คณิต 1 กับ คณิต 2 ต่างกันยังไง? ยื่นคณะไหนได้บ้าง?

คณิต1 กับ คณิต2 ต่างกันยังไง (A-Level)

 

ความแตกต่างของเนื้อหาที่ออกสอบ

คณิต 1 : เป็นข้อสอบที่ออกในเนื้อหาของ คณิตศาสตร์พื้นฐาน + คณิตศาสตร์เพิ่มเติม แต่จะเน้นไปทางคณิตศาสตร์เพิ่มเติมมากกว่า (หรือที่โรงเรียนจะเรียกว่า คณิตเสริม) โดยข้อสอบจะออกทุกบทของคณิต ม.ปลายเลย ได้แก่ เซต ตรรกศาสตร์ จำนวนจริง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย เอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ฟังก์ชันตรีโกณมิติ เมทริกซ์ เวกเตอร์ การนับและความน่าจะเป็น จำนวนเชิงซ้อน ลำดับและอนุกรม แคลคูลัสเบื้องต้น สถิติ และการแจกแจงความน่าจะเป็น

คณิต 2 : เป็นข้อสอบที่ออกในเนื้อหาเฉพาะ คณิตศาสตร์พื้นฐาน (หรือที่โรงเรียนจะเรียกว่า คณิตหลัก) ได้แก่ เซต ตรรกศาสตร์ การนับเบื้องต้น ความน่าจะเป็น เลขยกกำลัง ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรม และสถิติ ซึ่งจำนวนบทจะน้อยกว่าในคณิตศาสตร์เพิ่มเติม และในบทเดียวกันจะมีเนื้อหาที่น้อยกว่าในคณิตศาสตร์เพิ่มเติมด้วยครับ

บทที่ออกสอบใน A-Level 

คณิต 1 : ทุกบทในคณิต ม.ปลาย ได้แก่ เซต ตรรกศาสตร์ จำนวนจริง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย เอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ฟังก์ชันตรีโกณมิติ เมทริกซ์ เวกเตอร์ การนับและความน่าจะเป็น จำนวนเชิงซ้อน ลำดับและอนุกรม แคลคูลัสเบื้องต้น สถิติ และการแจกแจงความน่าจะเป็น

คณิต 2 : ทุกบทในคณิตศาสตร์พื้นฐาน ได้แก่ เซต ตรรกศาสตร์ การนับเบื้องต้น ความน่าจะเป็น เลขยกกำลัง ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรม และสถิติ

ลักษณะข้อสอบและความยากของ คณิต 1 เทียบกับ คณิต 2

คณิต 1  : ข้อสอบ 30 ข้อ 90 นาที เป็นปรนัย 25 ข้อ ข้อละ 3 คะแนน และอัตนัย 5 ข้อ ข้อละ 5 คะแนน รวมเป็นเต็ม 100 คะแนน เป็นข้อสอบที่เน้นวัดความรู้ความเข้าใจของเนื้อหา นิยาม และคอนเซ็ปต์ของแต่ละบท ประยุกต์กับนิยาม สูตรต่างๆ ซึ่งความยากจะพอๆกับข้อสอบคณิต 1 วิชาสามัญในระบบสอบเดิมเลย (เพราะ สสวท. ออกข้อสอบเหมือนเดิมครับ) หรือหากเทียบกับ PAT1 ในระบบสอบเก่า น่าจะมีความถึกน้อยกว่า แต่จะเล่นกับจุดยิบย่อยมากกว่า เป็นข้อสอบที่วัดความเฉลียว มากกว่าความถึก คือถ้าไม่เข้าใจเนื้อหาจริงๆ จะงมยาก และทำนาน ดังนั้นต้องฝึกไปพอสมควรเลยครับ

คณิต 2  : ข้อสอบ 30 ข้อ 90 นาที เป็นปรนัย 25 ข้อ ข้อละ 3 คะแนน และอัตนัย 5 ข้อ ข้อละ 5 คะแนน รวมเป็นเต็ม 100 คะแนน เหมือนกับคณิต 1 เลย แต่เป็นคณิตพื้นฐานล้วนๆ แนวข้อสอบจึงคล้ายกับ ONET และคณิต 2 วิชาสามัญในระบบสอบเก่ามากๆ คือวัดแค่ความเข้าใจเบื้องต้น ข้อสอบไม่ซับซ้อนนัก แม้มีหลายบทที่ออกซ้ำกับคณิต 1 แต่ข้อสอบ “ง่ายกว่า” มากๆ แต่ก็ยังวัดความเข้าใจประมาณนึงอยู่ดีน้า และด้วยความที่จำนวนบทน้อยกว่า แต่จำนวนข้อเท่ากัน ทำให้ข้อสอบอาจจะชอบออกจุดเล็กๆน้อยๆ มีประเด็นในบทนั้นๆให้ออกเยอะ ที่จริงๆไม่ยาก แต่น้องหลายๆคนอาจจะลืม ต้องฝึกข้อสอบเก่าเยอะๆนะครับ


ข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับ คณิต 1 และ คณิต 2

  • คณิต 1 ยากกว่า คณิต 2 เตรียมแต่คณิต 1 ก็พอ เดี๋ยวคณิต 2 ทำได้เอง !!

เอาจริงๆ การที่น้องฝึกทำคณิต 1 แล้ว คณิต 2 น้องก็สามารถทำได้ประมาณหนึ่ง เพราะบทที่ออกมันก็ซ้ำซ้อนกัน แต่อยากเสริมว่าแม้จะบทเดียวกันในทั้งสองสนาม จะมีจุดที่เน้น จุดที่ออกบ่อย จุดที่เล่น ไม่ได้เหมือนกันเป๊ะ ถ้าน้องจะต้องใช้คะแนนสอบของคณิต 2 อยากให้น้องฝึกทำข้อสอบคณิต 2 ด้วย และด้วยความที่จำนวนบทน้อยกว่า แต่จำนวนข้อเท่ากัน มันทำให้ข้อสอบคณิต 2 บางทีออกจุดเล็กๆน้อยๆที่คณิต 1 แทบไม่มีโอกาสถามถึง ซึ่งในหลายๆข้อมันง่ายมาก แต่น้องลืม !! ดังนั้นฝึกข้อสอบในสนามที่น้องต้องใช้ประกอบไปด้วยดีกว่าน้า 

  • สายวิทย์ สอบคณิต 1 , สายศิลป์ สอบคณิต 2 ผิดๆๆๆ !!!!

น้องต้องดูรายคณะว่าคณะนั้นๆ ใช้คะแนนของคณิต 1 หรือคณิต 2 ไม่ใช่ดูจากสายที่น้องเรียนมาน้า ทุกปีจะมีน้องมาบ่นว่าสมัครสอบผิดตัว เสียโอกาสเพราะความเข้าใจผิดนี้หลายคนแล้ว ฮือออ อยากให้อ่านเกณฑ์การรับของแต่ละที่ที่น้องจะเข้าให้ละเอียด ซึ่งจริงๆตั้งแต่ #dek66 เป็นต้นไป น้องสามารถสมัครสอบได้ทั้ง 2 สนามพร้อมกันเลย พี่ก็เชียร์ว่าสมัครสอบทั้งสองสนามเลยดีกว่าน้า ไม่เสียหาย บางคณะก็รับทั้งสองเกณฑ์ก็มีครับ

( ดูเกณฑ์คะแนนที่ใช้ได้ ที่นี่ เลยน้า )

  • จะสอบทั้งคณิต 1 และคณิต 2 เตรียมตัวยังไง

จะบอกว่า เลขก็คือเลข เมื่อน้องเตรียมสนามหนึ่งไป อีกสนามน้องก็จะฝึกทำได้ง่ายขึ้นอยู่แล้ว ดีที่สุดคือการเก็บทุกบท แต่อยากให้เน้นเป็นพิเศษ คือบทที่มีออกทั้งสองสนาม (ตามที่กล่าวด้านบน) ฝึกบทเหล่านี้เยอะหน่อย และถ้าน้องใช้สนามไหนเยอะ น้องก็ควรจะฝึกข้อสอบจากสนามนั้นๆเยอะหน่อยน้า โดยอาจเริ่มต้นจากการเก็บเนื้อหาจากคณิตศาสตร์พื้นฐานก่อน แล้วค่อยต่อยอดบทเดียวกันในคณิตศาสตร์เพิ่มเติมก็ได้ พอเริ่มเข้าใจเนื้อหาประมาณหนึ่งก็นำข้อสอบบทนั้นๆมาลองทำน้า

  • คณิต 2 ง่ายกว่าเยอะ งี้สอบแต่คณิต 2 ละกัน

ระวัง !!! ยังไงถ้าคณะนั้นๆเค้าระบุว่าต้องใช้คณิต 1 น้องก็ต้องสอบคณิต 1 น้า เช่น บัญชี มธ. , กสพท ต่อให้น้องเรียนศิลป์ภาษามา ก็ต้องสอบคณิต 1 อยู่ดีครับ ส่วนคณะไหนที่ใช้คณิตได้ทั้งสองตัว ก็อาจจะเน้นตัวที่มีจำนวนรับเข้าเยอะหน่อยก็ได้ครับ แต่อย่างที่บอก น้องสามารถเตรียมทั้งคู่ได้เลย มันเสริมๆกันอยู่แล้วน้า

  • คณิต 2 ยากกว่าคณิต 1 เห็นตัวเลข 2 น่าจะเป็นภาคต่อ … ผิด !!!!

จริงๆบางคนเรียกคณิต 1 ว่า เลขยาก และ เรียกคณิต 2 ว่าเลขง่าย เลยทีเดียว แค่ชื่อก็ชัดเจนแล้ว !!

คณะส่วนใหญ่ เท่าที่เห็นจะใช้ คะแนนคณิต 1 ได้แก่ บัญชี บริหาร มธ. คณะวิศวกรรมศาสตร์ส่วนใหญ่ คณะสายวิทยาศาสตร์ สายสุขภาพ กสพท ทั้งหมด และอีกหลายคณะ ฯลฯ ส่วนคณิต 2 จะมีใช้เยอะในรอบยื่นโควต้า และคณะสายศิลป์ในหลายๆที่ก็เริ่มมาใช้คณิต 2 กันมากขึ้น (แต่ก่อนมีน้อย) เช่น บัญชี บริหารจุฬาฯ นิติจุฬาฯ คณะนิเทศศาสตร์/วารสาร และเชื่อว่าอาจจะมีเพิ่มมากอีก แต่ ณ เวลานี้ (18 ต.ค. 2565) ยังประกาศไม่ครบ ทั้งนี้ทั้งนั้น น้องต้อง “ศึกษาให้ดีที่สุด” ว่าคณะและมหาลัยฯที่น้องอยากเข้าใช้คะแนนอะไรในการยื่นน้า

ขอให้น้องมีพลังในการเตรียมตัวสอบเยอะๆน้า หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้น้องหายสงสัยเกี่ยวกับ คณิต 1 และคณิต 2 ว่าแตกต่างกันยังไง ได้เห็นภาพมากขึ้น จะได้ลุยแต่เตรียมตัวให้ปังๆทั้งสองสนามเลย ~~~

พี่ปั้น SmartMathPro “ติวเตอร์ที่เป็นมากกว่าติวเตอร์”

TCAS66 “เกณฑ์คณิต” แต่ละมหาวิทยาลัย เปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง?

 

สำหรับน้องๆคนไหน ที่สนใจอยาก “ทดลองเรียนคอร์สออนไลน์” วิชาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย FREE 

พี่ปั้น SmartMathPro จัดมาให้แล้ว คลิกเลย

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Line : @smartmathpronews

รวมถึงข่าวสารต่างๆอัปเดตอย่างเรียลไทม์

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro

คอร์สเรียน แนะนำ