าจะส่งผลกระทบถึงระยะยาวด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้ารู้สึกไม่ดี ทำยังไงก็ไม่สามารถเปิดใจได้ การที่น้องๆ จะตัดสินใจเดินออกมาก็ไม่ผิดน้า เลือกจุดที่เราอยู่แล้วมีความสุขดีกว่า ^__^

ปัญหาส่วนตัวอื่นๆ เช่น ปัญหาด้านการเงิน ปัญหาด้านสุขภาพ

ปัญหาการเงินและสุขภาพ (ทั้งสุขภาพจิตและสภาพร่างกาย) เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากเหมือนกัน เพราะค่าใช้จ่ายแต่ละคณะสูงมากกว่าที่คิดไว้ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จะต้องเจอ เช่น การเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอุปกรณ์การเรียน ฯลฯ ทำให้บางคนอาจจะต้องทำงานเสริม ซึ่งทำให้พักผ่อนน้อย ร่างกายอ่อนแอ จนส่งผลต่อการเรียน และสุดท้ายอาจต้องซิ่วในที่สุด (แต่ว่าไม่ต้องเป็นห่วงน้า ถ้ามีปัญหาเรื่องนี้ พี่แนะนำให้ลองคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อถามเรื่องทุนดูก่อน เพราะแต่ละคณะ/มหาลัยฯ มักจะมีทุนให้สำหรับน้องๆ ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์อยู่แล้ว) 

อยากซิ่วต้องทำยังไง ?

เริ่มต้นสำหรับเด็กซิ่ว อย่างแรกคือ ควรเลือกว่าจะเป็นเด็กซิ่วที่ซิ่วไปเรียนไป หรือ จะเป็นเด็กซิ่วที่ซิ่วอยู่บ้าน เพราะทั้งสองแบบก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน รวมถึงการพูดคุยกับที่บ้าน เล่าถึงเป้าหมายใหม่และการวางแผนในอนาคต เพื่อไม่ให้มีปัญหากับครอบครัวภายหลัง แต่สิ่งที่สำคัญคือ น้องๆ จะต้องรู้ว่าในการสอบครั้งที่ผ่านมา ตัวเองมีข้อผิดพลาดยังไงและจะแก้ไขมันยังไง เช่น ถ้าพื้นฐานยังแน่นไม่พอ อาจจะต้องเก็บเนื้อหาตั้งแต่แรกให้แม่นก่อน หรือถ้าคิดว่ายังฝึกโจทย์ไม่เยอะเท่าไหร่ ก็ต้องแก้ไขด้วยวิธีการทำโจทย์ให้เยอะขึ้น

แนะนำให้เริ่มลิสต์ไว้ตั้งแต่แรก น้องๆ ก็จะสามารถวางแผนอ่านหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกจุดมากขึ้น สุดท้ายคือ อย่าลืมติดตามข้อมูลข่าวสาร ระเบียบการรับสมัครจากทางทปอ. คณะและมหาลัยฯ / กสพท อยู่เสมอน้า  

ช่วงขอขายของนิดนึง !! สำหรับเด็กซิ่วทุกรุ่น ที่อยากฝึกทำโจทย์ใกล้เคียงกับข้อสอบจริงทั้งสนามคณิต 1 และ 2
พี่ๆ ทีม SMP แนะนำคอร์ส Unseen Mock Test ของ SmartMathPro ไม่ว่าจะพื้นฐานดีหรือไม่ดี ก็สามารถลงคอร์สนี้ได้เลยน้า เป็นการซ้อมก่อนสอบจริงได้เลย นอกจากข้อสอบจะอิงตาม Test Blueprint ปีล่าสุด และออกข้อสอบให้เทียบเคียงกับของจริงแล้ว พี่ปั้นยังเฉลยละเอียดยิบทุกข้อ พร้อมสอนเทคนิคคิดวิธีลัด และวิธีตรงให้ไม่งงแน่นอน ! ลงเลย
คุ้มแน่นอน คอนเฟิร์ม !!  (จบช่วงขายของแล้ว อิอิ)   

เด็กซิ่ว

ข้อดี / ข้อเสีย ของการเป็นเด็กซิ่ว

สำหรับข้อดี และข้อเสียของการเป็นเด็กซิ่วนั้น พี่ๆ ทีม SMP ได้รวบรวมจากการสอบถามเด็กซิ่วหลายๆ คน รวมถึงประสบการณ์จากคนรอบตัว เพื่อจะได้เป็นข้อมูลสำหรับการประกอบการตัดสินใจของทุกคนน้าา ^__^

ข้อดี

  1. มีเวลาค้นหาตัวเองและทำความรู้จักตัวเองมากขึ้น เช่น น้องๆ จะได้รู้ว่าความชอบจริงๆ คืออะไร หรือรู้ว่าความฝันคืออะไร และจะเรียนอะไรเพื่อสานต่อความฝันนั้นให้เป็นจริง 
  2. มีเวลาในการเตรียมตัวสอบมากขึ้น และรู้จุดอ่อนของตัวเองว่าควรเสริมจุดไหน จากประสบการณ์ที่เราเคยสอบมาแล้ว สามารถวางแผนอ่านหนังสือ และทำโจทย์ได้ตรงประเด็นกว่าปีก่อนๆ  
  3. ได้เรียนในสิ่งที่ชอบ และมีความสุขกับสิ่งที่เลือกเรียน 
  4. มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น เมื่อรู้สึกเครียดหรือท้อแท้ ก็สามารถแบ่งเวลาไปพักผ่อนได้ แล้วค่อยกลับมาอ่านอีกครั้งตอนที่รู้สึกดีขึ้น (กรณีเด็กซิ่วอยู่บ้าน)

ข้อเสีย

  1. ถ้าวางแผนไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นการซิ่วด้วยวิธีไหน ก็อาจจะทำให้เสียทั้งเงินและเวลาได้  ที่สำคัญจะสอบติดคณะที่หวังไว้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวน้องๆ เองด้วยย
  2. อาการหมดไฟ และรู้สึกกดดันมากกว่าปกติ ทั้งการกดดันจากตัวเอง คนรอบข้างและสภาพแวดล้อม
    • กรณีเด็กซิ่วอยู่บ้าน ต้องอยู่ในสถานที่เดิมตลอดทั้งวัน และถ้าไม่สามารถทำตามแพลนของแต่ละวันได้ ก็จะรู้สึกหมดไฟได้ง่าย 
    • กรณีเด็กซิ่วไปเรียนไป ต้องเลือกโฟกัสทั้งสองอย่าง อาจจะทำให้เหนื่อย และโฟกัสกับการสอบเข้ามหาลัยฯ ได้ไม่ดีเท่าที่ควร 
  3. ต้องเจอการปรับตัวอยู่หลายครั้ง เช่น เด็กซิ่วอยู่บ้าน ก็จะไม่ได้เจอเพื่อนๆ เหมือนเมื่อก่อน ต้องโฟกัสกับการอ่านหนังสือ ส่วนเด็กซิ่วไปเรียนไป ก็ต้องปรับตัวเพื่อไม่ให้การเรียนในปัจจุบันกับอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาลัยฯ กระทบกัน
  4. จบช้ากว่าเพื่อนคนอื่นๆ (ตรงนี้พี่ๆ มองว่าถ้ามันแลกมากับสิ่งที่อยากเรียนจริงๆ มันก็คุ้มที่จะลองน้า > <)

สำหรับน้องๆ ที่ตัดสินใจได้แล้ว เรามาดูคำถามยอดฮิต และเกณฑ์การยื่นมหาลัยฯ สำหรับเด็กซิ่วใน TCAS66 กันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง ? 

ตัดสินใจเป็น "เด็กซิ่ว" ต้องลาออกมั้ย ?

กรณีสมัครคณะ กสพท

เด็กซิ่วที่ต้องลาออก

  • เรียนอยู่ปี 1 คณะแพทย์ ทันตะ เภสัช สัตวะ (ม.รัฐ) – ลาออกก่อนวันที่ 25 เม.ย. 66
  • เรียนอยู่สูงกว่าปี 1 – ลาออกก่อนวันที่ 10 ก.ย. 65

เด็กซิ่วที่ไม่ต้องลาออก

  • เรียนอยู่ปี 1 คณะอื่นๆ (นอกเหนือจากคณะ กสพท)
  • เรียนอยู่ปีสุดท้าย (คาดว่าจะจบในปี 2566)
  • เรียนอยู่ม.เอกชน

สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากอ่านเกี่ยวกับข้อมูล กสพท เพิ่มเติม กดดู ที่นี่ ได้เลยน้า 

เด็กซิ่ว กรณีสมัครคณะอื่นๆ ผ่าน mytcas

หลายมหาลัยฯ ไม่ได้กำหนดให้ลาออกก่อน แต่เพื่อความมั่นใจ น้องๆ สามารถติดต่อสอบถามทางมหาลัยฯ โดยตรง
ทั้งทางเพจและติดต่อผ่านเบอร์ของมหาลัยฯ นั้นๆ ได้เลยน้า 

เรื่องที่ "เด็กซิ่ว" ควรรู้ ก่อนยื่นเข้ามหาลัยฯ

  • ข้อนี้สำคัญมาก ! หลายคณะรับเฉพาะเด็กม.6 เท่านั้น โดยวิธีดูว่าคณะนั้นรับเด็กซิ่วมั้ย สามารถดูได้จากคำว่า รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรแกนกลาง / รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเทียบเท่า แต่ถ้าเจอคำว่า ต้องสำเร็จการศึกษาปีปัจจุบันเท่านั้น / รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้น แปลว่าเด็กซิ่วสมัครไม่ได้น้า อย่าลืมเช็กดีๆ ด้วยย 
  • เด็กซิ่วไม่สามารถใช้คะแนนเก่ายื่นได้แล้ว (GAT / PAT / 9 วิชาสามัญ)
  • ด็กซิ่วที่เคยลงทะเบียน mytcas แล้ว เข้าไปกรอกและแก้ไขข้อมูลได้เลย กรณีที่ข้อมูลผิด อย่าลืมแนบหลักฐานเพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้องน้าา

การเป็น "เด็กซิ่ว" ผิดมั้ย ?

สุดท้ายนี้ น้องๆ ที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ อาจจะลังเลว่าควรซิ่วดีมั้ย ? มันจะผิดมากแค่ไหน ? พี่ๆ อยากจะบอกว่า … การเป็นเด็กซิ่วมันไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิด ไม่ใช่ความล้มเหลวในชีวิต หรือแสดงว่าที่ผ่านมา น้องพยายามไม่มากพอน้า แต่กลับกันถ้ามันทำให้ได้เจอกับอะไรที่ดีขึ้น และน้องๆ “มีความสุข” พี่ว่ามันคุ้มที่จะแลก แม้ว่าต้องเสียเวลา เสียใจ แต่ทั้งหมดมันคือประสบการณ์ ที่ไม่มีวันรู้ ถ้าไม่ได้สัมผัสมาก่อน 

แต่ที่สำคัญเลย คืออยากให้ลองคิดดูให้ดีก่อน ถามตัวเองว่าใจเราอยากซิ่วจริงๆ ใช่มั้ย อยากให้น้องๆ คิดและทบทวนให้รอบด้าน ถ้าน้องๆ เป็นเด็กซิ่วแล้ว จะซิ่วไปที่ไหน มีโอกาสที่จะทำได้มากแค่ไหน ที่ตัดสินใจมันมาจากเหตุผล ไม่ใช่เพราะอารมณ์ใช่มั้ย น้องๆ อาจจะลองปรึกษาพี่ๆ เด็กซิ่ว หรือสามารถขอคำปรึกษาจากพี่ๆ ทีมงาน SmartMathPro ก็ได้น้า ทุกคนรอให้คำปรึกษา และตอบคำถามของทุกคนเลยย คลิก

แต่ถ้ามั่นใจแล้วว่าจะซิ่ว ลองดูที่บทความ How To หลังตัดสินใจซิ่ว เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มเติมก็ได้น้า สุดท้ายนี้ไม่ว่าน้องๆ จะเลือกทางไหน พี่ๆ ทีมงาน SMP ก็จะเป็นกำลังใจให้ทุกคน จงสู้ให้เต็มที่ และขอให้ทำตามความฝันได้สำเร็จน้า ^____^ 

Previous
Next