วิเคราะห์คะแนน A-Level ต้องตั้งเป้ายังไงให้เซฟ ?

คะแนน A-Level ประกาศแล้ววว ใครที่กำลังสงสัยว่าแนวโน้มคะแนน A-Level 68 เป็นอย่างไรบ้าง ห้ามพลาด !! เพราะ
วันนี้พี่มาวิเคราะห์ให้ทุกคนอ่านกันแล้ว พร้อมแจกตัวช่วยเช็กโอกาสสอบติดและคลิปวิเคราะห์คะแนน A-Level แบบ
จัดเต็มท้ายบทความ ใครที่อยากรู้ว่าแนวโน้มคะแนนปีนี้จะเป็นอย่างไร ก็อย่ารอช้า ไปดูพร้อมกันเลยย

ภาพรวมสถิติคะแนน A-Level 68
  • คะแนนเฉลี่ย (Mean) คือ ค่าคะแนนที่นำคะแนนที่ทุกคนสอบได้ในรายวิชานั้นมารวมกันทั้งหมด แล้วหารด้วยจำนวนผู้เข้าสอบในรายวิชานั้นทั้งหมด
  • มัธยฐาน (Median) คือ ค่าคะแนนที่มีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียบเรียงข้อมูลจากคะแนนน้อยที่สุดไปหาคะแนนมากที่สุด หรือจากคะแนนที่มากที่สุดไปหาคะแนนที่น้อยที่สุด
  • ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าคะแนนที่มีจำนวนคนสอบได้คะแนนนี้มากที่สุด
  • เปอร์เซ็นไทล์ (Percentile) คือ ตำแหน่งของข้อมูลที่แสดงให้รู้ว่าเราอยู่ตำแหน่งไหนเมื่อนำคะแนนของผู้เข้าสอบ
    ทุกคนมาเรียงจากน้อยไปมากโดยนำไปเทียบกับ 100 (ค่าเปอร์เซ็นไทล์จะเรียงลำดับคะแนนจากน้อยไปหามากคนที่ได้คะแนนมาก ค่านี้จะมากตามไปด้วย)
  • ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation, S.D) คือ ค่าที่ทำให้เห็นการกระจายตัวของคะแนนสอบในรายวิชานั้น ยิ่งส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่ามาก แสดงว่าคะแนนมีการกระจายตัวห่างจากค่าเฉลี่ยมาก
  • คะแนนมาตรฐาน (ค่า T-Score) คือ การนำคะแนนที่น้อง ๆ ได้มาผ่านการแปลงทางสถิติตามสูตรคำนวณ จะได้เป็นคะแนนมาตรฐาน หรือ T-Score เป็นคะแนนที่ถูกปรับคะแนนค่าเฉลี่ยให้มาอยู่ตรงกลาง (50 คะแนน) บางมหาวิทยาลัยกำหนด T-Score ขั้นต่ำ รวมถึงใช้คะแนน T-Score ของเราแทนใช้คะแนนที่สอบได้จริงในการคิดคะแนน TCAS ด้วย

คะแนนเฉลี่ย A-Level ย้อนหลัง 3 ปี

คะแนนเฉลี่ย A-Level ย้อนหลัง 3 ปี

ในการเปรียบเทียบคะแนนย้อนหลังพี่แนะนำให้เปรียบเทียบกับคะแนนปีล่าสุดเป็นหลักน้า เพราะน้อง ๆ จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของคะแนนวิชาต่าง ๆ ได้ชัดที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบภาพรวมคะแนนของปี 67 และ 68 จะเห็นว่า หลายวิชามีแนวโน้มคะแนนที่สูงขึ้น

โดยวิชาที่มีคะแนนสูงขึ้นจากปี 67 ค่อนข้างเยอะ คือ A-Level คณิต 2, A-Level เคมี, A-Level สังคม, A-Level
ภาษาอังกฤษ (เพิ่มขึ้นประมาณ 4 – 7 คะแนนเลย)
ทำให้ภาพรวมคะแนนวิชาเหล่านี้มีแนวโน้มเฟ้อขึ้น

แต่วิชาอื่น ๆ ยังมีแนวโน้มที่คะแนนจะทรงตัวอยู่ ซึ่งพี่ก็ได้ทำกราฟสรุปแต่ละวิชาโดยละเอียดมาให้แล้ว เลื่อนไปดูหัวข้อ
ถัดไปกันได้เลยย

การกระจายตัวคะแนน A-Level เมื่อเทียบ 3 ปีย้อนหลัง

การกระจายตัวคะแนน A-Level คณิต 1

  • ภาพรวมคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นมานิดหนึ่ง
  • จำนวนคนที่ได้คะแนนในช่วง 0 – 50 คะแนน ไม่ได้ต่างกันมาก
  • แต่จำนวนคนที่ได้คะแนนมากกว่า 50 คะแนนเป็นต้นไป มีมากขึ้น
  • ดังนั้น คณะที่ใช้ A-Level คณิต 1 เยอะ อาจมีแนวโน้มคะแนนขั้นต่ำสูงขึ้นประมาณ 2 – 3 คะแนน

การกระจายตัวคะแนน A-Level คณิต 2

  • เทียบภาพรวมคะแนนกับปี 67 คะแนนของปี 68 ยังคงเฟ้ออยู่ เนื่องจากมีการให้คะแนนฟรี 2 ข้อ ทำให้มีการบวกคะแนนเพิ่มสำหรับคนที่สอบวิชานี้ (แต่สำหรับคนที่ทำทั้งสองข้อนั้นถูกอยู่แล้ว จะไม่ได้มีการบวกเพิ่มน้าา)
  • ดังนั้น คณะที่ไม่ได้ใช้ A-Level คณิต 2 เยอะ อาจมีแนวโน้มคะแนนขั้นต่ำสูงขึ้นประมาณ 4 – 5 คะแนน
  • ส่วนคณะที่ใช้ A-Level คณิต 2 เยอะ อาจมีแนวโน้มคะแนนขั้นต่ำสูงขึ้นประมาณ 8 คะแนน

การกระจายตัวคะแนน A-Level ฟิสิกส์

  • จำนวนคนที่ได้คะแนนมากกว่า 60 คะแนนเป็นต้นไปมีน้อยลง
  • แต่จำนวนคนที่ได้คะแนนในช่วงมากกว่า 10 คะแนน ไปจนถึง 60 คะแนนกลับมีเยอะขึ้น
  • ดังนั้น คณะที่ใช้ A-Level ฟิสิกส์ เยอะ คะแนนขั้นต่ำอาจลดลงประมาณ 2 – 3 คะแนน

การกระจายตัวคะแนน A-Level เคมี

  • จำนวนคนที่ได้คะแนนมากกว่า 20 คะแนนเป็นต้นไปมีมากขึ้น
  • ดังนั้น คะแนนขั้นต่ำของคณะที่ใช้ A-Level เคมี ก็จะสูงขึ้นประมาณ 6 – 10 (ทั้งคณะที่ใช้ A-Level เคมีเยอะและน้อย)

การกระจายตัวคะแนน A-Level ชีววิทยา

  • จำนวนคนที่ได้คะแนนมากกว่า 50 คะแนนเป็นต้นไปมีมากขึ้น (แต่ไม่ได้เพิ่มขึ้นเยอะมากน้า)
  • ทำให้ภาพรวมคะแนนของวิชานี้ยังทรงตัวอยู่
  • ดังนั้น คณะที่ใช้ A-Level ชีววิทยา เยอะ อาจมีคะแนนขั้นต่ำสูงขึ้นประมาณ 1 – 2 คะแนน

การกระจายตัวคะแนน A-Level สังคม

  • จำนวนคนที่ได้คะแนนมากกว่า 40 คะแนนเป็นต้นไปมีมากขึ้น
  • ดังนั้น คณะที่ใช้ A-Level สังคม เยอะ อาจมีคะแนนขั้นต่ำสูงขึ้นประมาณ 4 – 7 คะแนน

การกระจายตัวคะแนน A-Level ภาษาไทย

  • จำนวนคนที่ได้คะแนนมากกว่า 60 คะแนนเป็นต้นไปมีน้อยลง
  • แต่จำนวนคนที่ได้คะแนนตั้งแต่ 0 – 60 คะแนนยังทรง ๆ ตัวอยู่
  • ดังนั้น คณะที่ใช้ A-Level ภาษาไทย เยอะ อาจมีคะแนนขั้นต่ำลดลงประมาณ 1 คะแนน

การกระจายตัวคะแนน A-Level ภาษาอังกฤษ

  • จำนวนคนที่ได้คะแนนมากกว่า 30 คะแนนเป็นต้นไปมีมากขึ้น
  • ดังนั้น คณะที่ใช้ A-Level ภาษาอังกฤษ เยอะ อาจมีคะแนนขั้นต่ำสูงขึ้นประมาณ 4 – 5 คะแนน

วิเคราะห์ความเฟ้อ-ฝืดในกลุ่มคณะ กสพท

ต้องบอกก่อนเลยว่าสำหรับการวิเคราะห์ความเฟ้อ – ฝืดของคณะในกลุ่ม กสพท จะไม่สามารถนำค่าเฉลี่ยแบบปกติมาวิเคราะห์ได้เหมือนกับคณะทั่วไปน้า เพราะส่วนใหญ่แล้วน้อง ๆ ที่ยื่นคะแนนและสอบติดใน กสพท ถือเป็นน้อง ๆ ที่ได้คะแนนแต่ละวิชาค่อนข้างสูงกว่าค่าเฉลี่ย

ดังนั้นพี่จะวิเคราะห์โดยการใช้ ค่าเฉลี่ยใหม่ ที่พี่คิดขึ้นมาเอง ซึ่งพี่จะพาไปพิสูจน์และวิเคราะห์ไปพร้อมกันเลยย

คาดการณ์ความเฟ้อ-ฝืด กสพท ปี 66 VS 68

น้อง ๆ สามารถคาดการณ์คะแนน กสพท ได้โดยใช้ขั้นตอนดังนี้

1. ดูว่าคนที่ได้ 30 คะแนนขึ้นไปในแต่ละวิชามีกี่คน
2. คำนวณค่าเฉลี่ยใหม่ของคนที่ได้ 5% แรกในแต่ละวิชา (ถ้าน้อง ๆ อยากรู้ว่าจะคำนวณอย่างไร สามารถเลื่อนลงไปดูคลิปอธิบายได้ที่ท้ายบทความน้า ส่วนในตารางนี้พี่คำนวณมาให้หมดแล้วว)

คาดการณ์ความเฟ้อ - ฝืด กสพท ปี 66 VS 68

หมายเหตุ : เปรียบเทียบกับปี 66 เนื่องจากเกณฑ์คะแนนของปี 66 และ 68 เหมือนกัน (คิด TPAT1 30%)

ซึ่งถ้าดูจากภาพจะเห็นว่า คะแนนภาพรวมปี 66 VS 68 มีโอกาสเพิ่มขึ้นประมาณ 3 คะแนน

วิเคราะห์ความเฟ้อ-ฝืดในกลุ่มคณะ อื่น ๆ

สำหรับใครที่ต้องการคาดการณ์คะแนน เพื่อยื่นเข้าคณะกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ กสพท สามารถทำตามขั้นตอนนี้ได้เลยน้า

วิเคราะห์ความเฟ้อ - ฝืดในกลุ่มคณะ อื่น ๆ

ดาวน์โหลด Sheet คำนวณความเฟ้อ-ฝืดโดยใช้ค่าเฉลี่ยเบื้องต้น ฟรี !!

สำหรับน้อง ๆ ที่ลองทำตามวิธีในหัวข้อก่อนหน้านี้ไปแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจ พี่ก็มีทำ Sheet คำนวณความเฟ้อ-ฝืด มาให้ Dek68 โดยเฉพาะด้วยน้า สามารถกด คลิก เข้ามาลองใช้กันได้เลยยยย

ปัจจัยที่ทำให้คะแนนขั้นต่ำเฟ้อหรือฝืด

อย่างที่พี่บอกไปในหัวข้อก่อน ๆ เลยว่าการวิเคราะห์คะแนน นอกจากที่เราจะต้องดูคะแนนของปีล่าสุดเทียบกันเพื่อหา
แนวโน้มแล้ว ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยเลยที่สำคัญไม่แพ้กัน 

ซึ่งพี่ก็ได้สรุป 6 ปัจจัยที่อาจจะส่งผลต่อภาพรวมคะแนนของปีนี้มาให้แล้ว เผื่อใครอยากใช้ดูประกอบวิธีการวิเคราะห์คะแนนที่พี่อธิบายไปก่อนหน้านี้น้าา

1. สถิติคะแนนพื้นฐานที่ประกาศมาจากหน่วยงานทดสอบ เช่น ค่าเฉลี่ย การกระจายตัวช่วงคะแนน
2. การมีสถิติคะแนนย้อนหลังให้ดูและเกณฑ์คัดเลือกคงที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก
3. ความนิยมของคณะและสาขาที่ต้องการเข้าคัดเลือก
4. จำนวนที่นั่งที่เปิดรับ โดยถ้าจำนวนที่นั่งน้อยลง คะแนนก็มีโอกาสเฟ้อ แต่ถ้าจำนวนที่นั่งมากขึ้นคะแนนก็มีโอกาสฝืด
5. เงื่อนไขอื่น ๆ ของคณะและมหาวิทยาลัย เช่น การกำหนดขั้นต่ำ การพิจารณาจากอันดับ เป็นต้น
6. การปั่น / หรือการสร้างจิตวิทยา / ความกล้าเลือกและข้อมูลที่มีในมือ

และนี่ก็คือภาพรวมทั้งหมดของคะแนน A-Level 68 ในปีนี้ซึ่งต้องขอย้ำอีกทีว่า นี่เป็นแค่การวิเคราะห์ภาพรวมในเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งพอจะทำให้น้อง ๆ ได้เห็นภาพรวมคะแนนของปีนี้ในหลาย ๆ วิชา สามารถเปรียบเทียบคะแนนของตัวเองกับภาพรวมคะแนนของทั้งประเทศได้ รวมถึงสามารถไปปรับใช้กับการเลือกคณะเพื่อจัดอันดับในรอบ 3 ได้ด้วยน้าา

ถ้าใครอ่านบทความนี้จบแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าควรจะจัดอันดับอย่างไรดี อยากรู้ทริคการจัดอันดับคณะ / มหาลัยฯ ที่อยากเข้าในรอบ 3 อย่างไรให้เซฟที่สุด ก็ลองเข้าไปอ่านบทความ เทคนิคจัดอันดับรอบ 3 เพิ่มเติมได้น้าา 

ดูคลิปวิเคราะห์คะแนน A-Level 68

ดูคลิปแนะแนวอื่น ๆ ได้ที่ Youtube : SmartMathPro

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

วิธีคิดคะแนนรอบ 3 ใน TCAS68
คิดคะแนนรอบ 3 TCAS68 แบบง่าย ๆ พร้อมวิธีคาดการณ์คะแนนขั้นต่ำ
วิธีคิดคะแนน-กสพท
คะแนน กสพท คิดยังไง ? พร้อมสรุปวิธีคาดการณ์คะแนนขั้นต่ำ !
เทคนิคจัดอันดับ TCAS รอบ 3
จัด 10 อันดับ TCAS รอบ 3 ยังไงให้สอบติด ทำตามนี้ไม่หลุดอันดับ !!
วิเคราะห์คะแนน TGAT 68
ส่องคะแนน TGAT 68 แนวโน้มคะแนนจะเฟ้อหรือฝืด มาดูกัน!
วิเคราะห์คะแนน TPAT1 ปี 68
ส่องคะแนน TPAT1 กสพท 68 แนวโน้มคะแนนจะเฟ้อหรือฝืด มาดูกัน !

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro

Tiktok : @pan_smartmathpro

Lemon8 : @pan_smartmathpro

Share