เชื่อว่าเมื่อพูดถึง ‘วิศวกรโยธา’ น้อง ๆ หลายคนอาจจะเข้าใจว่าอาชีพนี้ทำแค่การสร้างตึกและอาคารเป็นหลัก แต่ขอบอกเลยว่าอาชีพนี้ไม่ได้มีแค่สร้างตึกน้าา วิศวกรโยธายังแบ่งย่อยออกเป็นอีกหลายสาขา เช่น วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ วิศวกรรมขนส่งและวิศวกรรมธรณี เป็นต้น
ซึ่งในวันนี้พี่จะพามาเจาะลึกเกี่ยวกับสายงานของวิศวกรโยธา แถมด้วยคำตอบของคำถามยอดฮิตอย่าง วิศวกรโยธาทำงานอะไร ? ถ้าอยากเป็นวิศวกรโยธาควรเรียนคณะอะไร ? ต้องเตรียมตัวยังไง ? เรียนวิศวกรรมโยธาที่ไหนดี ?
ใครอยากรู้ อย่ารอช้า เล่ือนลงไปอ่านกันเลยย !!
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleวิศวกรโยธาทำงานอะไรบ้าง ?
อาชีพวิศวกรโยธาทำงานเกี่ยวกับการวางแผนงาน จัดระบบงานและควบคุมงานการก่อสร้าง ซึ่งอาชีพนี้ทำงานได้ทั้งกับหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสนใจในการเลือกวิชาเฉพาะด้านที่อยากเชี่ยวชาญอีกเช่นกัน โดยวิชาเฉพาะด้านของวิศวกรโยธาสามารถแยกย่อยออกเป็นคร่าว ๆ ตามนี้เลยย
1. วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)
สายวิชาเฉพาะที่มุ่งเน้นในการทำให้สิ่งก่อสร้างแข็งแรงและปลอดภัย หน้าที่คือการวิเคราะห์ ประเมิน และออกแบบโครงสร้างว่าควรใช้วัสดุอะไร ขนาดเท่าไรสำหรับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นต้น
2. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
เป็นสายงานเฉพาะที่ดูแลงานก่อสร้างไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง เช่น การจัดการกับปัญหาฝุ่น น้ำเสีย และขยะจากสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
3. วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management)
เน้นเร่ืองของการจัดการงานก่อสร้างตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนจบ รวมไปถึงการรับผิดชอบในส่วนของงบประมาณ
และระยะเวลาให้การสร้างเสร็จตามกำหนดที่วางไว้
4. วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ (Water Resource Engineering)
รับผิดชอบด้านการจัดการและการใช้ประโยชน์จากน้ำในทุกรูปแบบ โดยทำงานเกี่ยวกับการออกแบบระบบระบายน้ำ
การสร้างสะพาน เข่ือนและคลองส่งน้ำชลประทาน ไปจนถึงการแก้ปัญหาน้ำท่วมและการจัดสรรน้ำให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
5. วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering)
สายนี้จะได้ทำงานเกี่ยวกับการทำให้การเดินทางในรูปแบบต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัย โดยรับผิดชอบในการออกแบบถนน สะพาน หรืออุโมงค์ รวมถึงการจัดการจราจรให้ราบร่ืนและการเลือกวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการสร้างถนนอีกด้วย
6. วิศวกรรมธรณีเทคนิค (Geotechnical Engineering)
หน้าที่หลักในสายธรณีเทคนิคคือการสำรวจและประเมินความแข็งแรงของพื้นดินว่าแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของ
สิ่งปลูกสร้างหรือไม่ ? นอกจากนี้ยังรับผิดชอบในส่วนของการออกแบบฐานรากของสิ่งปลูกสร้างให้มั่นคง
7. วิศวกรรมธรณี (Geological Engineering)
มีความคล้ายคลึงกับธรณีเทคนิค โดยวิศวกรรมธรณีนั้นจะเน้นเรื่องของการวิเคราะห์และวางแผน เลือกวัสดุทางธรณี เพ่ือป้องกันความเสียหายจากแผ่นดินไหวหรือดินถล่มที่อาจเกิดขึ้น
8. วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)
ทำงานเกี่ยวข้องกับการทำแผนที่และการสำรวจ วัดพื้นที่ก่อสร้าง โดยใช้เทคโนโลยีอย่างเช่น GPS และดาวเทียมเพ่ือช่วยให้กำหนดจุดก่อสร้างได้อย่างถูกต้องและแม่นยำนั่นเอง
เรียนวิศวกรรมโยธาที่ไหนดี ?
ก็ควรเลือกเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธาน้าา หรือถ้าน้อง ๆ คนไหนไม่มั่นใจ อยากเห็นตัวอย่าง
คณะ / มหาลัย ฯ และเกณฑ์คะแนนที่เปิดสอนในสาขานี้โดยเฉพาะ มาดูกันว่าจะมีของที่ไหนบ้าง > <
ตัวอย่างมหาลัยฯ ที่เปิดสอนคณะ / สาขา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกณฑ์คะแนน (รอบ 3 Admission)
- GPAX ต่ำสุด 2.00
- คะแนน TGAT / TPAT / A-Level
- TGAT 20%
- TPAT3 30%
- A-Level คณิต 1 20%
- A-Level ฟิสิกส์ 20%
- A-Level เคมี 10%
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เกณฑ์คะแนน (รอบ 3 Admission)
- คะแนน TGAT / TPAT / A-Level
- TGAT1 15%
- TPAT3 25%
- A-Level คณิต 1 35%
- A-Level ฟิสิกส์ 25%
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยมหิดล
เกณฑ์คะแนน (รอบ 3 Admission)
- GPAX ต่ำสุด 3.00
- คะแนน TPAT / A-Level
- TPAT3 30%
- A-Level คณิต 1 30%
- A-Level ฟิสิกส์ 30%
- A-Level ภาษาอังกฤษ 10%
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เกณฑ์คะแนน (รอบ 3 Admission)
- คะแนน TGAT / TPAT / A-Level
- TGAT1 20%
- TGAT2 20%
- TPAT3 20%
- A-Level คณิต 1 20%
- A-Level ฟิสิกส์ 30%
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เกณฑ์คะแนน (รอบ 3 Admission) ใช้คะแนนในรูปแบบ T-Score
- คะแนน TGAT / TPAT / A-Level
- TGAT 20%
- TPAT3 25%
- A-Level คณิต 1 25%
- A-Level ฟิสิกส์ 30%
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (ปริญญาตรี 4 ปี) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เกณฑ์คะแนน (รอบ 3 Admission)
- GPAX ต่ำสุด 1.00
- คะแนน TGAT / TPAT / A-Level
- TGAT 20%
- TPAT3 20%
- A-Level คณิต 1 25%
- A-Level ฟิสิกส์ 25%
- A-Level เคมี 10%
หมายเหตุ : เกณฑ์คะแนนอ้างอิงจาก TCAS68
อยากเป็นวิศวกรโยธา เตรียมตัวยังไงดี ?
พี่ขอแนะนำให้เริ่มจากการศึกษาหลักสูตรของแต่ละมหาลัยฯ ว่ามีวิชาเฉพาะด้านของสาขาวิศวกรรมโยธาที่สนใจอยู่หรือเปล่าน้าา ส่วนในด้านการเตรียมตัวสอบ วิชาสำคัญของคณะวิศวกรรมศาสตร์นั่นคงหนีไม่พ้น TPAT3, A-Level
คณิต 1 และ A-Level ฟิสิกส์ ซึ่งน้อง ๆ อาจจะใช้เวลาเตรียมตัวกับ 3 วิชานี้ให้เยอะและฝึกทำโจทย์ให้คล่อง แล้วค่อยตามเก็บวิชาอื่น ๆ เช่น TGAT เป็นต้น
แต่สำหรับใครที่รู้สึกว่าอ่านเองแล้วฝึกทำโจทย์ แล้วยังไม่เข้าใจ ไม่แน่ใจว่าเกิดจุดผิดจากตรงไหน อยากได้คนช่วยไกด์
ปูพื้นฐานใหม่เพื่อให้พื้นฐานแน่นขึ้นและสามารถต่อยอดบทยาก ๆ ต่อไปได้ พี่ก็ขอแนะนำคอร์สเตรียมสอบเข้าคณะกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นอกจากจะใช้ยื่นคะแนนแล้ว ยังเป็นพื้นฐานที่จะใช้ต่อยอดในการเรียน
มหาลัยฯ ได้ด้วย
โดยในคอร์สที่จะสอนเนื้อหาละเอียด พร้อมพาลุยโจทย์แบบไต่ระดับตั้งแต่ข้อง่าย ๆ ไปจนถึงข้อสอบแข่งขัน นอกจากนี้ยังอัปเดตข้อสอบปีล่าสุดและโจทย์ที่แต่งขึ้นมาใหม่ อิงตาม Test Blueprint ปีล่าสุดด้วย พร้อมเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยอัปคะแนนและทำข้อสอบได้ทันเวลาอีกน้าา แถมยังมี Unseen Mock Test ชุดพิเศษแจกฟรีและอัปเดตข่าวในคอร์ส TPAT3 ให้ด้วย สมัครตอนนี้แอบกระซิบว่ามีสิทธิพิเศษและโปรโมชันพิเศษประจำวันเดือน !! ใครสนใจ คลิก ไปดูรายละเอียดได้เลย
Q&A รวมคำถามเกี่ยวกับวิศวกรโยธา
วิศวะโยธาเรียนกี่ปี ?
สาขาวิศวกรรมโยธาจะเรียนทั้งหมด 4 ปีเหมือนกับสาขาอื่น ๆ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ถ้าใครสนใจอยากรู้เกี่ยวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์แบบลงลึกมากขึ้น พี่ก็มีบทความ เจาะลึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้ไปตามอ่านกันได้น้าา
รับผิดชอบความปลอดภัยของผู้ใช้งานสิ่งก่อสร้าง
พี่หวังว่าข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพวิศวกรโยธาที่เอามาฝากจะเป็นประโยชน์ให้ทั้งน้อง ๆ ที่สนใจในอาชีพวิศวกรโยธาและ
อยากเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์หรือคนที่ยังไม่มั่นใจว่าควรเลือกเรียนคณะไหน แต่ชอบวิชาคำนวณและมีความสนใจในงานก่อสร้าง ออกแบบ ก็เก็บวิศวะโยธาไว้เป็นตัวเลือกกันได้เลยย
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
X : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro