วิเคราะห์ข้อสอบ SAT (New Sat – ระบบใหม่)

จากประสบการณ์ได้เข้า สอบ SAT (New Sat) ครั้งแรก หลังจากตั้งใจว่าจะเขียนหลายวัน ดองบทความนี้ไว้นานมาก วันนี้เลยตั้งใจว่าจะมาเขียนซักส่วนหนึ่งก่อน เกี่ยวกับ ข้อสอบ SAT
เชื่อว่ามีจะประโยชน์กับน้องๆ ที่กำลังคิดจะไปสอบ SAT นะครับ

ออกตัวก่อนว่าไม่ใช่ติวเตอร์ที่สอน SAT Math เป็นหลัก สอน Smart-1 มาตลอด (ซึ่งกำลังจะเป็น TUSTAR) ตอนนี้ก็มาสอน SAT เสริมๆเพิ่มเติม (แต่ตั้งใจสอนจริงจัง ไม่ได้สอนขำๆนะ 555)

พี่ปั้นสอบที่โรงเรียนนานาชาติกีรคิตเป็นครั้งแรกเช่นเคย เนื่องจากเริ่มสอบเร็ว และเสร็จค่อนข้างเร็วเช่นกัน บรรยากาศสบายๆด้วย ดีงามมาก (เฮ้ยนี่จะมารีวิวสถานที่สอบหรอ !)

เข้าเรื่องแล้วดีกว่า ! เอาเป็นเรื่องส่วนของตัวเนื้อหาในมุมของพี่ปั้นนะครับ

วิเคราะห์ข้อสอบ SAT ในมุมมองพี่ปั้น  

ข้อสอบ SAT ระบบใหม่ (Redesigned SAT) หรือที่นิยมเรียกกันว่า New Sat จะแบ่งออกเป็น 5 Section ไม่ได้แบ่งเป็น 10 section สอบย่อยๆเหมือนอันเก่าครับ แต่ละ Section จะใช้เวลานานขึ้น

1. Reading 52 ข้อ ให้เวลา 65 นาที เป็นบทความให้อ่าน แล้วตอบคำถาม

– บทความยาวเฉลี่ยราวๆ 100 บรรทัด ยาวมาก แต่คำถามถ้าเทียบกับของแนว SAT เก่าพี่ว่าง่ายกว่านะครับ ยังพอรู้สึกว่าอ่านรู้เรื่อง ของเก่านี่คืออ่านแล้วอึนจนไม่รู้จะเริ่มไง 555 คาดว่าถ้าทำ ทำได้ระดับหนึ่ง แต่น่าจะมีปัญหาตรงที่ทำไม่ทัน เพราะมันตั้ง 52 ข้อ !

– ปล. แต่พี่ไม่ได้ทำทั้งหมดนะครับ ลองทำไปราวๆ 10 ข้อ นอกนั้น … หลับ

2. Writting 44 ข้อ ให้เวลา 35 นาที เป็นการวัดความรู้ไวยากรณ์ หรือ grammar นั่นเอง

– ปกติพี่แอบอึนๆกับแกรมม่าอยู่แล้ว เลยไม่ได้ลองทำเทียบกับข้อสอบเก่า แต่เวลาแอบกระชั้นชิด … ความโหดของแกรมม่าอันนี้คือ ที่ขีดเส้นใต้ ถามว่าแกเเป็นอะไร แล้วบางอันเขียนว่าไม่ต้องแก้ด้วย (ทำนองว่า ก็ถูกแล้วอะ แต่ดูออกมั้ยว่ามันถูกแล้ว 555)

3. Math (No calculator) 20 ข้อ 25 นาที ห้ามใช้เครื่องคิดเลข ! 5 ข้อสุดท้ายจะเป็นข้อเติมคำตอบครับ

4. Math (Calculator) 38 ข้อ 55 นาที ส่วนนี้ใช้ได้ แต่แอบยาว ข้อเยอะ 8 ข้อสุดท้าย เป็นข้อเติมคำตอบครับ

– ขอเขียน 3,4 รวมกัน ข้อสอบจริงๆก็จะมีส่วนคล้ายกับ SAT เก่าอยู่บ้าง แต่พวกมุม รูปเรขาคณิต ออกในสัดส่วนที่น้อยลง เน้นไปทางพวกสมการเส้นตรง การตั้งสมการ + แก้สมการ สมการวงกลม (ไม่ได้ลงลึก) พาราโบลา หาเศษเหลือ มีจำนวนเชิงซ้อนด้วย ซึ่งข้อสอบก็ตรงตามแนวหนังสือที่ Collageboard ออกมาเลยครับ ตรงเป๊ะๆ ระดับความยากก็ใกล้เคียงกันมาก

– รวมๆแล้วโดยทั่วไปถือว่าไม่ยากนะครับสำหรับวิธีทำ แม้จะยากกว่าของเก่าอยู่บ้าง แต่จะยากตรงแปลโจทย์ เพราะรู้สึกได้ว่าโจทย์ค่อนข้างยาวกว่า SAT เก่า แถมเป็นน้ำเยอะด้วย บางข้อยังกะเล่านิทาน 555

– การใช้เวลา ตอนแรกคิดว่าจะทำไม่ทัน หรือทำปริ่มกว่านี้ แต่เอาเข้าจริง ถ้าฝึกวิธีทำมาดีๆ ซ้อมมาเยอะๆ และแปลโจทย์ได้เร็วจะทำได้สบายมากครับ มีข้อยากๆจริงๆไม่กี่ข้อ

– สำหรับ Section 3 ห้ามใช้เครื่องคิดเลข ดังนั้น ฝึกๆไว้หน่อยนะคร้าบบ คิดเลขให้ไว จริงๆตอนซ้อมทำที่บ้าน ไม่ควรใช้เครื่องคิดเลขเลยครับ แบบคิดมือเลย ยกเว้นข้อเลขถึกๆจริงๆ เวลาสอบจริงจะได้คุ้นกับการคิดเลขสดๆ

– สำหรับ Section 4 อย่าลืมพกเครื่องคิดเลขด้วยนะครับ เค้าให้ใช้ได้ก็ควรใช้ 555บางข้อก็มีคิดเลขถึกอยู่พอสมควร ถ้าของเก่าไม่มีเครื่องคิดเลข ยังพอรอด แต่ New Sat บางข้อไม่ใช้นี่อาจจะคิดเลขเป็นนาที Section นี้ทำแล้วอาจเหนื่อยหน่อย เพราะ 55 นาที 38 ข้อ ก็ต้องเร่งพอสมควร แถมยังต้องทำแบบต่อเนื่องด้วย ไม่ได้สลับวิชาแบบของเก่า

5. Essay เขียนบทความ 50 นาที
– เขียน Essay พี่โดนเก็บข้อสอบปึกแรก 4 part ไปก่อน แล้วแจกชุดใหม่ให้เป็นหัวข้อ คำถามแล้วให้เขียน มีพื้นที่ให้หลายหน้า A4 เลย (ลืมนับว่ากี่หน้า 555)

– ตอนเขียนตอบ มีพื้นที่ให้ร่างอยู่ด้านซ้ายด้วย เผื่อจะ Planing การเขียนบทความครับ

รวมแล้วใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงในการสอบ รวมเวลาเบรคสั้นๆแล้ว ถ้าจำไม่ผิด มีเบรคตอนหลัง section 1 และ 3 ครับ ถ้าสมัครสอบแบบไม่ใช้ Essay (without essay จะยิ่งออกจากห้องสอบไวขึ้นครับ)

สรุปเกี่ยวกับข้อสอบ SAT (New Sat)

– เลข ยากขึ้น แต่ไม่ได้ยากขึ้นมากนัก แม้จะมีเลข ม.ปลายมาเกี่ยวข้อง แต่เป็นเบื้องต้น ไม่ได้ลงลึก ขอแค่จำเรื่องนั้นได้บ้าง ก็ทำได้ครับ , โจทย์ยาวขึ้น วิธีทำยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ฝึกมาดีๆก็เชื่อว่าทำได้เยอะไม่ต่างกับเลข Sat เก่านัก
– อังกฤษ ง่ายลง เป็นภาษาคนมากขึ้น แต่จำนวนข้อยังคงเยอะเหมือนเดิม ต้องแข่งกับเวลาครับ
– ไม่มีทำผิดแล้วติดลบเหมือนสมัยก่อนด้วยครับ ดังนั้น ทำไม่ได้ ก็มั่วแหลก !!!

ในบทความหน้า จะมาแนะนำการเตรียมตัวสำหรับการสอบวิชาเลข SAT ในมุมพี่ปั้นนะคร้าบบบ > <

พี่ปั้น SmartMathPro
ติวเตอร์ ที่จะเป็นมากกว่าติวเตอร์