
เนื้อหาเรื่องการเมืองการปกครองเป็น 1 ในเนื้อหาวิชาสังคมศึกษาที่หลาย ๆ คนมองว่าเป็นหัวข้อที่ค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะและมีหลายหัวข้อที่ต้องทำความเข้าใจด้วยเช่นกัน
แต่ไม่ต้องกังวลไปน้าา เพราะพี่ได้สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองการปกครองแบบเข้าใจง่าย พร้อมตัวอย่างข้อสอบมาให้น้อง ๆ ลองฝึกทำไว้เตรียมสอบ A-Level สังคมกันด้วยย
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleรัฐคืออะไร ? มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ?
ก่อนอื่นเลยย พี่ขอพาน้อง ๆ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “รัฐ” กันก่อนน้า เพราะคำนี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในการเมืองและการปกครอง และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้น้อง ๆ เข้าใจภาพรวมของแต่ละหัวข้อได้ง่ายขึ้น
โดย “รัฐ” หมายถึง ชุมชนทางการเมือง หรือเขตการเมืองการปกครองหนึ่งซึ่ง ต้องมีองค์ประกอบของรัฐ ได้แก่ ดินแดน ประชากร รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย โดยรายละเอียดของแต่ละส่วนคือ
1. ดินแดน เป็นอาณาเขตของรัฐที่สามารถกำหนดขอบเขตได้แน่นอน แต่ไม่จำเป็นต้องมีเขตพื้นที่ติดต่อกันเป็นผืนเดียวก็ได้ นับรวมทั้งผืนดิน ผืนน้ำ และน่านฟ้าเลยน้าา
2. ประชากร คือ ประชาชนที่อยู่ในรัฐนั้นซึ่งอาจจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
– พลเมือง หมายถึง ประชากรผู้ถือสัญชาติของรัฐนั้น
– ต่างด้าว หมายถึง ชาวต่างชาติผู้ถือสัญชาติอื่นแต่กำลังพำนักในรัฐนั้นเป็นการชั่วคราว
3. รัฐบาล คือ องค์กรซึ่งทำหน้าที่ใช้อำนาจปกครองเพื่อบริหารรัฐ โดยรัฐบาลนั้นอาจอาศัยความชอบธรรมทางการเมืองเพื่อให้มีอำนาจในการปกครอง เช่น จากการเลือกตั้ง จากการแต่งตั้ง
4. อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจซึ่งแสดงถึงความมีเอกราชในตนเองของรัฐนั้น ว่าไม่ได้อยู่ภายใต้การปกครองหรือถูกควบคุมโดยรัฐอื่น ซึ่งอำนาจอธิปไตยนั้นถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในความเป็นรัฐ หากขาดอำนาจอธิปไตยไปจะถือว่าขาดความเป็นรัฐ
เมื่อเรารู้ว่าการจะเป็นรัฐได้ต้องมีอะไรบ้างแล้ว ในขั้นต่อมา พี่ขอพาน้อง ๆ มาทำความรู้จักเกี่ยวกับเรื่องรัฐในหัวข้อต่าง ๆ ตามนี้เลยย
รูปแบบของรัฐ
รูปแบบของรัฐ คือ ลักษณะการใช้อำนาจอธิปไตยภายในรัฐ โดยพิจารณาจากจำนวนของรัฐบาล ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1. รัฐเดี่ยว คือ รัฐที่มีรัฐบาลเพียงรัฐบาลเดียวในการปกครอง มีศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองอยู่แห่งเดียว แลประชาชนในรัฐจะอยู่ภายใต้กฎหมายแบบเดียวกัน ประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยวประชาชนมักมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่คล้ายกัน
จึงทำให้เกิดการรวมตัวเพื่อรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมร่วมกัน
ตัวอย่างประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว เช่น ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฝรั่งเศส สเปน
2. รัฐรวม คือ รัฐที่มีรัฐบาลมากกว่าหนึ่งระดับ ได้แก่ รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกันไป คือ
รัฐบาลกลางจะมีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทั้งประเทศ เช่น การต่างประเทศ การเงิน นโยบายระดับชาติ ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นจะมีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่นของตน
เช่น การศึกษา การสาธารณสุข ประเทศที่เป็นรัฐรวมโดยส่วนมากประชากรมักมีความแตกต่างด้านภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ และมักจะมีพื้นที่ขนาดใหญ่ (แต่ประเทศเล็ก ๆ ก็เป็นรัฐรวมได้เหมือนกันน้าา) จึงต้องมีการจัดการปกครองให้สอดคล้องกับประชากรที่มีความหลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่น
ตัวอย่างประเทศที่เป็นรัฐรวม เช่น มาเลเซีย อินเดีย สหรัฐอเมริกา เยอรมนี แคนาดา
ประมุขของรัฐ
ประมุขของรัฐ คือ ผู้นำสูงสุดของรัฐที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศโดยอาจมีบทบาททางการเมืองหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการปกครองของรัฐนั้น ๆ โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ตำแหน่งจากการสืบราชสันตติวงศ์ หรือการแต่งตั้ง มักใช้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
2. ประธานาธิบดีเป็นประมุข เป็นการได้ตำแหน่งมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน หรือโดยสภานิติบัญญัติเห็นชอบ
โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งตามที่รัฐธรรมนูญของแต่ละรัฐกำหนด พบได้ทั้งในรัฐที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และระบอบเผด็จการ
หัวหน้ารัฐบาล
หัวหน้ารัฐบาล คือ ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในฝ่ายบริหารของรัฐ ซึ่งตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลจะขึ้นอยู่กับระบอบการปกครองที่รัฐนั้น ๆ เลือกใช้ เช่น
– นายกรัฐมนตรี จะเป็นหัวหน้ารัฐบาลในระบอบการปกครองประชาธิปไตยระบบรัฐสภา หรือ ระบบกึ่งประธานาธิบดี
– ประธานาธิบดี จะเป็นหัวหน้ารัฐบาลในระบอบการปกครองประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี
การจัดการระเบียบการปกครองในรัฐ
การจัดการระเบียบการปกครองในรัฐ คือ ระบบที่รัฐใช้ในการแบ่งและกระจายอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานปกครองภายในประเทศ เพื่อให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของแต่ละรัฐ ในประเทศไทยมีจัดการระเบียบการปกครองออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. การปกครองส่วนกลาง มีหน่วยงานหลัก คือ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง กรม โดยมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้ในการบริหารประเทศ
2. การปกครองส่วนภูมิภาค เป็นการแบ่งอำนาจการปกครองมาจากส่วนกลาง มีหน่วยงานหลัก คือ
จังหวัดและอำเภอ โดยส่วนภูมิภาคจะรับนโยบายจากส่วนกลางไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่
3. การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการกระจายอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตนเอง โดยสามารถออกกฎหมายและจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนท้องถิ่นเป็นของตนเองได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตกฎหมายหลักของประเทศ ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 5 องค์กร ได้แก่
– กรุงเทพมหานคร
– เมืองพัทยา
– องค์การบริหารส่วนจังหวัด
– องค์การบริหารส่วนตำบล
– เทศบาล
รูปแบบการเมืองการปกครองทั่วโลก มีอะไรบ้าง ?
ปัจจุบันการเมืองการปกครองทั่วโลกสามารถแบ่งออก 2 ระบอบ คือ ประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการ ซึ่งทั้งสองระบอบมีหลักการและรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
ระบอบประชาธิปไตย
เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง โดยยึดหลักการเสียงข้างมาก แต่ไม่ละเมิดเสียงข้างน้อย รวมถึงให้ความสำคัญกับความเสมอภาคและความยุติธรรม ระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้
- ระบบรัฐสภา
- ประมุขของรัฐ : สามารถเป็นได้ทั้งพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดี
- หัวหน้าฝ่ายบริหาร : นายกรัฐมนตรี มาจากการเลือกตั้งและการได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภา
- การถ่วงดุลอำนาจ : มีการแบ่งอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย เพื่อถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ได้แก่
อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ - ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา เช่น สหราชอาณาจักร กรีซและไทย
- ระบบประธานาธิบดี
- ประมุขของรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหาร : เป็นบุคคลคนเดียวกัน คือ ประธานาธิบดี โดยมีที่มา
จากการเลือกตั้งของประชาชน - การถ่วงดุลอำนาจ : ใช้หลักการแบ่งอำนาจ คือ แต่ละฝ่ายมีอิสระต่อกันในการใช้อํานาจ แต่
ขณะเดียวกันก็มีการตรวจสอบอำนาจร่วมด้วย เช่น ประธานาธิบดีมีอํานาจในการใช้สิทธิยับยั้ง
ไม่ลงนามในกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายนิติบัญญัติ - ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบประธานาธิบดี เช่น อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ บราซิล และสหรัฐอเมริกา
- ประมุขของรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหาร : เป็นบุคคลคนเดียวกัน คือ ประธานาธิบดี โดยมีที่มา
- ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา
- ประมุขของรัฐ : ประธานาธิบดี มีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
- หัวหน้าฝ่ายบริหาร : นายกรัฐมนตรี มีที่มาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี
- การถ่วงดุลอำนาจ : มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถลงมติไม่ไว้
วางใจเพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารได้ แต่ประธานาธิบดียังคงอยู่ใน
ตำแหน่ง และทำการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ต่อไป - ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา เช่น ฝรั่งเศส รัสเซีย และเยอรมนี
ระบอบเผด็จการ
เป็นระบอบการปกครองที่อำนาจสูงสุดอยู่ที่บุคคลคนเดียวหรือกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
- เผด็จการอำนาจนิยมหรือเผด็จการทหาร
เป็นระบอบที่รัฐบาลควบคุมกิจกรรมทางการเมืองอย่างเข้มงวด โดยรัฐบาลจะใช้อำนาจในการควบคุมส่ือและจำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่ยังคงให้ประชาชนมีเสรีภาพในด้านอื่น ๆ บางส่วน เช่น การประกอบอาชีพ การนับถือศาสนา - เผด็จการเบ็ดเสร็จ
เป็นระบอบที่รัฐบาลควบคุมประชาชนในทุกมิติ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
พัฒนาการการเมืองการปกครองไทย
การเมืองการปกครองของไทยมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน ซึ่งแต่ละสมัยก็ได้มีการปรับเปล่ียนรูปแบบการปกครองให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้
สมัยสุโขทัย
- สุโขทัยตอนต้น ปกครองแบบพ่อปกครองลูก (ปิตุราชาธิปไตย) พระมหากษัตริย์ทรงมีความใกล้ชิดกับราษฎรเปรียบเหมือนพ่อที่คอยดูแลอบรมสั่งสอนลูก
- สุโขทัยตอนปลาย เปล่ียนมาปกครองแบบธรรมราชาในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)
สมัยอยุธยา
ปกครองระบอบราชาธิปไตย พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดในการปกครองและทรงมีฐานะเป็นสมมติเทพแต่ยังคงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร มาใช้ในการปกครองเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง
- สมัยอยุธยาตอนต้น การปกครองส่วนกลางใช้ระบบเสนาบดี 4 ตำแหน่ง เรียกว่า จตุสดมภ์ ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง และนา
- สมัยอยุธยาตอนกลาง ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครองโดยรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางมากขึ้น และแยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกันอย่างชัดเจน
สมัยธนบุรี
เนื่องจากสมัยธนบุรียังไม่สงบจากสงคราม และต้องเร่งสร้างบ้านเมืองให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น ทำให้นำหลักการปกครองแบบสมัยอยุธยาตอนปลายมาใช้เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบในอาณาจักร คือ ยังคงใช้ระบบจตุสดมภ์ และมีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีที่ดูแลฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหาร
สมัยรัตนโกสินทร์
- สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1 – 3)
ใช้รูปแบบการปกครองเหมือนสมัยอยุธยา แต่มีการปรับปรุงการปกครองบางส่วนให้สอดคล้องกับสภาพสังคม เช่น รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายตราสามดวง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการตัดสินคดีความมากขึ้น - สมัยปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัย (รัชกาลที่ 4 – ก่อนการเปล่ียนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)
เป็นสมัยที่ชาติตะวันตกได้ขยายอิทธิพลมาทางตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ทำให้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยดึงอำนาจบริหารเข้าสู่ศูนย์กลาง เพื่อพัฒนาบ้านเมืองให้ทัดเทียมอารยประเทศ และป้องกันไม่ให้ชาติตะวันตกใช้เป็นข้ออ้างในการเข้าครอบครองเป็นอาณานิคม - การเปล่ียนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
ในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเกิดการเปล่ียนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีกลุ่มคณะราษฎรเป็นผู้นำในการปฏิวัติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการได้รับแนวคิดด้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามแบบตะวันตก รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของโลกและของไทย ทำให้ประเทศไทยนับแต่นั้นมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
ทิศทางแนวข้อสอบ A-Level สังคม (การเมืองการปกครอง) 69
สำหรับข้อสอบพาร์ตการเมืองปกครอง จากที่พี่ได้เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อสอบ 2-3 ปีย้อนหลังมา จะเห็นว่าแต่ละปีจะออกเฉลีี่ยอยู่ระหว่าง 2-3 ข้อ ส่วนทิศทางของคำถาม ส่วนใหญ่จะเน้นถามเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานที่เป็นเรื่องสำคัญ ๆ ในทางการเมืองปกครอง เพื่อวัดว่าน้อง ๆ เข้าใจคอนเซปต์ของเรื่องนั้นไหม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้หรือเปล่า
ซึ่งพี่มองว่าเป็นพาร์ตที่น้อง ๆ มีโอกาสเก็บคะแนนได้ไม่ยาก เพราะไม่ได้ใช้การตีความเชิงลึกหรือการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนเท่าไหร่ เช่น เรื่องรัฐเดี่ยว รัฐรวม โจทย์อาจถามถึงหลักการที่ถูกต้อง แล้วในตัวเลือกอาจบรรยายถึงลักษณะสำคัญของรัฐ หรือข้อดี ข้อเสีย มาให้น้อง ๆ วิเคราะห์ว่าสอดคล้องตามหลักการและความเป็นจริงหรือไม่
ซึ่งถ้าน้อง ๆ เข้าใจหลักการแล้ว แม้ว่าโจทย์จะเป็นสถานการณ์ที่ยาวแค่ไหน เราก็จะสามารถตัดตัวเลือกที่ไม่ถูกต้องออกได้ และใช้เวลาในการทำข้อสอบแต่ละข้อได้เร็วมากขึ้นด้วยน้า
ตัวอย่างข้อสอบ A-Level สังคม (การเมืองการปกครอง)

ตอบ ตัวเลือกที่ 1
รัฐเดี่ยว หมายถึง รูปแบบของรัฐที่มีรัฐบาลเพียงระดับเดียว คือ รัฐบาลกลาง ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายและบริหารประเทศ โครงสร้างการปกครองในรัฐเดี่ยวนั้นอาจมีการกระจายอำนาจไปยังหน่วยงานปกครองท้องถิ่น เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่
แต่แม้ว่ารัฐบาลท้องถิ่นจะได้รับอำนาจในการบริหารจัดการตนเอง แต่รัฐบาลกลางยังคงมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายระดับประเทศ
โดยเฉพาะเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อเอกภาพของรัฐ เช่น การออกกฎหมายที่ใช้บังคับทั่วประเทศ การรักษาความมั่นคงและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ของประเทศ และป้องกันไม่ให้เกิดความแตกแยกในการบริหารงานของรัฐ

ตอบ ตัวเลือกที่ 4
เพราะรัฐมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประชากร ดินแดน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย ซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เนื่องจากหมายถึง อำนาจสูงสุดของรัฐในการปกครองตนเองโดยไม่ขึ้นกับอำนาจภายนอก
โดยรัฐที่มีอำนาจอธิปไตยจะสามารถดำเนินกิจการภายในประเทศได้อย่างอิสระ รวมถึงกำหนดนโยบายและตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ได้โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก ทำให้ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้า
ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงสถานะทางอธิปไตยของไต้หวันเป็นหลัก ซึ่งหมายถึงการพิจารณาว่า ไต้หวันสามารถกำหนดนโยบายและตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการภายในของตนเองได้อย่างเป็นอิสระหรือไม่ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อทิศทางนโยบายที่ไทยจะดำเนินต่อไต้หวันในด้านการค้าและการลงทุน
จบไปแล้วสำหรับเนื้อหาการเมืองการปกครอง พร้อมตัวอย่างข้อสอบ A-Level สังคมที่พี่นำมาฝากทุกคน อย่างไรก็ตามใครที่อยากจะแม่นเนื้อหานี้ก็ควรทบทวนเนื้อหาและฝึกทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดเพิ่มเติมกันอย่างสม่ำเสมอน้าา
แต่ถ้าใครลองทำข้อสอบดูแล้วก็ยังเจอจุดที่ไม่เข้าใจ หรืออยากได้คนช่วยไกด์ในการเตรียมสอบ A-Level สังคม หรือ
A-Level วิชาอื่น ๆ ให้ทันเวลาและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
พี่ขอแนะนำคอร์สเรียนพิเศษสนาม A-Level ของ SmartMathPro ที่มีทั้ง A-Level คณิต 1,2 / A-Level ภาษาอังกฤษ / A-Level ฟิสิกส์ / A-Level ภาษาไทย / A-Level สังคมเลยน้าา
โดยสำหรับใครที่ไม่มีพื้นฐานก็สามารถเรียนได้ เพราะพี่สอนตั้งแต่ปูพื้นฐาน ไปจนถึงพาทำโจทย์ตั้งแต่ระดับง่ายไปจนถึงความยากใกล้เคียงกับข้อสอบจริงเลย แถมเทคนิคอีกเพียบที่จะช่วยให้น้องทำข้อสอบได้เร็วขึ้นด้วย
แนะนำว่ายิ่งเริ่มเตรียมตัวสอบเร็วเท่าไร ก็จะยิ่งพร้อมมากกว่าใครน้า เพราะปีนี้สนามสอบ A-Level เลื่อนมาสอบไวขึ้น น้อง ๆ จะได้มีเวลาทบทวนเนื้อหาและฝึกทำโจทย์เสริมแกร่งได้นั่นเอง ที่สำคัญ ถ้าสมัครคอร์สตั้งแต่ตอนนี้พี่มี Unseen Mock Test ชุดพิเศษ 1 ชุด แถมฟรีไปให้ลองทำพร้อมสิทธิพิเศษประจำเดือนอีกมากมายด้วย ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจคอร์สเตรียมสอบ A-Level สามารถ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดได้เลยย
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
X : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro
Lemon8 : @pan_smartmathpro