สรุปเนื้อหาฟิสิกส์เรื่องคลื่น ม.5

วันนี้พี่มีสรุปเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ ม.5 เรื่อง “คลื่น” มาให้น้อง ๆ ได้อ่านกันด้วยน้าา โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงความหมาย, ประเภท, ส่วนประกอบ, อัตราเร็วของคลื่น, พฤติกรรมของคลื่น เป็นต้น พร้อมแจกแบบฝึกหัดและเฉลยให้ไป
ลองทำท้ายบทความอีกด้วยย

คลื่น (Wave) คือ การถ่ายทอดพลังงานจากแหล่งกำเนิดไปยังบริเวณรอบ ๆ ผ่านการสั่นหรือการรบกวนของตัวกลาง โดยที่อนุภาคของตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่ตามคลื่น แต่จะสั่นอยู่กับที่ และส่งต่อพลังงานไปยังอนุภาคข้างเคียง ทำให้เกิด
การเคลื่อนที่ของคลื่นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง

คลื่นมีกี่ประเภท ?

คลื่นสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

  • แบ่งตามการอาศัยตัวกลางในการแผ่ของคลื่น
    • คลื่นกล (Mechanical Wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลางซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ก็ได้ เช่น คลื่นน้ำ, คลื่นในเส้นเชือก, คลื่นเสียง
    • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) เป็นคลื่นที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ มี 7 ชนิด คือ คลื่นวิทยุ, คลื่นไมโครเวฟ, รังสีอินฟราเรด, แสง, รังสีอัลตราไวโอเลต, รังสีเอกซ์, รังสีแกมมา
การแบ่งคลื่นตามการอาศัยตัวกลางในการแผ่
  • แบ่งตามทิศการสั่นของแหล่งกำเนิดหรืออนุภาค
    • คลื่นตามขวาง (Transverse Wave) เป็นคลื่นที่มีทิศการสั่นของตัวกลางอยู่ในแนวตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นผิวน้ำ, คลื่นในเส้นเชือก, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิด
    • คลื่นตามยาว (Longitudinal Wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ตามหรือขนานกับทิศ
      การเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นเสียง, คลื่นที่เกิดจากการอัดและขยายตัวในขดลวดสปริง
  • แบ่งตามช่วงเวลาที่รบกวนตัวกลาง
    • คลื่นดล (Pulse Wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากการรบกวนตัวกลางเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ทำให้เกิดคลื่นแผ่ออกไปจำนวนน้อยเพียง 1 หรือ 2 ลูกคลื่น เช่น การสะบัดปลายเชือกเพียงครั้งเดียว, การดีดสายกีตาร์
      เพียงครั้งเดียว
    • คลื่นต่อเนื่อง (Continuous Wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากเกิดจากการรบกวนตัวกลางอย่างต่อเนื่อง เกิดคลื่นแผ่ไปเป็นขบวนอย่างต่อเนื่อง เช่น การสะบัดปลายเชือกขึ้นลงสม่ำเสมอ, การดีดสายกีตาร์อย่างต่อเนื่อง
การแบ่งคลื่นตามช่วงเวลาที่รบกวนตัวกลาง

ตัวอย่างโจทย์เกี่ยวกับประเภทของคลื่น

คลื่นใดต่อไปนี้ เป็นคลื่นที่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่
ก. คลื่นแสง ข. คลื่นเสียง ค. คลื่นผิวน้ำ
ข้อใดถูกต้อง

  1. ทั้ง ก ข และ ค
  2. ข้อ ข และ ค
  3. ข้อ ก เท่านั้น
  4. ผิดทุกข้อ
อธิบายเฉลยโจทย์เกี่ยวกับประเภทของคลื่น

ตอบ ตัวเลือก 2. ข้อ ข และ ค

วิธีทำ
วิเคราะห์ข้อ ก ข และ ค
คลื่นแสง \to เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกลาง
คลื่นเสียง \to เป็นคลื่นกล ต้องอาศัยตัวกลาง (อากาศ น้ำ ของแข็ง)
คลื่นผิวน้ำ \to เป็นคลื่นกล ต้องอาศัยตัวกลาง (น้ำ)

ส่วนประกอบของคลื่น

การทำความเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานของคลื่นจะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติและการทำงานของคลื่นได้ดียิ่งขึ้น

  • สันคลื่นและท้องคลื่น (Crest and Trough)
    • สันคลื่น คือ จุดที่คลื่นยกตัวขึ้นสูงสุด
    • ท้องคลื่น คือ จุดที่คลื่นยุบตัวลงต่ำสุด
  • ความยาวคลื่น (Wavelength : \lambda)
    ความยาวคลื่น คือ ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบพอดี ซึ่งเท่ากับระยะห่างระหว่างสันคลื่นที่อยู่ติดกัน
    สองสัน หรือท้องคลื่นที่อยู่ติดกันสองท้อง 
  • แอมพลิจูด (Amplitude : A)
    แอมพลิจูด คือ ขนาดของการกระจัดสูงสุดของอนุภาคตัวกลางจากตำแหน่งสมดุล ซึ่งเท่ากับระยะของคลื่นที่วัดจากแนวสมดุลไปถึงสันคลื่นหรือท้องคลื่น
  • ความถี่ (Frequency : f)
    ความถี่ คือ จำนวนรอบของคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งในหนึ่งหน่วยเวลา
  • คาบ (Period : T)
    คาบ คือ ช่วงเวลาที่คลื่นใช้ในการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบพอดี คาบเป็นส่วนกลับของความถี่ โดยมีความสัมพันธ์กันดังนี้
    สูตรความสัมพันธ์ระหว่างคาบและความถี่

    T=\frac{1}{f}

    โดยที่
    T คือ คาบ มีหน่วยเป็นวินาที (s)
    f คือ ความถี่ มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ (Hz)หรือ รอบต่อวินาที(s^{-1})

  • เฟส (Phase)
    เฟส คือ ตำแหน่งหรือสถานะของคลื่น ณ ขณะใดขณะหนึ่ง โดยปกติเราจะอ้างอิงเฟสเป็นมุมในวงกลมหนึ่งรอบ
    ( 0ถึง 360 องศา หรือ 0 ถึง 2\pi เรเดียน) จุดที่มีเฟสเดียวกันจะเคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกันและมีขนาดการกระจัด
    เท่ากัน เช่น สันคลื่นทุกจุดมีเฟสเดียวกัน และท้องคลื่นทุกจุดก็มีเฟสเดียวกัน
    • เฟสตรงกัน
      เฟสตรงกัน คือ จุด 2 จุด บนคลื่นที่มีการกระจัดเท่ากัน และลักษณะการสั่นไปทางเดียวกัน ซึ่งมีเฟสที่เท่ากันหรือต่างกันเป็นจำนวนเต็มของรอบ (เช่น 0, 1, 2, 3… รอบ) เช่น จากภาพ จุด A และจุด I มีเฟสตรงกัน 
    • เฟสตรงข้ามกัน
      เฟสตรงข้ามกัน คือ จุด 2 จุด บนคลื่นที่มีการกระจัดเท่ากัน แต่มีตำแหน่งและทิศทางการสั่นตรงข้ามกัน ซึ่งมีเฟสที่ต่างกันครึ่งรอบ (เช่น 180 องศา หรือ \pi เรเดียน) เช่น จากภาพ จุด C และ จุด G มีเฟสตรงข้ามกัน
    • ความต่างเฟส
      ความต่างเฟส คือ ผลต่างของเฟสระหว่างสองจุดบนคลื่นเดียวกัน หรือระหว่างคลื่นสองคลื่น ณ ขณะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ตารางสูตรความต่างเฟส
  • หน้าคลื่นและรังสี

    หน้าคลื่น
    คือ เส้นที่ลากตามแนวสันคลื่นหรือตามแนวท้องคลื่น (ระยะห่างระหว่างหน้าคลื่นจึงเท่ากับความยาวคลื่น) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
    • หน้าคลื่นเส้นตรง มีลักษณะเป็นระนาบแบน เกิดจากแหล่งกำเนิดที่เป็นสันยาว
    • หน้าคลื่นวงกลม มีลักษณะเป็นรูปวงกลม เกิดจากแหล่งกำเนิดแบบจุด

          รังสีคลื่น คือ สัญลักษณ์ที่ใช้แสดงทิศการ เคลื่อนที่ของคลื่น ซึ่งมีทิศตั้งฉากกับหน้าคลื่น

ตัวอย่างโจทย์เกี่ยวกับส่วนประกอบของคลื่น

คลื่นลูกหนึ่งมีความยาวคลื่น 4 เมตร และมีความถี่ 10 เฮิรตซ์ จงหาความต่างเฟสระหว่างจุดสองจุดบนคลื่นนี้ที่อยู่ห่างกัน 2.5 เมตร

อธิบายเฉลยโจทย์เกี่ยวกับส่วนประกอบของคลื่น

ตอบ ความต่างเฟสระหว่างจุดสองจุด มีค่าเท่ากับ \frac{5\pi}{4} เรเดียน

วิธีทำ

หาความต่างเฟส
\Delta \phi =\frac{2\pi\Delta x}{\lambda}

\Delta \phi =\frac{2\pi(2.5)}{4}

\Delta \phi =\frac{5\pi}{4} เรเดียน

อัตราเร็วคลื่น

อัตราเร็วคลื่น (wave speed) คือ ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที (m/s)

การเคลื่อนที่ของคลื่น

สูตรอัตราเร็วคลื่น

v=\frac{s}{t}=\frac{\lambda}{T}=f\lambda

โดยที่
v คือ อัตราเร็วคลื่น มีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที (m/s)
f คือ ความถี่ มีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz)หรือ รอบต่อวินาที (s^{-1})
\lambda คือ ความยาวคลื่น มีหน่วยเป็น เมตร (m)

ตัวอย่างโจทย์เกี่ยวกับอัตราเร็วคลื่น

คลื่นเสียงความถี่ 500 เฮิรตซ์ เคลื่อนที่ในอากาศด้วยความยาวคลื่น 0.68 เมตร
อยากทราบว่าอัตราเร็วของคลื่นเสียงในอากาศ ณ ขณะนั้นมีค่าเท่าใด

อธิบายเฉลยโจทย์เกี่ยวกับอัตราเร็วคลื่น

ตอบ อัตราเร็วของคลื่นเสียงในอากาศ ณ ขณะนั้นมีค่าเท่ากับ 340 เมตรต่อวินาที

วิธีทำ
หาอัตราเร็วคลื่น
v=f\lambda

v=500(0.68)

v=340 เมตรต่อวินาที

อัตราเร็วของคลื่นในตัวกลาง

เมื่อคลื่นเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง ความถี่ (f) ของคลื่นจะคงที่เสมอ เพราะความถี่ถูกกำหนดโดยแหล่งกำเนิดคลื่น แต่อัตราเร็วคลื่น (v) และความยาวคลื่น (\lambda) จะเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของตัวกลางใหม่

อัตราเร็วคลื่นในเส้นเชือก

สูตรอัตราเร็วคลื่นในเส้นเชือก

v=\sqrt{\frac{T}{\mu }}

โดยที่

v คือ อัตราเร็วคลื่นในเส้นเชือก มีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที (m/s)
T คือ แรงตึงในเส้นเชือก มีหน่วยเป็น นิวตัน (N)
\mu คือ มวลต่อความยาว มีหน่วยเป็น กิโลกรัมต่อเมตร (kg/m)

อัตราเร็วคลื่นในคลื่นผิวน้ำ
สูตรอัตราเร็วคลื่นในคลื่นผิวน้ำ

v=\sqrt{gh}

โดยที่

v คือ อัตราเร็วคลื่นในคลื่นผิวน้ำ มีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที (m/s) 
g คือ ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง มีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาทีกำลังสอง (m/s^{2})
h คือ ความลึกของน้ำ มีหน่วยเป็น เมตร (m)
**สูตรนี้ใช้ได้ในกรณี h ไม่ลึกมาก

ตัวอย่างโจทย์เกี่ยวกับอัตราเร็วของคลื่นในตัวกลาง

สระน้ำตื้นแห่งหนึ่งมีความลึก 0.2 เมตร จงหาอัตราเร็วคลื่นที่ผิวน้ำเคลื่อนที่ในสระนี้ (กำหนดให้ g=9.8  m/s^{2})

อธิบายเฉลยโจทย์เกี่ยวกับอัตราเร็วของคลื่นในตัวกลาง

ตอบ อัตราเร็วคลื่นผิวน้ำที่เคลื่อนที่ในสระนี้มีค่าเท่ากับ 1.4 เมตรต่อวินาที

วิธีทำ
หาอัตราเร็วคลื่นผิวน้ำ

v=\sqrt{gh}

v=\sqrt{(9.8)(0.2)}

v=\sqrt{1.96}

v=1.4เมตรต่อวินาที

พฤติกรรมของคลื่น

พฤติกรรมของคลื่น คือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่คลื่นแสดงออกมาเมื่อเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง หรือพบเจอสิ่งกีดขวาง ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่คลื่นทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นคลื่นกล (เช่น คลื่นน้ำ คลื่นเสียง คลื่นในเส้นเชือก) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุ) จะแสดงออกมาเหมือนกัน มี 4 พฤติกรรมหลัก ๆ ดังนี้

การสะท้อนของคลื่น (Reflection)

การสะท้อนของคลื่น คือ ปรากฏการณ์ที่คลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบกับสิ่งกีดขวางแล้วสะท้อนกลับมาในตัวกลางเดิม เช่น คลื่นน้ำที่กระทบกำแพงแล้วสะท้อนกลับ หรือแสงที่ตกกระทบกระจกแล้วสะท้อนเข้าตาเรา

กฎการสะท้อนของคลื่น

กฎการสะท้อนของคลื่น

  • รังสีตกกระทบ (Incident Ray), รังสีสะท้อน (Reflected Ray) และเส้นแนวฉาก (Normal Line) อยู่ในระนาบเดียวกัน
  • มุมตกกระทบ (Angle of Incidence:\theta _{i}) เท่ากับ มุมสะท้อน (Angle of Reflection:\theta _{r})​ \theta _{i}=\theta _{r}

การสะท้อนของคลื่นในเส้นเชือก

เมื่อคลื่นในเส้นเชือกเดินทางไปชนปลายเชือกจะเกิดการสะท้อนกลับ แบ่งเป็น 2 กรณี

  • ปลายตรึง คลื่นสะท้อน กลับเฟส (เฟสเปลี่ยน 180 องศา)
  • ปลายอิสระ คลื่นสะท้อน ไม่กลับเฟส (เฟสคงเดิม)
ตารางการสะท้อนของคลื่นเชือกปรายตรึงและปรายอิสระ

ตัวอย่างโจทย์เกี่ยวกับการสะท้อนของคลื่น

อธิบายเฉลยโจทย์เกี่ยวกับการสะท้อนของคลื่น

ตอบ ค.

วิธีทำ
ปลายตรึงแน่น
เมื่อคลื่นกระทบปลายตรึงแน่น จะเกิด การกลับเฟส
หมายความว่า ส่วนที่อยู่เหนือแนวสมดุล (สันคลื่น) จะกลายเป็นส่วนที่อยู่ใต้แนวสมดุล (ท้องคลื่น)
และส่วนที่อยู่ใต้แนวสมดุล (ท้องคลื่น) จะกลายเป็นส่วนที่อยู่เหนือแนวสมดุล (สันคลื่น) ดังนั้น ข้อ ก. และ ข. จึงไม่ถูกต้อง

ทิศทางการเคลื่อนที่กลับกัน
คลื่นที่สะท้อนจะวิ่งกลับในทิศทางตรงกันข้ามกับคลื่นตกกระทบ (จากขวาไปซ้าย) ดังนั้น ข้อ ง.
จึงไม่ถูกต้อง

การหักเหของคลื่น (Refraction)

การหักเหของคลื่น คือ ปรากฏการณ์ที่คลื่นเคลื่อนผ่านรอยต่อระหว่างตัวกลาง 2 ชนิด ที่แตกต่างกัน แล้วทำให้อัตราเร็วของคลื่นและความยาวคลื่นเปลี่ยนไป แต่ความถี่ของคลื่นยังคงเดิม โดยคลื่นจะเบนทิศของการเคลื่อนที่ไปจากเดิมหรือไม่ก็ได้

*ความรู้เพิ่มเติม* ในกรณีที่คลื่นตกกระทบโดยหน้าคลื่นตกกระทบขนานกับรอยต่อของตัวกลาง (มุมตกกระทบเท่ากับ 90องศา) คลื่นจะไม่เปลี่ยนทิศทาง

ตัวอย่างโจทย์เกี่ยวกับการหักเหของคลื่น

คลื่นน้ำเคลื่อนที่จากบริเวณน้ำลึกไปยังบริเวณน้ำตื้น ในบริเวณน้ำลึกหน้าคลื่นอยู่ห่างกัน 10 เซนติเมตร ถ้าหน้าคลื่นตกกระทบทำมุมกับรอยต่อ 53 องศา และหน้าคลื่นหักเหกับรอยต่อทำมุม 37 องศา ความยาวคลื่นผิวน้ำในบริเวณน้ำตื้นจะเป็นเท่าใด

อธิบายเฉลยโจทย์เกี่ยวกับการหักเหของคลื่น

ตอบ ความยาวคลื่นน้ำในบริเวณน้ำตื้นเท่ากับ 0.075 เมตร หรือ 7.5 เซนติเมตร

วิธีทำ
กำหนดให้ บริเวณน้ำลึกเป็นตัวกลางที่ 1 และบริเวณน้ำตื้นเป็นตัวกลางที่ 2
ในบริเวณน้ำลึกหน้าคลื่นอยู่ห่างกัน 10 เซนติเมตร หมายถึงความยาวคลื่นเท่ากับ 10 เซนติเมตร

หาความยาวคลื่น
จากกฎของสเนลล์

\frac{sin\theta _{1}}{sin\theta _{2}}=\frac{\lambda _{1}}{\lambda _{2}}

\frac{sin53^{\circ}}{sin37^{\circ}}=\frac{10\times 10^{-2}}{\lambda _{2}}

\frac{\frac{4}{5}}{\frac{3}{5}}=\frac{10^{-1}}{\lambda _{2}}

\lambda _{2}=10^{-1}\times \frac{3}{4}

\lambda_{2}=0.075

มุมวิกฤต (critical angle)

ถ้ามุมตกกระทบทำให้มุมหักเหมีค่าเป็น 90^{\circ} หรือรังสีหักเหอยู่ในแนวรอยต่อระหว่างตัวกลางพอดี เรียกมุมนี้ว่า มุมวิกฤต

ตัวอย่างโจทย์เกี่ยวกับมุมวิกฤต

ในการทดลองโดยใช้ถาดคลื่น พบว่าความเร็วของคลื่นในน้ำลึกเป็น 2 เท่าของความเร็วในน้ำตื้น
ถ้าจะทำให้เกิดการสะท้อนกลับหมด คลื่นจะต้องเริ่มเคลื่อนที่จากบริเวณใด และมีมุมวิกฤตกี่องศา

อธิบายเฉลยโจทย์เกี่ยวกับมุมวิกฤต

ตอบ  การสะท้อนกลับหมดจะเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเริ่มเคลื่อนที่บริเวณน้ำตื้นไปสู่บริเวณน้ำลึก และมีมุมวิกฤต 30องศา

วิธีทำ
การสะท้อนกลับหมดจะเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่บริเวณน้ำตื้นไปสู่บริเวณน้ำลึก (คลื่นเคลื่อนที่ไปสู่ตัวกลางที่มีความเร็วมากขึ้น)
กำหนดให้ บริเวณน้ำตื้นเป็นตัวกลางที่ 1 และบริเวณน้ำลึกเป็นตัวกลางที่ 2
หามุมวิกฤต
จากกฎของสเนลล์

\frac{sin\theta _{c}}{sin90^{\circ}}=\frac{v_{1}}{v_{2}}

sin\theta_{c}=\frac{v_{1}}{2v_{1}}

sin\theta_{c}=\frac{1}{2}

\theta_{c}=30^{\circ}

 

การแทรกสอดของคลื่น (Interference)

การแทรกสอดของคลื่น คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคลื่นตั้งแต่สองขบวนขึ้นไปเคลื่อนที่มาพบกันในตัวกลางเดียวกัน
*ความรู้เพิ่มเติม* แหล่งกำเนิดอาพันธ์ คือ คลื่นที่มีความถี่เท่ากัน และเฟสตรงกัน หรือเฟสต่างกันคงที่

โดยใช้หลักการรวมกันของคลื่น เมื่อมีคลื่นสองขบวนจากแหล่งกำเนิดสองแหล่งมาเจอกัน

\to ตำแหน่งที่เกิดการเสริมกัน (สันคลื่นเจอสันคลื่น หรือ ท้องคลื่นเจอท้องคลื่น)
เรียกว่า ตำแหน่งปฏิบัพ (Antinode)

\to ตำแหน่งที่เกิดการหักล้างกัน (สันคลื่นเจอท้องคลื่น) เรียกว่า ตำแหน่งบัพ (node)

การรวมกันของคลื่น

เมื่อเกิดการแทรกสอดจากแหล่งกำเนิคลื่นอาพันธ์ S_{1} และ S_{2} ที่มีเฟสตรงกัน

  • แนวกึ่งกลางระหว่าง S_{1} และ S_{2} จะเป็นแนวที่มีการแทรกสอดแบบเสริมกัน หรือแนวปฏิบัพA_{0}
  • แล้วจะสลับด้วยแนวบัพ แนวปฏิบัพ ทั้งสองข้างอย่างสมมาตร
  • เส้นที่ลากเชื่อมโยงจุดที่มีการแทรกสอดแบบเสริม เรียก แนวปฏิบัพ A
  • เส้นที่ลากเชื่อมโยงจุดที่มีการแทรกสอดแบบหักล้าง เรียก แนวบัพ N
การแทรกสอดจากแหล่งกำเนิดคลื่นอาพันธ์ที่มีเฟสตรงกัน
สูตรการแทรกสอดจากแหล่งกำเนิดคลื่นอาพันธ์

โดย
P คือ จุดบนเส้นแนวปฏิบัพหรือบัพใด ๆ

S_{1}P คือ ระยะจากแหล่งกำเนิดคลื่น S_{1} ถึงจุด P มีหน่วยเป็น เมตร (m)

S_{2}P คือ ระยะจากแหล่งกำเนิดคลื่น S_{2} ถึงจุด P มีหน่วยเป็น เมตร (m)

d คือ ระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดคลื่น S_{1} และ S_{2} มีหน่วยเป็น เมตร (m)

n คือ เลขของแนวปฏิบัพหรือบัพ

ตัวอย่างโจทย์เกี่ยวกับการแทรกสอด

1. S_{1} และ S_{2} เป็นแหล่งกำเนิดอาพันธ์เฟสตรงกัน จุด P ห่างจาก S_{1} และ S_{2} เป็นระยะ 5 เซนติเมตร และ 7 เซนติเมตร ตามลำดับ ถ้าแหล่งกำเนิดคลื่นทั้งสองมีความความยาวคลื่น 2 เซนติเมตร การแทรกสอดที่จุด P อยู่บนแนวบัพหรือปฏิบัพที่เท่าไร

อธิบายเฉลยโจทย์เกี่ยวกับการแทรกสอด

ตอบ  จุด P อยู่บนแนวปฏิบัพที่ 1

วิธีทำ
แหล่งกำเนิดอาพันธ์เฟสตรงกัน แนวกึ่งกลางระหว่าง S_{1} และ S_{2} จะเป็นแนวที่มีการแทรกสอดแบบเสริมกัน หรือแนวปฏิบัพ A_{0}

หาแนวปฏิบัพ A ที่จุด P
จากสูตร

\left |S_{1}P-S_{2}P\right |=n\lambda
\left |(5\times 10^{-2})-(7\times 10^{-2})\right |=n(2\times 10^{-2})

2\times 10^{-2}=(2\times 10^{-2})n

n=1

2. แหล่งกำเนิดอาพันธ์ 2 แหล่ง ห่างกัน 10 เซนติเมตร ให้คลื่นมีความยาวคลื่น 2.5 เซนติเมตร เฟสตรงข้ามกัน จุด P อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดทั้งสอง เป็นระยะ 12 เซนติเมตร และ 15.75 เซนติเมตร ตำแหน่งต่อไปนี้ อยู่บนแนวบัพหรือปฏิบัพที่เท่าใด

อธิบายเฉลยโจทย์เกี่ยวกับการแทรกสอด

ตอบ จุด P อยู่บนแนวปฏิบัพที่ 2

วิธีทำ

แหล่งกำเนิดอาพันธ์เฟสตรงข้ามกัน แนวกึ่งกลางระหว่าง S_{1} และ S_{2} จะเป็นแนวที่มีการแทรกสอดแบบหักล้างกัน หรือแนวบัพ N_{0}

หาแนวบัพ N ที่จุด  P
จากสูตร

\left |S_{1}P-S_{2}P\right |=n\lambda

\left |12-15.75\right |=n(2.5)
3.75=2.5n
n=1.5
เนื่องจาก ค่า n ไม่เป็นจำนวนเต็ม แสดงว่าจุด P ไม่อยู่บนแนวบัพ N
ดังนั้น สามารถหาแนวปฏิบัพ A ที่จุด P

จากสูตร
\left |S_{1}P-S_{2}P\right |=(n-\frac{1}{2})(\lambda )

\left |12-15.75\right |=(n-\frac{1}{2})(2.5)

1.5=n-\frac{1}{2}

n=2

คลื่นนิ่ง (Standing wave)

คลื่นนิ่งเกิดขึ้นเมื่อมีคลื่นสองขบวน จากแหล่งกำเนิดอาพันธ์สองแหล่ง เดินทางสวนกัน แล้วเกิดการรวมกันโดยเราจะเรียกคลื่นนิ่งเป็น loop

เราเรียกความถี่ของการสั่นที่ทำให้เกิด 1 loop ว่า ความถี่มูลฐาน หรือความถี่ฮาร์มอนิกที่ 1 ถ้าเราเพิ่มความถี่ของ
การสั่นเป็น 2 เท่าของความถี่มูลฐาน จะมี loop การสั่นเพิ่มเป็น 2 loop เรียกความถี่ดังกล่าวว่าความถี่ฮาร์มอนิกที่ 2

ตัวอย่างโจทย์เกี่ยวกับคลื่นนิ่ง

คลื่นในเส้นเชือกเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 1 เมตรต่อวินาที ไปยังอีกด้านหนึ่งที่ถูกยึดแน่นไว้ แล้วสะท้อนกลับเกิดเป็นคลื่นนิ่งดังรูป ถ้าเชือกนี้ยาว 8 เมตร คลื่นจะมีความถี่กี่รอบต่อวินาที

อธิบายเฉลยโจทย์เกี่ยวกับคลื่นนิ่ง

ตอบ คลื่นจะมีความถี่ 0.25 รอบต่อวินาที

วิธีทำ

จากภาพจะเห็นว่าความยาว 8เมตร มีคลื่นนิ่งอยู่ทั้งหมด 4 loop สามารถนับได้ว่าคลื่นนิ่งในเส้นเชือกนี้ประกอบ ด้วย 2 ความยาวคลื่นเต็มพอดี

หาความยาวคลื่น
จากสูตร

L=\frac{4\lambda }{2}

8=\frac{4\lambda }{2}

8=2\lambda

\lambda =4 m

เมื่อทราบความยาวคลื่นในเส้นเชือกจะสามารถ

หาความถี่ของคลื่น
จากสูตร

v=f\lambda

1=f(4)

f=\frac{1}{4}

f=0.25 Hz

การเลี้ยวเบนของคลื่น (Diffraction)

การเลี้ยวเบนของคลื่น คือ ปรากฏการณ์ที่คลื่นสามารถเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวางในตัวกลางเดียวกัน แล้วสามารถเลี้ยวอ้อมผ่านสิ่งกีดขว้างนั้นไปได้

การเลี้ยวเบนอธิบายโดยหลักของฮอยเกนส์ (Huygens’ Principle) ซึ่งกล่าวว่าแต่ละจุดบนหน้าคลื่นถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดคลื่นวงกลมใหม่ ที่มีเฟสและความยาวคลื่นเดียวกันออกไป

หลักการฮอยเกนส์

เมื่อคลื่นเคลื่อนที่มาถึงบริเวณที่มีสิ่งกีดขวาง ตรงจุดที่เป็นขอบของสิ่งกีดขวาง คลื่นจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่
อ้อมขอบของสิ่งกีดขวางไปด้านหลังของสิ่งกีดขวางได้โดยทิศทางของการเคลื่อนที่จะเปลี่ยนไปและแอมพลิจูดของคลื่นที่อ้อมไปนั้นมีค่าน้อยลง แต่ความยาวคลื่นกับความถี่ยังคงเท่าเดิมและสามารถเกิดการแทรดสอดของคลื่นที่ด้านหลัง
สิ่งกีดขวางได้

เก็บเนื้อหา A-Level ฟิสิกส์ให้แม่นกับ SmartMathPro

สำหรับสนามสอบ A-Level ก็จะเป็นอีกสนามที่มีความสำคัญมากเพราะสามารถใช้ยื่นคะแนนได้หลายคณะและเป็นวิชาที่ต้องอาศัยการเตรียมตัวค่อนข้างนาน สำหรับใครที่กลัวเตรียมตัวไม่ทันอยากจะประหยัดเวลาในการเตรียมสอบ

พี่ขอแนะนำคอร์สเรียนพิเศษสนาม A-Level ของ SmartMathPro ที่มีทั้ง A-Level คณิต 1,2 /
A-Level ภาษาอังกฤษ / A-Level ฟิสิกส์ / A-Level ภาษาไทย / A-Level สังคม เลยน้าา

โดยสำหรับใครที่ไม่มีพื้นฐานก็สามารถเรียนได้ เพราะพี่สอนตั้งแต่ปูพื้นฐาน ไปจนถึงพาทำโจทย์ตั้งแต่ระดับง่ายไปจนถึงความยากใกล้เคียงกับข้อสอบจริงเลย แถมมีเทคนิคในการทำข้อสอบอีกเพียบที่จะช่วยให้น้อง ๆ ทำข้อสอบได้เร็วขึ้น > <

และสำหรับใครที่ยังไม่เริ่ม เริ่มติวตอนนี้ก็ยังทันน้าา แอบกระซิบว่าถ้าสมัครคอร์สตั้งแต่ตอนนี้พี่มี Unseen Mock Test ชุดพิเศษ 1 ชุด แถมฟรีไปให้ลองทำพร้อมสิทธิพิเศษประจำเดือนอีกมากมายด้วย ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจคอร์สเตรียมสอบ A-Level สามารถ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดได้เลยย

ข้อสอบเรื่องคลื่นพร้อมเฉลย

ข้อสอบฟิสิกส์เรื่อง คลื่น ม.5 ข้อที่ 1
อธิบายเฉลยข้อสอบเกี่ยวกับคลื่น

ตอบ ตัวเลือก 5. อัตราเร็วของคลื่นจากแหล่งกำเนิดมีค่าเท่ากับ 2\times 10^{3} เมตรต่อวินาที

วิธีทำ

หาความยาวคลื่น
\Delta \phi =\frac{360\Delta x}{\lambda}

270=\frac{360(11-8)}{\lambda}

\lambda =\frac{360(3)(2)}{270}
\lambda =4 m

หาอัตราเร็วของคลื่น
v=f\lambda

v=\frac{\lambda }{T}

v=\frac{4}{2\times 10^{-3}}

v=2\times 10^{3} เมตรต่อวินาที

อธิบายเฉลยข้อสอบเกี่ยวกับคลื่น

ตอบ ตัวเลือก 1.30\sqrt{2}

วิธีทำ

กำหนดให้ บริเวณน้ำลึกเป็นตัวกลางที่ 1 และบริเวณน้ำตื้นเป็นตัวกลางที่ 2 จากกฎของสเนลล์จะได้

\frac{sin\theta _{1}}{sin\theta _{2}}=\frac{v_{1}}{v_{2}}

\frac{sin45^{\circ}}{sin30^{\circ}}=\frac{60}{v_{2}}

\frac{\frac{\sqrt{2}}{2}}{\frac{1}{2}}=\frac{60}{v_{2}}

v_{2}=\frac{60}{\sqrt{2}}

v_{2}=\frac{60}{\sqrt{2}}\times \frac{\sqrt{2}}{\sqrt{2}}

v_{2}=\frac{60\sqrt{2}}{2}

v_{2}=30\sqrt{2}  m/s

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ “สรุปเนื้อหาเรื่อง คลื่น ฟิสิกส์ ม.5” และแนวข้อสอบที่พี่นำมาฝากในวันนี้ แนะนำว่าถ้าใครอยากจะแม่นเนื้อหาเรื่องนี้ นอกจากก็อ่านเนื้อหาแล้ว ก็ควรทบทวนอย่างเป็นประจำและฝึกทำแบบฝึกหัดเยอะ ๆ เพื่อให้เข้าใจ
มากขึ้นด้วยน้าา

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาฟิสิกส์ ม.5 เรื่องแสงเชิงคลื่น
สรุป แสงเชิงคลื่น ฟิสิกส์ ม.5 พร้อมโจทย์และเฉลย
สรุปเนื้อหาฟิสิกส์ ม.5 เสียง
เสียง ฟิสิกส์ ม.5 สรุปเนื้อหา พร้อมสูตรและตัวอย่างโจทย์

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro

Tiktok : @pan_smartmathpro

Lemon8 : @pan_smartmathpro

Share