สรุปเนื้อหาเส้นขนาน ม.2 พร้อมโจทย์และวิธีทำ

เส้นขนาน หมายถึง เส้นตรงสองเส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกัน มีระยะห่างระหว่างสองเส้นเท่ากัน และไม่ตัดกัน ซึ่งน้อง ๆ สามารถเจอเส้นขนานในชีวิตจริงได้จากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ถนน, รางรถไฟ, โต๊ะ, เก้าอี้, ประตู, หน้าต่าง และเรื่อง
เส้นขนานก็ยังเป็นเรื่องที่น้อง ๆ ต้องเรียนในคณิต ม.2 ด้วย

ซึ่งบทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกเนื้อหา เส้นขนาน ม.2 ทั้งเรื่องของความหมาย, สมบัติของเส้นขนาน, มุมต่าง ๆ พร้อมพาทำโจทย์ที่เกี่ยวกับเส้นขนาน และท้ายบทความยังมีแจกแบบฝึกหัดฟรีด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านกันเลยยย

 บทนิยาม
                             เส้นตรงสองเส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกัน ขนานกัน ก็ต่อเมื่อ เส้นตรงทั้งสองเส้นนั้นไม่ตัดกัน

นิยามเส้นขนาน ม.2

จากรูป เราจะเห็นว่า \overleftrightarrow{AB} และ \overleftrightarrow{CD} ขนานกัน ซึ่งเราสามารถบอกว่า \overleftrightarrow{AB} ขนานกับ \overleftrightarrow{CD} หรือ \overleftrightarrow{CD} ขนานกับ \overleftrightarrow{AB} ได้เช่นเดียวกัน และเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ \overleftrightarrow{AB} // \overleftrightarrow{CD} หรือ \overleftrightarrow{CD} // \overleftrightarrow{AB}

ระยะห่างระหว่างเส้นขนาน

เราลองสังเกตเส้นตรง 2 เส้นที่ไม่ขนานกัน จะเห็นว่าระยะห่างระหว่างเส้นตรง 2 เส้นนั้นจะไม่เท่ากัน บางช่วงเส้นตรงเข้าใกล้กัน ระยะห่างดูน้อย บางช่วงเส้นตรงไกลกัน ระยะห่างดูมาก แต่ว่าถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกัน แล้วระยะห่างระหว่างเส้นตรงคู่นั้นจะเท่ากันเสมอ

ในทางกลับกัน ถ้าเส้นตรงสองเส้นมีระยะห่างระหว่างเส้นตรงเท่ากันเสมอ แล้วเส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน

มุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเส้นขนาน

เราสามารถตรวจสอบได้ว่าเส้นตรงคู่ใดขนานกันบ้าง นอกจากการใช้บทนิยามของเส้นขนานและระยะห่างระหว่างเส้นตรงสองเส้นว่าคงที่หรือไม่ แล้วยังสามารถตรวจสอบโดยพิจารณาจากขนาดของมุมภายใน (interior angle), มุมแย้ง (alternate angle) หรือมุมภายนอก (exterior angle) 

ซึ่งมุมเหล่านี้เกิดจากเส้นตรงเส้นหนึ่งมาตัดเส้นตรงคู่นั้น เรียกเส้นตรงนั้นว่า เส้นตัดขวาง (transversal) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เส้นตัด เพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจมากขึ้น เราไปทำความรู้จักมุมต่าง ๆ จากรูปต่อไปกันเลยย

มุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเส้นขนาน

จากรูป เราเรียก \overleftrightarrow{AB} ว่า เส้นตัด AB
มุมภายใน ได้แก่ \widehat{3},\widehat{4},\widehat{5},\widehat{6}
มุมภายนอก ได้แก่ \widehat{1},\widehat{2},\widehat{7},\widehat{8}
เรียก \widehat{3} และ \widehat{6} ว่าเป็นมุมแย้งกัน และในทำนองเดียวกันกับคู่มุม \widehat{4} และ \widehat{5}
เรียก \widehat{3} และ \widehat{5} ว่า มุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด และในทำนองเดียวกันกับคู่มุม \widehat{4} และ \widehat{6}
เรียก \widehat{1} และ \widehat{5} ว่า มุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด และในทำนองเดียวกันกับคู่มุม
ต่อไปนี้ \widehat{2} และ \widehat{6} , \widehat{7} และ \widehat{3} , \widehat{8} และ \widehat{4}

สมบัติของเส้นขนาน

 เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง เส้นตรงคู่นั้นขนานกัน ก็ต่อเมื่อ ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้น   ตัดรวมกันเท่ากับ 180 องศา

สมบัติของเส้นขนาน

จากรูป ถ้าคู่ \widehat{1} และ \widehat{3} หรือคู่ \widehat{2} และ \widehat{4} รวมกันเท่ากับ 180 องศา แล้วเส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน
ในทางกลับกัน ถ้าเส้นตรงคู่นี้ขนานกัน แล้วคู่ \widehat{1} และ \widehat{3} หรือคู่ \widehat{2} และ \widehat{4} จะรวมกันเท่ากับ 180 องศาด้วย

เส้นขนานกับมุมแย้ง

 ทฤษฎีบท
 เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง เส้นตรงคู่นั้นขนานกัน ก็ต่อเมื่อ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน

ตัวอย่างที่ 1 จงพิจารณาว่า \overleftrightarrow{AB} กับ \overleftrightarrow{CD} ขนานกันหรือไม่

ตัวอย่างโจทย์เรื่องเส้นขนานกับมุมแย้ง

วิธีทำ จากรูป B\widehat{X}Y=92^{\circ} และ X\widehat{Y}C=90^{\circ}
ซึ่ง B\widehat{X}Y และ X\widehat{Y}C เป็นมุมแย้งกัน แต่ขนาดของทั้งสองมุมไม่เท่ากัน
ดังนั้น \overleftrightarrow{AB} กับ \overleftrightarrow{CD} ไม่ขนานกัน

ตัวอย่างที่ 2 จากรูป กำหนดให้ \overleftrightarrow{AB} // \overleftrightarrow{CD} จงหาค่าของ a

ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่องเส้นขนานกับมุมแย้ง

วิธีทำ จาก \overleftrightarrow{AB} // \overleftrightarrow{CD}
จะได้ A\hat{X}Y และ X\hat{Y}D เป็นมุมแย้งกัน แสดงว่ามีขนาดเท่ากัน

จาก \overleftrightarrow{XY} จะได้ว่า 123^{\circ}+A\hat{X}Y=180^{\circ}
นั่นคือ A\hat{X}Y=57^{\circ}
A\hat{X}Y = X\hat{Y}D =57^{\circ}
ดังนั้น a=57

เส้นขนานกับมุมภายในและมุมภายนอก

 ทฤษฎีบท
 เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง เส้นตรงคู่นั้นขนานกัน ก็ต่อเมื่อ มุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้าง   เดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน

ตัวอย่างที่ 3 จงพิจารณาว่า \overleftrightarrow{AB} กับ \overleftrightarrow{CD} ขนานกันหรือไม่

ตัวอย่างโจทย์เรื่องเส้นขนานกับมุมภายในและมุมภายนอก

วิธีทำ จาก \overleftrightarrow{CD} จะได้ว่า C\widehat{Y}X+102^{\circ}=180^{\circ}
นั่นคือ C\widehat{Y}X=78^{\circ}
จะสังเกตได้ว่า มุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน
ดังนั้น \overleftrightarrow{AB} กับ \overleftrightarrow{CD} ขนานกัน

ตัวอย่างที่ 4 จากรูป กำหนดให้ \overleftrightarrow{AB} // \overleftrightarrow{CD} จงหาค่าของ a

ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่องเส้นขนานกับมุมภายในและมุมภายนอก

วิธีทำ จาก \overleftrightarrow{AB} // \overleftrightarrow{CD}
จะได้มุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน
นั่นคือ X\widehat{Y}D=2a^{\circ}
จากมุมตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน และ X\widehat{Y}D อยู่ตรงข้ามกับมุม 70^{\circ}
นั่นคือ X\widehat{Y}D =70^{\circ}
จะได้ว่า 2a^{\circ}=70^{\circ}
ดังนั้น a=35

เส้นขนานกับรูปสามเหล่ียม

 ทฤษฎีบท
 ถ้าต่อด้านใดด้านหนึ่งของรูปสามเหล่ียมออกไป แล้วมุมภายนอกที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเท่ากับผลบวกของขนาดมุมภายในที่   ไม่ใช่มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น

ตัวอย่างที่ 5 จากรูป จงหาค่าของ a

ตัวอย่างโจทย์เรื่องเส้นขนานกับรูปสามเหลี่ยม

วิธีทำ จากรูป จะเห็นว่ารูปสามเหล่ียม ABC ถูกต่อ \overleftrightarrow{CD} ออกไป
นั่นคือ B\widehat{C}D=B\widehat{A}C+C\widehat{B}A
จะได้ว่า 130^{\circ}=80^{\circ}+a^{\circ}
ดังนั้น a=50

ตัวอย่างที่ 6 จากรูป กำหนดให้ \overleftrightarrow{EF} // \overleftrightarrow{CD} จงหาค่าของ a

ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่องเส้นขนานกับรูปสามเหลี่ยม

วิธีทำ จาก \overleftrightarrow{EF} // \overleftrightarrow{CD}
จะได้ว่า F\widehat{E}C=E\widehat{C}A เพราะเป็นมุมแย้งกัน
จะเห็นว่ารูปสามเหล่ียม ABC ถูกต่อ \overleftrightarrow{CE} ออกไป
นั่นคือ E\widehat{C}A=C\widehat{A}B+A\widehat{B}C
จะได้ว่า 85^{\circ}=a^{\circ}+50^{\circ}
ดังนั้น a=35

เนื้อหาของเส้นขนาน ม.2 ก็มีประมาณนี้น้าา จะเห็นว่าเรื่องนี้ไม่มีสูตรอะไรที่ให้น้อง ๆ จำเลย แต่ต้องอาศัยการเข้าใจทฤษฎีของเส้นขนาน, สมบัติและมุมต่าง ๆ ให้แม่นเป็นหลัก นอกจากนี้พี่แนะนำให้ฝึกจากการทำโจทย์ / แบบฝึกหัดเรื่องเส้นขนาน กันเยอะ ๆ เลย จะยิ่งทำให้น้อง ๆ คล่องมือกับโจทย์เรื่องนี้มากขึ้นนั่นเองง

สำหรับน้อง ๆ ม.2 ที่ต้องการเก็บเกรดวิชาคณิตศาสตร์ให้ปัง ๆ แต่เคยลองทบทวนเนื้อหาด้วยตัวเองแล้ว ยังเจอจุดที่ไม่เข้าใจและอยากให้มีคนช่วยไกด์

พี่ขอแนะนำตัวช่วยอย่าง คอร์สคณิต ม.2 สอนโดยพี่ปั้น SmartMathPro ให้เลยย โดยแพ็กนี้จะสอนเนื้อหาทุกบททั้งเทอม 1 และเทอม 2 สอนสนุก เข้าใจง่าย (ใครพื้นฐานไม่ดีก็เรียนได้สบายมากก > <) พร้อมพาตะลุยโจทย์และมีแบบฝึกหัดให้แบบจัดเต็ม ไต่ระดับตั้งแต่แนวซ้อมมือ ข้อสอบในโรงเรียน แนวข้อสอบเข้าม.4 และข้อสอบแข่งขัน ถ้าใครสนใจดู
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก เลย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.ต้น ม.1 ม.2 ม.3
คณิตศาสตร์ ม.ต้น (ม.1 ม.2 ม.3) หลักสูตรใหม่ สสวท. เรียนอะไรบ้าง?
คณิตศาสตร์ ม.3
คณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1, เทอม 2 เรียนอะไรบ้าง ? อัปเดตตาม สสวท.
สรุปพื้นฐาน ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
ปรับพื้นฐาน ทฤษฎีบทพีทาโกรัส เตรียมสอบคณิต ม.ปลายแบบเข้าใจง่าย
สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์เรื่องเลขยกกำลัง
เลขยกกำลัง คืออะไร? สรุปเนื้อหาพร้อมแจกตารางเลขยกกำลังที่ควรรู้

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro

Tiktok : @pan_smartmathpro

Lemon8 : @pan_smartmathpro

Share