สรุปเนื้อหาคณิตทฤษฎีบทพีทาโกรัส ม.2

น้อง ๆ รู้กันไหมว่าทฤษฎีบทพีทาโกรัส ม.2 เป็นเนื้อหาที่นำไปต่อยอดได้ทั้งคณิต ม.ต้นและคณิต ม.ปลาย ดังนั้นการเก็บเนื้อหาของทฤษฎีบทพีทาโกรัสให้แม่นก็จะช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจเนื้อหาคณิตศาสตร์เรื่องอื่นได้อีกมากเลยน้า

แต่ใครที่ยังไม่แม่นก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะว่าพี่เตรียมสรุปเนื้อหาของบทเรียนมาให้แบบจัดเต็มแล้ว แถมยังมีตัวอย่างโจทย์และแบบฝึกหัดให้ลองทำท้ายบทความอีกด้วยย

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส (Pythagoras’ theorem) คือ ทฤษฎีหรือสมบัติที่เกี่ยวกับความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก น้อง ๆ จะได้เรียนในระดับชั้น ม.2 เทอม 1 ซึ่งสามารถนำไปใช้แก้โจทย์ปัญหาหรือพิสูจน์ทฤษฎีหรือสมบัติอื่น ๆ ในบทที่เกี่ยวกับเรขาคณิตได้ 

เช่น บทปริซึมและทรงกระบอก ที่จะเจอในบทถัดไป รวมไปถึงบทพีระมิด กรวย ทรงกลม และ บทอัตราส่วนตรีโกณมิติ ในระดับชั้น ม.3 นอกจากนี้ยังต่อยอดไปเป็นพื้นฐานของเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.ปลายหลายบท และนำไปใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย 

แต่ก่อนจะไปเข้าเรื่องทฤษฎีบท เรามารู้จักชื่อเรียกแต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากกันก่อนน้าา 

ชื่อเรียกแต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

หมายเหตุ : ด้านตรงข้ามมุมฉากคือด้านที่มีความยาวมากที่สุดเสมอ

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งในทางทฤษฎีได้บอกเอาไว้ว่า

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส (Pythagoras’ theorem)
สำหรับรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก
เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉาก

จากทฤษฎีบทข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ตัวอย่างที่ 1 จากรูปสามเหลี่ยมที่กำหนดให้ จงหาค่าของ x

ตัวอย่างการใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ภาพที่ 1

วิธีทำ

เนื่องจาก x เป็นความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก
และ 3, 4 เป็นความยาวของด้านประกอบมุมฉาก
จากทฤษฎีบทพีทาโกรัส จะได้ว่า x^{2}=3^{2}+4^{2}\\= 9+16\\=25
แสดงว่า x=-5, 5
ดังนั้น x=5

หมายเหตุ : สมการ x^{2}=25 มี 2 คำตอบคือ x=5 และ x=-5 แต่เนื่องจาก x เป็นความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก ค่า x ที่เป็นจำนวนลบจึงใช้ไม่ได้น้าา

ตัวอย่างที่ 2 จากรูปสามเหลี่ยมที่กำหนดให้ จงหาค่าของ x

วอย่างการใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ภาพที่ 2

วิธีทำ

เนื่องจาก 13 เป็นความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก
และ x, 12 เป็นความยาวของด้านประกอบมุมฉาก
จากทฤษฎีบทพีทาโกรัส จะได้ว่า 13^{2}=x^{2}+5^{2}\\x^{2}=13^{2}-5^{2}\\=169-25\\=144
ดังนั้น x=12

ตัวอย่างที่ 3 จากรูปสามเหลี่ยมที่กำหนดให้ จงหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ABC

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ภาพที่ 3

วิธีทำ

เนื่องจาก AB เป็นความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก
และ AC, BC เป็นความยาวของด้านประกอบมุมฉาก
จากทฤษฎีบทพีทาโกรัส จะได้ว่า 25^{2}=BC^{2}+7^{2}\\BC^{2}=25^{2}-7^{2}\\=625-49\\=576\\BC=24
เราสามารถหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ABC ได้จากสูตร \frac{1}{2}\times AC\times BC
จะได้ =\frac{1}{2}\times 7\times 24\\=84

ดังนั้น พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ABC เท่ากับ 84 ตารางหน่วย

หลังจากที่น้อง ๆ ได้เรียนทฤษฎีบทพีทาโกรัสไปแล้ว จะสังเกตเห็นว่ามีเลขชุดพีทาโกรัสที่เราเจอบ่อย ๆ
ซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่ได้จากการคำนวณตามทฤษฎีบท ซึ่งถ้าน้อง ๆ จำเลขชุดนี้ได้ จะทำให้เราแก้โจทย์ได้เร็วขึ้นด้วยนะ โดยเลขชุดพีทาโกรัสที่เจอบ่อยและนิยมใช้กันมีดังนี้

เลขชุดพีทาโกรัสที่ควรรู้

เลขชุดพีทาโกรัสจะใช้เมื่อรู้ความยาวด้าน 2 ด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากจะสามารถหาความยาวอีกด้านหนึ่งได้ เช่น

  • รูปสามเหลี่ยมมุมฉากที่มีความยาวด้านคือ 3, 4, x โดยที่ x เป็นความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก
    แสดงว่า เลขชุดพีทาโกรัสที่ใช้ได้ก็คือชุด 3, 4, 5
    ดังนั้น x=5

นอกจากเลขชุดพีทาโกรัสที่ควรรู้แล้ว ยังมีเลขชุดที่เกิดจากการประยุกต์ความรู้โดยดูความสัมพันธ์จากเลขชุดพีทาโกรัส เช่น

  • รูปสามเหลี่ยมมุมฉากที่มีความยาวด้านคือ 6, 8, x โดยที่ x เป็นความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก
    แสดงว่า x^{2}=6^{2}+8^{2}\\=36+64\\=100\\x=10
    จะได้เลขชุดพีทาโกรัสชุดใหม่คือ 6, 8, 10
    ซึ่งเมื่อสังเกตความสัมพันธ์จะเห็นว่า 6, 8, 10 เกิดจาก 3\times 2, 4\times 2, 5\times 2
    ดังนั้น เลขชุดพีทาโกรัสชุดใหม่นี้ เกิดจากความสัมพันธ์ของเลขชุด 3, 4, 5 นำไปคูณด้วยสองในทุกด้านนั่นเอง
    หมายเหตุ : การประยุกต์ความรู้โดยดูความสัมพันธ์จากเลขชุดพีทาโกรัส จะต้องเป็นการนำเลขชุดพีทาโกรัสไปคูณหรือหารด้วยจำนวนเดียวกันเท่านั้น
    ข้อระวัง ต้องตรวจสอบว่าความยาวด้านที่นำมาพิจารณา เป็นความยาวด้านของด้านประกอบมุมฉากหรือด้านตรงข้ามมุมฉากด้วยนะ เพราะเลขชุดพีทาโกรัส จะต้องอยู่ในด้านที่ถูกต้องถึงจะใช้ได้น้า

ตัวอย่างที่ 4 จากรูปสามเหลี่ยมที่กำหนดให้ จงหาค่าของ x

วิธีทำ

จากโจทย์ จะได้ว่า รูปสามเหลี่ยมนี้มีความยาวด้านคือ 9, x, 15 โดยที่ x เป็นความยาวของด้านประกอบมุมฉาก
เมื่อเรานำเลขชุดพีทาโกรัส 3, 4, 5 ไปคูณด้วยสาม
ผลลัพธ์คือ 3\times 3, 4\times 3, 5\times 3
จะได้เลขชุดพีทาโกรัส 9, 12, 15 ซึ่งตรงกับความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากนี้

ดังนั้น x=12

บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส

จากเนื้อหาของบทความที่ผ่านมา น้อง ๆ จะรู้ว่าถ้ามีรูปสามเหลี่ยมมุมฉากแล้วความยาวด้านจะมีความสัมพันธ์ตามทฤษฎีบทพีทาโกรัส ในทางกลับกัน ถ้านำความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมที่สอดคล้องกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสมาพิจารณาก็จะสามารถสรุปได้ว่ารูปสามเหลี่ยมที่พิจารณาอยู่เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากหรือไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากได้เช่นกัน

บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส (converse of Pythagoras’ theorem)
สำหรับรูปสามเหลี่ยมใด ๆ ถ้ากำลังสองของความยาวของด้านด้านหนึ่ง
เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านอีกสองด้าน แล้วรูปสามเหลี่ยมนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

จากทฤษฎีบทข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า

ตัวอย่างที่ 5 กำหนดให้ 10, 24 และ 26 เป็นความยาวของด้านของรูปสามเหลี่ยม จงพิจารณาว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากหรือไม่

วิธีทำ จากความยาวด้านที่กำหนดให้ ถ้าสามเหลี่ยมรูปนี้เป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก ด้านที่ยาวที่สุดจะเป็นด้านตรงข้ามมุมฉากเสมอ นั่นก็คือ 26
ให้ a=10, b=24 และ c=26
จะได้ a^{2}=100, b^{2}=576 และ c^{2}=676
ซึ่ง 676=100+576\\676=676
แสดงว่า c^{2}=a^{2}+b^{2}
โดยบทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส สรุปได้ว่า รูปสามเหลี่ยมที่มีความยาวด้าน คือ 10, 24, 26 เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

เทคนิค ! สามารถใช้เลขชุดพีทาโกรัสมาช่วยได้ด้วยน้า
จากโจทย์ 10, 24, 26 เกิดจาก 5\times 2, 12\times 2, 13\times 2
แสดงว่า ความยาวด้านของสามเหลี่ยมรูปนี้ เกิดจากเลขชุดพีทาโกรัส คือ 5, 12, 13
ดังนั้น รูปสามเหลี่ยมนี้เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากแน่นอน

ข้อระวัง ตัวเลขที่อยู่นอกเหนือเลขชุดพีทาโกรัสที่กำหนดให้ จะไม่สามารถบอกได้แน่ชัดนะว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากหรือไม่ (ถึงจะไม่ได้เป็นเลขชุดพีทาโกรัสที่เรารู้จัก แต่อาจเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากก็ได้น้า)

ตัวอย่างที่ 6 กำหนดให้ 4, 6 และ 8 เป็นความยาวของด้านของรูปสามเหลี่ยม จงพิจารณาว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากหรือไม่

วิธีทำ จากความยาวด้านที่กำหนดให้ ถ้าสามเหลี่ยมรูปนี้เป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก ด้านที่ยาวที่สุดจะเป็นด้านตรงข้ามมุมฉากเสมอ นั่นก็คือ 8
ให้ a=4, b=6 และ c=8
จะได้ a^{2}=16, b^{2}=36 และ c^{2}=64
ซึ่ง 64\neq 16+36\\64\neq 52
แสดงว่า c^{2}\neq a^{2}+b^{2}
โดยบทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส สรุปได้ว่า รูปสามเหลี่ยมที่มีความยาวด้าน คือ 4, 6, 8 ไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

โจทย์ปัญหาทฤษฎีบทพีทาโกรัส

เราสามารถนำความรู้ทฤษฎีบทพีทาโกรัสมาประยุกต์เพื่อแก้โจทย์ปัญหาได้ดังนี้

ตัวอย่างที่ 7 ชายหนุ่มคนหนึ่งต้องการนำบันไดพาดกับผนังกำแพงด้านหนึ่ง ถ้าปลายบันไดที่อยู่บนพื้นดินห่างจากผนังกำแพง 6 เมตร และผนังกำแพงสูง 2.5 เมตร ชายหนุ่มต้องใช้บันไดยาวกี่เมตร เพื่อให้ปลายบันไดอีกข้างหนึ่งแตะขอบบนของผนังกำแพงพอดี 

โจทย์ปัญหาทฤษฎีบทพีทาโกรัส

วิธีทำ จากรูปจะสังเกตได้ว่า ระยะห่างจากปลายบันไดบนพื้นดินกับผนังกำแพง และความสูงของผนังกำแพง เป็นความยาวของด้านประกอบมุมฉาก และความยาวของบันไดเป็นความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก
ให้ a=6, b=2.5 และ c=x
จากทฤษฎีบทพีทาโกรัส จะได้ว่า x^{2}=6^{2}+2.5^{2}\\=36+6.25\\=42.25
ดังนั้น x=6.5 เมตร
นั่นคือ ชายหนุ่มต้องใช้บันไดยาว 6.5 เมตร เพื่อให้ปลายบันไดอีกข้างหนึ่งแตะขอบบนของผนังกำแพงพอดี

เทคนิค ! เรายังสามารถใช้เลขชุดพีทาโกรัสได้อีกด้วย
เมื่อสังเกตความสัมพันธ์จะเห็นว่า 2.5, 6, x เกิดจาก \frac{5}{2}, \frac{12}{2}, \frac{13}{2}
ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เลขชุดพีทาโกรัส 5, 12, 13 ไปหารด้วยสองในความยาวของทุกด้านนั่นเอง
เราก็จะได้ x=\frac{13}{2}\\=6.5 เช่นกัน

สำหรับใครที่อยากแม่นเนื้อหาทฤษฎีบทพีทาโกรัส ม.2 พี่แนะนำว่าควรทบทวนเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอและลองฝึกทำ
แบบฝึกหัดเพิ่มเติมด้วยน้า และน้อง ๆ ม.2 ที่ต้องการเก็บเกรดวิชาคณิตศาสตร์ให้ปัง ๆ แต่เคยลองทบทวนเนื้อหาด้วยตัวเองแล้ว ยังเจอจุดที่ไม่เข้าใจและอยากให้มีคนช่วยไกด์

พี่ขอแนะนำตัวช่วยอย่าง คอร์สคณิต ม.2 สอนโดยพี่ปั้น SmartMathPro ให้เลยย โดยแพ็กนี้จะสอนเนื้อหาทุกบททั้งเทอม 1 และเทอม 2 สอนสนุก เข้าใจง่าย (ใครพื้นฐานไม่ดีก็เรียนได้สบายมากก > <) พร้อมพาตะลุยโจทย์และมีแบบฝึกหัดให้แบบจัดเต็ม ไต่ระดับตั้งแต่แนวซ้อมมือ ข้อสอบในโรงเรียน แนวข้อสอบเข้าม.4 และข้อสอบแข่งขัน ถ้าใครสนใจดู
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก เลย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.ต้น ม.1 ม.2 ม.3
คณิตศาสตร์ ม.ต้น (ม.1 ม.2 ม.3) หลักสูตรใหม่ สสวท. เรียนอะไรบ้าง?
สรุปเนื้อหาเส้นขนาน ม.2 พร้อมโจทย์และวิธีทำ
สรุปเนื้อหา เส้นขนาน ม.2 พร้อมแจกโจทย์ให้ฝึกทำ
สรุปเนื้อหา การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ม.2
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ม.2 สรุปเนื้อหาและสูตรครบ
แยกตัวประกอบพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสอง ม.3
สรุป แยกตัวประกอบพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสอง ม.3 พร้อมโจทย์+เฉลย
สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ม.3
สรุป สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ม.3 พร้อมแจกโจทย์ฟรี !!

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro

Tiktok : @pan_smartmathpro

Lemon8 : @pan_smartmathpro

Share