วิศวกรโยธาทำงานอะไร ? อยากทำอาชีพนี้ควรเรียนคณะอะไรดี ?

เชื่อว่าเมื่อพูดถึง ‘วิศวกรโยธา’ น้อง ๆ หลายคนอาจจะเข้าใจว่าอาชีพนี้ทำแค่การสร้างตึกและอาคารเป็นหลัก แต่ขอบอกเลยว่าอาชีพนี้ไม่ได้มีแค่สร้างตึกน้าา วิศวกรโยธายังแบ่งย่อยออกเป็นอีกหลายสาขา เช่น วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ วิศวกรรมขนส่งและวิศวกรรมธรณี เป็นต้น

ซึ่งในวันนี้พี่จะพามาเจาะลึกเกี่ยวกับสายงานของวิศวกรโยธา แถมด้วยคำตอบของคำถามยอดฮิตอย่าง วิศวกรโยธาทำงานอะไร ? ถ้าอยากเป็นวิศวกรโยธาควรเรียนคณะอะไร ? ต้องเตรียมตัวยังไง ? เรียนวิศวกรรมโยธาที่ไหนดี ?
ใครอยากรู้ อย่ารอช้า เล่ือนลงไปอ่านกันเลยย !!

อาชีพวิศวกรโยธาทำงานเกี่ยวกับการวางแผนงาน จัดระบบงานและควบคุมงานการก่อสร้าง ซึ่งอาชีพนี้ทำงานได้ทั้งกับหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสนใจในการเลือกวิชาเฉพาะด้านที่อยากเชี่ยวชาญอีกเช่นกัน โดยวิชาเฉพาะด้านของวิศวกรโยธาสามารถแยกย่อยออกเป็นคร่าว ๆ ตามนี้เลยย

1. วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)

สายวิชาเฉพาะที่มุ่งเน้นในการทำให้สิ่งก่อสร้างแข็งแรงและปลอดภัย หน้าที่คือการวิเคราะห์ ประเมิน และออกแบบโครงสร้างว่าควรใช้วัสดุอะไร ขนาดเท่าไรสำหรับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นต้น

2. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)

เป็นสายงานเฉพาะที่ดูแลงานก่อสร้างไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง เช่น การจัดการกับปัญหาฝุ่น น้ำเสีย และขยะจากสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น

3. วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management)

เน้นเร่ืองของการจัดการงานก่อสร้างตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนจบ รวมไปถึงการรับผิดชอบในส่วนของงบประมาณ
และระยะเวลาให้การสร้างเสร็จตามกำหนดที่วางไว้

4. วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ (Water Resource Engineering)

รับผิดชอบด้านการจัดการและการใช้ประโยชน์จากน้ำในทุกรูปแบบ โดยทำงานเกี่ยวกับการออกแบบระบบระบายน้ำ
การสร้างสะพาน เข่ือนและคลองส่งน้ำชลประทาน ไปจนถึงการแก้ปัญหาน้ำท่วมและการจัดสรรน้ำให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น

5. วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering)

สายนี้จะได้ทำงานเกี่ยวกับการทำให้การเดินทางในรูปแบบต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัย โดยรับผิดชอบในการออกแบบถนน สะพาน หรืออุโมงค์ รวมถึงการจัดการจราจรให้ราบร่ืนและการเลือกวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการสร้างถนนอีกด้วย

6. วิศวกรรมธรณีเทคนิค (Geotechnical Engineering)

หน้าที่หลักในสายธรณีเทคนิคคือการสำรวจและประเมินความแข็งแรงของพื้นดินว่าแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของ
สิ่งปลูกสร้างหรือไม่ ? นอกจากนี้ยังรับผิดชอบในส่วนของการออกแบบฐานรากของสิ่งปลูกสร้างให้มั่นคง

7. วิศวกรรมธรณี (Geological Engineering)

มีความคล้ายคลึงกับธรณีเทคนิค โดยวิศวกรรมธรณีนั้นจะเน้นเรื่องของการวิเคราะห์และวางแผน เลือกวัสดุทางธรณี เพ่ือป้องกันความเสียหายจากแผ่นดินไหวหรือดินถล่มที่อาจเกิดขึ้น

8. วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)

ทำงานเกี่ยวข้องกับการทำแผนที่และการสำรวจ วัดพื้นที่ก่อสร้าง โดยใช้เทคโนโลยีอย่างเช่น GPS และดาวเทียมเพ่ือช่วยให้กำหนดจุดก่อสร้างได้อย่างถูกต้องและแม่นยำนั่นเอง

เรียนวิศวกรรมโยธาที่ไหนดี ?

แน่นอนว่าวิศวกรรมโยธาเป็นหนึ่งในสาขาภายใต้คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพราะฉะนั้นใครที่อยากเป็นวิศวกรโยธา
ก็ควรเลือกเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธาน้าา หรือถ้าน้อง ๆ คนไหนไม่มั่นใจ อยากเห็นตัวอย่าง
คณะ / มหาลัย ฯ และเกณฑ์คะแนนที่เปิดสอนในสาขานี้โดยเฉพาะ มาดูกันว่าจะมีของที่ไหนบ้าง  > < 

ตัวอย่างมหาลัยฯ ที่เปิดสอนคณะ / สาขา 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกณฑ์คะแนน (รอบ 3 Admission)

  • GPAX ต่ำสุด 2.00
  • คะแนน TGAT / TPAT / A-Level
    • TGAT 20%
    • TPAT3 30%
    • A-Level คณิต 1 20%
    • A-Level ฟิสิกส์ 20%
    • A-Level เคมี 10%

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เกณฑ์คะแนน (รอบ 3 Admission)

  • คะแนน TGAT / TPAT / A-Level
    • TGAT1 15%
    • TPAT3 25%
    • A-Level คณิต 1 35%
    • A-Level ฟิสิกส์ 25%

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยมหิดล
เกณฑ์คะแนน (รอบ 3 Admission)

  • GPAX ต่ำสุด 3.00
  • คะแนน TPAT / A-Level
    • TPAT3 30%
    • A-Level คณิต 1 30%
    • A-Level ฟิสิกส์ 30%
    • A-Level ภาษาอังกฤษ 10%

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เกณฑ์คะแนน (รอบ 3 Admission)

  • คะแนน TGAT / TPAT / A-Level
    • TGAT1 20%
    • TGAT2 20%
    • TPAT3 20%
    • A-Level คณิต 1 20%
    • A-Level ฟิสิกส์ 30%

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เกณฑ์คะแนน (รอบ 3 Admission) ใช้คะแนนในรูปแบบ T-Score

  • คะแนน TGAT / TPAT / A-Level
    • TGAT 20%
    • TPAT3 25%
    • A-Level คณิต 1 25%
    • A-Level ฟิสิกส์ 30%

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (ปริญญาตรี 4 ปี) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เกณฑ์คะแนน (รอบ 3 Admission)

  • GPAX ต่ำสุด 1.00
  • คะแนน TGAT / TPAT / A-Level
    • TGAT 20%
    • TPAT3 20%
    • A-Level คณิต 1 25%
    • A-Level ฟิสิกส์ 25%
    • A-Level เคมี 10%

หมายเหตุ : เกณฑ์คะแนนอ้างอิงจาก TCAS68

อยากเป็นวิศวกรโยธา เตรียมตัวยังไงดี ?

พี่ขอแนะนำให้เริ่มจากการศึกษาหลักสูตรของแต่ละมหาลัยฯ ว่ามีวิชาเฉพาะด้านของสาขาวิศวกรรมโยธาที่สนใจอยู่หรือเปล่าน้าา ส่วนในด้านการเตรียมตัวสอบ วิชาสำคัญของคณะวิศวกรรมศาสตร์นั่นคงหนีไม่พ้น TPAT3, A-Level
คณิต 1 และ A-Level ฟิสิกส์ ซึ่งน้อง ๆ อาจจะใช้เวลาเตรียมตัวกับ 3 วิชานี้ให้เยอะและฝึกทำโจทย์ให้คล่อง แล้วค่อยตามเก็บวิชาอื่น ๆ เช่น TGAT เป็นต้น

พี่ก็ขอแนะนำตัวช่วยอย่าง คอร์สเตรียมสอบมหาลัยฯ ของ SmartMathPro เลยย มีให้เลือกมากมายทั้งสนาม TGAT / TPAT หรือ A-Level และสอนโดยติวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละวิชาด้วยไม่ว่าจะเป็น พี่ปั้น, อ.ขลุ่ย, พี่หมออู๋, ครูกอล์ฟ, พี่ลัคกี้, พี่เกม GAT ENG COOL COOL, พี่ฟาร์ม

โดยในแต่ละคอร์สจะสอนปูพื้นฐานแบบละเอียด อิงตาม Test Blueprint ปีล่าสุด (ใครที่พื้นฐานไม่แน่นก็สามารถเรียนได้) พร้อมพาตะลุยโจทย์แบบไต่ระดับ ตั้งแต่โจทย์ซ้อมมือไปจนถึงข้อสอบเก่าหรือโจทย์ที่ใกล้เคียงกับข้อสอบจริง แถมยังแจกเทคนิคในการทำข้อสอบที่จะช่วยให้น้อง ๆ ทำข้อสอบได้เร็วขึ้นและช่วยเพิ่มโอกาสในการอัปคะแนนให้อีกด้วย สำหรับ
น้อง ๆ คนไหนที่สมัครตอนนี้ รับฟรี Unseen Mock Test ชุดพิเศษ และสิทธิพิเศษต่าง ๆ ประจำเดือน ถ้าใครสนใจ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดแต่ละคอร์สได้เลย

Q&A รวมคำถามเกี่ยวกับวิศวกรโยธา

วิศวะโยธาเรียนกี่ปี ?
สาขาวิศวกรรมโยธาจะเรียนทั้งหมด 4 ปีเหมือนกับสาขาอื่น ๆ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ถ้าใครสนใจอยากรู้เกี่ยวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์แบบลงลึกมากขึ้น พี่ก็มีบทความ เจาะลึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้ไปตามอ่านกันได้น้าา

 วิศวะโยธาเหมาะกับใคร ?
วิศวะโยธาเหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ มีความสนใจในเรื่องของงานก่อสร้าง ออกแบบ ด้วยความที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ดังนั้นความละเอียดรอบคอบและแม่นยำก็เป็นทักษะสำคัญเช่นกัน เพราะต้อง
รับผิดชอบความปลอดภัยของผู้ใช้งานสิ่งก่อสร้าง 

พี่หวังว่าข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพวิศวกรโยธาที่เอามาฝากจะเป็นประโยชน์ให้ทั้งน้อง ๆ ที่สนใจในอาชีพวิศวกรโยธาและ
อยากเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์หรือคนที่ยังไม่มั่นใจว่าควรเลือกเรียนคณะไหน แต่ชอบวิชาคำนวณและมีความสนใจในงานก่อสร้าง ออกแบบ ก็เก็บวิศวะโยธาไว้เป็นตัวเลือกกันได้เลยย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

กำหนดการ TCAS68
TCAS68 สอบวันไหน? ลงทะเบียน MyTCAS68 เมื่อไหร่? สรุปตารางสอบ Dek68 ฉบับอัปเดตล่าสุด
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สอบอะไรบ้าง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สอบอะไรบ้าง? พร้อมแจกแพลนอ่านหนังสือสอบเข้าวิศวะ
วิศวะ คอม เรียนอะไรบ้าง
รีวิว วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) เรียนเกี่ยวกับอะไร?
TGAT TPAT คืออะไร ต้องสอบ TGAT TPAT ไหม ? สรุปครบในบทความนี้
TGAT TPAT คืออะไร? มีอะไรบ้าง? สรุปพร้อมแจกแนวข้อสอบและคลิปติว
A-Level 68 (เอเลเวล) คืออะไร
A-Level 68 คืออะไร? มีวิชาอะไรบ้าง? สรุปพร้อมคลิปติวโค้งสุดท้าย

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro

Tiktok : @pan_smartmathpro

Lemon8 : @pan_smartmathpro

Share