สรุปเนื้อหาการแปลงทางเรขาคณิต ม.2 พร้อมโจทย์และเฉลยฟรี

การแปลงทางเรขาคณิตเป็นเนื้อหาที่น้อง ๆ ส่วนใหญ่จะได้เจอใน ม.2 เทอม 1 ซึ่งน้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับรูปที่เกิดจากการเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุน 

โดยในบทความนี้ พี่จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักการแปลงทางเรขาคณิตให้มากยิ่งขึ้น ทั้งเรื่องความหมาย, สมบัติ, ตัวอย่างโจทย์ และแบบฝึกหัดให้น้อง ๆ ได้ลองทำกัน ถ้าใครพร้อมแล้ว ก็ไปลุยกันเลยย

การแปลงในทางคณิตศาสตร์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของวัตถุโดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงขนาด รูปร่าง หรือตำแหน่งของวัตถุ โดยการแปลงที่น้อง ๆ เคยเห็นในชีวิตประจำวันมีเยอะเลย เช่น การยืนบนบันไดเลื่อน ซึ่งตัวเราจะขยับเลื่อนขึ้นหรือลงไปตามบันได การมองภาพสะท้อนของตัวเองในกระจกเงา การหมุนของเข็มนาฬิกา 

หัวใจของการแปลงที่น้อง ๆ ควรรู้ คือจุดทุกจุดของรูปในตำแหน่งเดิม (หรือขนาดเดิม) จะต้องส่งไปยังรูปที่ตำแหน่งใหม่ (หรือขนาดใหม่) แบบจุดต่อจุด โดยในทางเรขาคณิตก็มีการแปลงที่กล่าวถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างรูปเรขาคณิตเช่นกัน

โดยเราจะเรียกรูปเรขาคณิตก่อนการแปลงว่า รูปต้นแบบ (Pre – image) เรียกรูปเรขาคณิตหลังการแปลงว่า รูปที่ได้จากการแปลง (Image) และเรียกการเปลี่ยนแปลงนั้นว่า การแปลงทางเรขาคณิต (Geometric transformation) 

ซึ่งในบทนี้ จะพูดถึงการแปลงทางเรขาคณิตเพียง 3 แบบ คือ การเลื่อนขนาน (Translation), การสะท้อน (Reflection) และการหมุน (Rotation) เท่านั้น โดยการแปลงทั้ง 3 แบบนี้จะทำให้รูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการแปลงมีรูปร่างที่เหมือนกันและมีขนาดที่เท่ากันเสมอนั่นเอง

การเลื่อนขนาน

การเลื่อนขนาน คืออะไร ?

การเลื่อนขนานบนระนาบ เป็นการแปลงทางเรขาคณิตที่มีการเลื่อนจุดทุกจุดไปบนระนาบตามแนวเส้นตรงในทิศทาง
เดียวกัน และเป็นระยะทางเท่ากันตามที่กำหนด

การเลื่อนขนาน คืออะไร ?

สมบัติของการเลื่อนขนาน

  • รูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการเลื่อนขนานสามารถทับกันได้สนิทโดยไม่ต้องพลิกรูป ซึ่งกล่าวได้ว่า รูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการเลื่อนขนานเท่ากันทุกประการ
  • ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดที่สมนัยกันแต่ละคู่ จะขนานกันและยาวเท่ากันทุกเส้น
  • ส่วนของเส้นตรงบนรูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการเลื่อนขนานส่วนของเส้นตรงนั้น จะขนานกันและยาวเท่ากัน

ตัวอย่างที่ 1 จงหาจุดยอดของ \bigtriangleup A^{\prime}B^{\prime}C^{\prime} ซึ่งเป็นรูปที่ได้จากการเลื่อนขนาน \bigtriangleup ABC ด้วย \overrightarrow{PQ} ที่กำหนด

ตัวอย่างโจทย์การเลื่อนขนาน

วิธีทำ ภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานมีลักษณะดังนี้

เฉลยโจทย์การเลื่อนขนาน

การสะท้อน

การสะท้อน คืออะไร ?

การสะท้อนบนระนาบ เป็นการแปลงทางเรขาคณิตที่มีการพลิกรูป โดยจะมีเส้นตรงเส้นหนึ่งเป็น เส้นสะท้อน 
(Line of reflection หรือ Mirror line) 

การสะท้อน คืออะไร ?

สมบัติของการสะท้อน

  • รูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการสะท้อน สามารถทับกันได้สนิทโดยต้องพลิกรูปต้นแบบหรือพลิกรูปที่ได้จากการสะท้อนอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งกล่าวได้ว่า รูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการสะท้อนเท่ากันทุกประการ
  • จุดที่สมนัยกันแต่ละคู่จะอยู่ห่างจากเส้นสะท้อนเท่ากัน หรือเส้นสะท้อนจะแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับส่วนของ
    เส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดที่สมนัยกันบนรูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการสะท้อน
  • ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดที่สมนัยกันบนรูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการสะท้อนทุกเส้นจะขนานกัน

ตัวอย่างที่ 2  จงหาจุดยอดของ \bigtriangleup A^{\prime}B^{\prime}C^{\prime} ซึ่งเป็นรูปที่ได้จากการสะท้อน \bigtriangleup ABC ด้วยแกน X

ตัวอย่างโจทย์การสะท้อน โดยมีแกน X เป็นแกนสะท้อน

วิธีทำ ภาพที่ได้จากการสะท้อนมีลักษณะดังนี้

เฉลยโจทย์การสะท้อน โดยมีแกน X เป็นแกนสะท้อน

ตัวอย่างที่ 3  จงหาจุดยอดของ \bigtriangleup A^{\prime}B^{\prime}C^{\prime} ซึ่งเป็นรูปที่ได้จากการสะท้อน \bigtriangleup ABC ด้วยแกน Y 

โจทย์การสะท้อน โดยมีแกน Y เป็นแกนสะท้อน

วิธีทำ ภาพที่ได้จากการสะท้อนมีลักษณะดังนี้

เฉลยโจทย์การสะท้อน โดยมีแกน Y เป็นแกนสะท้อน

การหมุน

การหมุน คืออะไร ?

การหมุนบนระนาบ คือการแปลงทางเรขาคณิตที่มีจุด O  เป็นจุดตรึง แล้วหมุนจุด P ไปบนระนาบ โดยจุด P^{\prime} เป็นรูปที่ได้จากการหมุนจุด P รอบจุด O ตามทิศทางที่กำหนด และจะเรียกจุด O ว่า จุดหมุน หรือ จุดศูนย์กลางของ
การหมุน (Centre of rotation) 

การหมุน คืออะไร ?

สมบัติของการหมุน

  • รูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการหมุน สามารถทับกันได้สนิทโดยไม่ต้องพลิกรูป ซึ่งกล่าวได้ว่ารูปต้นแบบและ
    รูปที่ได้จากการหมุนเท่ากันทุกประการ
  • จุดแต่ละจุดบนรูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการหมุนจุดนั้น จะอยู่บนวงกลมเดียวกันที่มีจุดหมุนเป็น
    จุดศูนย์กลางของวงกลม แต่วงกลมทั้งหลายไม่จำเป็นต้องมีรัศมียาวเท่ากัน
  • เส้นตรงที่แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดบนรูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการหมุน
    จุดนั้น จะผ่านจุดหมุนเสมอ

ตัวอย่างที่ 4 จงหาพิกัดของจุด P^{\prime} ซึ่งเป็นจุดที่ได้จากการหมุนจุด P โดยมีจุด (0, 0) เป็นจุดหมุน โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกาด้วยมุม 90^\circ

โจทย์การหมุน

วิธีทำ จะได้ภาพที่ได้จากการหมุนมีลักษณะดังนี้

เฉลยโจทย์การหมุน

สรุปสูตรการแปลงทางเรขาคณิต

สรุปสูตรการแปลงทางเรขาคณิต

แบบฝึกหัดการแปลงทางเรขาคณิต

ตัวอย่างที่ 5  กำหนดให้ A^{\prime} คือจุดที่ได้จากการเลื่อนขนานจุด A(0, 4) ด้วย \overrightarrow{PQ} โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  1. P(0, 0)   และ Q(-2, 0)
  2. P(0, 0)   และ Q(0, 3)
เฉลย

ข้อ 1 ตอบ A^{\prime}(-2, 4)

ข้อ 2 ตอบ A^{\prime}(0, 7)

ตัวอย่างที่ 6 กำหนดให้จุด A^{\prime} คือจุดที่ได้จากการสะท้อนจุด A(-1, 3) ด้วยเส้นสะท้อนที่กำหนดให้ต่อไปนี้

  1. แกน X
  2. แกน Y
  3. y=x
  4. y=-x
เฉลย

ข้อ 1 ตอบ A'(-1, -3)
ข้อ 2 ตอบ A^{\prime}(1, 3)
ข้อ 3 ตอบ A^{\prime}(3, -1)
ข้อ 4 ตอบ A^{\prime}(-3, 1)

ตัวอย่างที่ 7 กำหนดให้ A^{\prime}  คือจุดที่ได้จากการหมุนจุด A(3, 2)   โดยมีจุด (0, 0) เป็นจุดหมุน และมีเงื่อนไขในการหมุนดังนี้

  1. ตามเข็มนาฬิกาด้วยมุม 90^\circ 
  2. ทวนเข็มนาฬิกาด้วยมุม 90^\circ
  3. ตามเข็มนาฬิกาด้วยมุม 180^\circ
  4. ทวนเข็มนาฬิกาด้วยมุม 180^\circ
เฉลย

ข้อ 1 ตอบ A^{\prime}(2, -3)
ข้อ 2 ตอบ A^{\prime}(-2, 3)  
ข้อ 3 ตอบ A^{\prime}(-3, -2)
ข้อ 4 ตอบ A^{\prime}(-3, -2)

อ่านกันมาจนถึงตรงนี้ พี่คิดว่าน้อง ๆ น่าจะเข้าใจเรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ม.2 กันมากขึ้นแล้ว โดยพี่แนะนำให้ฝึกทำโจทย์เรื่องนี้บ่อย ๆ เพราะจะช่วยให้แม่นยำในเนื้อหามากขึ้น ซึ่งนอกจากแบบฝึกหัดในบทความนี้แล้ว พี่ยังมีแบบฝึกหัดให้ลองทำเพิ่มเติมด้วยน้าา >> แบบฝึกหัดการแปลงทางเรขาคณิต ม.2  

สำหรับน้อง ๆ ม.2 ที่ต้องการเก็บเกรดวิชาคณิตศาสตร์ให้ปัง ๆ แต่เคยลองทบทวนเนื้อหาด้วยตัวเองแล้ว ยังเจอจุดที่ไม่เข้าใจและอยากให้มีคนช่วยไกด์

พี่ขอแนะนำตัวช่วยอย่าง คอร์สคณิต ม.2 สอนโดยพี่ปั้น SmartMathPro ให้เลยย โดยแพ็กนี้จะสอนเนื้อหาทุกบททั้งเทอม 1 และเทอม 2 สอนสนุก เข้าใจง่าย (ใครพื้นฐานไม่ดีก็เรียนได้สบายมากก > <) พร้อมพาตะลุยโจทย์และมีแบบฝึกหัดให้แบบจัดเต็ม ไต่ระดับตั้งแต่แนวซ้อมมือ ข้อสอบในโรงเรียน แนวข้อสอบเข้าม.4 และข้อสอบแข่งขัน ถ้าใครสนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก เลย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.ต้น ม.1 ม.2 ม.3
คณิตศาสตร์ ม.ต้น (ม.1 ม.2 ม.3) หลักสูตรใหม่ สสวท. เรียนอะไรบ้าง?
สรุปเนื้อหาเส้นขนาน ม.2 พร้อมโจทย์และวิธีทำ
สรุปเนื้อหา เส้นขนาน ม.2 พร้อมแจกโจทย์ให้ฝึกทำ
สรุปเนื้อหา การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ม.2
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ม.2 สรุปเนื้อหาและสูตรครบ
สรุปเนื้อหาคณิตทฤษฎีบทพีทาโกรัส ม.2
สรุปเนื้อหา ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ม.2 พร้อมแจกโจทย์และเฉลยให้ฝึกทำ
สมบัติของเลขยกกำลัง ม.2 สรุปพร้อมโจทย์
สมบัติของเลขยกกำลัง ม.2 สรุปเนื้อหาพร้อมโจทย์และเฉลย
ทำไมต้องติวคณิตศาสตร์ กับ SmartMathPro
ติวคณิตศาสตร์กับ พี่ปั้น SmartMathPro ดียังไง มาดู !!

พี่พลอย ทีมวิชาการคณิตศาสตร์ SmartMathPro
ป.ตรี คณะครุศาสตร์ สาขามัธยมศึกษา จุฬาฯ
นักวิชาการที่ศึกษาคณิตศาสตร์ด้วยใจรักและชอบฟังเพลงน้ำตาจระเข้
อยากแบ่งปันความรู้ทางคณิตศาสตร์ให้น้อง ๆ ผ่านบทความนี้

พี่พลอย ทีมวิชาการคณิตศาสตร์ SmartMathPro
ป.ตรี คณะครุศาสตร์ สาขามัธยมศึกษา จุฬาฯ
นักวิชาการที่ศึกษาคณิตศาสตร์ด้วยใจรักและชอบฟังเพลงน้ำตาจระเข้ อยากแบ่งปันความรู้ทางคณิตศาสตร์ให้น้อง ๆ ผ่านบทความนี้

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro

Tiktok : @pan_smartmathpro

Lemon8 : @pan_smartmathpro

Share