TPAT1 คืออะไร? พร้อมเทคนิคอ่านหนังสือจากรุ่นพี่

พี่เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนที่อยากเข้าคณะสายหมออาจเคยได้ยินชื่อ TPAT1 หรือ วิชาเฉพาะ กสพท (ความถนัดแพทย์) กันมาบ้างแล้วใช่มั้ย ? แต่ก็อาจจะยังไม่แน่ใจว่าเจ้า TPAT1 มันเป็นยังไง ? ออกสอบอะไรบ้าง ? วันนี้พี่เลยเอาสรุปเกี่ยวกับ TPAT1 หรือ วิชาเฉพาะ กสพท มาฝาก !! แถมยังมีเทคนิคการเตรียมตัวสอบ เทคนิคในการทำข้อสอบ และตัวอย่างตารางอ่านหนังสือ จากรุ่นพี่จาก 4 คณะสายหมอมาฝากอีกด้วย เรียกได้ว่าจัดเต็มให้กับน้อง ๆ ที่อยากเข้าคณะสายนี้ ส่วนเนื้อหาจะมีอะไรบ้าง เรารีบไปดูกันเลยดีกว่าา > <

ข้อสอบ TPAT1 คือ ข้อสอบวิชาเฉพาะ กสพท เป็นการวัดความถนัดทางวิชาชีพแพทย์ สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการสอบเข้า 4 คณะสายหมอ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ โดยข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน นั่นก็คือ

  • ส่วนที่ 1 เชาวน์ปัญญา : คะแนนเต็ม 100 คะแนน
  • ส่วนที่ 2 จริยธรรมทางการแพทย์ : คะแนนเต็ม 100 คะแนน
  • ส่วนที่ 3 ความคิดเชื่อมโยง : คะแนนเต็ม 100 คะแนน

ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้ จะอยู่ในข้อสอบ TPAT1 ที่ใช้สัดส่วนคะแนน 30% ส่วนอีก 70% ที่เหลือ ก็จะเป็นคะแนนของ A-Level

หมายเหตุ : กสพท 67 จะมีสัดส่วนคะแนนที่เปลี่ยนไปจากเดิมนิดหน่อย เพราะมีการตัดคะแนนพาร์ตเชาวน์ปัญญาออกทำให้สัดส่วนคะแนนของ TPAT1 จะเหลือ 20% แต่น้อง ๆ Dek68 ติดตามกันอีกทีน้าา ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมั้ยยย

TPAT1 สอบอะไรบ้าง ?

หลังจากที่ได้รู้ไปแล้วว่า TPAT1 ทั้ง 3 พาร์ตมีอะไรบ้าง เรามาเจาะลึกข้อสอบแต่ละพาร์ตกันดีกว่า ว่าจะเป็นยังไง ? TPAT1 สอบอะไรบ้าง ? และตัวอย่างข้อสอบแต่ละพาร์ตเป็นแบบไหน ? ไปดูพร้อม ๆ กันเลยย !!

TPAT 1 พาร์ตเชาวน์ปัญญา

ข้อสอบพาร์ตเชาวน์ปัญญาเป็นข้อสอบที่วัดความรู้ต่าง ๆ มาวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลในเวลาที่จำกัด โดยเนื้อหาที่นำมาใช้วัด เน้นด้านการคิดคำนวณ ความสามารถทางเหตุผล และความสามารถทางด้านภาษา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนต่อในคณะสายหมอ

ตัวอย่าง ข้อสอบ TPAT 1 พาร์ตเชาวน์ปัญญา

ป๊อปต้องการชงน้ำแดงโซดา ที่มีความเข้มข้น 50% ปริมาณ 480 มิลลิลิตร จากหัวเชื้อน้ำหวานความเข้มข้น 80% และ น้ำเปล่าบริสุทธิ์ ป๊อปต้องใช้น้ำเปล่าบริสุทธิ์ทั้งหมดกี่มิลลิลิตร

  1. 180 มิลลิลิตร
  2. 240 มิลลิลิตร
  3. 260 มิลลิลิตร
  4. 300 มิลลิลิตร
  5. 360 มิลลิลิตร

TPAT1 พาร์ตจริยธรรมทางการแพทย์

ข้อสอบพาร์ตจริยธรรมทางการแพทย์มีเพื่อวัดทัศนคติการทำงานของน้อง ๆ ที่จะสอบเข้าคณะสายหมอ โดยพาร์ตนี้จะวัดจากแนวคิด การจัดลำดับความสำคัญ และการเลือกวิธีปฏิบัติจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดให้ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์สมมติ หรือข่าวในปัจจุบัน

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT1 พาร์ตจริยธรรมทางการแพทย์

ข้อใดเป็นจริยธรรมสำคัญของการคัดเลือกเข้ารับการศึกษาอุดมศึกษาของประเทศไทย (TCAS)

  1. ความซื่อสัตย์
  2. ความโปร่งใส
  3. ความเสมอภาค
  4. ความเท่าเทียม
  5. ความเหลื่อมล้ำ

TPAT1 พาร์ตความคิดเชื่อมโยง

เป็นข้อสอบพาร์ตที่วัดความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ การจับใจความ และการเชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผลของบทความที่อ่านอย่างมีวิจารณญาณ

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT1 พาร์ตความคิดเชื่อมโยง

ช้าง

ช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ในอดีตช้างไทยมักถูกส่งเป็นของขวัญหรือเครื่องบรรณาการทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและสร้างชื่อให้เป็นที่รู้จักแก่นานาชาติ แต่ปัจจุบันช้างไทยมีจำนวนลดน้อยลง โดยมีสาเหตุมาจากการตัดไม้ทำลายป่า ช้างเป็นสัตว์ที่ต้องอาศัยพื้นที่เพื่อการดำรงอยู่ไม่ต่ำกว่า 10,000 ตารางกิโลเมตร การสร้างเขื่อนเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยจำเป็นต้องตัดพื้นที่ป่าไม้ออกเป็นส่วน ๆ จึงทำให้ช้างป่ามีจำนวนน้อยลงเพราะถูกขับไล่จากที่อยู่อาศัย นอกจากนี้อีกสาเหตุก็คือ การบุกรุกป่าเพื่อทำไร่ ที่นอกจากแผ้วถางป่าจนทำให้ช้างไทยจำนวนลดน้อยลงแล้ว การปลูกพืชของเกษตรส่วนใหญ่มักเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ทำให้ดินเสื่อมสภาพไวอีกด้วย

ตัวอย่างข้อสอบ TPAT1 พาร์ทความคิดเชื่อมโยง

เช็กตารางสอบ TPAT1 สอบเวลาไหนบ้าง ?

กำหนดการสอบ TPAT1 ของ TCAS67 นั้น คือ สอบวันเสาร์ที่ 16 ธ.ค. 66 เวลาสอบรวมทั้งหมด 3 ชม. 15 นาที ประกอบไปด้วย

  • ส่วนที่ 1 เชาวน์ปัญญา : สอบ 08:30-09:45 น. (1 ชม. 15 นาที)
  • ส่วนที่ 2 จริยธรรมทางการแพทย์ : สอบ 09:55-10:55 น. (1 ชม.)
  • ส่วนที่ 3 ความคิดเชื่อมโยง : สอบ 11:30-12:30 น. (1 ชม.)

หมายเหตุ : สำหรับกำหนดการของ Dek68 ต้องรอติดตามประกาศอีกทีน้า แต่พี่จะมาอัปเดตให้แน่นอนน

ตารางสอบ กสพท 67 แต่ละพาร์ตใช้เวลาสอบเท่าไร

เทคนิคทำข้อสอบ TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท

ข้อสอบ TPAT1 เป็นข้อสอบที่วัดความถนัดเฉพาะทาง ไม่มีเนื้อหาที่ตายตัวเลยว่าต้องนำความรู้อะไรในบทเรียนมาใช้บ้าง ทำให้การเตรียมสอบ TPAT1 จะแตกต่างกันออกไปจากการเตรียมสอบสนามอื่น เช่น A-Level ซึ่งเป็นเนื้อหาที่น้อง ๆ เรียนในโรงเรียนอยู่แล้ว

พี่แนะนำว่าให้หาแนวข้อสอบเก่ามาลองทำให้ได้มากที่สุด เพื่อดูว่าเราควรอ่านหนังสือเพิ่มตรงส่วนไหน แต่ถ้าใครยังไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง พี่ก็สรุปแยกของแต่ละพาร์ตมาให้แล้วน้า ไปดูกันว่าแต่พาร์ตจะมีเทคนิคเตรียมตัวและทำข้อสอบยังไงบ้างง ป.ล. เนื้อหาด้านล่างเป็นคำแนะนำจากทีมวิชาการน้าา สามารถเอาไปปรับใช้สำหรับเตรียมตัวสอบได้เล้ยยย

ข้อสอบ TPAT 1 พาร์ตเชาวน์ปัญญา

ข้อสอบ TPAT1 พาร์ตเชาวน์ปัญญาแต่ละปี มีโจทย์ที่หลากหลายแนวมากกก รวมถึงจำนวนข้อในแต่ละแนวก็ไม่เท่ากัน (แต่จำนวนรวม 45 ข้อเท่ากันทุกปีน้า) เลยไม่สามารถเก็งข้อสอบออกมาเป๊ะ ๆ ได้ว่าจะออกอะไรบ้าง

พี่แนะนำว่าให้น้อง ๆ ลองดูว่า แนวข้อสอบเก่า ๆ เคยออกโจทย์ประเภทไหนบ้าง แล้วลองฝึกทำโจทย์จากข้อสอบเหล่านั้นให้มากที่สุด รวมถึงข้อสอบจากสนามสอบต่าง ๆ ที่มีแนวข้อสอบคล้ายกัน เช่น ข้อสอบ BMAT, ข้อสอบ TSA (Thinking Skills Assessment) หรือข้อสอบ TGAT2 เป็นต้น

ข้อสอบ TPAT 1 พาร์ตจริยธรรมทางการแพทย์

ถึงแม้ว่าพาร์ตนี้จะไม่ได้อยู่ในบทเรียนตามหลักสูตรที่เรียนกัน แต่สิ่งที่ช่วยในการเตรียมสอบก็คือการฝึก “คิดแบบแพทย์” หรือมองว่าในฐานะของแพทย์ ว่ามีเรื่องไหนที่ควรให้ความสำคัญที่สุด

น้อง ๆ ต้องระวังการตอบในมุมมองของคนทั่วไป หรือ การตอบแบบที่สังคมคาดหวังให้เป็นอย่างนั้น แต่ควรมองในมุมของแพทย์ ซึ่งหลักการคิดแบบนี้ สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรง หรือการคุยกับคุณหมอและบุคลากรทางการแพทย์ก็อาจช่วยให้เราเข้าใจได้ว่าอะไรเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการทำงานในสายนี้มากขึ้น

สำหรับพาร์ตนี้ เวลาทำข้อสอบพี่แนะนำให้ตัดตัวเลือกทิ้งไปเลย สำหรับข้อที่ไม่น่าจะเป็นคำตอบที่ถูก แล้วลองพิจารณาตัวเลือกอื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งคำตอบที่ถูกก็เหมือนจะมีมากกว่าหนึ่งข้อ ให้น้อง ๆ เลือกตอบโดยยึดจากความสมเหตุสมผลมากที่สุด

ข้อสอบ TPAT 1 พาร์ตความคิดเชื่อมโยง

การเตรียมตัวทำข้อสอบในพาร์ตนี้ให้ทุกคนฝึกทำข้อสอบเก่าเยอะ ๆ เลย เพราะลักษณะข้อสอบเป็นบทความ การฝึกทำข้อสอบเก่าจะช่วยสร้างความเคยชินให้เราไม่ตื่นเต้นเวลาทำข้อสอบจริง นอกจากนี้ยังช่วยให้น้อง ๆ อ่านได้เร็ว สามารถเขียนความเชื่อมโยงและฝนคำตอบให้อยู่ในเวลาด้วย

ถ้าให้พี่แนะนำข้อสอบเก่า นอกจากข้อสอบ TPAT1 พาร์ตเชื่อมโยงแล้ว น้อง ๆ ก็สามารถฝึกกับข้อสอบ GAT เชื่อมโยง ยุค GAT / PAT ได้ด้วยน้าเพราะลักษณะข้อสอบมีความคล้ายกันเลย แค่ TPAT1 มีความยากมากกว่าเท่านั้นเองงง

สำหรับข้อสอบ TPAT1 นั้น ข้อสอบแต่ละพาร์ตค่อนข้างแตกต่างกัน เพราะเป็นการวัดความรู้ความเข้าใจคนละด้าน ดังนั้นน้อง ๆ ไม่สามารถใช้เทคนิคเดียวกันกับข้อสอบทุกพาร์ตได้น้าา เช่น พาร์ตจริยธรรมที่จะเน้นทำโจทย์เยอะ ๆ อย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องฝึกคิดในมุมมองของหมอด้วยย

ซึ่งน้อง ๆ Dek68 บางคนก็อาจจะเริ่มคิดแล้วว่า แบบนี้เราควรจะเริ่มเตรียมตัวอ่านหนังสือยังไงดีถึงจะเพิ่มโอกาสสอบติดคณะสายหมอในกลุ่ม กสพท ได้มากที่สุด ใครที่กำลังกังวลเรื่องนี้อยู่ พี่ก็มีตัวช่วยอย่างคอร์ส Full Set Med ที่พี่สอนร่วมกับ อ.ขลุ่ย และ พี่หมออู๋ มาแนะนำด้วยน้าา

โดยคอร์สนี้ก็จะสอนครบทั้ง 3 พาร์ตของ TPAT1 โดยเริ่มตั้งแต่ปูพื้นฐานไปจนถึงพาตะลุยโจทย์หลากหลายแนว ซึ่งบอกเลยว่าพิเศษมากก เพราะเนื้อหาคอร์สนี้เค้นมาจากประสบการณ์ของพี่ทั้งสามคนเลยย รับรองว่าได้เทคนิคครบทุกพาร์ตไว้ไปอัปคะแนนแน่นอน (แถมยังมี Unseen Mock Test TPAT1 ให้ลองทำแบบฟรี ๆ ด้วยย) ใครสนใจดูรายละเอียด
เพิ่มเติม คลิก เลยยย

เทคนิคการแบ่งเวลาเตรียมสอบคณะสายหมอ กสพท (เรียน + กิจกรรม + เตรียมตัวสอบ)

วางแผนการเรียน

  • เข้าเรียนให้ครบตามที่โรงเรียนกำหนด น้อง ๆ จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาตามจากเพื่อน ๆ ทีหลัง
  • อย่าชะล่าใจหรือเลือกที่จะทิ้งวิชาใดวิชาหนึ่งไปเลย เช่น A-Level ภาษาไทย หรือ A-Level สังคม อย่าเพิ่งไปคิดว่า ไม่สำคัญ หรือคิดว่ามันง่าย เพราะต่อให้ทำวิชาอื่นได้เยอะ แต่วิชาเหล่านี้ได้คะแนนน้อยกว่า 30% ก็ไม่มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาคะแนนอยู่ดีน้า T_T
  • ถ้าน้อง ๆ คนไหนที่เรียนพิเศษ ก็อย่าลืมกลับมากลับมาทบทวนสิ่งที่เรียนด้วยน้า โดยจะอ่านเนื้อหา หรือทำการบ้านที่พี่ ๆ ติวเตอร์ให้ไว้ก็ได้ และถ้าสามารถกลับมาทบทวนภายใน 24 ชม. ได้ ก็จะยิ่งดีกับตัวน้อง ๆ มากเลย เพราะจะยังจำเนื้อหาได้อยู่ ถ้าปล่อยให้นานกว่านี้ น้อง ๆ ก็อาจจะลืมสิ่งที่เรียนมาได้

แบ่งเวลาทำกิจกรรม

  • ถ้าช่วงไหนที่น้อง ๆ รู้สึกเครียดมาก จนรู้สึกว่าไม่ไหวแล้วววว ก็ควรที่จะหยุดพักก่อนนะ หากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำ เพื่อให้สภาพจิตใจดีขึ้นก่อน แล้วค่อยกลับมาอ่านหนังสือต่อ พี่อยากให้ทุกคนจำไว้เสมอน้า ว่า “คะแนนสอบก็สำคัญนะ แต่ร่างกายและจิตใจเราก็สำคัญเหมือนกัน”
  • กิจกรรมต่าง ๆ ที่ชื่นชอบ ก็ไม่จำเป็นจะต้องเลิกทำน้า เพียงแค่จะต้องแบ่งเวลาและความสำคัญให้ดีเท่านั้นเอง

เตรียมตัวสอบ

  • ก่อนอื่นต้องรู้เป้าหมายของตัวเองก่อนว่า อยากเข้าคณะสายหมอของมหาลัยฯ ไหน จากนั้นให้น้อง ๆ เช็กสถิติคะแนนสูงต่ำ กสพท ปีล่าสุด แล้วค่อยวางแผนการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ
  • ทำตารางอ่านหนังสือ เพื่อกำหนดเป้าหมายในการอ่านแต่ละครั้ง และกำหนดเวลาในการพักด้วย
  • หาวิธีการอ่านหนังสือและวิธีการทบทวนที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น อ่านแบบท่องจำ, ทำแบบฝึกหัดทบทวนบทเรียน, ใช้สีไฮไลต์ข้อความสำคัญ, เรียนพิเศษแบบสรุปเนื้อหาโค้งสุดท้ายก่อนสอบ หรือเรียนพิเศษตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นต้น
  • เน้นฝึกทำโจทย์ TPAT1 ทั้ง 3 พาร์ตบ่อย ๆ เพราะว่าข้อสอบเน้นคิดวิเคราะห์มากกว่าการท่องจำ จะได้คุ้นกับโจทย์ ซึ่งเวลาไปทำข้อสอบจริงเวลาไปทำข้อสอบจริง จะได้สามารถเอามาประยุกต์ได้ เนื่องจากเราเคยเจอโจทย์ประมาณนี้มาแล้ว แถมยังทำให้เราทำข้อสอบได้เร็วขึ้นด้วย

เทคนิคที่พี่เอามาแชร์ในวันนี้ เป็นแค่การแนะนำแบบคร่าว ๆ เท่านั้น น้อง ๆ ไม่ต้องทำตามนี้เป๊ะก็ได้ สามารถเลือกวิธี
ที่เหมาะกับตัวเอง หรือเอาไปปรับใช้ตามที่ถนัดได้เลย ซึ่งถ้าใครอยากได้ตารางการวางแผนอ่านหนังสือเพิ่มเติม
พี่ก็มีตัวอย่างจากรุ่นพี่มาฝากด้วยย เข้าไปดูเป็นแนวทางได้น้าา >>> แจกฟรี ตารางอ่านหนังสือของรุ่นพี่สายหมอ

ที่สำคัญที่สุด อย่าลืมทบทวนและฝึกทำโจทย์บ่อย ๆ เพราะการทำโจทย์นี่แหละ จะทำให้น้อง ๆ ได้นำสิ่งที่เรียนและทบทวนมาใช้กับการทำโจทย์จริงได้ ทำให้ไม่ว่าโจทย์จะพลิกแพลงแค่ไหน ทุกคนก็จะรู้ทันและกวาดคะแนนได้อีกเพียบบ สู้ ๆ น้าา 
พี่เป็นกำลังใจให้ทุกคนเลยยย

คอร์สเรียน แนะนำ

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

เจาะลึกข้อสอบ TPAT1 กสพท คณิตเชาวน์ปัญญา
พาเจาะลึก ข้อสอบความถนัดแพทย์ Part เชาวน์ปัญญา TPAT 1 กสพท
https://www.smartmathpro.com/wp-content/uploads/2024/03/พาร์ตจริยธรรม.jpg
เจาะลึกข้อสอบ TPAT1 กสพท จริยธรรมแพทย์ พร้อมแนวข้อสอบและคลิปติวฟรี
tpat1
ส่องคะแนน TPAT1 กสพท 67 แนวโน้มคะแนนจะเฟ้อหรือฝืด มาดูกัน!
Dek68 จะสอบเข้ามหาลัยฯ ต้องเตรียมตัวยังไง ?
Dek68 จะเข้ามหาลัยฯ ต้องเริ่มยังไง? สรุปทุกขั้นตอนและเรื่องควรรู้ของ TCAS
เตรียมตัวอ่านหนังสือ TCAS68 ยังไงให้สอบติด
TCAS68 อยากสอบติด ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือยังไง? บทความนี้มีคำตอบ!! - SmartMathPro

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Line : @smartmathpronews

รวมถึงข่าวสารต่าง ๆ อัปเดตอย่างเรียลไทม์

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share